ผิดแผน...แต่ก็ดี

แรกทีเดียวว่าจะเดินเลาะแนวชายแดนประมาณ 10 วัน แต่พอเช็คสเบียงแล้ว ไม่พอแน่ๆ ขืนไปอดข้าวแหง๋ๆ เลยเปลี่ยนมาเดินจากภาชีเข้าแก่งกระจานแทน
สภาพลำห้วยที่เดินลุยกัน 7 วัน

Comments

ความเห็นที่ 1

กบเขียดที่เจอครับ
resize_wizard-17.jpg resize_wizard-18.jpg

ความเห็นที่ 1.1

อ่องเล็ก และกบเขาสูง ตามลำดับ

ความเห็นที่ 2

แมลงปอ  ถึงซ้ำก็ยังชอบถ่าย
resize_wizard-3.jpg resize_wizard-13.jpg resize_wizard-14.jpg resize_wizard-15.jpg

ความเห็นที่ 2.1

ภาพแรก  ถ่ายมุมนี้ผมหาลักษณะจำแนกไม่เจอเลยครับ แต่ที่แน่ๆ เป็นตัวเมียของแมลงปอเข็มท้องยาวชนิดหนึ่ง Coeliccia sp. ครับ ถ้าให้เดาจากที่เคยเจอแมลงปอสกุลนี้ 4 ชนิดจากที่นี่ น่าจะเป็น แมลงปอเข็มท้องยาวสีเผือก C. albicauda ครับ

ภาพสอง แมลงปอเข็มน้ำตกสั้นวงม่วง Heliocypha biforata ตัวผู้ครับ

ภาพสาม แมลงปอเข็มน้ำตกใหญ่จีน Neurobasis chinensis ตัวเมียครับ

ภาพสี่ แมลงปอเข็มน้ำตกสีตาลแดง Euphaea ochracea ตัวผู้  ตัวดำปีกแดงยังงี้มีชนิดเดียวครับ

ความเห็นที่ 3

เลื้อยคลาน รอรูปงูอีกชนิดอยู่ครับ กล้องคนละตัว
resize_wizard-4.jpg

ความเห็นที่ 4

เหมือนจั๊กจั่น
resize_wizard-19.jpg

ความเห็นที่ 5

ปลารวมๆ ครับ
resize_wizard-2.jpg resize_wizard-5.jpg resize_wizard-6.jpg resize_wizard-7.jpg resize_wizard-8.jpg resize_wizard-9.jpg resize_wizard-10.jpg resize_wizard-11.jpg

ความเห็นที่ 5.1

ตัว 1: ปลาซิวใบไผ่ Devario regina Fowler, 1934 พบทั่วไปตามแนวป่าตะวันตกครับ
ตัว 2: ปลาพลวงตะวันตก Neolissochilus stracheyi (Day, 1871) พบทั่วไปตามแนวป่าตะวันตก สุดแถวๆประจวบฯ
ตัว 3: ปลาซิวอะไรสักอย่าง Rasbora sp. กลุ่มนี้ผมไม่แม่นสักที
ตัว 4: มีแนวด้านข้างเต็มๆไหมครับ? ภาพนี้มันเฉียงๆ ดูยากครับ
ตัว 5: ตัวเด็กของ 3
ตัว 6: ไส้ตันตาแดง Cyclocheilicthys apogon (Val. in Cuv. & Val., 1842) พบทั่วไป
ตัว 7: ปลาซิวอะไรสักอย่างคนละชนิดกับ 3 สกุลหน่ะ Rasbora แน่ๆ
ตัว 8: ปลาอีด Lepidocephalichthys berdmorei (Blyth, 1860) พบทั่วไป

ความเห็นที่ 5.2

ถ้าโพสเป็นตับแบบนี้ รบกวนใส่หมายเลขใต้ภาพสักหน่อยครับ จะได้ง่ายต่อการอ้างถึง

ความเห็นที่ 5.2.1

น้อมรับครับท่าน..
ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบครับ
ภาพส่วนใหญ่มีเวลาถ่ายน้อยครับ เพราะต้องรีบเดิน ต้องขออภัยที่ภาพไม่ค่อยชัดครับ

ความเห็นที่ 6

เด็ดสุดสำหรับทริปนี้ครับ
ตัวแรกจากฝั่งภาชี
ตัวสองจากแก่งกระจาน
resize_wizard-1.jpg resize_wizard-16.jpg

ความเห็นที่ 6.1

ตัวบน: ปลาค้อลาย Acanthocobitis zonanlternans (Blyth, 1860)
ตัวบนนี่ในลำธารที่เหมาะสม เป็นปลาที่พบมากที่สุดชนิดหนึ่งเลยครับ กระจายพันธุ์กว้างมากด้วย ตั้งแต่แม่น้ำสาละวิน(แม่ฮ่องสอน)ยาวลงไปถึงระนองนู้นแหน่ะ(ที่ผมเจอต่ำสุดแต่จริงๆคงลง ต่ำกว่านี้อีก)

ตัวล่าง: ปลาแขยงเขาลายเสือ Batasio triginus Ng & Kottelat, 2001
กระจายพันธุ์อยู่ตามแนวป่าตะวันตกเทือกๆ กาญจนบุรี ราชบุรี นี่แหล่ะครับ รายงานจากเพชรบุรี ต่ำสุดที่ผมเคยได้ยินและ

ความเห็นที่ 6.1.1

Acanthocobitis zonanlternans = "ปลาค้อน้ำนิ่งสิ" เปลี่ยนชื่อตามใจฉันอีกแล้ว

ความเห็นที่ 7

งูมาแล้วครับ
resize_wizard-20.jpg

ความเห็นที่ 7.1

ลูกงูสิง ???

ความเห็นที่ 7.1.1

แม่นแหล่ว สิงน่อยธรรมดา Ptyas korros

ความเห็นที่ 8

หนึ่งเอ๊ย แม่นงูขนาดนี้ คิดจะกลับไปดูนก หุ หุ หุ 

ความเห็นที่ 9

ชู่ว์ว์ว์..หนึ่งหมายถึงน้องนกเสื้อแดงตะหาก

ความเห็นที่ 9.1

yes

ความเห็นที่ 10

ยิ่งหาโอกาสเข้าป่ายาก ๆ เดี๋ยวอดเข้าป่าพอดี

ความเห็นที่ 11

เข้าป่าหน้าคอมฯ ไปก่อนแ้ล้วกันนะหนึ่ง broken heart