ปลาลูกหม้อมาเลย์.มีที่มาอย่างไรครับ?

ถ้าดูจากรูปพรรณสัณฐาน มันก็เหมือนกันกับปลากัดลูกหม้อของไทย สายต่อสู้แบบดั้งเดิมนี่เอง

หน้าดำ แก้มแดง ส่วนสีลำตัวก็แปรผันกันไป...ซึ่งเป็นลักษณะของปลากัดป่าไทยภาคกลาง(Betta splendens )ด้วย

แต่ทีนี้ มันเกิดจากปลาของไทย แล้วคนทางนั้นเอาไปเล่น แล้วคัดพันธุ์มาเรื่อยๆจนเริ่มมีลักษณะเฉพาะตัวขี้นมาบ้าง

หรือว่าจะเกิดจาก ปลากัดป่าพื้นเมืองของทางมาเลเซียเอง? ที่เขาเอามาเลี้ยงคัดพันธุ์ จนกระทั่งเป็น"ปลาลูกหม้อ"ในแบบของเขาเอง?

มีใครพอจะมีข้อมูลว่า ทางมาเลเซียเค้ามี Betta splendens หรือปลาป่าแก้มแดงที่ลักษณะคล้ายๆกัน ในธรรมชาติหรือไม่?

หรือว่าเค้ามีแต่ Imbellis แก้มน้ำเงิน ครับ?

Comments

ความเห็นที่ 1

ทางมาเลย์ไม่น่าจะมี Betta splendens ตามธรรมชาติครับ ชื่อลูกหม้อมาเลย์ น่าจะมาจากการนำปลาหม้อไปพัฒนาสายพันธุ์มากกว่าครับ
 

ความเห็นที่ 2

น่าสนใจในแง่ที่ว่า ปลา B.splendens เป็นปลากลุ่มแรกและกลุ่มเดียว ที่ถูกนำมา Domesticate แล้วคัดเลือกอย่างจริงๆจังๆ จนเกิดพัฒนาการแบบอนุกรม(ไม่มีไขว้)

ในยุคยี่สิบกว่าปีก่อนนั้น พวกปลาป่าสายอื่น มักถูกนำมากัดแบบทีเล่นทีจริงมากกว่าที่จะนำมาคัดพันธุ์ เพื่อให้เกิด function เฉพาะ

อย่างปลาป่าใต้ ยังไม่เคยได้ยินว่าถูกนำมาคัดพันธุ์เพื่อให้กลายเป็นปลาสายต่อสู้จริงๆแบบเลือดร้อย(หรืออาจจะมี แต่ผมยังไม่เคยได้ยินก็เป็นได้) นอกจากเอามาทำเป็นลูกสังกะสี(ผสมข้ามกับปลาที่"สำเร็จรูป"มาแล้ว อย่างลูกหม้อภาคกลาง)

พวกนักเล่นปลามาเลเซียเอง ก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยสนใจ B.Imbellis เท่าไร? เพราะสังเกตได้จากปลาหม้อมาเลย์(ที่โชว์ตามร้านปลากัดในไทย) เท่าที่เคยเจอ ไม่มีตัวไหนแก้มน้ำเงินเลยสักนิด

ความเห็นที่ 3

ปลาเข็มหม้อ กับปลาหัวตะกั่วหม้อ ไปดูพวกตัวเด็ดๆ ก็ห่างจากปลาป่าพอสมควรเช่นกันครับ

ความเห็นที่ 4

ผมเองก็ไม่ได้สนใจพวกสายกัดเท่าไหร่

แต่ตามที่เข้าใจก็คือ ปลากัดลูกหม้อของไทยนี้แหละครับ ถูกเอาไปพัฒนาคัดสายพันธุ์ที่บ้านเขา