Field Raptor Identification Course สัมมนาเหยี่ยวภาคสนาม เขาดินสอ

อ.trogon ฝากประชาสัมพันธ์ค่ะ

งานสัมมนาประสาเหยี่ยว 2010

กลุ่มศึกษาเหยี่ยวและนกอินทรีในประเทศไทย (Thai Raptor Group)จัดการบรรยาย เกี่ยวกับเหยี่ยวอพยพ ในประเทศไทย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ชมการออกร้านของ
1. สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย (BCST)
2. กองทุนฟื้นฟูนกเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และ หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ มก.
3. เสื้อเพนท์ภาพนกงามๆ จากศิลปินนักดูนก
4. อุปกรณ์ดูนก เช่น กล้องสองตา สโคป ของแบรนด์ชั้นนำ ทั้งระดับ hi-end สุดยอด และราคาย่อมเยาว์ สำหรับนักเรียน นักศึกษา
5. อุปกรณ์เสริมสำหรับการดูนกในป่า

และนิทรรศการเกี่ยวกับนกล่าเหยื่อ (เหยี่ยว นกอินทรีและอีแร้ง) ในประเทศไทย พร้อมตัวอย่างจริงของนกล่าเหยื่อ เช่น สกิน กะโหลก

*ประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมค่ะ ปีนี้รับอาสาฝึกนับเหยี่ยว โดยทางTRGจะออกค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง จำนวน 9 คน ค่ะ เน้นกลุ่มนักศึกษา
โดยฟังบรรยายแล้วไปฝึกนับเหยี่ยวที่เขาดินสอและเขาเรดาห์ด้วยกันค่ะ
**ผู้ที่สนใจในการเป็นอาสาสมัครฝึกนับเหยี่ยวให้มาสมัครที่วันสัมนาประสาเหยี่ยวได้เลยนะคะ

 

และกลุ่มศึกษาเหยี่ยวและนกอินทรีจัดสัมมนาสัญจร สำหรับนักดูนก นักถ่ายภาพนกที่สนใจเรียนรู้การจำแนกชนิดเหยี่ยวอพยพ และถ่ายภาพเหยี่ยวในภาคสนาม ครั้งที่ 1 ณ เขาดินสอ จุดดูเหยี่ยวอพยพที่ดีที่สุดในประเทศไทย และในภูมิภาคอุษาคเนย์


รับสมัคร 15 คน เท่านั้น ลงทะเบียนที่วันสัมมนาประสาเหยี่ยว ที่ กทม.หรือส่งอีเมลที่ trogon@gmail.com

...รูปแบบการสัมมนาจะเป็นการอบรมด้วยการปฏิบัติจริงโดยทีมผู้เขียนคู่มือ เหยี่ยวและนกอินทรี

คณะผู้บรรยายและพี่เลี้ยงภาคสนาม
1. คุณชัยวัฒน์ ชินอุปราวัฒน์ (ปลากระดี่ได้น้ำ)
2. คุณชูเกียรติ นวลศรี (ปลัดเสือทะเล)
3. ดร.น.สพ.ไชยยันต์ เกษรดอกบัว (อ.trogon)
4. คุณจตุพร สวัสดี (บอย ยอดมนุษย์) และทีมพี่เลี้ยงของกลุ่มศึกษาเหยี่ยวฯ

ภาคกลางวัน 8.00 - 17.00น.
ดูเหยี่ยวและถ่ายภาพเหยี่ยวบนเขาดินสอ

ภาคกลางคืน บรรยายและอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับการจำแนกชนิดและถ่ายภาพ

23 ตุลาคม: 19.00 - 31.00น.
1. เหยี่ยวอพยพ : ทำไมต้องชุมพร
2. เคล็ดวิชาถ่ายภาพเหยี่ยวขณะบิน คุณชัยวัฒน์ ชินอุปราวัฒน์
3. จำแนกเหยี่ยวอพยพไทย
4. ถาม-ตอบภาพเหยี่ยว ที่พบช่วงกลางวัน

24 ตุลาคม:
1. Accipiters in Flight: Age and plumages
2. คู่คล้าย : ตัวง่ายและเหยี่ยวตัวเด็ด
3. ถาม-ตอบข้อข้องใจ ภาพเหยี่ยวที่พบช่วงกลางวัน

ค่าลงทะเบียน 1500 บาท

ผู้ลงทะเบียนจะได้รับ
- หนังสือคู่มือเหยี่ยวและนกอินทรี
- เสื้อเหยี่ยวลายการ์ตูนของกลุ่มศึกษาเหยี่ยวฯ 1 ตัว
- ร่วมรับประทานอาหารทะเลสไตล์บุฟเฟต์ที่รีสอร็ท ในวันที่ 24 ตุลาคม 2553

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ

http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2470

Comments

ความเห็นที่ 1

เข้าไปดูเวปเค้าแล้วอึ่งๆ ตรงที่ว่า

 Supported by

เค้ามีบริษัทที่ใช่ของเล่นๆ มาซัพพอท (ดูีดีไม่น้อย)
เวปสยามน่าจะมีอะไรให้ลองใช้บ้างเน๊อะ (แคนนอนก็ยังดี เหอๆๆ) ^^
 

ความเห็นที่ 2

สบายดีบ่น้องบัว

ความเห็นที่ 3

ไว้ใกล้ๆถ้ายังไม่เต็มและข้าพเจ้าว่างจะขอติดไปสักคนครับ ไว้มาเตือนกันอีกทีนะ

ความเห็นที่ 4

ที่จริงเขามาเลาะรั้วบ้านผมเลย แต่ไม่เคยไปสักที ทางฝั่งระนองเองก็มีเหยี่ยวมาเลาะเขาฝั่งตะวันตกเหมือนกัน แต่ไม่หนาแน่นเท่าฝั่งทางโน้น คงเป็นเพราะความต่างของลมอันเนื่องมาจากฤดูมรสุมกระมัง

ความเห็นที่ 5

บัวฝากแปะเพิ่ม
 

01.jpg

ความเห็นที่ 6

เพิ่มเติมครับผม

02.jpg

ความเห็นที่ 7

พอดีวันนี้ลองไปค้นดู Bird Family Tree เล่นๆ

จากแบบคลาสสิคดั้งเดิม

http://www.rockets-2-go.com/ga15-birds/bird-orders-2008.jpg

มาเป็นแบบ???

http://i199.photobucket.com/albums/aa220/slybirdsly/Papers/Hackett_Collapsed_Tree.jpg

http://en.wikipedia.org/wiki/File:Neoaves_Alternative_Cladogram.png

ตกลงเลยกลายเป็นว่า การจำแนกแบบใหม่ นกเหยี่ยวฟอลคอน มีเชื้อสายใกล้ชิดกับนกแก้ว มากกว่าเหยี่ยวปีกแตกแล้วหรือเนี่ย?!?

ความเห็นที่ 8

http://en.wikipedia.org/wiki/Falconiformes

There is a recent theory [3] based on gene studies that the falcons are more closely related to the parrots and passerines than to other birds including the Accipitridae, and that thus the Falconiformes are not monophyletic even if the Cathartidae are excluded.

DNA studies[citation needed] mean that it is likely to be some time until a consensus can be achieved

ใครแปลได้ช่วยแปลทีครับ...แต่ผมลองแปลแบบงูๆปลาๆ ได้ว่า เหยี่ยวฟอลคอนใกล้ชิดกับนกแก้วมากกว่า?