ของฝากหน้าฝน อช. ไทรโยค

เอารูปมาแบ่งปันกันดูครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

โอ้วกรี๊ดมากๆ อึ่งอ่างมลายู ใช่แล้วครับ

ความเห็นที่ 2

กรี๊ด อึ่งแจ่มทั้งสองตัวครับ!!!

ความเห็นที่ 3

โห ภาพสวยมากๆ ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันครับ

ความเห็นที่ 4

ครับ ขอบคุณครับ

 แต่ไอ้ตัวสุดท้ายนี่สิ มันจะเป็นตัวไหนครับ

ความเห็นที่ 5

Cyrtodactylus cf. peguensis ครับ กลุ่มตุ๊กกายลายจุดๆนี่ทำยากครับ เนื่องจากมีความใกล้เคียงกันมากและตัว type ของประเทศพม่าก็ตามตัวไม่เจอแล้ว พยายามหาตัวอย่างจากทาง Pegu อยู่ก็ไม่ได้มาสักที จึงไม่รู้ว่ามันต่างกับของเรามากน้อยเพียงใด ลายประมาณนี้มีตลอดแนวป่าตะวันตก ไล่ยาวลงไปยันภาคใต้นู้นเลยครับ ความหลากหลายแม้แต่ในกลุ่มประชากรก็สูงมาก สูงปวดหัวเลยหล่ะ 

ความเห็นที่ 6

ภาพลายบนหลัง

dsc_0892.jpg

ความเห็นที่ 7

เพศเมีย ท้องซ่ะด้วย! 

ความเห็นที่ 8

ตุ๊กกายน้อยลวดลายน่ารักดีครับ

แต่ผมชอบเจ้าอื่งหน้าแหลมๆ อิอิ

ความเห็นที่ 9

ชอบรูปตั๊กแตนลอกคราบ..เหมือนชีวิตได้เกิดใหม่อีกครั้งเลย

ความเห็นที่ 10

แสดงว่าเดินเตร็ดเตร่แค่ทางเดิน เลยไม่เจอตุ๊กกายไทรโยค (Cyrtodactylus tigroides)

ความเห็นที่ 11

ว้า ทีเราไปไม่เห็นเจอยังงี้บ้างเลย

ความเห็นที่ 12

มีหมายไหนหรอครับ ตุ๊กกายไทรโยค

ความเห็นที่ 13

พื้นที่หินปูนทั้งหมดเลยครับ เดินใกล้สุดก็บริเวณตาน้ำ แต่เจอไม่ชุกชุมนัก จุดที่ชุกชุมที่สุดก็เลือกเส้นทางเข้าถ้ำ หรือเดินอ้อมป่าไผ่

การกระจายพันธุ์ของตุ๊กกายชนิดนี้ค่อนข้างจำกัดในพื้นที่แคบๆยาวๆตามลักษณะพื้นที่ ใต้สุดตอนนี้อยู่เขตราชบุรี เหนือสุดที่รู้ตอนนี้ก็ที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ยังไม่พบในเขต อ.ศรีสวัสดิ์ หากใครเจอนอกเขตที่บอกคร่าวๆดังกล่าวก็ช่วยบอกด้วยแล้วกันครับ

ความเห็นที่ 14

อ่อ ครับขอบคุณมากครับ  สงสัยต้องตาดี ๆหน่อย

ความเห็นที่ 15

ที่จริงมันออกมาโชว์ตัวเด่นชัดมากเลยครับ แต่ถ้าตาดีก็จะเจอของดีตัวเล็ก จิ้งจกนิ้วยาวหัวสีส้ม(Cnemaspis huaseesom) ครับ