สำรวจเชื้อราในกบ

ออกหาสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เพื่อตรวจหาเชื้อราครับ

วันนี้เริ่มกันตั้งแต่ 20.30 น. พบกบที่เจอประจำที่ลานกางเต็นท์ดงสน
ได้ชื่อมาแล้ว ว่าเป็นกบภูหลวง มีแต่ภาพเก่าครับ ไม่ได้ถ่ายตอนสำรวจ


เพราะมัวพาคณะไปดูกะท่างอยู่

Comments

ความเห็นที่ 1

และก็เจองู 3 ชนิด

งูกินทากจุดดำ

งูลายสาบ??

งูปล้องฉนวนเมืองเหนือ
กินทากจุดดำ ลายสาบ?? ปล้องฉนวนเมืองเหนือ

ความเห็นที่ 2

และหนอนหัวขวานกำลังกินไส้เดือนเลย
ม้วนจนเป็นก้อนกลม ๆ กินทั้งเป็น

ความเห็นที่ 2.1

สงสัยเป็นอย่างยิ่ง เค้ากินยังไงหรอคับ?

ความเห็นที่ 2.2

เห็นพี่ที่ไหด้วยกันบอกว่าหนอนหัวขวานมีปากอยู่บริเวณกลางลำตัวครับ

แต่ก็ไม่ได้อยู่ดูจนกินหมดนะ

ความเห็นที่ 2.3

สุดยอด ภาพเด็ด

ความเห็นที่ 2.3.1

สุดยอดภาพ อยากเจอบ้างจัง

ความเห็นที่ 2.4

ภาพเต็มตัวมาแล้ว
ไม่ทันไปดูว่ากินหมดยังไง

ความเห็นที่ 3

และตัวอื่น ๆ ครับ
ปู?? หนอน?? จิ้งจก??

ความเห็นที่ 4

จิ้งจกยูนาน (Hemiphyllodactylus yunnanensis) นั่นแหละครับ

ส่วนงูลายสาบ... ผมยังมึนกับมันอยู่ครับ ถ้าเป็นเมื่อก่อนผมต้องบอกว่าเป็นชนิด A. deschauenseei ไปแล้ว แต่ตอนนี้ไม่แน่ใจซะแหล่ว

ส่วนรูปขอเอาไปแปะใน species index ด้วยนะขอรับ

ความเห็นที่ 4.1

ได้ครับ

ถามเพิ่มครับ รูปที่แปะใน index มีชื่อคนถ่ายได้มั้ยครับ ผม up ขึ้นไปบ้าง แต่มันติดชื่อผมไปด้วยนะ

ความเห็นที่ 4.1.1

ได้ครับพี่ มีชื่อคนถ่ายในภาพได้ครับผม

ความเห็นที่ 4.1.2

ติดไว้แหล่ะดีครับ คนจะเอาไปทำอะไรจะได้ระลึกถึงบ้าง

ความเห็นที่ 4.1.2.1

พูดเหมือนเจ็บแค้นยังไงไม่รู้เนอะ

ความเห็นที่ 5

ช่วยอธิบายกบภูหลวงหน่อยครับ ผมเข้าใจว่ากบภูหลวงน่าจะมีท้องเป็นสีเหลืองทอง

ความเห็นที่ 5.1

พี่ (น้อง) ที่ไปด้วยกันบอกว่า มันจะต่างที่ขอบปาก และท้องจะมีสีทอง ๆ หน่อย ๆ (ผมก็จำไม่ได้แน่ชัด)

แต่เค้าลอง key โดยเปิดเทียบใน net (ต่างประเทศ) แล้ว แจ้งว่าน่าจะเป็นภูหลวงมากกว่า (ตัวที่จับได้วันนั้นนะ)

ซึ่งผมว่าเป็นตัวเดียวกับที่ผมถ่าย (รูปที่ up ขึ้นมาในนี้) ครับ ตัวนี้เคยนำมา post ใน siamensis แล้ว น้อง ๆ พี่ ๆ บอกว่า อ่อง แต่ติด sp. ไว้ครับ

เลยงง ๆ เมื่ออ่านเจอ พรุ ว่าเป็นอ่องเล็ก สงสัยต้องเก็บตัวอย่างไปซะแล้วสิ

ความเห็นที่ 6

ที่ดอยอิทน์ยังไม่มีการายงานชนิดปูเลยอ่ะครับ จากภาพผมก็ยังไม่สามารถลงถึงสกุลได้ ในพื้นที่เชียงใหม่มีรายงานของปูในวงศ์ Potamidae อยู่ด้วยกัน 3 ชนิดครับ มี Doimon doichiangdao, D. doisutep แล้วก็ Beccumon jarujini 2 ตัวแรกก็มีรายงานพบตามชื่อวิทย์แหละครับ ส่วนตัวสุดท้ายพบที่อมก๋อย

ถ้าได้ภาพหน้าตรงกับท็อปวิวประกอบด้วยก็จะดีครับ

ความเห็นที่ 7

อยากไปเดินกลางคินแฮะ

ถาม >> เจอปาดตีนเหลืองเหนือมั่งมั้ยครับ
ผมมีความรู้สึกว่าช่วงปีสองปีมานี้เห็นตัวลดลงมาก ทั้งดอยอินฯ อ่างขาง ดอยลาง

ความเห็นที่ 7.1

เจอตีนเหลืองที่ด่าน 2 ตัวเดียวครับ (ยังไม่ทันทำรูปน่ะ วันนี้ลงมาเชียงใหม่ซะก่อน)

ลดน้อยลงจริง ๆ เลยครับ ตั้งแต่ที่เราไปสำรวจกันเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ลดลงอย่างน่าใจหายทีเดียว

ทั้งเสียงร้องก็ไม่ได้ยินเลยนะ

ความเห็นที่ 7.1.1

คิดว่าเกิดจากอะไรครับ
อาหารลดลง?

ความเห็นที่ 7.1.1.1

มันน้อยลงหรอเนี่ย ผมคิดว่าผมไม่ค่อยได้ขึ้นไปด่าน 2 ดอยอินทนนท์ซ่ะอีก เลยไม่ค่อยเจอ

ปกติจุดนั้นมีเยอะมากมาย เจ้าถิ่นให้ข้อมูลเสริมหน่อยครับ

ความเห็นที่ 7.1.1.1.1

ไม่ใช่เจ้าถิ่นอะครับ

แต่รู้สึกมากๆเลยว่าช่วงหลังๆนี่ลดลงอย่างค่อนข้างชัด(เพราะเคยพยายามหาให้คนอื่นดูแล้วหาไม่เจอ) เสียงร้องที่เคยได้ยินก็หายไปด้วย (ล่าสุดได้ยินเสียงที่ดอยลางแต่ลดลงจากที่เคยเห็นได้ข้างถนน)

อาหาร กับเรื่องถูกรถทับตายที่ไม่น่าจะใช่ กลัวจะเป็นอย่างอื่นหนะสิ

ความเห็นที่ 7.1.1.1.1.1

เรื่องอะไร เชื้อรา ??? โรค ???  น่าสงสัยจริง เพราพะเจ้าตีนเหลืองนี่ปรับตัวง่าย เจอเยอะได้แทบทุกแหล่งที่การรบกวนยังไม่มากนัก

ความเห็นที่ 7.1.1.1.1.1.1

NG เล่มใหม่ มีเรื่องมหันตภัยเงียบจากราค้างคาวด้วยนะ

ความเห็นที่ 7.1.1.1.2

ผมว่าน่าจะเป็นเรื่องอาหารด้วยนะ ในกรณีที่ดอยอินทนนท์ ด่าน 2 พวก moth ลดจำนวนลงเยอะเหมือนกัน เท่าที่สังเกต ทั้งปริมาณ และจำนวนชนิด

แต่ปรากฏว่าที่ห้วยทรายเหลือง หรือหน่วยพิทักษ์แม่แจ่ม กลับเจอ moth เยอะขึ้นกว่าเดิม และจำนวนชนิดก็เพิ่มขึ้น (เท่าที่ตามถ่ายรูปมา)

และปีอื่น ๆ ผมไ่ม่ค่อยเจอปาดตีนเหลืองแถวห้วยทรายเหลืองเลย (ผมคนเดียวนะ คนอื่นเจอกันบ้างมั้ย)

แต่ปีนี้เจอที่ห้วยทรายเหลือง 1 ตัว

ความเห็นที่ 7.2

ปาดตีนเหลือง กับ อึ่งกรายตาขาว ครับ
ปาดตีนเหลืองตัวเดียวในทริป อึ่งกรายตาขาว

ความเห็นที่ 8

ได้ยินมาว่าหนอนหัวขวานกินเหยื่อทางกลางลำตัว
เพิ่งได้เห็นรูปจริงๆก็คราวนี้แหละครับ  yes

ความเห็นที่ 9

เห็นแล้วก็ยังนึกไม่ออกว่าหนอนหัวขวานมันกินยังไง มีภาพแบบเต็มๆตัวไหมครับท่าน?

ความเห็นที่ 9.1

เอาภาพประกอบมาให้ชมครับ หนอนหัวขวานหรือ land planaria รวมถึง planaria ที่อาศัยอยู่ในน้ำ มีส่วนปากอยู่กลางลำตัวทางด้านท้องตามภาพครับ ส่วนนี้สามารถยืดหดตัวได้ เมื่อพบเหยื่อก็จะโอบรัดตัวเหยื่อไว้ เมือกของพวกนี้เป็นยาชาอ่อนๆ ทำให้เหยื่อเป็นอัมพาต จากนั้นจึงยืดปากออกมาโดยปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยภายนอกแล้วจึงดูดกินครับ

33_10planariananatomy.jpg

ความเห็นที่ 9.1.1

ไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต!!!!!

ความเห็นที่ 9.1.2

แถวนี้มีเยอะอยู่ เคยเก็บมาจากที่ที่เขากำลังสร้างบ้าน เอามาปล่อยไว้ในสวนผมหลายตัว ไว้ลองหามาใส่ตู้สักพักแล้วเอาไส้เดือนใส่ให้กินดูดีก่า

ความเห็นที่ 9.1.3

เพิ่งรู้เหมือนกันอ่ะ ยอดเลย ค่อย ๆ กินทั้งเป็น ย่อย ๆ ๆ ทีละนิด 

คงทรมานน่าดู

ความเห็นที่ 9.1.4

ไม่คิดเหมือนกันว่ามันจะกระเดื๊อกไส้เดือนเข้าไปทั้งตัว - -"

ความเห็นที่ 10

ตัวนี้ ไม่ใช่ กบภูหลวงครับ แต่เป็น กบอ่องเล็ก (Sylvirana nigrovittata) หากเป็นกบภูหลวง(Nitrirana chapaense) จะมีลายขีดจางบนหลัง และข้างแก้มมีแถบสีเข้มเป็นปื้นเลยครับ จำได้ว่าเคยเห็นรูปอยู่ในนี้แว้บๆครับผม

ความเห็นที่ 10.1

พี่เด่น สามีขวัญใจพวกเรา เคยเอามาลงนะครับ มันเหลืองได้ใจสมชื่อวิทย์มันจริง ๆ

ความเห็นที่ 10.1.1

ผมเข้าใจผิด ตัวที่ผมเข้าใจมันคือชะง่อนผาภูหลวง

ขอลองไปตรวจสอบข้อมูลใหม่ครับ

ความเห็นที่ 10.2

ตอนนี้ก็รอเวลาคนมารีวิวกบอ่องเล็ก โดยส่วนตัวไม่เชื่อว่ามันจะมีแค่ชนิดเดียว อานมณ์เดียวกับกบห้วยขาปุ่มน่ะ

ความเห็นที่ 11

เคยมีรูปหนอนหัวขวานกินไส้เดือนเหมือนกัน แต่ไม่เคยโพส