เห่าน้ำตาลพ่นพิษ???

วันนี้เจออีกรายที่ได้คู่กรณีมา รพ.

แต่ผู้ป่วยไม่มีแผล เพราะ(เขาเล่าว่า)โดนยิงตา เลยแค่มาล้างตา แล้วกลับบ้าน

ดูตัวแล้ว เหมือนงูเห่าน้ำตาลพ่นพิษ มากๆ

ว่าแต่มันมีในเขตภาคกลางด้วยหรือครับ? นึกว่ามีแต่ทางอิสาน...

Comments

ความเห็นที่ 1

ปกติ การโดนพ่นใส่ น่าจะยากกว่าโดนกัด เพราะคนที่โดนพ่นต้องนั่งอยู่ หรือไม่ก็ก้มต่ำ

หลังจากสัมภาษณ์ดู ก็เลยรู้ว่า แกตั้งใจเล่นงานงูก่อน เพราะงูเข้ามาในบริเวณบ้าน พอตีแล้ว เลยก้มลงไปดูว่าตายสนิทไหม? ปรากฏว่ามันยังไม่ตาย เลยพลาดท่าโดนกระสุนพิษเข้าเต็มลูกตา

ตอนนี้แกเอาซากงูกลับไปคั่วกินกับญาติๆที่บ้านแล้วครับ

p1040834.jpg

ความเห็นที่ 2

ตอนแรกเห็นว่า ผู้ป่วยผมนึกว่า เจ้าตัวที่อยู่ในรูปคือผู้ป่วย -*-

ความเห็นที่ 3

ตอนแรกเห็นว่า ผู้ป่วยผมนึกว่า เจ้าตัวที่อยู่ในรูปคือผู้ป่วย -*-

ความเห็นที่ 4

ยกเว้นภาคใต้ครับที่ยังไม่เจองูเห่าชนิดนี้ ทางเหนือ อีสาน จะเป็นชนิดเด่นเลย ทางตะวันออกก็สัดส่วนน่าใกล้เคียงกัน

ความเห็นที่ 5

อยากทราบว่ามันต่างจากงูเห่าทั่วไปอย่างไรครับ เวลาเข้าป่าจะได้ระวังไว้ครับ.

ความเห็นที่ 6

โดยปกติถ้าเจองูเห่าก็ให้ระวังไว้ก่อนเลยครับว่ามันจะพ่นพิษได้ ส่วนเรื่อลักษณะข้อสังเกตคงต้องรอท่านอื่นมาอธิบายอีกที โดยส่วนตัวยังจำแนกไม่ชัดเจนนักว่าตัวไหนพ่นพิษหรือไม่พ่นพิษ ถ้าไม่ได้ดูใกล้ๆ

ความเห็นที่ 7

ถ้าพิษเข้าตาแล้วตาก็จะบอดใช่มั้ยครับ แต่ทำไมกรณีนี้คนที่โดนทำไมไม่เห็นเป็นอะไรเลยล่ะครับ

ความเห็นที่ 7.1

ก็เขาล้างตาไงครับ เลยไม่บอด

ความเห็นที่ 7.1.1

คือถ้าโดนแล้วรีบล้างตาก็ไม่มีปัญหาใช่มั้ยครับ?

ความเห็นที่ 7.1.2

ใช่ครับ...

ความเห็นที่ 8

ผมว่างูกลุ่มนี้ก็เป็นอีกกลุ่มนึง ที่มีวิวัฒนาการอันน่าทึ่งเกี่ยวกับระบบพิษ

จาก"มีดอาบยาพิษ"ในงูเห่าหม้อธรรมดา  ได้วิวัฒนาการกลายมาเป็น"ปืนระยะสั้น"ที่มีประสิทธิภาพ  สามารถต่อกรกับนักล่างูอย่าง หมา แมว พังพอน หรือเหยี่ยว ได้ดีกว่ามาก

อย่างกิ้งก่าทะเลทรายที่ยิงเลือดออกจากตาได้นั้น ดูๆแล้วก็แค่ปาหี่ แต่นี่อาวุธจริง

 

หมายเหตุ > เจ้าเห่าพ่นพิษตัวนี้โดนตีซะยับ ศพไม่สวยเหมือนเจ้าแมวเซาในกระทู้ก่อน

ความเห็นที่ 9

ที่จริงตอนแรกผมตอบซะยาว พอคลิ๊กโพส มันก็เจ๊ง เลยกลับมาตอบสั้นๆแทน

ในกรณีที่ต้องการจำแนกเพื่อระวังตัวเท่านั้นก็แค่พอรู้ว่าเป็นงูเห่าก็ไม่ต้องไปวุ่นวายกับมันก็เพียงพอแล้วครับ เพราะจะจำแนกถึงชนิดเลยนั้นน่าจะอันตรายกว่าเนื่องจากต้องอยู่ระยะอันตราย ส่วนตัวผมเองนั้น ก่อนที่จะจำแนกได้จากระยะไกลๆก็ต้องผ่านระยะอันตรายมานับไม่ถ้วน

การจำแนกนั้น เอาพอเป็นหลักทั่วๆไปโดยไม่คำนึงถึงข้อยกเว้น หรือความผันแปรต่างๆก็พอมีดังนี้

งูเห่าไทย (Naja kaouthia) เป็นงูเห่าชนิดเดียวของไทยที่ไม่พ่นพิษ (แต่ถ้าใครเคยเจองูเป็นๆมากๆพอ และหลายๆแหล่งก็จะเริ่มเจอกฎข้อยกเว้นตั้งแต่ประเด็นนี้เลย) ปกติมีลายดอกจันเป็นวงกลม แต่ก็มีไม่น้อยที่เป็นลายคาดขวาง หรือจุดสีอ่อนกว่าสีทั่วไปที่คอ บางประชากรก็ไม่มีลายดอกจัน (น่าจะเริ่มงง) แต่ยังโชดีที่หายากมากที่ลายจะเป็นอักษร U ซึ่งลายไปพ้องกับงูเห่าพ่นพิษ (อ่านต่อข้างล่าง) พบกระจายพันธุ์ทุกภาค พบน้อยทางอีสานและเหนือ เป็นงูเห่าที่มีความผันแปรสูงมากทั้งสีและลายแม้ในถิ่นเดียวกัน ลักษณะที่เจอร่วมกันในทุกประชากรคือเกล็ดเป็นมัน และสีของหน้าครึ่งล่าง(ระดับใต้ตาลงมา มองจากด้านข้าง)มีสีนวลๆ หรืออ่อนกว่าส่วนที่เหนือขึ้นไปค่อนข้างชัดเจน

งูเห่าพ่นพิษสยาม (Naja siamensis) เป็นสัตว์ชนิดแรกที่ใช้ชื่อจำเพาะว่า siamensis เจ้ายี่ห้อนี้ก็มีความผันแปรมากที่สุดทั้งสีและลาย แต่ความผันแปรเหล่านี้จะมีการกระจายพันธุ์ที่แยกจากกัน อาจมีเหลื่อมซ้อนบ้างเล็กน้อย ลายดอกจันมาตรฐานคือ U V หรือ U ที่มีหัวกลมๆ 2 ข้าง น้อยมากที่จะเป็นวงกลม บางตัวอาจมีลายดอกจันจางมากจนแทบไม่เห็น หรือหายไปเลย สีก็มีทั้งน้ำตาลอมเขียว น้ำตาล ดำอมน้ำเงิน ด่างดำขาว ฯลฯ (เยอะจริงๆ) บางประชากรเกล็ดด้านๆ บ้างก็เป็นมันเงา(ส่วนน้อย) สีของหน้าระดับใต้ตาเหมือนๆกับระดับเหนือขึ้นไป

งูเห่าพ่นพิษสีทอง (Naja sumatrana) ชนิดนี้มีความต่างจากสองชนิดข้างต้นชัดเจน แล้วยิ่งไม่ได้อยู่ภาคใต้ก็แทบไม่ต้องไปนึกถึงมันเลย สีที่เราเห็นรวมๆของมันคือตัวสีเหลืองทองแล้วมีจุดสีน้ำตาลกระจายทั่วตัว ไม่มีลายดอกจัน แต่จะมีลายขลิบสีน้ำตาลเข้มเป็นเส้นตรงที่แม่เบี้ยส่วนล่าง แล้วหากเจอก็แทบไม่ต้องบอกเลยว่าเป็นเห่าพ่นพิษ เพราะมันจักพ่นพิษใส่แทบจะทันทีที่รู้ตัวว่าอาจถูกคุกคาม

ความเห็นที่ 9.1

ขนาดน้อยนะเนี่ย

ความเห็นที่ 9.2

ทีหลังพิมพ์ยาว ต้องพิมพ์ใส่ word ก่อนดีกว่าครับพี่ ผมทำแบบนั้นเสมอมา
 

ความเห็นที่ 9.2.1

บางทีไม่ได้ตั้งใจพิมพ์ยาว ไปๆมาๆมันยาว ถ้าไม่ลืมก็จะ copy ไว้ก่อนโพสน่ะ

ความเห็นที่ 10

เกล็ดความรู้ เต็มๆ เลยครับ

ความเห็นที่ 11

งูเห่าชนิดที่พ่นพิษ มีเขตแพร่กระจายพันธุ์ในอินเดียมั้ยครับ?

ความเห็นที่ 11.1

ไม่มีนะครับ

รอคนมายืนยัน

ความเห็นที่ 11.1.1

งั้นมาตอบว่ายังไม่ขอยืนยันแล้วกันครับ แต่ถ้าเอาเฉพาะกลุ่มงูเห่าเอเชีย ก็ไม่มี แต่อินเดียนั้นมีกลุ่มงูเห่าแอฟริกาอยู่ร่วมด้วย ผมก็ยังไม่ได้ไปเช็คว่ามีชนิดพ่นพิษหลงๆในอินเดียด้วยหรือเปล่า

อย่างไรก็ตามมีการศึกษาลักษณะของเขี้ยวพิษของงูเห่าเอเชียก็พบว่างูเห่าที่ไม่พ่นพิษทุกชนิดมีแนวโน้มการพัฒนาสู่เขี้ยวที่พ่นพิษอยู่ด้วยครับ

ความเห็นที่ 11.2

ที่สงสัยคือ งูเห่าพ่นพิษของไทย กับงูเห่าพ่นพิษแอฟริกัน(เคยได้ยินว่ามีอยู่) มันมีเชื้อสายใกล้ชิดกันไหมครับ?

ถ้ามีความเกี่ยวพันกัน > ทำไมเขตแพร่พันธุ์ของงูกลุ่มนี้ จึงข้ามประเทศอินเดียไปหน้าตาเฉย?

หรือว่าจริงๆแล้วไม่ค่อยใกล้กันนัก เป็นแค่ Convergent ครับ ?!?

(ถ้าพันธุกรรมของงูเห่าสยามพ่นพิษ มีส่วนใกล้ชิดกับงูเห่าหม้อ มากกว่าเห่าพ่นพิษแอฟริกัน แสดงว่านั่นน่าจะเป็น Convergent แล้ว)

ความเห็นที่ 12

งูเห่าสกุล Naja ถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม หรือสกุลย่อย คือ งูเห่าเอเชีย (ทั้งพ่นและไม่พ่นพิษ) อยู่สกุลย่อย Naja, งูเห่าแอฟริกาที่ไม่พ่นพิษ (Uraeus) งูเห่าแอฟริกาพ่นพิษ (Afronaja) และงูเห่าตัวลาย (Boulengerina)

อย่างที่เคยบอกข้างต้นว่างูเห่าเอเชียที่ไม่พ่นพิษทุกชนิดมีแนวโน้มการพัฒนาสู่ระบบเขี้ยวพ่นพิษครับ ผมเคยเจอในงูเห่าไทย (N. kaouthia) มาแล้ว

รายละเอียดติดตามใน

http://mapress.com/zootaxa/2009/f/zt02236p036.pdf

ความเห็นที่ 12.1

(แต่ถ้าใครเคยเจองูเป็นๆมากๆพอ และหลายๆแหล่งก็จะเริ่มเจอกฎข้อยกเว้นตั้งแต่ประเด็นนี้เลย)

........................................................

ทีแรกผมเข้าใจผิดว่า งูเห่าไทยบางตัวไปครอสบรีดกับเห่าตาลพ่นพิษ จนได้ลูกครึ่งที่มีความสามารถดังกล่าวมาด้วย(แต่รุปร่างภายนอกยังเหมือนเห่าไทย) เสียอีก