ทริปหนูๆ...จากกาฬสินธุ์

ลุยเก็บตัวอย่างสัตว์ฟันแทะกลุ่มหนู (Murinae) อีกครั้ง...คราวนี้...หมายมาตกที่ดินแดนน้ำดำ...ถิ่นไดโนเสาร์...ในช่วงต้นหนาว...ลมเย็น...อากาศดี...ที่จังหวัดจังหวัดกาฬสินธุ์ครับ...

Comments

ความเห็นที่ 1

พบหนูต่างๆ...มากมายพอสมควรครับ...ชุดแรกมายกฝูง...จากความอนุเคราะห์ของเด็กน้อย...ช่วยกันไปขุดมาให้เต็มกะละมัง...หนูหริ่งนาหางสั้น Mus cervicolor
มากันอย่างแออัดเลยทีเดียว ตัวเมีย...กำลังตั้งท้อง...ช่วงนี้น่าจะเป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์พอดี (ช่วงฤดูเก็บเกี่ยว)...พบตัวเมียตั้งท้องเต็มไปหมด

ความเห็นที่ 2

หนูหริ่งนา (Mus cervicolor or caroli??) วัยละอ่อน ยังไม่ทราบชนิดแน่ชัด...รอผล Molecular เพื่อยืนยัน...อีกครั้งหนึ่ง...
Mus sp. วัยละอ่อน

ความเห็นที่ 3

หนูบ้าน Rattus tanezumi ขนาดย่อมๆ...พบได้ทั่วไป...ทั้งแหล่งชุมชนที่อยู่อาศัย...พื้นที่เกษตรกรรม...หรือแม้กระทั่งในป่า...
dsc_0641_copy.jpg dsc_0635_copy.jpg

ความเห็นที่ 4

หนูกลุ่ม Rattus ในนา...ทั้งหนูนาใหญ่...และหนูนาเล็ก...ก็พบได้ประปรายเช่นกัน..ในยามนี้...
หนูนาใหญ่ Rattus argentiventer หนูนาเล็ก Rattus losea สีค่อนข้าง bright ไปสักหน่อย...สำหรับเจ้านี่..

ความเห็นที่ 5

หนูในนาที่โปรดปรานอีกตัว...สำหรับชาวบ้านที่นี่...หนูพุกใหญ่ Bandicota indica
dsc_0543_copy.jpg

ความเห็นที่ 6

ส่วนใหญ่ชาวบ้านที่นี่...จับหนูพุกขายกันเป็นอาชีพ...เลยทีเดียว...
dsc_0651_copy.jpg ส่วนใหญ่ใช้บ่วงลวดเป็นกับดัก...พอจับได้ก็จัดการตัดฟันทิ้ง...ทำให้สามารถจับได้ด้วยมือเปล่า (ตอนแรกก็ทึ่งไปเหมือนกันว่าทำไมท่านถึงได้กล้าจับมือเปล่าขนาดนั้น)

ความเห็นที่ 7

หนูพุกตัวเขื่องๆ...เต็มๆ...กรงทั้งนั้น...อาหารดี...อยู่ดี...กินดี...
dsc_0627_copy.jpg

ความเห็นที่ 7.1

ตัวนี้ผัดเผ็ดได้จานใหญ่

ความเห็นที่ 8

หนูจากป่า...มีไม่มากนัก...เพราะพื้นที่ป่า...ถูกเปลี่ยนแปลงไป...กลายเป็นนา...และไร่แทบทั้งหมด...เหลือเพียง...บางส่วนที่อยู่บนยอดภูเท่านั้น....ทริปนี้...จึงเจอเจ้านี่เพียงแค่ตัวเดียว...หนูฟานเหลือง Maxomys surifer
Maxomys surifer จากยอดภูสิงห์

ความเห็นที่ 9

อย่างที่บอกครับ...ชาวบ้านที่นี่ดักหนู...กินเนื้อหนูกันเป็นอาชีพ....จริงแล้ว...ถ้าปรุงให้สุกก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใดครับ...คนกินอาจจะเสี่ยงน้อยกว่าคนที่ลงมือเชือดและทำอาหารด้วยซ้ำไป...จุดสำคัญ...คือต้องให้ความรู้และสุขอนามัย...ใส่ถุงมือหรือล้างมือให้สะอาดหลังจากจับหนูสดทุกครั้ง..จะดีมากๆ...ครับ
ต้มและถอนขน...(ได้ไปเห็นและแอบถ่ายรูปมาพอดิบพอดี) อันนี้ย่างและรมควันเรียบร้อยแล้ว...โชว์ให้ถ่ายรูปกันเลยทีเดียว เจ้าหมาน้อยก็จ้องตาเป็นมันเลยทีเดียว

ความเห็นที่ 10

หนูยวง...หนูงวง...หรือหนูผี...Crocidura sp ก็พบเจอในคราวนี้เช่นกัน...
หนูผี...Crocidura sp (ยังไม่ทราบชนิด) ไม่ใช่ Rodentia แต่เป็น Insectivora ครับ...

ความเห็นที่ 10.1

เหมือนหนูที่เจ้าลุกแมวจับมาให้ตอนเช้าเมื่อวานเลยคะ
ตัวเค้าจะเล็กๆเลยรึเปล่าคะ

ความเห็นที่ 10.1.1

ใช่ครับ...ตัวเล็กมาก...พวกนี้ต้องอยู่กับที่ชื้นมากๆ...ครับ...เพราะตัวเล็ก...หัวใจเต้นเร็วมาก Metabolism ในร่างกายจึงสูงมากๆ...ครับ...(คล้ายๆ...กับค้างคาวเลย)

ความเห็นที่ 11

สิ่งมีชีวิตอื่นๆ...เอามาฝากพี่น้อง Siamensis ช่วยกัน Iden ด้วยครับ...
อึ่งน้ำเต้าหรือเปล่าครับ..?? ตัวเล็กนิดเดียวเอง... จิ้งจกอะไรครับ...?? ตุ๊กแกบ้าน Gecko gecko ใช่ไหมครับ...?? เจอตามหน้าผาบนยอดภูสิงห์เลยทีเดียว เต่าเหลือง Indotestudo elongata บนภูดิน...ครับ

ความเห็นที่ 12

มาที่...นกกันบ้างครับ
นกกินปลี...?? นกจับแมลง...ใช่ไหมครับ..?? นกเด้าดินทุ่ง?? นกเด้าดิน...อีกตัว..?? นกจาบคาอะไรล่ะครับ..เนี่ย..?? No idea?? นกยอดหญ้ากระมังครับ..??

ความเห็นที่ 12.1

ตัวแรกน่าจะเป็นขมิ้นน้อยธรรมดานะครับ

ความเห็นที่ 12.2

รูปแรกพลาดแล้วครับพี่นณณ์ ^ ^
1.นกกินปลีคอสีน้ำตาล (Brown-throated Sunbird) ตัวเมีย ดูจากวงรอบตาสีเหลืองถ้าเป็นตัวเมียของกินปลีอกเหลืองจะไม่มีวงรอบตาชัดเจนแบบนี้

2.นกจับแมลงคอแดง (Red-throated Flycatcher) นอกฤดูผสมพันธุ์ เป็นนกอพยพที่พบได้ทั่วไปตามพื้นที่เกษตร หรือสวนสาธารณะ ถ้าช่วงมีนา-เมษา คอเค้าจะมีสีแดง พร้อมกลับบ้านไปแต่งงานกันที่รัสเซีย

3.-7.นกยอดหญ้าหัวดำ (Siberian Stonechat) ภาพที่3.เป็นตัวเมีย ภาพที่7.เป็นตัวผู้

4.เด้าดินทุ่ง ...  สำหรับตัวนี้ผมยังไม่มีทริกมา ID มันจริงจังเท่าไร ลองเข้าไปถามที่ www.bcst.or.th ดูนะครับ บอร์ด "จำแนกชนิดนก"

5.นกจาบคาเล็ก (Green Bee-Eater) 3อย่าง ที่ผมใช้แยกมันออกจากจาบคาหัวสีส้ม (Chestnut-headed Bee-Eater) 1แถบคาดตาหนากว่า 2มีหางคู่กลาง 3คอมีสีฟ้า

6.นกยอดหญ้าสีดำ (Pied Bushchat) หรือนก ขี้หมา (ชอบชื่อหลังมากกว่า 555)

หวังว่าคงเอาไปใช้ประโยชน์ได้นะครับ ^ ^

ความเห็นที่ 12.2.1

ก็ว่า ขมิ้นน้อยทำไมปากยาวๆ อิอิ

ความเห็นที่ 12.2.1.1

อ๊ายยยยอาย ก็ผมไม่เห็นปากยาวๆนี่

ความเห็นที่ 12.2.2

ขอบคุณมากครับ....ช่วยเพิ่มประสบการณ์...และมุมมองในการดูนกของผมได้อีกเยอะเลยทีเดียว..

ความเห็นที่ 12.2.3

เด้าดินทุ่ง... คาดว่าเป็นเด้าดินทุ่งเล็ก(หญ้า) Paddyfield ครับ

จากความยาวปาก และรูปร่างลำตัว ถ้า Richard จะยาวใหญ่กว่านี้ (ไม่คิดถึงBlythที่หายากและไม่เห็นจุดจำแนก)

ที่สำคัญ loral (เหมือนจะ) ดำ ซึ่งลักษณะนี้มีแต่ใน paddy เท่านั้นครับ


ความเห็นที่ 13

มาที่กลุ่มสัตว์ขาข้อ..กันบ้างครับ...
แมลงปอฝากคุณดิว...ครับ... แมลงปอเข็มชนิดใดครับ..?? มวน..?? ตั๊กแตน...หน้าตาแปลกๆ...ครับ..?? ผีเสื้อครับ...

ความเห็นที่ 13.1

น้องปอตัวแรก แมลงปอบ้านสองสีเขียวฟ้า Diplacodes trivialis ตัวเมีย

น้องปอตัวที่สอง ตัวเมียของแมลงปอเข็มในสกุล Ceriagrion ครับ มิกล้าจำแนกชนิด เพราะมันคล้ายๆ กันหมด

ความเห็นที่ 14

หนอนผีเสื้อตัวนี้รอผู้รู้มาช่วย iden ครับ...
เจอตอนเช้า..กำลังรุมกินใบต้นชวนชมกันอย่างเอร็ดอร่อยเลยทีเดียว... สักพักก็เริ่มเห็นว่าลงหลักปักฐาน ผ่านไปราวๆ 5 ชั่วโมง...เห็นว่ากลายมาเป็นดักแด้..?? ซะแล้ว..สีมันวาวเป็นสีรุ้งมหัศจรรย์ดีจริงๆ...ครับ...รอคอยไปอีก...สามวัน...จนจบทริป..ต้องกลับบ้าน..ก็ยังไม่เห็นกลายเป็นผีเสื้อสักที...

ความเห็นที่ 15

ปิดท้ายด้วยทิวทัศน์มุมต่างๆ...จากกาฬสินธุ์ต้อนรับลมหนาว..ใหญ่ที่กำลังมาถึงครับ...
อุทยานโลกไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว...ครับ...ว่างๆ...จะเอาภาพภายในมาโพสต์แบ่งกันชมครับ...พิพิธภัณฑ์สวยงาม จัดแสดงอย่างดีเยี่ยมเลยครับ... ยอดหญ้าข้างทาง...ยามเย็นครับ... dsc_0889_copy.jpg dsc_0888_copy.jpg dsc_0879_copy.jpg มุมต่างๆ...จากยอดภูสิงห์ dsc_0608_copy.jpg ปิดท้ายด้วย...บรรยากาศรอบๆ...เขื่อนลำปาว...ครับ...เสียดายไม่ได้โฉบมาแถวๆ...เขื่อนมากนัก...เลยอดซุ่มดูนก...อพยพมาแถวๆ..นี้เลย...รอเอาไว้โอกาส...หน้ากลับมาเยี่ยมเยืยนใหม่...ขอบคุณมากมาย...เมืองสหัสขันธ์...จังหวัดกาฬสินธุ์ครับ....

ความเห็นที่ 16

Species index ส่วนของ Mammal ตอนนี้ขาดที่สุดก็หนูนี่แหล่ะครับ รบกวนคุณ Heinetonk เป็นประธานจัดสร้างส่วนของ Muridae หน่อยได้ไหมครับ?  ไม่งั้น Mammal เราสมบูรณ์มากๆแล้วครับ แต่หนูนี่โบ๋สนิทเลย 

ผมพอมีภาพอยู่บ้างนิดหน่อยเอง แต่ไม่มีลิสท์ลายชื่อด้วย ไม่รู้ป่านนี้เค้าใช้ชื่อใช้สกุลอะไรกันบ้างแล้ว พอจะมีิลิสท์ไหมครับ? 

ความเห็นที่ 17

คห 11 ตัวแรกเดาว่า อึ่งลายเลอะ
http://www.siamensis.org/species_index#3652--Species:%20Microhyla%20butleri

ความเห็นที่ 18

เคยไปเดินรอบภูกุ้มข้าวมาแล้ว เม่ือหน้าแล้งที่ผ่านมาเหนื่อยมาก ร้อนมาก แทบไม่เจออะไรเลยขึ้นไปบนยอดภูเจอไก่ปากับปาดตัวนึงมารับแขกที่วิหารรอยพระพุทธบาท ขอเอามาแจมด้วยครับ
ไก่ปาชนิดใด ปาดอะไร

ความเห็นที่ 19

เจดีย์ที่มองเห็น  น่าจะเป็นเจดีย์ที่ภูค่าว  ตอนนี้อุดมไปด้วยนกยูงครับ

ความเห็นที่ 19.1

ยูงไทยหรืออินเดียครับ?

ความเห็นที่ 19.1.1

ไม่ทราบเหมือนกันครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้จะเอารูปนกยูงที่ภูค่าวมาให้ดูครับ