เปรียบเทียบละมั่งพันธุ์ไทย กับ พม่า
เขียนโดย นณณ์ Authenticated user เมื่อ 7 ธันวาคม 2553
ได้มีโอกาสพบปะกับละมั่งสองประชากรในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ก็เลยได้เห็นตามตำราว่าต่างกันอย่างไร ก็นำภาพมาลงเปรียบเทียบให้ดูครับ
1. ละมั่งไทย Cervus eldii siamensis Lydekker, 1915 กระจายพันธุ์อยู่ทางฝั่งภาคอีสาน ไล่ไปทางเขมร ลาว
2. ละมั่งพม่า Cervus eldii thamin Thomas, 1918 พบแนวป่าตะวันตก รวมทั้งที่อุทัยธานี(ซึ่งก็ควรจะรวมถึงชัยนาทด้วย) ไล่ไปทางพม่า
3. ละมั่งไทยขนออกสีแดงกว่าพม่า ในเพศผู้ในหน้าหนาวขนที่บริเวณหน้าอกจะยาวเยอะกว่า
4. จุดนี้เห็นชัดเลยของสองประชากร ละมั่งพันธุ์ไทยเขาแตกกิ่งแขนงเยอะมาก ปลายเขาด้านหลังจะแบนออก แต่พันธุ์พม่าไม่ค่อยแตกกิ่งปลายเขากลม ในภาพจะเห็นชัด ไว้รอช่วงเดือนมกราคม รอให้เขาแก่เต็มที่จะต้องตามถ่ายทั้งสองกลุ่มอีกรอบครับ เสียดายที่เขาดินมันอยู่แบบนี้ก็ถ่ายได้แค่นี้แหล่ะ...
ดัชนีสิ่งมีชีวิต
http://www.siamensis.org/species_index#1944--Species:%20Rucervus%20eldii
1. ละมั่งไทย Cervus eldii siamensis Lydekker, 1915 กระจายพันธุ์อยู่ทางฝั่งภาคอีสาน ไล่ไปทางเขมร ลาว
2. ละมั่งพม่า Cervus eldii thamin Thomas, 1918 พบแนวป่าตะวันตก รวมทั้งที่อุทัยธานี(ซึ่งก็ควรจะรวมถึงชัยนาทด้วย) ไล่ไปทางพม่า
3. ละมั่งไทยขนออกสีแดงกว่าพม่า ในเพศผู้ในหน้าหนาวขนที่บริเวณหน้าอกจะยาวเยอะกว่า
4. จุดนี้เห็นชัดเลยของสองประชากร ละมั่งพันธุ์ไทยเขาแตกกิ่งแขนงเยอะมาก ปลายเขาด้านหลังจะแบนออก แต่พันธุ์พม่าไม่ค่อยแตกกิ่งปลายเขากลม ในภาพจะเห็นชัด ไว้รอช่วงเดือนมกราคม รอให้เขาแก่เต็มที่จะต้องตามถ่ายทั้งสองกลุ่มอีกรอบครับ เสียดายที่เขาดินมันอยู่แบบนี้ก็ถ่ายได้แค่นี้แหล่ะ...
ดัชนีสิ่งมีชีวิต
http://www.siamensis.org/species_index#1944--Species:%20Rucervus%20eldii
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ไร้สาระอะ ไปดีกว่า เหอๆ
ความเห็นที่ 3
เจ้าละมั่งนั่น แท้ที่จริงแล้วมีถึง สาม สายพันธุ์ย่อยด้วยกัน สองสายพันธุ์ได้กล่าวถึงไปแล้ว ก็เหลืออีกตัวคือ eldi eldi ตัวนี้จะพบที่อินเดียครับ
ละมั่งสายพันธุไทยนี้ หนังสือบางเล่มอาจเรียกว่าเป็นสายพันธุ์ indochinese ก็มีเพราะว่าเป็นสายพันธุ์ที่พบในอีสาน ลาวใต้ กัมพูชา เวียตนาม เรื่อยไปจนถึงเกาะ ไฮ่หนาน หรือ ไหหลำ เลยครับ แต่สถานภาพในปัจจุบันถือว่าเป็นสายพันธุ์ย่อยที่หมิ่นเหม่ต่อการสูญพันธุ์มากที่สุด เพราะจำนวนตัวที่เหลืออยู่ในธรรมชาตินั้นน้อยเอามาก ๆ ตอนนี้มีแค่ในเขตกัมพูชาทางภาคเหนือเท่านั้น อาจมีบางส่วนในลาวใต้แต่ยังไม่ได้รับการยืนยัน และในสวนสัตว์ หรือสถานเพาะเลี้ยงต่าง ๆ ก็จะเป็นสายพันธุ์พม่า หรือ thamin เป็นหลัก
จากข้อมูลในปี 2008 ประเทศไทยเราหลงเหลือ ละมั่งสายพันธุ์ siamensis อยู่แค่ 4 ตัวเท่านั้น และอยู่ในสวนสัตว์เขาดินทั้งหมดเป็นตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมียอีก 4 ตัว แต่จากรูปที่คุณนนท์เอามาลง คาดว่าน่าจะขยายพันธุ์ได้พอควรแล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่า ละมั่งสายพันธุ์ siamensis นี้จะมีโอกาสได้กลับบ้านเหมือนสายพันธุ์ thamin หรือไม่ เพราะพื้นที่อาศัยของเขาคือป่าเต็งรังเปิดโล่งไม่ใช่ ป่าเบญจพรรณ ซึ่งป่าแบบนี้ในอีสานใต้ก็เหลืออยู่น้อยมาก
การปล่อยละมั่งคืนป่าที่ห้วยขาแข้ง ชุดที่ปล่อยครั้งแรกจำนวนสามสิบตัวนั้น ตายหมดครับ เนื่องจากการถูกสัตว์ผู้ล่าจับกินเป็นอาหาร และไม่คุ้นเคยกับพื้นที่อาศัย ตอนหลังจึงได้มีการเปลี่ยนแผนโดยการนำละมั่งไปเลี้ยงในพื้นที่เลย เพื่อให้คุ้นชินต่อสภาพพื้นที่ ยังไงฝากถามรายงานความคืบหน้าด้วยนะครับ ละมั่งที่ปล่อยเป็นสายพันธุ์ thamin ครับ
ยังไงบ้านเรายังมีการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าหายาก และมีแผนนำกลับคืนสู่ป่า ที่กำลังรอลุ้นกันอยู่ก็มี กระเรียน และ พญาแร้ง โดยมีโต้โผใหญ่คือ สวนสัตว์โคราช มีแมวป่าหัวแบนและเสือลายเมฆ เขาเขียวและสงขลา เสือปลาเป็นงานวิจัยที่เขาสามร้อยยอด และเห็นว่าเพาะพันธุ์ได้แล้วที่เชียงใหม่ ไนท์ซาฟารี อันนี้เมาเพ่มให้นะครับ