เพลินๆ เดิน ห้วยขาแข้ง

มีโอกาศได้เข้าไปร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการกรณีความรู้ที่ได้รับจากการคืนละมั่งสู่ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยคณะวนศาสตร์ ที่ร่วมมือกับ องค์กรต่างๆ ร่วมกันจัดขึ้น ส่วนละมั่งเป็นอย่างไร พี่นณณ์ได้อธิบายไว้ในกระทู้ด้านล่างแล้ว (พอดีเลยนะพี่ หุหุ)

Comments

ความเห็นที่ 1

ตกลงเหลือรอดกี่ตัว และเกิดในป่ากี่ตัวแล้วครับ? 

ละมั่งดูอวบสมบูรณ์กว่าละมั่งวัดเยอะเลยนะ ทุ่งเขียวเชียว!

ทำไม ทำไม ทำไม เราไม่เคยไปห้วยขาแข้ง....ทำไม...

ความเห็นที่ 2

crying ไม่เคยไปเหมือนกัน ทำไมสมัยเราเรียนไม่เห็นมีภาคสนามอย่างนี้บ้างนะ วันๆ อยู่แต่ในแลปต้มตะกั่ว

ความเห็นที่ 3

อยากเดินห้วยนี้มานานแล้วแฮะ มีรายงานเจอแมลงปอจากที่นี่อยู่พอสมควรเลย แต่คิดว่ายังไงก็น่าจะมีเยอะอยู่ ไม่มีเวลาไปส่องเล้ยยย

ความเห็นที่ 4

บั้งรอกแก้เป็น Green billed malkoha ครับ

ความเห็นที่ 4.1

อ้าว เปิดตำราได้ชื่อนี้มา แล้วในตำราต้องแก้ตัวไหนอีกเนีย ? ? ?

ความเห็นที่ 4.1.1

ดูผิดตัวรึเปล่าพี่ดิว ในรูปเป็นบั้งรอกใหญ่ หรือ Green-billed malkoha ครับ กระจายทั่วประเทศไทย และพบได้ไม่ยาก
ไอ้ raffle เนี่ย เค้าเรียกบั้งรอกแดงครับ ตัวจะเล็กกว่านี้ ชื่อก็บอกว่าแดงแล้ว ต่างกับบั้งรอกใหญ่สิ้นเชิง ไม่น่าพบที่ห้วยขาแข้งด้วย ลองดูดี ๆ สิครับ ถ้าชานแป้กละจะไปเปิดหนังสือดู

ความเห็นที่ 4.1.1.1

ดูถูกตัว แต่พิมพ์ชื่อผิด เหอๆ

ความเห็นที่ 5

ยังไม่เคยไปห้วยขาแข้งเหมือนกันครับ  เห็นทุ่งหญ้าป่าเขียวแบบนี้แล้วอยากไปขึ้นมาเหมือนกัน (^^)

ปล.ละมั่งที่นั่นดู "อวบ" ดีนะขอรับ  อิ อิ :)

ความเห็นที่ 6

เหล่าคณะวิจัย ดูแลดีครับ ส่วนเรื่องจำนวนนี้ ยอมรับว่าจำไม่ได้จริงๆ แต่เห็นว่าโครงการกำลังไปได้สวยครับ 

ความเห็นที่ 7

คางคกหัวราบ Ingerophrynus macrotis ตัวเมีย วัยรุ่นครับ