สาเหตุที่น้ำวังท่วมเมืองลำปาง

ภาพปัจจุบันที่สะพานรัษฎาภิเศก น้ำวังมีขนาดประมาณ 2 โค้ง ภาพในอดีตภาพด้านล่าง เห็นสะพานเดียวกันนี้อยู่ไกลๆ มีข้อสังเกตคือ

1. แม่น้ำวังมีความกว้าง 4 โค้งสะพาน เทียบกับภาพปัจจุับันมีขนาดกว้างแค่ 2 โค้งสะพาน อีกสองโค้งที่เหลืออยู่บนบกไปเรียบร้อยแล้ว
2. สังเกตท่อนซุงจำนวนมหาศาลที่ติดคาอยู่ว่าปริมาณมากมายเพียงใด ป่าไม้ถูกตัดไปเท่าไหร่

สองเหตุนี้รวมกันกลายเป็น

1. น้ำมีพื้นที่ไหลน้อยลง ไหลมามากๆ ก็ท่วมล้นตลิ่งเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนที่ไหลผ่านไปก็ไหลเร็วขึ้นแรงขึ้น กัดเซาะตลิ่งพังอีก
2. ตัดไม้ทำลายป่า ขาดป่าคอยช่วยชลอน้ำเอาไว้ ฝนตกลงมาก็ไหลรวดเดียวลงทางน้ำหมด

ขอขอบคุณภาพเก่าจากคุณ บวร SCG ครับ
 

Comments

ความเห็นที่ 1

แก้ไขโดยสร้างเขื่อนสิครับ T_T

ความเห็นที่ 2

การที่จะไม่ให้น้ำท่วมรุนแรง คือ เราต้องยอมให้น้ำท่วมเป็นพื้นที่กว้าง ผลที่ตามมาคือ ปีนั้นเราจะมีปลาให้ใช้ประโยชน์ในวัตถุประสงค์ต่างๆมากพอด้วย

ความเห็นที่ 3

ที่ราบลุ่ม ทุ่งน้ำท่วม โดนถมทุกปีๆ ประเทศชาติ จังหวัด อำเภอ ตำบลไม่จัดโซนนิ่งกันบ้างหรือไร? ว่าพท.ไหนควรละเว้นไว้ทำอะไร พท.ไหนเอาไปเป็นประโยชน์อะไร
 

ความเห็นที่ 4

เพิ่งเคยเห็นภาพสะพานรัษฎาภิเษกในอดีต เป็นคนลำปางยังไม่เคยเห็นภาพนี้เลยพี่

ความเห็นที่ 5

คนเราชอบฝืนธรรมชาติจัง

ธรรมชาติเค้าเป็นมาของเค้าดีๆ

พอเราไปขวาง ก็หาว่าธรรมชาติรุนแรง

วันก่อนขับรถขึ้นดอย ก็เห็นว่ามีน้ำไหลมาผ่านถนน

เลยบอกลูกลองนับดู และลองคิดว่าสิ่งที่เห็นบอกอะไรเราบ้าง

พอลูกรู้ว่านี่เป็นทางน้ำ และถามลูกๆว่า ถ้าเราต้องการทำถนนไปขวางทางน้ำ

และรู้ว่าทุกปีหน้าฝนน้ำก็ต้องผ่านทางนี้ เราจะทำอย่างไรดี

.... คงได้แต่สอนลูกๆต่อไป และเค้าคงได้ไปบอกต่อเพื่อนๆเมื่อมีโอกาส

ความเห็นที่ 6

ซุงกับเศษไม้ที่ถูกตัด อาจไปกั้นขวางทางน้ำ ทำให้ฝนตกมาแล้วถูกกั้นทางน้ำไว้ จนระดับน้ำยกตัวสูงขึ้น  จนเศษไม้และซุง ต้านทานไม่ไหว น้ำป่าจุึงลงมาเป็นลูกใหญ่ๆ ไม่ได้ลงมาเป็นสายๆ

 

เห็นรูปแล้วโ ค ต ร หงุดหงิดเลย