พัฒนาการแบบบ้านๆ ของปาดบ้าน

ภาพแรกที่ผมถ่ายไว้ บันทึกวันที่ 14 พ.ย. แต่จำได้ว่าเก็บมาก่อนหน้านั้นสักสัปดาห์หนึ่ง
แต่กว่าตู้ที่จัดไว้น้ำจะใส ก็ผ่านไปหลายวัน

ปาดบ้านทั้งหมด 5 ตัวได้มาจากถังแกลลอนใส่น้ำในแปลงเพาะต้นไม้ของพี่พูน จากระยอง
ดูในถังก็เป็นน้ำใสๆไม่น่าจะมีอะไรให้กิน แต่ปาดกว่าสิบตัวในถังก็ดูอวบอ้วนดี

ขนาดแรกเก็บมาขนาดไม่เกินสามเซน ไม่รู้อายุเท่าไร

Comments

ความเห็นที่ 1

พฤติกรรมการกินอาหารที่น่าสนใจที่พรุเล่าให้ฟัง ดูเหมือนนักล่าขนาดเล็กๆ เป็นภาพที่น่าบันทึกไว้อย่างมาก

แต่เสียดาย สงสัยเลี้ยงไม่เหมือนธรรมชาติ ลูกอ๊อดผมแทะสาหร่าย กินอาหารปลา ลูกน้ำ ลูกปลา แทบไม่สน มีกินลูกน้ำบ้าง ก็ถ่ายไม่ทัน
เอาปากไปดูแทน

ความเห็นที่ 1.1

ยังกับทาลิปสติกแหน่ะ สวยเชียว

ความเห็นที่ 1.1.1

สุดยอด ถ่ายปากได้แบบนี้ เดี๋ยวหามาให้ช่วยถ่ายดีกว่า

ความเห็นที่ 2

พัฒนาการเป็นไปอย่างช้าๆ จนผมสงสัยว่าเมื่อไรมันจะเป็นกบ เพราะโตเอาๆ แต่ไม่งอกขาสักที
จนวันหนึ่งก็เริ่มสังเกตุเห็นขาเล็กๆงอกออกมา ซึ่งตอนนี้ขนาดตัวมันราวๆ 4-5 เซนติเมตรแล้ว วางบนมือก็เกือบเต็มอุ้งมือ

... ระหว่างการเลี้ยง โดนนกกางเขนสอยไปสามตัว จนต้องหาตะแกรงมาปิด กับเอางูยางมาเฝ้า

พัฒนาการของขาหลัง เท่าที่เห็น จะค่อยๆงอกออกมาเรื่อยๆ และแข็งแรงขึ้นเป็นลำดับ
26 พ.ย. 1 ธ.ค. ซ้ายไปขวา  คางคก 1.5 cm ปานบ้าน 5 cm กบ? 1.5 cm แย่งกันซดอาหารปลา

ความเห็นที่ 2.1

ตัวขวา ผมว่ากบหนอง

ความเห็นที่ 2.1.1

ถ้าเทียบกับลูกอ๊อดกบหนองที่เคยเลี้ยงมา
ผมว่าอาจจะไม่ใช่ครับ ตัวเล็กกว่า แต่ตอนนี้ขางอกแล้ว และ ลายต่างกัน แต่นิสัยโดยรวมคล้ายๆกัน
แต่ผมก็ยังไม่เคยเลี้ยงลูกอ๊อดกบหนองตั้งแต่ยั้งจิ๋วๆ

ภาพประกอบลูกอ๊อดกบหนอง

ความเห็นที่ 2.1.1.1

หากลายต่างกันหมายถึง ปลายหางเป็นสีดำ นั้นเป็นเรื่องปกติครับ เป็นการพัฒนาเพื่อป้องกันผู้ล่า หากในแหล่งน้ำนั้นมีตัวอ่อนแมลงปออยู่ ปลายหางจะเป็นสีดำครับ

ความเห็นที่ 3

จนเมื่อขาหลังพัฒนาไปอย่างสมบูรณ์ ดูมีกล้ามเนื้อครบทุกมัด ขาหน้าก็ยังไม่โผล่ให้เห็น
แต่ก็สังเกตเห็นได้จากส่วนหน้า ว่าเหมือนมีขาหน้างอกอยู่ภายใน

ในขณะที่อีกตัว มีขาครบแล้ว เอะใจอยู่เหมือนกันว่า มันงอกมาตอนไหน
แต่ก็ไม่ได้คิดมาก เพราะช่วงนั้นกำลังเตรียมสอบ defend เลยไม่ได้นั่งดูมันมาหลายวัน

วันนี้มานั่งดู ผมก็เลยนึกว่ามันจะพิการ
7 ธ.ค. ขาหลังสวย ขาหน้าไม่ออกมา ส่วนตัวนี้ขาครบ 9 ธ.ค. สองตัวเทียบกันดู

ความเห็นที่ 4

แต่แล้วเพียงในเช้าวันถัดไป เจ้าตัวที่ขาหน้าไม่มี ก็มีขาออกมาอย่างสมบูรณ์ ที่แท้มันแอบกั๊กไว้
พอลองเอาภาพ คห บน มาดูอีกที จะเห็นเหมือนรูเปิด เอาไว้ให้ขาหน้าออกมาอยู่แล้ว

พอมีขาครบ มันดูเป็นปาดแล้ว มีหัว มีตัว มีเอว
ผมยังสงสัยอยู่ว่า หางแกยาวมาก อีกกี่วันถึงจะหดหมด

คืนวันนี้เอง (10 ธ.ค.) เพื่อนมันก็ปีนออกไป ยังเป็นห่วงว่าจะไปรอดไหม เพราะหางยังไม่หด

นั่นเพราะผมปิดฝามุ้งลวดไว้แบบลอยๆ ติดกิ่งไม้ที่จำลองไว้
ผมเลยต้องจัดไม้ใหม่ให้ไม่เกินตู้ แล้วเอาฝาปิดแบบมิดชิดไม่มีช่องให้ออก

คืนถัดไป (11 ธ.ค.) อีกตัวหนึ่งที่เหลือ ก็มาเกาะอยู่บนขอบตู้ไม่ยอมลงน้ำแล้ว
ยังคิดอยู่ว่า เอ็งจะรีบไปไหน ยังหางยาวเฟื้อยยังเป็นครีบปลาอยู่เลย
10 ธ.ค. ขาหน้างอกมาได้ไง เมื่อวานยังไม่มี 11 ธ.ค. ผ่านไปอีกวัน ชักดูเหมือนซาลาแมนเดอร์ วันนี้ชอบลอยน้ำเล่น เอาจมูกพ้นน้ำ ส่วนอันนี้ ผมเอามาวางจัดฉาก ปกติมันไม่เคยขึ้นมาสักครั้ง

ความเห็นที่ 5

และในวันรุ่งขึ้น ผมก็ต้องแปลกใจอีกครั้ง เพราะหางที่ว่า ไม่มีอีกแล้ว หายไปในชั่วข้ามคืน

ผมเดาว่า มันไม่ได้หด แต่น่าจะหลุดออกไป
คาดเอาจากเมื่อวันก่อนผมเห็นว่า หางมันมีสองส่วน ส่วนที่สีเข้มๆตรงโคนหาง กับส่วนถัดไปจนจรดปลายที่มีสีอ่อนๆใสๆ ซึ่งพอเห็นได้จากภาพถ่าย คห บน เช่นกัน (แต่ไม่ชัดเท่าตามองเอง)

ประกอบกับภาพที่ถ่ายเมื่อราวๆ 11 โมงวันนี้ หลังไม่มีหางแล้ว ที่ปลายหางสั้นๆของมันที่เหลืออยู่ ยังมีเหมือนเยลลี่ติดอยู่ เหมือนอะไรเปื่อยๆ ซึ่งก็คงเป็นหางส่วนสีอ่อนที่ยังเหลือติดอยู่นั่นเอง ส่วนโคนหางที่เคยเห็นว่าสีเข้ม ก็คือไอ้ที่เหลือเป็นติ่งๆตอนนี้

ตัวของมันเอง ก็มีผิวที่ไม่เหมือนเดิม สีก็ไม่เหมือน ลายก็ไม่เหมือน ทรงก็เปลี่ยน เหมือนเป็นคนละตัว สงสัยอาจมีการผลัดผิวหมดทั้งชุดด้วย แล้วหางก็คงผลัดไปด้วยกัน

หลังถ่ายภาพผมก็เอาไปปล่อยไว้ริมบ่อปลา มันก็เลือกที่จะไม่ลงน้ำ แต่โดดไปเกาะหินใกล้ๆนั่นเอง

เรื่องราวของมันจึงถูกบันทึกไว้แต่เพียงเท่านี้ครับ

12 ธ.ค. เมื่อเช้านี้เอง

ความเห็นที่ 6

แล้วตกลงมันเป็นปาดชนิดไหนกันหล่ะนี้ จะได้เอาไปใส่ Species Index  ถูก

ความเห็นที่ 7

Polypedates leucomystax ครับพี่ ผมเคยจะใส่ภาพให้ที แต่รู้สึกว่ายังไม่มีคนเรียงวงศ์-สกุล-ชนิดให้ เลยรอชาวกบใส่ให้ก่อนครับ

ความเห็นที่ 8

ตอนนี้มีถึงสกุลแล้วนะ ยังไม่มีใครกล้าใส่ชนิดเพราะแยก แฝดนรก ไม่ออก เหอ เหอ

ความเห็นที่ 9

ละเอียด ละออ มากครับ

อย่างกับ จอร์จ ลูคัส มากำกับบทให้เอง

ความเห็นที่ 10

แจ่มเลยท่าน

ความเห็นที่ 11

ภาพมาโครปากสวยมากพี่ เพิ่งรู้ว่าปากมันรูปร่าง สีสันแบบนี้นี่เอง
ฮาตรง เอางูยางมาเฝ้าด้วยนี่แหละพี่ cool

ความเห็นที่ 11.1

เกรงว่างูจงอาง สามเหลี่ยม ฯลฯ จะมากินงูยาง

ความเห็นที่ 12

ฝีมือยัง "เมพขิงๆ" เหมือนเดิม
ทำให้ปาดบ้านๆ ดูไม่ใช่แค่งานบ้านๆ เลยนะ

ความเห็นที่ 13

งามจริงๆ เลย ผมล่ะอยากเห็นตอนมัน"สลัด"หางทิ้งจริงๆ

ความเห็นที่ 14

เอางูยางมาเฝ้า เทพ คิดได้ไง เหอๆๆๆ

ความเห็นที่ 15

งูยางนี่ ถ้าเป็นเกม เทียบได้เป็นอาวุธเทพเลยนะครับ อิอิ
กระรอกแทะต้นไม้ ก็เอาไปผูก กระรอกเห็นทีวิ่งกลับหลังหันวิ่งจู๊ด
นกมากินปลากินลูกอ๊อด ก็เอามาวาง นกไม่มากล้ำกลาย

เพื่อให้ได้ผลดี ต้องมีการเปลี่ยนที่ หรือเอามาพ่นสีให้แรงๆบ้าง

ความเห็นที่ 15.1

ขอดูตัวอย่างหน่อยสิ อาวุธเทพ ๆ เนี่ย แจ่มจริง

ความเห็นที่ 16

yes

ความเห็นที่ 17

การเจริญของขาหน้า ขาหลัง และโครงสร้างปากของลูกอ๊อดจะสัมพันธ์กันคือ
       1. ขาหน้ามันได้อยู่ๆ ก็งอกออกมาหรอกครับ แต่ขาหน้านั้นเจริญอยู่ภายในห้องเหงือก ซึ่งถ้าสังเกตุดีๆ โดยการสังเกตุตากทางด้านท้อง (ventral) ก็จะเห็นได้ แล้วพอเจริญเต็มที่แล้วก็จะยื่นออกมาภายนอกห้องเหงือก 
       2. ขาหลังจะเจริญขึ้นภายหลังจากโครงสร้างปากเริ่มเจริญได้ในระยะหนึ่งแล้ว และโครงสร้างปากกับขาหลังจะเจริญควบคู่กันไปจนกระทั่งขาหลังเจริญเต็มที่ และโครงสร้างปากจะค่อยๆ ลดรูปลง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงมากินมาอาหารบนบก
       3. ก่อนที่ขาหลังจะเจริญเต็มที่นั้นขาหน้าได้เจริญอยู่ภายในห้องเหงือกทั้ง 2 ข้างอยู่ก่อนแล้ว เมื่อขาหน้าเจริญพร้อมแล้วจะยื่นออกมาจากห้องเหงือก ซึ่งขาหน้าข้างซ้ายจะออกมาทางช่องเปิดของห้องเหงือก ส่วนขาหน้าข้างขวาจะดันผนังห้องเหงือกออกมาเลย ซึ่งในระยะนี้ขาหลังจะเจริญเต็มที่แล้ว
         ส่วนระยะเวลาที่ขาหน้ายื่นออกมาให้เห็นจนกระทั่งลูกอ๊อดเปลี่ยนแปลงรูปร่างนั้นไม่แน่นอนแล้วแต่กบแต่ละชนิด ซึ่งในกลุ่มปาดจะใช้ระยะเวลาสั้นมาก คือ หากเห็นขาหน้ายื่นออกมาแล้วภายใน 24 ชั่วโมง ลูกอ๊อดปาดจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างขึ้นมาอยู่บนบก และมักขึ้นบกในเวลากลางคืน ส่วนกบชนิดอื่นๆ ใช้ระยะเวลานานแตกต่างกันออกไป

        ส่วนหางของลูกอ๊อดนั้นจะค่อยๆ หดสั้นลง มิได้สลัดทิ้ง ซึ่งความสามารถในการหดหางนั้นก็แตกต่างกัน โดยปาดจะสามารถหางได้เร็วที่สุด ถ้าลองเฝ้าดูตลอดจะเห็นหางสั้นลงอย่างรวดเร็ว โดยจะสังเกตุเห็นว่าในส่วนปลายของหางมีสีแดงและเห็นหลอดเลือดมากขึ้นและปลายหางจะค่อยๆ สั้นลง ซึ่งภายในหางของลูกอ๊อดแม้ว่าจะมีโครงสร้างแข็งที่ใช้ค้ำจุนเป็นแกนของหาง แต่ก็ไม่ได้เป็นแกนกระดูกโดยเป็นเพียงแท่งโนโตคอดเท่านั้น เพราะฉะนั้นการหดหางของลูกอ๊อดจึงเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องสลัดหางทิ้งแต่อย่างใด กลุ่มที่หดหางและใช้เวลาเปลี่ยนแปลงรูปร่างนานที่สุดเป็นกลุ่มของอึ่งกรายครับ

ความเห็นที่ 17.1

อยากกดถูกใจให้จังเลย

ความเห็นที่ 17.2

ขอบคุณครับ แจ่มเลย
ทริปแรกที่ทำให้ผมสนใจถ่ายภาพพวกครึ่งบกครึ่งน้ำ ก็ทริปสั้นๆที่ไปเขาสิบห้าชั้นกับพี่วุฒนี่แหละครับ