แมลงปอแก่งกระจาน..ตอนที่หนึ่ง

ชักจะเริ่มสนใจสำรวจชนิดของแมลงปอในป่าแก่งกระจานเสียแล้ว
เพราะความหลากหลายของพื้นที่ ทุ่งหญ้าริมเขื่อน  ลำธารลำห้วยมากมาย เขาสูงต่ำนับไม่ถ้วน
เดิมมีเพื่อนคิดจะทำอยู่ แต่ย้ายไปอยู่ฝ่ายอื่นแล้ว ผมเลยขอภาพที่เพื่อนถ่ายมาเก็บไว้ แต่จะพยายามใช้ความสามารถของตนเองก่อน
ก็คงต้องมีพี่เลี้ยงละ่ครับงานนี้..มือใหม่ครับ
ชุดนี้จากบ้านกร่างครับ เมื่อ 10-12 ธ.ค. 2553 นี้เอง

Comments

ความเห็นที่ 1

กลุ่มแมลงปอเข็ม
ผิดถูกอย่างไร แก้ไขชี้แนะด้วยนะครับ
แมลงปอเข็มน้ำตกสั้นวงม่วง ตัวผู้ แมลงปอเข็มน้ำตกสั้นวงม่วง ตัวเมีย

ความเห็นที่ 1.1

ภาพบนแมลงปอเข็มน้ำตกสั้นวงม่วง Heliocypha biforata ตัวผู้
ภาพด้านล่างตัวเมียครับ

ความเห็นที่ 2

คิดว่าเป็น แมลงปอเข็มน้ำตกสีตาลแดง
20.jpg

ความเห็นที่ 2.1

แมลงปอเข็มน้ำตกดำ Euphaea masoni ตัวผู้ครับ

ความเห็นที่ 2.2

ตามที่เจ้าไผ่ id เลยครับ  ตัวนี้มีสีดำ และปีกดำ  จึงเป็น แมลงปอเข็มน้ำตกผู้ดำ   ถ้าเป็นเจ้าสีตาลแดงนั้น ตัวจะสีดำและปีกมีสีแดงครับ (ตามภาพล่าง) 

แมลงปอเข็มน้ำตกในสกุลนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ ปลายท้องจะมีสีส่วนยื่นขึ้นมาคล้ายหนามครับ (ที่ลูกศรชี้)

เข็มน้ำตกสีตาลแดง ตัวผู้

ความเห็นที่ 2.3

ตัวผู้สกุลนี้ปลายหางทำท่าเหมือน "สู้ตายค่ะ"

ความเห็นที่ 3

แมลงปอเข็มท้องยาวฟ้าสองขีด ตัวผู้
ผมใช้จุดสีฟ้าบนหลังเป็นจุดสังเกตุ ใช่หรือเปล่าครับ
8.jpg

ความเห็นที่ 3.1

แมลงปอเข็มท้องยาวฟ้าสองขีด  Coeliccia didyma ตัวผู้
จุดฟ้าๆตรงท้ายถอย น่าจะเป็นที่มาของชื่อ แม่นบ่ครับพี่ดิว ?

ความเห็นที่ 3.2

ใช่ครับ ตัวนี้เป็นแมลงปอเข็มท้องยาวฟ้าสองขีด  

แมลงปอเข็มในสกุลนี้ต้องดูจุดสังเกต 2 จุดคือ ลายบนหลัง (อาจจะเป็นจุด หรือแถบก็ได้ครับ) กับแถบสีปลายท้อง (มีหรือไม่มี ถ้ามี...สีอะไร) รวมถึงสีของรยางค์ปลายท้องครับ

ตัวในภาพของคุณ kkc.38 ลายที่หลังนั้นจะเป็นลักษณะปกติครับ แต่มันก็มีบางตัวที่ลายบนหลังเล็กมากจนยากที่จะใช้ลายบนหลังอย่างเดียวแยกชนิดครับ (ดูภาพแรกด้านล่างครับ) ซึ่งลายที่มีขนาดเท่าๆ กันนั้น...มันจะไปคล้ายกับเจ้าแมลงปอเข็มท้องยาวสีเผือก (Coeliccia albicauda) ครับ (ดูภาพสองด้านล่างครับ) ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้ว จะเห็นว่า ปลายท้องจะช่วยจำแนกชนิดได้ง่ายขึ้นครับ  อย่างไรก็ตาม เจ้าท้องยาวสีเผือกนั้น...ขนาดจะเล็กกว่าเล็กน้อยครับ
didyma-m (มีความแปรผัน) albicauda-m (ลักษณะปกติ)

ความเห็นที่ 4

แมลงปอเข็มยาวปลายเด่น
16.jpg

ความเห็นที่ 4.1

แมลงปอเข็มยาวปลายเด่น Copera marginipes ตัวผู้ทางขวา ตัวเมียทางซ้าย

ความเห็นที่ 5

ตัวนี้ไม่แน่ใจว่าใช่ แมลงปอเข็มท้องยาวสีเผือก หรือเปล่า
15.jpg

ความเห็นที่ 5.1

แมลงปอเข็มขีดเขียวฟ้า Mortonagrion aborense ตัวเมียอายุน้อยครับ ถ้าอายุมากขึ้นจะท้องจะเข้มขึ้น อย่างในภาพด้านล่างครับ

เป็นแมลงปอขนาดเล็ก จุดเด่นคือ ขีดสีฟ้า 3 ขีดปลายท้องครับ  ส่วนเจ้าแมลงปอเข็มท้องยาวสีเผือก (Coeliccia albicauda) ตัวจะใหญ่กว่า และท้องยาวกว่านีมากครับ

ตัวเมียที่โตเต็มที่

ความเห็นที่ 5.2

ตัวนี้ผมยังไม่ได้เจอและไม่มีภาพเลยจากแก่งกระจาน (ผมไปสำรวจแมลงปอในแก่งกระจานมา 3 แห่ง ๆ ละ 2 - 3 ครั้งแล้ว แต่ยังไม่ทั่ว คือที่บ้านกร่าง ป่าละอู และพุพลูน้ำตกกระดังลา)

ความเห็นที่ 5.2.1

ตัวนี้ที่บ้านกร่างครับครูเล็ก ต้องขยันเดินตามลำธารไปมาวันละเกือบสิบรอบแน่ะ smiley

ความเห็นที่ 6

ภาพแรกเป็น แมลงปอเข็มน้ำตกสั้นผู้ดำ Rhinocypha fenestrella ตัวผู้
ผมสังเกตจากแถบสีชมพูใหญ่ๆตรงท้ายทอ แต่ละชนิดผิดถูกอย่างไรรอพี่ Due_n อีกทีครับ

ความเห็นที่ 7

ตัวนี้คิดว่าอยู่ในกลุ่ม Agriocnemis เพราะดูส่วนท้องจะป้อมกว่า Aciagrion ใช่มั๊ยครับ
หรืออาจจะเป็นวัยเด็กของใคร
13.jpg

ความเห็นที่ 7.1

น่าจะเป็นแมลงปอเข็มแคระ ตัวเมีย  Agriocnemis pygmaea เหลือขาอยู่น้อยมาก 3 ขาเอง

ความเห็นที่ 7.2

ตัวนี้อยู่ในสกุล Agriocnemis ครับ น่าจะเป็น แมลงปอเข็มแคระธรรมดา A. ppygmaea ตัวเมียครับ

ตัวเมียในสกุลนี้มักจะดูกันที่คอ (prothorax - ดูภาพล่างที่ลูกศรชี้ครับ) ถ้ามองด้านข้างแล้วเห็นเป็นเหมือนภูเขา นั่นเป็นเป็นแมลงปอเข็มแคระธรรมดาครับ แต่ถ้านูนและมีส่วนโค้งยื่นออกมาทางซ้ายด้วยก็จะเป็น แมลงปอเข็มแครขนเทา (Agriocnemis femina) ครับ ส่วนตัวผู้ดูที่ปลายท้องครับ

ส่วนสีสันนี่...อย่ายึดเป็นเกณฑ์ครับ ยิ่งในแมลงปอเข็มด้วยแล้ว สีสันจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุครับ

ป.ล. ขออนุญาตครูเล็กนำภาพมาใส่ลูกศรตรงจุดสังเกตของแมลงปอเข็มแครขนเทา (Agriocnemis femina) นะครับ

pygmaea-f femina-f

ความเห็นที่ 8

ตัวนี้จากที่ทำการ ไม่ทราบครับ ระแวงมาก ครอปมาแล้วได้แค่นี้ครับ
1.jpg

ความเห็นที่ 8.1

ปกติตัวนี้เชื่องนะครับ ชอบบินนิ่งๆ ให่ถ่ายรูป โชว์ฝีมือการใช้ความไวชัตเตอร์สูงๆ แมลงปอเข็มหางเข็มดำ ตัวผู้ Prodasineura autumnalis 

ความเห็นที่ 8.1.1

สกุลนี้หน้าตาจะแนวนี้ทั้งหมดครับ จะต่างกันที่ลายและสีสันเท่านั้นเองครับ การบินและพฤติกรรมอื่นๆ เหมือนกันหมดครับ 

ความเห็นที่ 9

ที่เหลือขอหมกไว้ก่อนนะครับ เพื่อนโทรมาด่วนบอกย้ายจากเรียนบ่ายมาเรียนเก้าครึ่ง อ๊ากก angry

ความเห็นที่ 9.1

แค่นี้ก็ขอบคุณหลายหลาย แล้วครับท่าน

ความเห็นที่ 10

ถ้าเช่นนั้น คู่นี้ผมว่าเป็น แมลงปอเข็มน้ำตกสีตาลแดง
ตัวผู้ชนิดนี้เห็นแถบลายบนตัวชัดเจน
ตัว คคห.2 ถ่ายอย่างไรลายก็ไม่ชัด ใช้แยกเป็น แมลงปอเข็มน้ำตกดำ ได้ใช่มั๊ยครับ
แมลงปอเข็มน้ำตกสีตาลแดง ตัวเมีย แมลงปอเข็มน้ำตกสีตาลแดง ตัวผู้

ความเห็นที่ 10.1

สองตัวนี้ก็เป็น เข็มน้ำตกสีตาลแดง ครับ จุดเด่นที่สำคัญคือ สีปีกเลยครับ  หลังจากที่เราเห็นจุดเด่นของสกุลของมันแล้ว (ที่ปลายท้องมีส่วนยื่นขึ้นมา) และคิดว่าอยู่ในสกุล Euphaea ก็สามารถดูที่สีปีกเลยก็ได้ครับ ในสกุลนี้ค่อนข้างแตกต่างกันอย่างชัดเจนครับ  ส่วนลายที่อกนั้น จะชัดหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับอายุครับ ยิ่งอายุมาก ลายจะยิ่งหายไปครับ

ความเห็นที่ 10.2

ชอบสวยมากๆเลย สีแปลกดี ไม่เคยสังเกตเลยว่าจะมีสีที่ต่างกันขนาดนี้ ขอบคุณทีมงานที่หาภาพสวย ๆ มาให้ดูนะ

ความเห็นที่ 11

อ๊ากกกก ทำยังไงถึงจะจำได้บ้างฟ่ะเนี๊ย 

ความเห็นที่ 11.1

ต้อง delete ปลาทิ้งแล้วเริ่ม save แมลงปอแทนครับ

ความเห็นที่ 11.1.1

อาจต้อง format เลยอ่ะ

ความเห็นที่ 11.1.1.1

อาจจะต้องเพิ่มหน่วยความจำด้วยนะครับ เอิ๊กๆ

ความเห็นที่ 11.1.1.1.1

yes

ความเห็นที่ 12

ส่วนที่เหลือครับ
มีขีดที่ปลายท้องแค่ขีดครึ่ง บนหลังไม่มีขีด น่าจะอยู่ในกลุ่ม Copera หรือจะเป็นตัวเมียของแมลงปอเข็มยาวปลายเด่น น่าจะอยู่ในกลุ่ม Copera

ความเห็นที่ 12.1

จำได้แต่ตัวบนสุดครับ แมลงปอเข็มบ่อผู้เขียวปลายฟ้า Ischnura senegalensis (ชื่อไทยจำไม่ได้ว่าถูกหรือป่าวครับ)
ตัวที่ 3 น่าจะเป็นตัวเมียของ Copera ครับ
ตัวสุดท้าย Copera vittata vittata  แมลงปอเข็มท้องยาวขาส้ม (หรือป่าว)
ปล.เริ่มลอง id แมลงปอดู ผิดถูกยังไงบอกทีนะครับ 55+

ความเห็นที่ 12.1.1

yes

ความเห็นที่ 12.2

ภาพแรก  แมลงปอเข็มนาผู้ปลายฟ้า Ischnura senegalensis ตัวผู้ครับ   แมลงปอเข็มในสกุลนี้ อกสีเขียวหนาสั้น แถบสีฟ้าที่ปลายท้องจะเด่นมากครับ ตัวเมีย ด้านข้างอกจะมีสีส้มครับ แถบสีดำที่อกจะเหมือนตัวผู้ ปลายท้องไม่มีแถบสีฟ้า

ภาพสอง แมลงปอเข็มขีดเขียวฟ้า Mortonagrion aborense  ตัวผู้ครับ มีขนาดเล็ก ลักษณะลายสีฟ้าที่ปลายท้องจะเด่นมากครับ รวมถึงจุด 2 จุดเล็กๆ ที่โคนท้องก็ช่วยในการจำแนกชนิดได้ครับ

ภาพสาม แมลงปอเข็มยาวปลายเด่น Copera marginipes ตัวเมียอายุน้อยครับ แมลงปอเข็มในสกุลนี้ ตัวที่เพิ่งออกจากคราบหรือมีออกมาไม่นานนั้นจะมีสีขาวอมชมพูเช่นนี้ครับ นอกจากสีขา ลายอกแล้ว ลักษณะแถบสีขาวที่ปลายท้องก็ช่วยจำแนกชนิดได้ครับ อย่างเจ้า marginipes นี้ ขาจะสีไม่ออกส้มหรือแดง อกมีแถบสีขาวอมชมพูดพาด มีจุดเล็กๆ กระจายน้อย  ปลายท้อง 3 ปล้องสุดท้ายมีแถบสีขาวคลุมหมดครับ

ภาพสี่ แมลงปอเข็มยาวขาแดง Copera vittata ตัวผู้ครับ สีขาเด่นมากครับ รวมถึงปลายท้องมีแถบสีขาวไม่มากเหมือนกับเจ้า C. marginipes ครับ 

ความเห็นที่ 12.2.1

แมลงปอนี่ไม่ง่ายเลยนะครับ
คงต้องเรียนรู้อีกเยอะมากๆๆ

ความเห็นที่ 13

แมลงปอเข็มตัวสุดท้าย
แมลงปอเข็มน้ำตกใหญ่จีน
แต่หลายวันก่อนเข้าไปดูในแมลงดอทคอม มีคนพบแมลงปอในสกุลนี้อีกหลายตัว คงต้องถ่ายมาอีกเผื่อเป็นคนละชนิด
30.jpg

ความเห็นที่ 14

ความตั้งใจจริงของกระทู้นี้ เป็นแบบนี้แหละครับ
คือ.. มือใหม่ที่มีความสนใจเรื่องใด ลองทำการบ้านมาสักหน่อย ผิดถูกอย่างไรที่เหลือท่านผู้ที่เชี่ยวชาญกว่าจะชี้แนะให้ ผมจำได้ดีจากกระทู้ หัดจำแนกงู
ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 15

สวยๆทั้งนั้นเลยครับ

ความเห็นที่ 16

ขอหนีไปทำงานก่อนนะขอรับ  ไม่รู้ตอบครบหรือเปล่า ... แต่ยังไงก็มีคนช่วยตอจนครบแน่นอนครับ

ความเห็นที่ 17

ตอนบ่ายมาต่อครับ

ความเห็นที่ 18

สวยๆทั้งนั้นเลยครับ เจ้าหน่อไม้เดี๋ยวนี้เซียนมากๆ

ความเห็นที่ 18.1

พอจะจำได้ก็แค่ตัวที่ผ่านตามาบ้าง กับที่ได้ถ่ายภาพมาครับพี่ cool

ความเห็นที่ 19

ต่อด้วยเจ้านี่  แมลงปอเข็มธาราลายเส้น
สังเกตจากส่วนปลายท้องที่ดำมาก และปลายปีกมีสีดำครึ่งวงกลม
เข็มธาราลายเส้น ตัวผู้ ลีลาเหลือเกิน

ความเห็นที่ 19.1

ลีลาหวงก้าง เอ๊ย...หวงถิ่น

ความเห็นที่ 20

อันนี้เดาว่าเป็น แมลงปอเข็มเล็กฟ้าวงฟ้า
69.jpg

ความเห็นที่ 20.1

แมลงปอเข็มบ่อขนเทา Pseudagrion pruinosum ตัวผู้ครับ   
ตัวสีดำ หน้าสีส้ม ชอบเกาะตามใบพืชใกล้กับลำธาร

ความเห็นที่ 21

ที่ไม่ทราบครับ เพื่อนถ่ายมา
ระวังจมน้ำ.. คิดว่าอาจจะใช่ชนิดเดียวกับตัวบน

ความเห็นที่ 21.1

ภาพแรก  แมลงปอเข็มบ่อหน้าส้ม Pseudagrion rubriceps ครับ  พบได้ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล จุดเด่นคือ หน้าสีส้ม เนี่ยแหละครับ

ภาพสอง แมลงปอเข็มปีกแผ่ใหญ่แปดจุด Orolestes octomaculata ตัวผู้วัยเด็กครับ
จุดบนปีกยังไม่มีให้เห็นเลย แต่ขนาดตัวใหญ่กว่าตัวบนมากครับ

ความเห็นที่ 21.2

ปกติตัวล่างพบไม่บ่อยนัก และหน้าหนาวจะไม่พบตัวยกเว้นภาคใต้ สงสัยเพชรบุรีปีนี้ไม่หนาวเท่าไร

ความเห็นที่ 22

ชุดนี้จากป่าละอูครับ
อยู่กลุ่มแมลงปอเข็มน้ำตกใหญ่
80% คิดว่าเป็นแมลงปอเข็มน้ำตกใหญ่จีน เพราะส่วนทองเหลือบทอง
19.jpg 78.jpg

ความเห็นที่ 23

ภาพแรก มุมนี้หาจุดสังเกตไม่เจอ แต่บอกได้แน่นอนว่าอยู่ในสกุล Vestalis ครับ และถ้าดูจากข้อมูลการกระจายพันธุ์แล้ว น่าจะเป็น แมลงปอเข็มใหญ่มลายู Vestalis amethystina ตัวผู้ครับ อีกตัวชนิดที่ใกล้เคียงกันแต่พบในภาคใต้ตอนล่างคือ แมลงปอเข็มใหญ่เคลือบทอง (Vestalis amoena) ครับ แมลงปอเข็มในสกุลนี้แตกต่างจากแมลงปอเข็มใหญ่จีนตรงที่มีปีกใสเนี่ยแหละครับ
 
ภาพสอง แมลงปอเข็มใหญ่น้ำตกจีน ตามที่ id ไว้ครับ

ความเห็นที่ 24

สวยมาก ดี

ความเห็นที่ 25

สวยมาก ดี

ความเห็นที่ 26

น่าไปเยือนแก่งกระจานตระเวนถ่ายแมลงปอกันเล่นนิ

ความเห็นที่ 27

กระทู้นี้น่าเก็บไว้แฮะ สอนจำแนกได้เยี่ยมเลย

ความเห็นที่ 28

ขอบคุณทุกท่านครับ
ขออีเมล์ ของท่านDue_n กับครูเล็ก ไว้หลังไมค์ได้ไหมครับ

ความเห็นที่ 28.1

ได้รับของทั้งสองท่านแล้วครับ ขอบคุณครับ