พืชนี้ใช่ต้นกระดุมทองหรือไม่ครับ

ใช่ต้นกระดุมทอง หรือไม่ครับ เมื่อก่อนนานมาแล้วเคยมีคนบอกว่าเอาใบมาตากแห้ง
แล้วนำไปชงดื่มเป็นน้ำชา เพื่อลดประมาณน้ำตาลในเลือดได้ครับ
แต่ผมจำได้แค่คลับคล้ายคลับคล้าว่ามันมีลักษณะประมาณนี้ แต่ยังไม่ชัวร์ครับ เลยให้ผู้รู้รับรองอีกทีครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

เหมือนอยู่นะครับ เดี๋ยวนี้ใช้ปลูกกันดินพังกันเยอะเลย ขึ้นเร็วดีครับ เอเลี่ยนเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน แต่ไม่หนักหนามาก ส่วนสรรพคุณทางยาไม่ถนัดครับ 

ความเห็นที่ 1.1

มันเป็นเอเลี่ยนหรือครับ นึกว่าเป็นพืชบ้านเราครับ

ความเห็นที่ 2

เป็นกระดุมทองเลื้อย ( มีกระดุมทองไม่เลื้อยเรียกกระดุมทองต้น) จะเป็นต้นใช้เป็นสมุนไพรรึเปล่านี่ไม่ทราบเหมือนกัน ลองดูข้อมูลที่นี่
http://www.samunpri.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=43

ความเห็นที่ 2.1

แสดงว่าต้นนี้นำไปกินไม่ได้ใช่ไหมครับครูเล็ก พอจะมีรูปต้นกระดุมทองที่ไม่เลื้อยไหมครับ
เมื่อก่อนตอนไประยองเห็นมีคนปลูกอยู่ครับ แต่พอมาเห็นที่อุบลมันขึ้นเยอะมากเลยสงสัยว่าจะใช่ต้นเดี่ยวกันหรือไม่ เกือบนำไปกินเเล้วเชี่ยว

ความเห็นที่ 2.1.1

กระดุมทองต้น Melampodium divaricatum
กระดุมทองเลื้อย  Wedelia trilobata
หญ้ากระดุมทอง Malvastrum ceramendelianum 
ตามลานหินในภาคอีสานก็มีกระดุมทองอีกเหมือนกัน ตามรูปนี้ http://guideubon.com/news/view.php?t=39&s_id=14&d_id=14
ที่เป็นสมุนไพรไม่ทราบจริงๆ 
ลองใช้อากู๋ค้นดูจากชื่อวิทยาศาสตร์ซิครับ

ความเห็นที่ 3

นี่แหละครับ ที่ไม่กล้าตอบ  พืชบ้านเราชื่อซ้ำกันเยอะ บางทีลักษณะก็ใกล้เคียง แต่ละถิ่นต้นเดียวกัน เรียกต่างกัน บางทีคนละต้น เรียกเหมือนกัน

ผมไม่รู้ว่าเจ้าของกระทู้ต้องการระบุชนิดเพื่อเอาไปต้มทานลดน้ำตาลในเลือดหรือไม่ ?? แต่ผมขอให้ข้อคิดเรื่องสมุนไพรลดน้ำตาลครับ

จริง ๆ แล้วบ้านเรามีพืชหลายชนิดที่มีความสามารถลดน้ำตาลในเลือดครับ แต่ข้อจำกัดของสมุนไพรมีหลายประการ ผมยกตัวอย่าง เช่น
            - เราไม่ทราบว่า ควรจะต้องใช้ตัวยาเท่าไหร่ ในการลดน้ำตาล 
            - เราไม่รู้ว่าสารออกฤทธิ์ที่สำคัญจริง ๆ คือตัวไหน คงสภาพได้ในความร้อนที่เอามาต้มได้หรือไม่
            - เราไม่รู้ว่า พืชที่เรียกว่ากระดุมทองคือพืชชนิดใดกันแน่
            - ส่วนใดของพืช คือส่วนที่มีฤทธิ์
            - พืชชนิดเดียวกัน ปลูกในพื้นที่ต่างกัน หใสรออกฤทธิ์ไม่เท่ากัน เช่น ขมิ้นชัน ปลูกภาคใต้จะให้ผลดีเรื่องรักษาแผลในกระเพาะ ปลูกภาคตะวันออก จะได้เรื่องท้องอืด
            - อายุของพืชเหมาะสมในการเก็บพืชนั้นมาเตรียมเป็นยา เช่น ฟ้าทะลายโจรจะเหมาสมหลังจากปลูก 3 เดือน หรือต้นเริ่มเป็นดอก
            - เวลาที่ควรเก็บ เช้า-เที่ยง-เย็น
            - ในพืช มีสารที่เป็นพิษหรือไม่
            - อีกมากมายก่ายกอง

            ที่บอกมาก่ายกอง เพื่อต้องการบอกว่า มันยังไม่ชัดเจนที่จะใช้สมุนไพรอย่างเดียว เพราะยังไม่ผ่านการศึกษาที่เป็นระบบอย่างเพียงพอ

ตัวผมเอง มองว่าการใช้สมุนไพรร่วมด้วยก็ได้ แต่ห้ามทิ้งยาแผนปัจจุบันที่แพทย์สั่งมาครับ

ความเห็นที่ 3.1

^
^ เภสัชกร มาเอง

ความเห็นที่ 4

พืชลดน้ำตาลในเลือด บ้านเรามีเยอะนะครับหลายชนิดมาก อย่างเตย ฟ้าทะลายโจร  ตำลึง กระเทียม มะตูม มะรุม ผักบุ้ง โอ้ยเยอะครับ แต่อย่างที่คุณหนึ่งบอก ใช้มากขนาดไหนปลูกยังไง ทำกินยังไง ให้ลดน้ำตาลในเลือดได้ แต่ท้ายสุดอยู่ที่ผู้ที่ต้องการลด ว่าตั้งใจจริงขนาดไหน ผมว่าน่าจะอยู่ที่พฤติกรรมการรับประทานและความตั้งใจที่จะใช้สมุนไพรไทย ของคนๆนั้นนะครับ

ความเห็นที่ 5

ขอบคุณครับสำหรับทุกคำตอบ 
พอดีเคยชิมและติดใจในรสชาดของชากระดุมทอง เลยคิดว่าจะลองเอามาทำให้คุณตาคุณยายที่บ้านชงทาน แต่ผมเกือบเอาไปทำแล้ว ดีน่ะครับที่ผมมาถามก่อน ตอนแรกคิดว่าต้นนี้หล่ะใช่เลย ^__^

ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 6

สวัสดีครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
http://www.stks.or.th/botany/index.php?option=com_content_decode_entitie...

กระดุมทองเป็นต้นไม้ที่มีการแพร่กระจายได้ง่าย โดยธรรมชาติมักจะพบต้นกระดุมทองเลื้อยขึ้นอยู่บริเวณ รอบ ๆ บ่อน้ำ สระน้ำ ในสวน ขึ้นได้ดีในที่ชื้น แฉะ แพร่พันธุ์ง่าย และสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการปักชำ ดอกมีสีเหลือง ในทางพฤกษศาสตร์กระดุมทองเลื้อยเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นแตกแขนงทอดราบไปตามพื้นดิน ลำต้นมีขนประปราย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี กว้างประมาณ 5.5เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบขอมจักเล็กน้อย ก้านใบสั้นหรือไม่มี ช่อดอกแบบกระจุก โคนช่อมีใบประดับรูปรีเรียงซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นละ 4-5 ใบ ชั้นนอก ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย มี 8-10 ดอก ดอกวงในซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกวงนอกสีเหลืองติดกันเป็นแผ่น กว้าง 3-4 มิลลิเมตร.ยาว 0.8-1 เซนติเมตร โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก และในทางภาคเหนือได้มีบุคคลที่นำเอากระดุมทองเลื้อยมารับประทาน คือนายบุญชู คำยา นักการภารโรง โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย โดยได้เอาส่วนยอดของต้นกระดุมทองเลื้อย นำมารับประทานแกล้มกับลาบ และจากการศึกษาสรรพคุณของกระดุมทองเลื้อย ในด้านนำมาใช้ประโยชน์ด้านพืชสมุนไพรมีการค้นพบสรรพคุณว่าสามารถนำมารับ ประทานเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหาร จากการศึกษาพบว่าระดับค่า pH ของการจำลองสภาพกรดในกระเพาะอาหาร มาตรวจวัดหาค่า pH แล้วนำมาเปรียบเทียบ กับน้ำกระดุมทอง จากผลการทดลองพบว่ากระดุมทองเลื้อยมีค่า pH ที่ใกล้เคียงกับยาลดกรดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งน้ำกระดุมสดมีค่า pH ที่ใกล้เคียงกับยาลดกรดมากกว่าน้ำกระดุมทองแห้ง