เก็บกำข้อมูนซีวะนานาพันบันดาปาในสามแขวงพากใต้ สปป.ลาว

เนื่องด้วยกระทู้
http://siamensis.org/webboard/topic/4573

ได้นำเสนอภาพไปบางส่วนวันนี้ผมขอพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวประเทศเพื่อนบ้านที่แสนอบอุ่นของไทยเรา สปป. ลาว จากการไปทำงานสำรวจร่วมระหว่าง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับ คณะเกษตรศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ถึง วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

โดยแบ่งออกเป็นการสำรวจ ๓ แขวงภาคใต้ของลาว (จำปาสัก เซกอง และ อัตตะปือ)

http://www.agri.ubu.ac.th/activity/main.php?g2_itemId=51659

และการบรรยายพิเศษ ณ. มหาวิทยาลัยแห่งชาติ

http://www.agri.ubu.ac.th/activity/main.php?g2_itemId=51816

จะม่วนซื่นออนซอนปานใดติดตามชมครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

วันแรกของการสำรวจคณะวิจัยจากอุบลเดินทางไปเมืองปากเซซึ่งปัจจุบันสะดวกสบายสำหรับผมมากกว่าไปโคราชหรือมุกดาหาร ไปจิบเบียร์ลาว "เบียร์ของคนจริงใจ" อย่างละเมียด พูดคุยกับมิตรสหายที่ฮักแพงกัน เพื่อรอคณะวิจัยจากนครหลวงซึ่งต้องเดินทางมาถึง ๗๐๐ ร้อยกว่ากิโลเมตร!!! กว่าจะค่ำก็แทบจะนึกถึงแต่เพลง "มัีนเป็นงึกๆ งักๆ จั๊งซี่มันต้องถอน...."

ความเห็นที่ 2

วันรุ่งขึ้นหลังจากตื่นนอนและได้ถอนอย่างสาแก่ใจแล้ว พวกเราก็เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อออกเดินทางสำรวจ ทีมอุบลมีรถ HUNDAI คู่ใจที่สหายผู้สูงวัยในปากเซได้เตรียมการไว้ ส่วนทางนครหลวงมากันด้วย TOYOTA คันงาม
HUNDAI ณ. จำปาสัก TOYOTA ณ. กำแพงนคร

ความเห็นที่ 3

พื้นที่แรกของการสำรวจมหานทีสี่พันดอนเป็นลำน้ำโขงใต้เมืองปากเซ สามารถแลเห็นภูมะโรง ซึ่งมีตำนาน ..............   ซึ่งภูมะโรงนี้ในวันที่อากาศแจ่มใสพวกเราสามารถสังเกตได้จากอำเภอพิบูลฯ จังหวัดอุบลฯ
เบิ่งขี้ฟ่าไหลมาแต่ภูมะโรง มองน้ำของไหลล่องบ่กลับคืนมา รวมพล

ความเห็นที่ 4

หลังจากลากอวนกวนตะกอนริมน้ำโขงไปๆ มาๆ กันหลายต่อหลายรอบ ก็พบว่า "ปามันบ่มีด๊อก มื้อเว็นแนวนี่ ยามแลงพู้นหล่ะสิมี" ที่ชาวบ้านบอกก่อนที่เราจะสำรวจน่ะ มัน "คักอีหลี"
ได้ซำนี่หล่ะเนาะ บักนายครูพวกนี้มันเรียนมาแนวใดคือได้แต่ปลาโตน้อยๆ

ความเห็นที่ 5

สถานที่แรกนี้ยังไม่มีอะไรดึงดูดใจให้ตื่นเต้นไปกว่า เบียร์ของคนจริงใจคืนที่ผ่านมา แต่ก็มีเรื่องน่าสนใจว่าเพราะเหตุใดปลาปักเป้าที่พบในที่นี้ล้วนแล้วแต่ผ่ายผอมหัวโตกันทั้งนั้น ทีมสำรวจก็นำปลาที่ได้มาจัดการบันทึกข้อมูลต่างๆ วิเคราะห์ชนิด เลือกปลาเป็นตัวแทนในการถ่ายรูป และ เก็บรักษาในน้ำยารักษาสภาพ ซึ่งห้องพักที่โรงแรมน้อยๆ ก็กลายสภาพเป็น mobile lab ในบัดดล
ผู้ใดฮักสวยฮักงาม ก็มีเวียกงานในแนวงามให้เฮ็ด ผู้ใดมักแนมเบิ่งตามป่องเยี่ยม ก่าให้เพิ่นถ่ายฮูปเด้อ อาจารย์ใหญ่

ความเห็นที่ 6

ปูเสือรอชมต่ออยู่นะครับอาจารย์ ^^

ความเห็นที่ 7

รอชมเหมือนกันครับ เดี๋ยวว่างแล้วจะวกกลับมาดู

สงสัยครับว่าทีมพี่หมีทำงานอยู่กับฟอร์มาลินไม่มีอะไรปิดจมูกกันสูดดมบ้างเหรอครับ เป็นห่วง

ความเห็นที่ 7.1

เ้ป็นห่วงความเห็นที่5 ภาพแรกหรือเปล่าครับพี่ ฮ่าๆๆ

ความเห็นที่ 8

รอชมคร้าบบ

ความเห็นที่ 9

อาศัยทำในที่อากาศถ่ายเท และฝึกฝนในการกำหนดลมหายใจ ครับ น้อง"ไอ้ลูกทุ่ง"

ความเห็นที่ 10

เรื่องกลิ่นฟอร์มาลินผมนี่เป็นพวกความรู้สึกช้า เพราะทำงานกับฟอร์มาลินมาเยอะ ซึ่งไม่ดีเลย เพราะสารพวกนี้เป็นพวกสารก่อมะเร็งด้วย