การประชุมครั้งที่ 1 อนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย
การประชุมครั้งที่ 1 อนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย 2-4 พค ปีนี้
เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าความหลากหลายทางชีวภาพเป็นทรัพยากรที่มีผลกระทบโดยตรง ต่อความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ ปัญหาต่างๆ ที่กำลังคุกคามต่อโลกไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ภิบัติภัยต่างๆ ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อความอยู่รอดของสรรพชีวิตบนโลกรวมทั้งมนุษย์ และมนุษย์เองก็เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ และเป็นตัวเร่งที่ทำให้ทรัพยากรชีวภาพสูญพันธุ์เร็วกว่าที่ควรจะเป็น องค์กรต่างๆ ของโลกได้รณรงค์เรื่องการลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ปี ค.ศ. 2010 IUCN ได้ประกาศให้เป็นปีที่โลกต้องช่วยกันลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ CBD มีการจัดประชุมร่วมในกลุ่มมวลสมาชิกเพื่อช่วยกันลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และได้มีการประชุม COP 10 ที่เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน 2553 เพื่อรณรงค์กันอย่างเข้มข้นต่อการนำรัฐบาล และชุมชนเข้าร่วมกันรักษาทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการขาดความรู้พื้นฐานเรื่องของจำนวนสปีชีส์ที่มีอยู่บนโลกนี้ และความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสปีชีส์และความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของโลก ภูมิอากาศ จนถึงปัจจุบัน ยังมีข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงไม่ถึง 10% อาทิสิ่งมีชีวิตของโลกที่ถูกค้นพบ และบันทึกอย่างเป็นระบบมีเพียงไม่ถึงสองล้านสปีชีส์ จากที่คาดการกันว่าจะมีถึง 20 ล้านสปีชีส์ และเชื่อได้ว่าจำนวนมากมีการสูญพันธุ์ไปแล้วก่อนการค้นพบก็ตาม และแม้ว่า CBD ได้ก่อตั้งโครงการ GTI (Global Taxonomic Initiative) เมื่อเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีผลกระทบแต่อย่างใด
ประเทศไทยมีหลักฐานการศึกษาสำรวจดังกล่าวมาราว 200 ปีจากชาวตะวันตก ต่อมาภายหลังคนไทยตื่นตัวกันมากขึ้นสร้างผลงานการค้นพบเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ อย่างไรก็ตามปัญหาการได้รับทุนสนับสนุนและการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นของนักวิจัยชาวไทย ยังคงไม่เกิดขึ้นให้เห็นเป็นรูปธรรม ดังนั้นในภาวะคุกคามของการเข้ามาของนักวิจัยชาวต่างชาติในเรื่องของการสำรวจค้นหาสิ่งมีชีวิต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระดมนักอนุกรมวิธานจากทั่วประเทศ เพื่อนำเสนอผลงานที่ได้ค้นพบ และหาแนวทางร่วมมือกันทำวิจัยระหว่างสถาบันต่างๆ ภายในประเทศ รวมถึงการตั้งรับอย่างเป็นรูปธรรมต่อการเข้ามาของนักวิจัยชาวต่างชาติ ดังนั้นการจัดการประชุมทางวิชาการ “การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย : การประชุมครั่งที่1 เรื่องอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ในประเทศไทย” จึงเป็นกิจกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้อย่างทันเวลา และรักษาผลประโยชน์ของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
- เพื่อระดมนักอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ชาวไทย เข้าร่วมแสดงผลงานทางวิชาการ และหารือแนวทางร่วมมือกันทำงานเพื่อค้นหาสิ่งมีชวิตในประเทศไทย แบบมีมาตรฐาน และหาแนวทางตั้งรับการเข้ามาของนักวิจัยชาวต่างชาติโดยไม่เสียผลประโยชน์ของชาติ
- เพื่อเป็นเวทีให้ผู้สนใจทั้งนักวิจัย อาจารย์ นิสิตนักศึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกัน และฝึกการทำงานของนิสิตนักศึกษาไทยตลอดจนคณาจารย์ในเวทีโลก
- เพื่อสร้างกระแสให้นักวิจัยไทยเกิดความตื่นตัว และตระหนักเห็นความสำคัญของงานวิจัยทางด้าน การศึกษาทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- เป็นโอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ซึ่งกันและกันในหมู่นักวิจัย จากทั่วประเทศไทยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และถือว่าเป็นโอกาสของนักวิจัย นิสิต นักศึกษาชาวไทย ที่ได้มีโอกาสได้สัมผัสกับบรรยากาศทางวิชาการที่มีมาตรฐาน
- สร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ ในเรื่องการวิจัยทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
- นำไปสู่แนวคิดการจัดการอนุรักษ์ และจัดการทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
ติดตามได้จาก http://www.asru-cu.com
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
เอาตัวอื่นมั้ย จะadd ให้อีก
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 5.1
ความเห็นที่ 5.1.1
ความเห็นที่ 5.1.2
วุ๊ย..หนูไม่อยากงานเข้า
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 6.1
ความเห็นที่ 7
ถ้าใครจะลงทะเบียนแน่ๆก็รีบนะครับ เพราะอัตราการสมัครแบบถูกรู้สึกจะหมดแค่สิ้นเดือนก.พ. ถัดไปจนสิ้นมี.ค. ก็แพงขึ้นเป็นอีกอัตรา
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 8.1
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 9.1
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 12
ความเห็นที่ 13
ก็สมัครบรรยายซิ จะได้บรรยาย
ความเห็นที่ 14
ความเห็นที่ 15
จะหมดเขตลงทะเบียนแบบเสนอผลงาน แล้วนะ
ความเห็นที่ 16
ความเห็นที่ 16.1
ไปครับ
ความเห็นที่ 17