มีภาพเหยี่ยววัยกระเตาะมาขอความช่วยเหลือครับ

มีภาพเหยี่ยววัยกระเตาะมาขอความช่วยเหลือ ขอเพื่อนๆ ชาวนกช่วยจำแนกชนิดด้วยครับ ตัวผมจนด้วยเกล้าจริงๆ
ทุกภาพถ่ายจากภูแถวๆ เหนือเขื่อนลำประทาว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี่เองครับ
ภาพถ่ายด้อยคุณภาพมาก ผมพยายามขยายและปรับแก้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว มันเกินขีดจำกัดของเล็นส์ไป

เริ่มจากชนิดแรกครับ ตอนเห็นเงารางๆ ผมคิดว่าเป็นวงศ์เหยี่ยวปีกแหลมเห็นหัวเวลาเกาะอยู่ก็ว่าใช่ แต่พอบินขึ้นทำไมปีกไม่ยักกะแหลม

Comments

ความเห็นที่ 1

เหยี่ยวเครสเตล ตัวแรกตัวผู้ ตัวที่สองตัวเมียครับ

ความเห็นที่ 1.1

ไวมากขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 2

ชนิดที่สองครับ เดาว่าเป็นเหยี่ยวทุ่งซักอย่าง

imgp5784.jpg imgp5785.jpg imgp5786.jpg

ความเห็นที่ 2.1

กำลังบินไล่โฉบนกนางแอ่นบ้านอยู่ครับ

ความเห็นที่ 3

ชนิดที่สาม ตัวนี้ใกล้แต่ก็ยังถ่ายได้ไม่ดี บินอยู่เป็นคู่ผมเดาว่าเป็นเหยี่ยวนกเขาอีกซักอย่าง
imgp5823.jpg imgp5824.jpg imgp5826.jpg imgp5825.jpg

ความเห็นที่ 4

ชนิดที่สี่ บินเป็นคู่อยู่เหนือชนิดที่สองแต่อยู่สูงกว่าพอสมควร ให้เดาผมยังเดาไม่ออกเลยครับ

ส่วนชนิดที่ห้าไม่หวังจะจำแนกเพราะถ่ายจากระยะไกลมากๆ แต่ที่ส่องกล้องดูเห็นหางเป็นรูปพลั่ว ขยายจากภาพถ่ายมาดูได้แค่นี้ครับ ไม่ทราบว่าผมคิดไปเองหรือเปล่า
ชนิดที่สี่ ชนิดที่ห้า

ความเห็นที่ 4.1

นั่งดูดีๆ ผมคิดว่าชนิดที่สองกับชนิดที่สี่เป็นชนิดเดียวกันแต่เป็นคนละคู่

ความเห็นที่ 4.1.1

พิมพ์ผิ ดสามกับสี่ครับไม่ใช่สองกับสี่

ความเห็นที่ 5

ชนิดอื่นมิบังอาจตอบครับ แต่ตัวที่พี่บอกว่าชนิดที่2 มันก็ยังเป็นเหยี่ยวเครสเตล วงศ์เหยี่ยวปีกแหลมอยู่ดีครับ  พวกเหยี่ยวทุ่งๆดูแล้วอาจเหมือนเหยี่ยวปีกแหลมแต่ว่ายีงมีร่องนิ้ว(ขนปลายปีก) ตื้นๆพอให้สังเกตอยู่ครับ

ความเห็นที่ 5.1

แจ่มมาก ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 6

#3 เหยี่ยวหน้าเทาน่ะ
#2 น่าจะ Krestel

ความเห็นที่ 6.1

ชนิดที่3 คิดเหมือนกันครับ แต่ไม่กล้าฟันธง  - -"

ความเห็นที่ 6.2

ผมมั่วไปเหี่ยวนกเขาท้องขาวโน่นแนะ...ฮา

ขอบคุณมากครับ

ความเห็นที่ 7

ได้มาสามละ สี่กับห้าคงยากที่จะจำแนก

ว่าแต่ว่าเจ้าเบอร์หนึ่งกับสอง และเจ้าเบอร์สามนี่ มันเป็นสีที่ผลัดขนช่วงอพยพหรือเป็นสีของนกวัยอ่อนกันครับ ผมดูยังงัยก็ดูไม่ขาด

แล้วก็ถือโอกาสถามต่อซะเลย อีกซักสองสามตัวที่ผมยังใส่ชื่อชนิดได้ไม่สนิทใจอยู่ (ภาพถ่ายยังคุณภาพเช่นเดิม...ฮา)

ตัวแรกเป็นกระจิ๊ดอะไรไม่รู้ ตัวที่สองเป็นปีกสองแถบหรือเปล่า

ความเห็นที่ 8

สุดท้ายนี้แถมมาให้ดูขำๆ โอกาสที่จะเจอนกโดนแบนด์มาแล้วในสนามนี่จะมีมากน้อยแค่ไหน
เด้าดินตัวนี้ดูเหมือนมีห่วงขาไหม น้องๆ ที่ไปด้วยส่องเห็นได้เฮกันใหญ่ พอขยายดูมีเฮยิ่งกว่า อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็นจริงๆ ครับ

ความเห็นที่ 9

มองไม่ออกครับ คืออะไร ?

ความเห็นที่ 9.1

ผมว่ามันเป็นหูด หรือเป็นโรคอะไรซักอย่าง

ความเห็นที่ 10

#3 เป็น เหยี่ยวทะเลทราย :Buteo buteo
ดูจากลำตัวที่ค่อนข้างตัน มีแถบหนาพาดที่ท้อง ข้อมือดำ
แต่เป็นชนิดย่อยอะไรนั้น ไม่แน่ใจครับ แต่น่าเป็น B. buteo  Japonicus

เพราะจากรูปหางมีสีเข้ม ถ้าหางเป็นสีน้ำตาลแดงจะเป็น B. buteo vulpinus

ความเห็นที่ 11

#4 ผมคิดว่าน่าจะเป็นเหยี่ยวผึ้ง?(ไม่มั่นใจเท่าไหร่)

ความเห็นที่ 12

ชนิดที่สามเริ่มสับสน

เพิ่มเติมรายละเอียดอีกนิดครับ ภาพถ่ายจากบนรถ นกบินโฉบใกล้ๆ เหนือขึ้นไปราวๆ สี่ถึงห้าสิบเมตรไม่เกินนั้น กะขนาดน่าจะราวๆ ห้าสิบเซนติเมตร พื้นที่ที่พบเป็นไร่มันสัมปะหลังบนที่ดอนสลับกับสวนยางพาราห่างจากเขื่อนประมาณสองกิโลเมตร

เพิ่มเติมภาพเบลอๆ อีดซักหน่อย เพื่อพิจารณาครับ
imgp5820.jpg imgp5822.jpg imgp5827.jpg

ความเห็นที่ 13

ภาพเปรียบเทียบ จากหนังสือดูนกครับ...(แต่ตัวที่ 4 กับ 5 ผมก็ยังงงอยู่ดี)
ชนิดที่ 4 ผมเคยเห็นบินผ่านบ้านพักที่ผมอยู่ 2-3 ครั้ง สีสันแบบในรูปถ่ายเป๊ะๆเลยครับ โดยเฉพาะขอบหางสีดำที่ตัดกับพื้นหางสีซีด
p1050268.jpg p1050269.jpg

ความเห็นที่ 14

ในเบื้องต้น จากรูปแรกๆ ผมยึดติดกับขนาดที่ค่อนข้างเล็กและแถบที่ใต้ตาง แต่เมื่อลองเพ่งดูอาจเป็นได้ว่าเป็นลายหรือเงาบริเวณขากรรไกรล่างหลอกให้เห็นเป็นขีดใต้คาง ซึ่งไม่ปรากฏในรูปรองสุดท้าย จึงเห็นค้อยตามไปที่ Buteo buteo เหมือนกันครับ (คนหลายใจ...ฮา)

ความเห็นที่ 15

เรื่องเหยี่ยวไม่ออกความเห็นนะครับ เอาเรื่องนกเด้าดินทุ่งเล็ก ผมว่าที่ขาของเขา อาจจะมีสะเก็ดหรือหนังกำพร้าแกสะเก็ดออกมา เมื่อก่อนผมเคยถ่ายภาพนกชนิดนี้แต่ไม่เห็นลักษณะที่ว่า แต่เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมาผมถ่ายนกชนิดนี้และสังเกเห็นลักษณะดังกล่าว ลองดูภาพนะครับ ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าเป็นอะไรแน่

paddyfield_pipit.jpg

ความเห็นที่ 15.1

เท่าที่เจอในสนาม เห็นที่ขามีลักษณะแบบนี้เพียงตัวเดียวตัวอื่นๆ ไม่เป็น น่าจะเดาได้ว่าไม่ใช่ลักษณะทางกายภาพโดยปรกติ แต่เมื่อมีตัวอื่นๆ เป็นแบบนี้เหมือนกันในที่ต่างเวลาต่างสถานที่ ก็น่าจะเดาได้อีกว่าไม่ใช่ความผิดปรกติแบบเฉพาะตัว น่าจะเกิดจากโรคติดต่อหรือความผิดปรกติของร่างกายที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่ปรกติหรือเปล่าครับ (ยังไงหว่า...ยิ่งเดายิ่งงง...ฮา) หากเจอกระจายกว้างๆ จำนวนมากๆ อาจเป็นความผิดปรกติในระดับประชากรในลักษณะของโรคระบาด (ไม่รู้อุบัติใหม่หรืออุบัติเก่า) ก็เป็นไปได้นะครับ (ผมก็มั่วไปเรื่อย...แต่ในใจก็สงสัยอยู่เหมือนกัน)

ความเห็นที่ 16

ลองเทียบกับเหยี่ยวดงบ้าง...
p1050860.jpg