ออกตามหาบัวผุด แต่ได้เจอเจ้าสิ่งนี้ด้วย
คนนำทางบอกว่า นี่คือขนุนดิน
ผิดพลาดประการใดขออภัย
siamensis.org เป็นสังคมเครื่อข่ายความร่วมมือเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย
Independence Non-Profit Organization Since 1999
ร่วมพัฒนาเว็บไซต์โดย โอเพ่นดรีม
Comments
ความเห็นที่ 1
เข้าไปในภูเขา บ้านฝายท่า ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 3.1
ความเห็นที่ 3.1.1
Erwin
ความเห็นที่ 4
ผมก็พอจะมีรูปอยู่บ้าง แต่รู้แค่ว่ามันคือ -ขนุนดิน- เหมือนกันครับ
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
เป็นขนุนดินครับ ที่บ้านพ่อเป็นหมอยาสมุนไพร
เอามาตากแดดแล้วเอามาฝนกับสมุนไพรอีกหลายชนิด
เป็นยาคล้าย ๆ ยาแก้ขับลม
ความเห็นที่ 7
กากหมากตาฤาษี(ดูรูปประกอบของคุณเก่งนะครับ)
ชื่อท้องถิ่น : กกหมากพาสี(ภาคเหนือ) ; เห็ดหิน(เลย) ; ว่านดอกดิน(สระบุรี) ; ขนุนดิน(ภาคกลาง) ; ดอกกฤษณารากไม้(ประจวบฯ) ; บัวผุด(ชุมพร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Balanophora fungosa J.R. et G.Forst. ssp. indica B.Hansen
ลักษณะลำต้น : ไม้ล้มลุก สูงราวๆ 10-25 ซม. สีชมพูคล้ำจนถึงสีม่วงคล้ำ บริเวณที่ติดกับรากของพืชที่อาศัยอยู่จะเป็นก้อนปุ่มปมที่มีลักษณะไม่แน่นอน ประกอบด้วยก้อนขนาดเล็กหลายก้อนติดกันจนกลายเป็นก้อนใหญ่ ก้อนย่อยรูปกลมรี ขนาด 3-5 ซม. ผิวเป็นสะเก็ดหยาบๆรูปดาว
ลักษณะใบ : ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว ใบลดรูปจนมีลักษณะเป็นกาบหุ้มลำต้นและโคนช่อดอก จำนวน 10-20 ใบ ความกว้างยาวของใบไม่แน่นอน ใบไม่มีสีเขียว แต่มีสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลือง เพราะเป็นพืชเบียนที่ไม่ต้องสังเคราะห์แสง
ลักษณะดอก : ออกดอกเป็นช่อตามปลายยอด ต้นหนึ่งมีเพียงช่อเดียวหรือมากกว่า มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก และดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น กลิ่นหอมเอียน ช่อดอกเพศผู้รูปรีถึงยาวรี กว้าง 2-6 ซม. ยาว 4-15 ซม. ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอมเขียวอ่อนเรียงติดกันอยู่เป็นระยะที่ปลายช่อ ดอกไม่เบี้ยว กลีบดอก5กลีบมีขนาดเท่ากัน เกสรตัวผู้ 4-5 อัน กาบรองดอกรูปเหลี่ยมหรือมน ส่วนช่อดอกเพศเมียค่อนข้างกลมเป็นรูปไข่กลับ ขนาด 2-10 ซม. ดอกสีน้ำตาลแดงขนาดเล็กๆเรียงตัวอัดกันแน่นอยู่บนก้านช่อดอก ก้านดอกยาวเพียง 7-10 มม. ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ก.พ. และพบออกดอกนอกฤดูกาลบ้าง แต่มีน้อย
แหล่งที่พบในไทย : เป็นพืชเบียนหรือพืชกาฝากที่อาศัยเกาะกินน้ำและอาหารอยู่บนรากพืชในวงศ์LEGUMINOSAEและวงศ์VITIDACEAEตามป่าดิบบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300 เมตร ขึ้นไป ทั่วทุกภาค
แหล่งกำเนิดและแพร่กระจาย : จีนตอนใต้ อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) มาเลเซีย และออสเตรเลีย
อีกชนิดหนึ่ง คือ กากหมาก
ชื่อท้องถิ่น : ว่านดอกดินขาว(ภาคเหนือ) ; โหราเท้าสุนัข
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Balanophora latisepala (Tiegh.) Lec.
ลักษณะลำต้น : เช่นเดียวกับกากหมากตาฤาษี แต่มีสีอ่อนและขนาดเล็กกว่า โดยสูงราว 6-8 ซม.
ลักษณะใบ : ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น หรือเป็นเกลียว ใบลดรูปจนมีลักษณะเช่นเดียวกับกากหมากตาฤาษี แต่ต่างกันตรงที่มีใบจำนวน 6-12 ใบ
ลักษณะดอก : เช่นเดียวกับกากหมากตาฤาษี แต่ต่างกันตรงที่ช่อดอกเพศผู้รูปยาวคล้ายไม้กระบอง หรือรูปไข่แกมรี กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3-10 ซม. ขนาดดอก 0.5-1 ซม. ดอกสีขาวหรือสีขาวครีมติดอยู่เป็นระยะที่ปลายช่อ รูปดอกเบี้ยว กลีบดอก 4-6 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กาบรองดอกรูปลิ่มหรือเกือบสี่เหลี่ยม ส่วนช่อดอกเพศเมียรูปไข่ยาวๆ รูปรี หรือรูปไข่กลับ กว้าง 1-4 ซม. ยาว 1-6 ซม. ดอกสีน้ำตาลดำๆขนาดเล็กราวปลายดินสอดำเรียงตัวอัดกันแน่นอยู่บนก้านช่อดอก ออกดอกในราวเดือน ก.ย. – ก.พ. และพบออกดอกนอกฤดูกาลบ้าง แต่มีน้อย
แหล่งที่พบในไทย : เป็นพืชเบียนหรือพืชกาฝากที่อาศัยเกาะกินน้ำและอาหารอยู่บนรากพืชในวงศ์LEGUMINOSAE วงศ์VITIDACEAE และสกุลFicus วงศ์MORACEAE ตามป่าดิบบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 200-1,500 เมตร ทั่วทุกภาค
แหล่งกำเนิดและแพร่กระจาย : พม่า ภูมิภาคอินโดจีน(ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) มาเลเซีย และเกาะสุมาตราจนถึงเกาะบอร์เนียว