แมลงปอใหม่ๆ ในต้นปีนี้
เขียนโดย kroolek Authenticated user เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2554
ผ่านปีใหม่มาเดือนครึ่ง วันหยุดบางวันไม่ได้ไปไหนก็ลองค้นหาแมลงปอรอบๆ บ้านดู(บ้านแพ้ว สมุทรสาคร) ซึ่งตัวที่ต้องการพบคือ แมลงปอบ้านเอเซีย Lathrecista a. asiatica และแมลงปอเข็มเรียวสามสี Aciagrion pallidum ซึ่งได้ทราบว่ามีการพบที่สมุทรสาครแล้ว แต่ยังไม่เห็นด้วยตัวเอง จนวันนี้ก็ยังไม่พบทั้งสองชนิดเลย แต่น่าแปลกเหมือนกัน ในเดือนกุมภาพันธ์ เดือนแห่งความรัก กลับพบตัวที่ยังไม่เคยคาดหวังจะได้พบที่นี่ด้วยตาตนเองมาก่อน สองสามชนิด (เคยพบที่อื่นบ้าง)
ตัวแรกนี้ เป็นแมลงปอบ้านทุ่งขนเทา Potamarcha congener ตัวนี้เป็นครั้งแรกของผมเลยที่ได้ภาพมา
ตัวแรกนี้ เป็นแมลงปอบ้านทุ่งขนเทา Potamarcha congener ตัวนี้เป็นครั้งแรกของผมเลยที่ได้ภาพมา
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 2.1
ความเห็นที่ 2.1.1
ความเห็นที่ 2.1.1.1
ความเห็นที่ 2.1.1.2
ท่าเกาะนี้เป็นเอกลักษณ์ของชนิดนี้จริงๆ ครับ เห็นด้วยกับครูเล็กครับ เห็นไกลๆ แล้วบอกได้เลย
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 3.1
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
น่าสนใจมากครับ ผมยังไม่ได้ดูอะไรที่ไหนเลย มัวแต่ยุ่งๆ กับงานหลวง
ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆ ครับ
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 6.1
ความเห็นที่ 6.1.1
วงศ์หมาป่าจะอุ้มไข่ด้วย spinneret ครับ
ส่วนวงศ์ตกปลาจะอุ้มด้วย jaws และ pedipalps
ความเห็นที่ 7
ขอสอบถามครูเล็กและสมาชิกแมลงท่านอื่นๆ หน่อยครับ
เรื่องอายุแมลงปอ ผมเข้าใจว่าแมลงปอพอขึ้นจากน้ำมาเป็นตัวเต็มวัยจะมีอายุไม่ยืนยาวนักไม่รู้ว่าผมเข้าใจผิดถูกแค่ไหน ยกตัวอย่างสกุลแมลงปอบ้านนี่ช่วงตัวเต็มวัยมีอายุยาวนานแค่ไหน การเปลี่ยนแปลงของสีแมลงปอตามช่วงอายุมีช่วงเวลาเป็นอย่างไร และแมลงปอสกุลอื่นๆ มีช่วงเวลาตอนเป็นตัวเต็มวัยใกล้เคียงหรืแตกต่างจากแมลงปอบ้านมากน้อยเพียงไร
สอบถามเพื่อเป็นวิทยาทาน
ขอบคุณครับ
ความเห็นที่ 7.1
http://www.skn.ac.th/skl/project/dragon48/dr11.htm
ความเห็นที่ 7.1.1
ความเห็นที่ 7.2
ใช่ครับ ถ้าเรานับแค่ช่วงตัวเต็มวัย (ตั้งแต่ออกจากคราบผ่านช่วงเต็มวัยจนถึงช่วงผสมพันธุ์) จะพบว่า กลุ่มแมลงปอปีกราบ หรือแมลงปอบ้าน (ในอันดับย่อย Anisoptera; dragonflies) จะอยู่ในช่วง 2-3 สัปดาห์ถึง 3-6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มแมลงปอเข็ม (ในอันดับย่อย Zygoptera; damselflies) จะอยุ่ในช่วง 1-2 สัปดาห์ถึง 5-8 สัปดาห์
โดยในแต่ละชนิดนั้นก็มีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพพื้นที่และสภาพอากาศครับ เช่น แมลงปอเข็มปีกแผ่ Lestes sponsa (ไม่พบในบ้านเรา) จะมีช่วงเต็มวัยนาน 20 วันในบริเวณละติจูดที่ 40-58 องศาเหนือ และจะยาวนานขึ้นในบริเวณละติจูดต่ำกว่า 40 องศาเหนือ และอยู่นานประมาณ 100 วันในละติจูดที่ 34 องศาเหนือ อีกทั้ง อายุของตัวเต็มวัยจะขึ้นกับเพศและอุณหภูมิ โดยตัวผู้จะมีอายุสั้นกว่าตัว ส่วนอากาศหนาวจะช่วยยืดช่วงอายุตัวเต็มวัยได้ครับ
ในแมลงปอและแมลงปอเข็มหลายชนิด เรามักพบตลอดทั้งปี เนื่องจากแมลงปอเหล่านี้มีหลายรุ่นใน 1 ปี แต่บางชนิดจะพบเป็นช่วงสั้นมากๆ เช่น Mnais yunosukei ที่พบประมาณ 1-2 เดือนเท่านั้น จากการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญพบว่า แมลงปอเข็มชนิดนี้จะมีช่วงตัวอ่อนที่นานมากกว่า 1 ปีก็เป็นได้ครับ
ความเห็นที่ 7.2.1
ความเห็นที่ 7.3
ส่วนเรื่องการเปลี่ยนแปลงในตัวเต็มวัยจากตัวเต็มวัยที่อายุน้อยไปถึงตัวเต็มวัยที่โตเต็มที่นั้น การเปลี่ยนแปลงที่พบคือ สีร่างกาย สีปีก การเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ ขนาดและสีสันของตัวเบียนภายนอก(เช่น ไรปรสิตที่เกาะตามตัวตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอยู่ในน้ำ) และชั้นผิวหนัง (ขอใช้ศัพท์ง่ายๆ นะครับ) สิ่งเหล่านี้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดครับ สิ่งที่เห็นง่ายมักจะเป็นสีครับ บางสกุลอาจจะเริ่มต้นด้วยสีขาว (เราเรียกช่วงนี้ว่า ghost form) จะพบในแมลงปอเข็มยาว (สกุล Copera) จากนั้นสีจะค่อยๆ ชัดเจนขึ้นครับ ในบางชนิดสีปีกจะมีการเปลี่ยนแปลงจากสีส้มเป็นสีใสเช่น แมลงปอเข็มวงศ์แมลงปอเข็มน้ำตกใหญ่ (วงศ์ Calopterygidae) หรือบางชนิดจะมีการเปลี่ยนแปลงของสีลำตัวเล็กน้อยเช่น จากสีเขียวเป็นสีเหลือง (แต่สีอื่นปกติเพียงแต่เข้มขึ้น) เช่น แมลงปอเสือ เป็นต้นครับ
แมลงปอตัวเต็มวัยที่อายุน้อยหรือเพิ่งออกจากคราบ (เราเรียกว่า teneral (stage)) จะสังเกตได้ง่ายจากที่สีสันจะซีดจาง และปีกจะใสและมีการสะท้อนแสงกับแสงแดด แต่ในตัวเต็มวัยที่อายุมากหลายชนิดจะมีการสร้างผงแป้งสีขาวหรือเทาฟ้าขึ้นมาปกคลุมตัว (เราเรียกว่า pruinosed) ครับ
ป.ล. ข้อสังเกต(ส่วนตัว)เพิ่มเติม แมลงปอหลายชนิดในตัวเต็มวัยที่อายุน้อยก็มีสีตาที่แตกต่างจากสีตาของตัวเต็มวัยที่โตเต็มที่เช่นกันครับ
ความเห็นที่ 7.3.1
ความเห็นที่ 7.3.2
ขออีกนิดครับ การเปลี่ยนแปลงช่วงตัวเต็มวัยนี่มีเฉพาะช่วงที่ลอกคราบจากตัวอ่อนไปจนเป็นตัวเต็มวัยมี่สมบูรณ์เติมที่เท่านั้น ซึ่งมีระยะเวลาแตกต่างกันในแต่ละชนิดไม่ใช่มีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงอายุไปจนตาย (ยกเว้นในกรณีที่มีปรสิต) ใช่ไหมครับ
ความเห็นที่ 7.3.2.1
ใช่ครับ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะหยุดอยู่เมื่อเจริญเต็มที่แล้ว (เหมือนคนเราเนี่ยแหละครับ) เพียงแต่หลังจากนั้น แมลงปอหลายชนิดจะมีการผลิตผงสีขาวหรือสีฟ้าเทามาปกคลุมตัวครับ ส่วนการมีไรปรสิตนั้น...จากงานวิจัยต่างๆ พบว่า มีทั้งส่งผลต่อแมลงปอในด้านพฤติกรรม (จำนวนการวางไข่ลดลง การเคลื่อนไหวช้าลง การจับคู่ผสมพันธุ์ลดลง ฯลฯ) และเพศ (ไรปรสิตบางชนิดจะส่งผลต่อแมลงปอเพศผู้เพียงอย่างเดียว ไรปรสิตบางชนิดส่งผลต่อแมลงปอเพศเมียอย่างเดียว) และไม่มีผลใดๆ ต่อแมลงปอเลยครับ
รายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างเยอะครับ ฮาๆ
ความเห็นที่ 7.3.2.1.1
ขอบคุณหลายๆ อีกครั้งครับ
ความเห็นที่ 7.3.2.1.1.1
ยินดีครับ
ถ้ามีข้อสงสัยก็สอบถามได้เลย ผมจะพยายามหาข้อมูลมาตอบให้ครับ
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
แล้วถ้าอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 3 องศาแมลงปอจะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและสภาพการเป็นอยู่อย่างไรอ่าคะ