ปริศนาไขกระจ่างแล้ว!!!! (ตัวอะไรกินค้างคาว?)

ซากค้างคาวหน้ายักษ์นี้ถูกพบอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งที่บริเวณเขาวง ตอนนั้นมืดแปดด้านจริงๆว่าตัวอะไรกินมันเป็นซากลักษณะแบบนี้ หลังจากศึกษาอยู่เกือบปี ตอนนี้ข้าพเจ้าคิดว่าได้คำตอบแล้วว่าเป็นฝีมือผู้ล่าตัวใด รองทายกันเล่นครับ ระหว่าง....

ก. ตุ๊กกายยักษ์
ข. งูกาบหมากหางนิล
ค. ค้างคาวแวมไพร์แปลงใหญ่
ง. มดง่าม
จ. แมว
ฉ. อื่นๆ....... (ใครคิดว่าไม่ใช่ทั้งหมดและเป็นอย่างอื่นระบุเลยครับ) 

Comments

ความเห็นที่ 1

ถ้าตอบ ตุ๊กกายยักษ์ จะฮาไหมครับ cheeky

ความเห็นที่ 2

เเมวบ้าน...

ความเห็นที่ 3

ค้างคาว 1 เสียง

ความเห็นที่ 4

ตอบแบบแหวกแนวแล้วกันครับ 
สุนัข ฮ่าๆๆๆ

ความเห็นที่ 5

แมลงสาบยักษ์!!!

ความเห็นที่ 6

ค. แล้วกัน

ความเห็นที่ 6.1

พี่น๊อทอธิบายเหตุผลหน่อยดิครับ 

ความเห็นที่ 6.1.1

เหตุผล..เพราะว่าท่านพูดถึงถี่ยิบในช่วงเดือนนี้ อิ อิ

ตัดงูออกก่อน เพราะงูไม่เคยกินทิ้งกินขว้างได้แบบนี้
ตัดอีเห็นออก เพราะถ้ามันกินสัตว์มันไม่ลอกหนังออกแบบนี้
ตืดแมลงสาบยักษ์ออก เพราะถ้ามันแทะกิน หนังจะไม่เนียนแบบนี
ตัดมดง่ามออก เพราะถ้าเป็นฝีปากมัน หนังจะพรุน แล้วเหลือกระดูกไว้ต่างหน้าด้วย
เหลืออะไรอีกหว่า..เอามาตัวที่เดาเลย ลักษณะการกินเป็นผลงานของสัตว์ที่กัดหรือแทะเป็นคำพอประมาณ และสามารถใช้มือหรือตีนช่วยได้ดี ซึ่งจากที่เคยเลี้ยงหนู มันสามารถกินหนูด้วยกันเองจนเหลือหนังเนียนๆแบบนี้ได้ แต่มันจะเจาะจากท้องเข้าไป แต่ยังไงๆก็ทิ้งกะโหลกให้ดูต่างหน้า จากภาพนี้ก็ไม่รู้ว่าเหลือกะโหลกหรือเปล่า (อาจพับอยู่ด้านล่าง) แต่ที่ไม่เดาเป็นหนู เพราะยังไม่เคยเห็นหนูกระโดดไล่งับค้างคาวได้ นอกจากกินซากค้างคาว จากซากนี้เหมือนโดนกินทั้งเป็น(เดา) ก็เลยยกเครดิตให้นักล่ากลางเวหาที่มันจะโฉบสัตว์อ่ืนกลางอากาศได้แล้วกัน (ทั้งๆที่จริงอาจเป็นหนูกินซากใหม่) จบข่าว

ความเห็นที่ 7

แมว

ความเห็นที่ 8

อีเห็น

ความเห็นที่ 9

ง. มดง่าม

ความเห็นที่ 10

น้ำชา

ความเห็นที่ 11

ขอตอบ ค. ค้างคาวแวมไพร์แปลงใหญ่ครับ ถ้าแมงหมาสภาพน่าจะเยินกว่านี้ครับ ดูจากสภาพแล้วน่าจะกัดทีเดียวขาด แล้วหล่นลงพื้นเลย

ความเห็นที่ 12

ขอ มดง่าม ด้วยคน ฮี่ๆๆๆ

ความเห็นที่ 13

คิดว่าแมวนะครับ

ความเห็นที่ 14

ก. ตุ๊กกายยักษ์ .. พวกนี้น่าจะกลืน
ข. งูกาบหมากหางนิล .. นี่ก็กลืน
ค. ค้างคาวแวมไพร์แปลงใหญ่ .. รู้จักแต่ค้างคาวกินพืชกินแมลง
ง. มดง่าม ... น่าจะแทะทั้งตัว
จ. แมว .. อืม.. ไม่เคยเห็นแมวแถวนั้นนา

พฤติกรรมแบบนี้คล้ายๆหมีสีน้ำตาล แทะกินแต่หัวปลาแซลมอน แมวก็น่าจะคล้ายๆกัน


ขอตอบว่า ไอ้น้ำชาแน่ๆ
ค้างคาวป่วย เดินเตาะแตะ น้ำชามาเห็นเลยแทะหัวซะ

ความเห็นที่ 15

ถ้าน้ำชาผิด ก็จะตอบว่า ไอ้ฟลุค เอาดิ angry

ความเห็นที่ 15.1

ไอ้ฟลุ๊คไม่เคยเดินข้ามสะพานไม้ด้วยซ้ำ... ตอนนี้ขี้เรื้อนกินอีก เหม็นฉิ๊กหาย

ความเห็นที่ 16

เดาว่า ค.แวมไพร์แปลงใหญ่ ครับ

ความเห็นที่ 17

สุนัข ? 

ความเห็นที่ 18

ปล. เดี๋ยวคนอื่นจะงง  น้ำชา กับ ฟลุ๊ค เป็นชื่อหมาที่หน่วยครับ แต่ก่อนมีไอ้หมอกด้วย แต่มันหายไปแล้ว (สงสัยงูเหลือมฟาดไป)

ความเห็นที่ 19

ก.ตุ๊กกายยักษ์...คิดได้งัย เมพขิงขิง
ข. งูกาบหมากหางนิล .. นี่น่าจะกินรวบและไม่น่าจะมีกรามที่ขบกระดูกได้
ค. ค้างคาวแวมไพร์แปลงใหญ่ .. แบทไม่น่าจะกินแบทด้วยกัน
ง. มดง่าม ... มันมากินแน่ แต่ตามมากินซากนะ
จ. แมว .. อันนี้คาดว่าเป็นไปได้มาก เนื่องจากมีกรามแข็งแรง ซากที่พบก็พบอยู่
ตรงพื้นดิน แถมตอนเดินวนกลับมาก็พบซากหายไป แสดงว่าผู้ล่าไม่ค่อยกลัวคน
และน่าจะหลบอยู่ตามหลืบถ้ำ ที่สงสัยคือ มันไต่ผนังถ้ำไปจับค้างคาวยังไง?
ฉ. น้ำชา..มันเดินนำหน้าแต่ไม่เห็นมันแตะต้องซาก หรือมันจะวกกลับไปกินซากที่ไม่ได้ล่า?
ช. หรือว่ามัน จะ  เป็น  .......................................ลิง.ง๊งงงจิงจิง
 

ความเห็นที่ 20

ผมก็คิดว่าเป็นแมวนะครับ เพราะเคยเห็นมันกระโดดจับนกที่บินอยู่ ทีเดียวเรียบร้อย

ความเห็นที่ 21

แมวครับ

ความเห็นที่ 22

เมื่อก่อนผมเคยเลี้ยงไก่ หนูบ้านตัวใหญ่ๆ เข้าไปใสกรงกัดไก่ที่กำลังรุ่นๆ ศพก็สภาพประมาณนี้ครับ

ความเห็นที่ 22.1

ใช้แล้วครับ ผมมองว่าสภาพซากแบบนี้ น่าจะเป็นฝีมือของผู้ล่าที่มีปากขนาดเล็ก ใช้การแทะกัดกินไปเรื่อยๆ ไม่ใช่การเขมือบเข้าไปทั้งตัว(เช่น งู)หรือกัดบดจนเละทั้งตัว(เหมือนหมา แมว) 

ความเห็นที่ 23

น่าจะค้างคาว.....ถ้าใช่ คำถามที่ตามมาคือ....กินพวกเดียวกันด้วยหรือนี่!!!!

ความเห็นที่ 24

น่าจะ ค ถ้าไม่ใช่หนู

ความเห็นที่ 25

ข้อมูลจากวารสารเคยมีกล่าวไว้ครับ ว่าค้างคาวแวมไพร์แปลงใหญ่ มีพฤติกรรมกินค้างคาวด้วยกัน

ความเห็นที่ 26

เฉลยแบบกึ่งๆนะครับ เพราะไม่ได้เห็นกับตาหรอก แต่จากสภาพของซากที่เห็นและชนิดผู้ล่าที่พบในพื้นที่ ทำให้
1. ตัดตุ๊กกายยักษ์ออกไปได้เพราะ จับมาทั้งปีใหญ่สุดแค่ 8 ซม. กินค้างคาวไม่ได้แน่
2. ถ้าเป็นงูจะกินไปทั้งตัวไม่กัด/แทะไปแต่ตัวแบบนี้
3. หมา/แมว ถ้ากินสภาพปีกน่าจะเละเทะกว่านี้ คงไม่เนียนขนาดแทะไปแต่ตัวได้
4. จึงเหลือแต่ค้างคาวแวมไพร์แปลงใหญ่ ที่พบอยู่ในถ้ำนี้ ซึ่งมีรายงานกินค้างคาวด้วยกัน และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ จิ้งจก ตุ๊กแก กบ เขียด กิ้งก่า หนู .... ลักษณะการกินก็ดูเข้าเค้าว่าน่าจะเป็นผู้ล่าที่มีปากค่อนข้างเล็ก ใช้การแทะส่วนที่ต้องการกินไปเรื่อยๆ

จึงสรุปด้วยการเดาอย่างมีหลักการว่าเป็นฝีปากของแวมไพร์แปลงใหญ่ครับ และในพื้นที่วิจัยค้างคาวชนิดนี้น่าจะเป็นหนึ่งในผู้ล่าตุ๊กกายที่สำคัญด้วย ค้างคาวชนิดนี้ใช้วิธีการฟังเสียงของเหยื่อในการล่า ถึงว่าตุ๊กกายมันเงียบสนิทกันดีจริงๆ

http://www.siamensis.org/species_index#1028--Species:%20Megaderma%20lyra


ความเห็นที่ 26.1

ขอยืนยันด้วยคนครับ

จากที่เคยดักค้างคาวมาหลากหลายที่ โดยเฉพาะบริเวณที่ใกล้ๆ กับปากถ้ำ จะต้องนอนเฝ้าตาข่ายเพื่อรอแกะค้างคาวที่มาติดตาข่าย ด้วยเหตุผลสองข้อคือ
1 ค้างคาวที่ติดตาข่ายนานๆ จะดิ้นมากแล้วแกะยาก บางชนิดที่ตัวโตๆ สามารถกัดตาข่ายขาดเป็นรูโตมากๆ แต่ตังเองก็ยังไม่ยักกะหลุด...ฮา
2 ค้างคาวกินสัตว์บางชนิดที่ตัวโตๆ จะเข้ามาแทะกินค้างคาวขนาดเล็กที่ติดตาข่ายอยู่ก่อนแล้ว

การดักค้างคาวใกล้ๆ ปากถ้ำ (ปิดปากถ้ำอย่าทำนะจ๊ะ) บางครั้งไม่สามารถนอนเฝ้าได้ด้วยเหตุต่างๆ นาๆ แล้วคิดว่าจะรีบขึ้นไปดูตาข่ายตั้งแต่เช้ามืด เราจะบพซากค้างคาวใหม่ๆ แทนที่จะพบทั้งตัว บางครั้งเหลือแต่ปีกตามภาพ บางครั้งเหลือแต่ใส้กับขนพันติดอยู่กับตาข่าย

ครั้งหนึ่ง ขึ้นไปดูตาข่ายตั้งแต่ยังไม่ทันสว่างจริงๆ ก็เจอเพชรฆาตเกาะตาข่ายแทะกันเห็นๆ พอคนมาก็บินหนีไปเฉยๆ ไม่ยักกะติดตาข่าย (แสดงว่าค้างคาวในวงศืกินสัตว์ที่ติดตาข่ายนี่โชคร้ายสุดๆ หรือไม่ก็คิดสั้นฆ่าตัวตาย) ในถ้ำนั้นสำรวจพบค้างคาวสามชนิด ชนิดที่ประชากรเยอะที่สุดคือค้างคาวปากย่น ชนิดที่ตัวใหญ่ที่สุดคือค้างคาวหน้ายักษ์ทศกรรณ์ เนื่องจากโจทน์หนีไปได้ส่วนจำเลยเหลือซากเพียงเล็กน้อย จึงเดาเอามั่วๆ ว่าคู่กรณีที่แทะกันอยู่คือค้างคาวหน้ายักษ์กำลังแทะค้างคาวปากย่น แต่ที่แน่นอนไม่เดาก็คือ ค้างคาวกินสัตว์ตัวโตๆ กินค้างคาวขนาดเล็กกว่าที่ติดตาข่าย

ความเห็นที่ 26.1.1

สมาชิกถ้ำมองของเวปบรอดนี้ อิ อิ ทีมเดียวกับขรัวสุรชิตแหงๆ เจ้าหมอนี่... ถึงรู้มากขนาดนี้

ความเห็นที่ 26.1.2

ถ้ำที่ว่าเจอแวมไพร์แปลงไหมครับ?

ความเห็นที่ 26.1.2.1

เท่าที่จับได้แยกได้ไม่มีครับ ถ้ำนั้นคลับคล้ายคลับคลาว่าอยู่แถวๆ เมืองกาญฯ แต่ไม่มั่นใจมันนานมากแล้วตั้งแต่ช่วงปี 38-39 พอดีดักได้กิตติที่อำเภอเมืองเลยมุ่นกันอยู่แต่กับกิตติชนิดอื่นเลยไม่ค่อยได้ใส่ใจ ตอนนี้ความทรงจำก็ชักจะลืมเลือนตามประสาคนแก่...ฮา

สมัยนั้นยังยังหนุ่มยังอยู่กลุ่มกีฏฯ ตะเวนดักค้างคาวในสวนผลไม้แทบจะทั่วประเทศ ทั้งข้อมูลทั้งตัวอย่างส่งกลุ่มงานหมดไม่เหลือไว้กับตัวเลย รูปถ่ายก็เป็นสไลด์เป็นร้อยๆ ม้วนอยู่เดี๋ยวนี้ขึ้นราหมด เสีนดายแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร

ปัจจุบันมารับจ้างชาวบ้านเค้าสำรวจป่าคนจ้างเขาอยากได้อะไรก็ต้องทำให้เขา บางครั้งมีคนจ้างสำรวจถ้ำก็ต้องมุดเข้าไปรังวัดเข้าวงรอบมาเขียนโปรไฟล์ให้เขา เลยได้ปัดฝุ่นฟื้นความจำอันลางเลือน ฟื้นประสบการณ์อันเท่าหางอึ่งมาใช้...ฮา
 
ที่เจอค้างคาวมาแทะกินค้างคาวอีกตัวที่ติดตาข่ายนี่หลายครั้งจากหลายๆ ที่ แต่เท่าที่เห็นผู้ล่าสำคัญของค้างคาวในถ้ำนี่น่าจะเป็นงูมากกว่า อย่างทางมะพร้าวหางนิลนี่จะเจอในถ้ำค้างคาวแทบทุกถ้ำ  หรือเขียวกาบหมากนี่เลื้อยตามหินย้อยบนเพดานถ้ำเข้าไปรัดกินค้างคาวเอาดื้อๆเลย มีโอกาสจะสแกนภาพ (ขึ้นรา) มาแปะฝากให้ดูครับ

ความเห็นที่ 27

เซ็งเลยเหมียว

ความเห็นที่ 28

แล้วไอ้ซากที่กองกับพื้น แต่พอเดินวกกลับมาแล้วหายไปล่ะ น้าจะว่าอย่างไร???
หรือว่ามีผู้กินซากลำดับที่สอง???
แล้วเจ้าแปลงใหญ่มันเคี้ยวกะโหลก,กราม,ฟัน ด้วยหรือ???

 

 

ความเห็นที่ 29

โอ้ววววววววววว..........ค้างคาวสวาปามค้างคาวความรู้ใหม่จากคุณ นณณ์surprise

ความเห็นที่ 30

ไมคิดว่ามันจะกินกันเอง --*

ความเห็นที่ 31

ไมคิดว่ามันจะกินกันเอง --*

ความเห็นที่ 32

สังเกตลักษณะการกินแล้ว เหมือนการแทะกินแต่เนื้อ โดยไม่เตะหนัง
มีการกัดกระดูกแขนทั้งสองข้าง ซากทั้งสองมีร่องรอยการกินที่คล้ายกัน
ผมก็เทใจให้แปลงใหญ่ในการล่า แต่การกินยังคาใจอยู่

ซากของอีกตัวหนึ่ง ซากของตัวต้นกระทู้แบบชัดชัด

ความเห็นที่ 32.1

คิดว่ากะโหลกน่าจะไปตกที่อื่นครับ มันคงเอาตัวพร้อมหัวแยกจากปีกและขาก่อน แล้วไปหาที่กินอย่างสงบ เช่นตามปล่องที่มันอยู่ ต้องลองตามไปดูที่พื้นบริเวณดังกล่าว

ส่วนซากที่หายไปก็มีตัวมาเก็บมากมายครับ

ความเห็นที่ 33

ไม่มีหลักฐานชัดเจน ไม่มีพยาน เป็นเพียงแค่การสันนิษฐาน ไม่ยอมนะครับ

ความเห็นที่ 34

ย้อนกลับมาตอนเย็นแล้วซากหายไป น่าจะเป็นผู้กินซากชุดที่สองแล้วครับ เคยเจอคราบงูตอนกลางวัน พอตอนกลางคืนเดินอีกทีก็หายไปเหมือนกัน อาจจะเป็นหนู หรือหมา แต่ผมลองดักหนูในนั้น 2-3 ทีไม่เคยได้ตัวอะไรเลย ต้องอย่าลืมว่าถ้ำนั้นไม่ได้มืดสนิทนะ

ความเห็นที่ 35

หลักฐานไม่ชัดเจน พยานไม่มีเป็นเพียงคาดเดา ยกประโยชน์ให้จำเลย  ยกฟ้อง... 5555

ความเห็นที่ 36

ตอนนี้ที่อยากรู้คือมันมีวิธีการฆ่าเหยื่อเฉพาะของมันหรือเปล่า คือจับได้แล้วต้องหักคอ ปิดหลอดลม อะไรแบบนี้เหมือนพวกเสือ/แมว หรือ สะบัดหักคอ หรือ จับได้ตรงไหนก็แทะไปเรื่อยตายเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น แต่ดูจากการกินค้างคาวทั้งสองซาก ก็ดูว่ามันกินแบบมีแบบแผนพอสมควรนะ โอ๊ยยยใครไปทำวิจัยแวมไพร์แปลงใหญ่ชุดนี้ต่อให้ทีดิ!!!! 

ความเห็นที่ 37

ตั้งแต่ชุดนั้นก็ยังไม่เจอเลยนิ

ความเห็นที่ 38

ครั้งที่ 24 เจอ 13 ตัวที่ถ้ำด้านในสุดครับ ส่วนซากในภาพนี้ถ่ายเมื่อตอนครั้งที่ 3 ในบริเวณเดียวกับที่เจอแวมไพร์แปลงใหญ่ครั้งที่ 24 ก็เลยนึกเชื่อมโยงกันได้แล้วลองไล่ศึกษาต่อดูครับ 

ความเห็นที่ 39

ใครจะเป็นเหยื่อรายต่อไป(เพื่อต่อแขนงงานวิจัยตุ๊กกาย)

ความเห็นที่ 40

นึกถึงรายการ National Geographic ชุดสืบสวนฆาตกรรมในสัตว์ป่า
ผมเคยดูอยู่ 3 ตอน คือ ซากลูกกาเซลล์ ซากจิงโจ้ แล้วก็ซากกวางคาริบู

แต่บอกตามตรง พอดูเคสสุดท้ายนี่ผมอยากจะเชื่อว่าเป็นการจัดฉากมาโชว์มากกว่า
ที่ผลสรุปสุดท้ายบอกว่า กวางตัวนี้ตายมาเป็นพันปีแล้ว ด้วยฝีมือสิงโตโบราณ แล้วจากนั้นน้ำแข็งละลาย ซากจึงหลุดออกมาให้หมาป่าและหมีมาแทะกินต่อ

ความเห็นที่ 40.1

อารมณ์กินไม่หมด ขอแช่ฟรีสไว้ให้คน(สัตว์) รุ่นหลังกินต่อ..

ความเห็นที่ 41

ซากของเหยื่อที่เหลือยังพอดูออกว่าเป็นค้างคาวเล็บกุด ซึ่งขนาดตัวใหญ่กว่าแวมไพร์แปลงใหญ่ชัดเจนทีเดียว จึงน่าสนใจมากหากจะตอบ(หรือสามารถพิสูจน์ได้)ว่าผู้ล่ามันคือค้างคาวแวมไพร์แปลงใหญ่

โดยส่วนตัวเคยคิดว่ามันจะไม่กินเหยื่อที่ใหญ่กว่าตัวมัน เหยื่อตัวใหญ่สุดที่เคยมีรายงานว่าตกเป็นเหยื่อคือค้างคาวหางหนู (Rhinopoma microphyllum) ซึ่งก็ตัวใหญ่พอๆกับมัน แต่ข้อสันนิษฐานนี้ก็อาจเป็นไปได้เหมือนกัน เพราะค้างคาวเล็บกุดเองเป็นค้างคาวที่ไม่ aggressive เลย ตรงข้ามกับแวมไพร์แปลงใหญ่ ซึ่งดุสมเป็นผู้ล่า จากที่เคยจับสังเกตว่าดุกว่าแวมไพร์แปลงเล็กอย่างเห็นได้ชัดด้วย

นอกจากดุแล้ว กรามมันยังแข็งแรงมากด้วย ซากที่เหลือ(หากใช่มันกินจริงๆ)ก็คิดว่ามันน่าจะกินหัวไปด้วย (ซึ่งเหยื่อกลุ่มอื่นๆเช่นเลื้อยคลานก็ถูกกินจากหัวก่อน บางทีกินแต่ส่วนหัวด้วย) รายงานส่วนใหญ่ที่บอกว่ามันกินค้างคาวก็เพราะพบฟันของเหยื่อใน stomach content (ซึ่งฟันนี่แหละทำให้สามารถ id ชนิดได้)

see also: http://www.sc.psu.ac.th/batdb/Data/Details.asp?no=30