พบจิ้งจกตุ๊กแกชนิดใหม่ของโลกแ้ล้วประเทศชาติได้อะไร?

โดนถามคำถามนี้บ่อยเลยพักนี้ ถ้าเป็นท่าน ท่านจะตอบอย่างไร?  ไม่ต้องจิ้งจกตุ๊กแกก็ได้อ่ะ เอาเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่ท่านศึกษาอยู่ก็ได้ครับ 

Comments

ความเห็นที่ 1

คำถามนี้โดนคนรอบข้างบางคนถามประจำครับ ว่าทำไปแล้วได้อะไร =_=!

ความเห็นที่ 1.1

ผมคิดว่าคำถามหัวกระทู้นั้น จะเอาคำตอบจริงๆจังๆ คงตอบไม่ได้หรอก ถ้าคนถามยังไม่เข้าใจถึงคำจำกัดความของ 3 คำนี้

"ชนิดใหม่ของโลก"คืออะไร ?
"นักอนุกรมวิธาน"คืออะไร ?
"ประเทศชาติ"คืออะไร ?

เพราะคนส่วนใหญ่ที่ถามคำถามแบบหัวกระทู้ ไม่ได้มองหาคำตอบอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ฟันธงไปแล้วว่า"ประเทศชาติไม่ได้อะไร" เพราะคนพวกนี้มองผลประโยชน์ในแบบอื่น ซึ่งเขาจะมองแบบไหนความจริงไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพียงเราต้องอธิบายว่ามุมมองของเราเป็นอย่างไรและผลประโยชน์ของเรากับเขามันเป็นคนละเรื่องกัน



ความเห็นที่ 2

งันก็เลี้ยงแต่หมู กินแต่หมูกันทั้งประเทศก็แล้วกัน
ไก่ กุ้ง ปลา หอย ฯลฯ ไม่ต้องกินกัน

นี้ละประโยชน์ของความหลากหลายทางชีิวภาพ

ความเห็นที่ 2.1

ขอกดlikeครับ

ความเห็นที่ 3

ความภาคภูมิใจ
ถ้าเปรียบเทียบประเทศชาติให้เหมือนกับโรงเรียน
ก็เหมือนนักเรียนจากโรงเรียนทำผลงานให้โรงเรียนได้ชื่อเสียง(เกี่ยวกันไหม)

ผมชอบเข้ามาดูเว็บนี้อยู่ประจำ แต่ไม่ได้สมัครสมาชิก
วันนี้สมัครแล้ว แต่ก็จะนั่งดูเฉยๆต่อไปครับ
 

ความเห็นที่ 4

อันนี้ก้ต้องถามกลับว่า แล้วเค้าถาม เพื่ออะไรล่ะ จะได้รู้วัตถุประสงค์ในการถาม ไม่งั้นตอบไปก็ไม่สามารถตอบคำถามของคนถามได้ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร

ความเห็นที่ 5

ผมว่า พวกเรา (หมายถึงทุกนักวิจัย ทุกนักอนุรักษ์) ช่วยกันต่อจิ๊กซอ ชิ้นใหญ่มาก ๆ ผมเชื่อว่า เมื่อเราเข้าใจทุกชีวิตดีแล้ว เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้น มาประกอบกัน เพื่อการอนุรักษ์อย่างถูกต้อง


หรือจะสวนกลับไป อย่างน้อยประเทศก็ได้ชื่อเสียง ดีกว่านั่งเฉย ๆ อ่ะ

 

ความเห็นที่ 6

ขี้...มันอาจรักษาโรคเอดได้....อย่าว่าแต่ิวิจัย..ขี้..มันเลย   ตัวมันยังเพิ่งรู้จักกันเลย

เห็นด้วยกันคุณหนึ่ง

อีกอย่าง  เราจะได้เข้าใจตัวเราไง ว่า ตัวเราสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมขนาดไหน  ทำไมมันถึงไม่ถูกเป็นที่รู้จักนานก่อนหน้านี้ ทั้งๆที่มันอยู่บนโลกมาก่อนเราซะอีก  เราไปอยู่ตรงไหน หรือมันไปอยู่ตรงไหน ทำไมไม่สัมพันธ์กันจนการมาพบกันเกือบสายไป  หรือ เราอาจจะค้นพบ การร่องหนหายตัวได้จากตุ๊กแกชนิดใหม่ก็ได้   ผมก็เพ้อไปเรื่่อย

ความเห็นที่ 7

ตัวอย่างง่ายที่สุดนะครับ

ไทยยังทำ invasive species index ไม่สำเร็จ(โดยเฉพาะแมลง)และยังออกกฏหมายป้องกันการเข้ามาของเอเลี่ยนสปีชี่ไม่ได้ เพราะเรายังมีข้อมูลไม่ครบเลยว่าบ้านเรามีอะไรบ้าง เทียบกับ ยุโรป อเมริกา หรือญี่ปุ่น ที่เขาสามารถใช้ส่วนนี้มากีดกันสินค้าเราได้ ว่าผลไม้เราอาจมีแมลงที่จะเข้าไปทำอันตรายในบ้านเขาได้ แต่ไทยยังทำไม่ได้ เพราะถ้าเขาสวนมาว่า คุณรู้ได้ไงว่าแมลงของฉันจะไม่มีในบ้านคุณ จบกันควานหาหลักฐานกันให้วุ่น

ความเห็นที่ 8

ใจเย็นๆครับครอบครัวสยามเอนสิสทุกท่านครับ ค่อยๆคิดค่อยๆตอบครับที่ละคำถามทีละคำตอบ เจอตุ๊กแกชนิด(หรือสัตว์)ใหม่แล้วประเทศชาติได้อะไร
ข้อแรกที่ขอตอบ คืออย่างน้อยก็ได้รู้ว่าประเทศนี้มีตัวอะไรอาศัยอยู่มากน้อยแค่ไหน
ข้อสองวัฐจักรของธรรมชาติมีสิ่งไหนไม่เกี่ยวข้องกัน(แม้แต่ขี้ก็มีวัฐจักร อันนี้ให้ลองถามกลับไปคนที่ถามว่ามันตอบได้ไหม ทุกคนในประเทศนี้ส่วนใหญ่เคยเรียนมาแล้วทั้งนั้น ถ้ายังไม่รู้อีก ก็ถามว่ารู้จักห่วงโซ่อาหารไหม ถ้ายังไม่รู้อีกก็บอกมันว่าไปตายซะ)
ข้อสามการที่ค้นพบสิ่งใหม่ๆ มันมีข้อเสียที่ตรงไหน
ข้อสี่การที่พบสิ่งมีชีวิตที่เป็นสิ่งใหม่มันสามารถบอกถึงวิวัฒนาการของทุกสรรพสิ่งได้เพื่ออะไร    ก็เพื่อค้นหาทางอยู่รอดของเผ่าพันธ์มนุษย์ และเผ่าพันธุ์ของเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย 
ข้อที่ห้าจากจำนวนหลายร้อยข้อ มีคนทั่วโลกที่เขาสนใจ อย่างนักวิทยาศาสตร์ นักอนุรักษ์จากต่างชาติ ที่มาดู ที่อยากเห็น เขาคงไม่เดินมาหรอกนะ และเขาก็คงไม่พกข้าวห่อหรือแฮมมากินเอง โอ้ยเยอะอ่ะ จะอธิบายยังไงดี ถ้าจะเอาให้หมดคงพรุ่งนี้สายๆแหละ คำถามเดียวที่อยากให้ถามกับไอ้คนที่ถามคำถามนี้ว่า (มึงคิดอะไรอยู่)

  

ความเห็นที่ 9

การค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ให้คิดซะว่าค้นพบมนุษย์ต่างดาวก็แล้วกัน ง่ายดี


ถ้าพบมนุษย์ต่าวดาวแล้วได้อะไร? ก็ถามมันเอาสิ ศึกษาดู นั้นแหละคือสิ่งที่ได้มา

ความเห็นที่ 10

ข้อแรก ไม่เคยสนใจว่าประเทศชาติจะได้อะไร ที่ทำเพราะอยากรู้ รู้แล้วก็จะได้ไม่...เหมือนคนถาม พ่อแม่จ่ายเงินค่าเทอมให้ยังไม่เคยถามว่าทำไปทำไม แล้วคนถามไม่ทราบว่าจ่ายตังค์ค่าเทอมให้หรือไง?

การเจอสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่เยอะก็ไม่ได้หมายความว่าเรามีความหลากหลายทางชีวภาพสูงอย่างเดียว แต่มันยังหมายถึงสิ่งมีชีวิตกลุ่มนั้นในประเทศไทยมีการศึกษาน้อย ????? แล้วอยู่กันมาตั้งนานทำไมไม่ศึกษาพอเริ่มมีคนสนใจศึกษาจริงจังก็มาตั้งคำถามงี้เง่า (บางคนอยู่จนเกษียณไม่เห็นทำอะไร)

เป็นกำลังใจให้ทุกๆ คนครับ

ความเห็นที่ 10.1

สำนักใหนนี่รู้เลยครับ yes

ความเห็นที่ 11

ขออีกซักนิดนะครับ(ก่อนนอน) ผมเข้าใจว่าคำถามของคนที่ถามคุณนณณ์ เป็นคำถามปลายเปิด แต่อยากให้ถามแบบมีนัยสักนิด เช่นการค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ คิดว่ามีผลดีกับประเทศเราอย่างไรครับ หรือ การค้นพบสัตว์ชนิดใหม่ จะสามารถทำให้การค้นพบนี้ นำไปใช้ประโยชน์ในด้านไหนได้บ้างครับ เช่นการอนุรักษ์ การวิจัย ฯลฯ น่าจะเป็นคำถามที่น่าฟังมากกว่านะครับ

ความเห็นที่ 12

คำถามเปิดสนิทครับ ไม่มีปิดไม่มีกระชับให้ไปทางไหนทั้งสิ้น

ความเห็นที่ 13

ค้นพบแล้ว เป็นการเติมเต็มข้อมูลทางวิวัฒนาการ ถ้าศึกษาต่อยอดอย่างละเอียดในหลายๆด้านโดยนำโมเดลทางคณิตศาสตร์มาช่วย อาจจะได้คำตอบว่า ทำไมมนุษย์ถึงวิวัฒนาการเป็นมนุษย์ และเรา (และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ) จะมีการวิวัฒนาการต่อไปหรือไม่ (ซึ่งผมคิดว่ามีแน่นอน) และอย่างไร

เมื่อได้โมเดล เราก็จะสามารถทำนายอนาคตได้แม่นยำขึ้น สามารถจัดการ บริหาร วางแผนการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากร เพื่อมนุษย์เอง และเพื่อเพื่อนร่วมโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพในที่สุด

ความเห็นที่ 14

วัตถุดิบของการนำไปใช้และประยุกต์ใช้ครับ

ตอบสั้นๆ แค่นี้แล

ความเห็นที่ 15

เหมือนคำถามที่ถามเป็นประจำ เรียน Calculus เอาไปทำไร 

คำตอบ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคิดและวิเคาระห์ ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น

ความเห็นที่ 16

ถามกลับไปว่าทำไมยังต้องมีการศึกษามนุษย์ในหลากแง่มุม ตั้งแต่ระดับสารประกอบในยีนไปจนถึงระดับ community ทั้งในแง่ชีววิทยา นิเวศวิทยา สรีรวิทยา ทำไมยังต้องความรู้จักกับความเป็นมนุษย์อยู่อีก แล้วให้มองการศึกษาของสัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในแบบเดียวกัน การศึกษาอนุกรมวิธานเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่เราจะทำความเข้าใจในแง่มุมอื่นๆ ถ้าไม่มีเรื่องนี้เราก็ไปต่อไม่ได้ หรือถ้าแถว่าไปได้ ก็ไปแบบรถที่ไม่มีล้อ  ขณะเดียวกัน มีแต่ล้ออย่างเดียวก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี การศึกษาในแง่มุมอื่น เช่น ชีววิทยา นิเวศวิทยา พฤติกรรม ชีวโมเลกุล ก็ต้องนำมาตอบคำถามทางอนุกรมวิธานอยู่ีดี

ส่วนถ้าจะบอกว่าประเทศชาติได้อะไร ได้ความรู้ ความรู้เป็นอาวุธที่สำคัญ ทำไมเรายังตามหลังฝรั่ง ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์กันอยู่ เพราะเราขาดความรู้นี่แหละ สิงคโปร์ทรัพยากรน้อยกว่าเรามาก ทำไมเขายังศึกษาธรรมชาิติวิทยากันอยู่ แถมลามปามมาศึกษาในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเขารู้ว่าความรู้จะนำไปต่อยอดอะไรก็ได้ ทั้งในแง่การจัดการ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน


ความเห็นที่ 17

โอ๊ว...ทุกข้อแสดงความคิดขอบอกว่าเห็นด้วยค่ะ ไม่มีอะไรไปมากกว่าการเติมเต็มความรู้ที่มีอยู่มากมายในประเทศนี้  คนที่มองข้ามความสำคัญของธรรมชาติรอบตัว คือคนที่ไร้จิตสำนึกของการอยู่รอด

ความเห็นที่ 18

ความรู้ การค้นพบ ทางวิทยาศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์ มันเรียกว่า วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เป็นการศึกษาด้วยจิตบริสุทธิ์ ปราศจากผลประโยชน์ใดๆ

ฐานความรู้พวกนี้ทีจะนำไปต่อยอดเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆของมนุษย์ ซึ่งเรียกว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เป็นการศึกษาประยุกต์เพื่อใช้ประโยชน์ในมุมมองแบบมนุษย์

ยกตัวอย่าง
วันหนึ่งนาย A ค้นพบว่า แผลจากทากดูดเลือด เลือดไม่ค่อยหยุดไหล เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป และมีหลายคนค้นพบเช่นกัน

หลายปีต่อมา นาย B ค้นพบว่า เลือดไม่หยุดไหลเพราะสารบางชนิดที่ทากปล่อยออกมา ไม่นานนักความรู้นี้ก็กระจายไปตามหมู่ลิงไร้ขนโดยทั่วไป (คุณก็รู้ใช่ไหมละ)

หลายปีต่อมา นาย C ค้นพบว่า สารชนิดนั้นมีโครงสร้างแบบ #%@$ และตั้งชื่อว่า "ฮีลูดิน"  แต่จะมีัสักกี่คนที่รู้เรื่องนี้ (ไม่รู้มีใครถามรึเปล่ารู้แล้วประเทศชาติได้อะไร)

หลายปีต่อมา นาย D สังเคราะห์สารเคมีเลียนแบบสารฮีลูดินขึ้นมา ได้สำเร็จ

ไม่นานต่อมา บริษัท E ผลิต ครีมผสมสารสังเคราะห์ที่ว่าใช้ทาถูทาถู เพื่อละลายลิ่มเลือดของคน ใช้แก้รอยฟกช้ำ เขียวๆม่วงๆที่เกิดจากเลือดมันไปคั่งอยู่ได้ดีนักแล ชื่อทางการค้าคือ "ฮีลูดอย"

เกือบทุกอย่างรอบตัวเรา มันมีต้นคิดมาจากธรรมชาติทั้งนั้น

ความเห็นที่ 18.1

ถูกใจ ตัวอย่างสุดคลาสสิค จาก natural product

ความเห็นที่ 18.2

ไปคิดถึงตอนเรียนวิชาจุลชีววิทยาเลย เหอๆๆ
การค้นพบยาเพนนิซิลิน (Penicillin) จากเชื้อราขนมปัง

 
เซอร์อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง (Sir Alexander Fleming) เป็นผู้ค้นพบ เพนนิซิลินเมื่อปี ค.ศ.1928 จากการสังเกตว่า ราที่ขึ้นบนขนมปังสามารถ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียตระกูลต่างๆ ได้ ซึ่งจากข้อสังเกตเล็กๆ ครั้งนี้ได้นำมาซึ่ง การค้นพบครั้งสำคัญต่อประวัติศาสตร์การแพทย์

เฟลมมิ่งพบว่า สารจากธรรมชาติสามารถใช้ฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ได้
 
ในเวลาต่อมา ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ความต้องการเพนนิซิลินเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก

แต่การสกัดยาปฏิชีวนะจากเชื้อรา เพนนิซิลินนั้นใช้เวลานาน และได้ยามาเพียงจำนวนน้อย ทำให้นักวิทยาศาสตร์ จำนวนมากพยายามคิดค้นหาวิธีการที่จะผลิตเพนนิซิลินอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว 
 

ซึ่งในเวลาต่อมา นายแอนดริว เจ โมเยอร์ (Andrew J. Moyer) นักจุลชีววิทยา ผู้นำทีมวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา พบวิธีการเพาะเชื้อราในกรดแลกโตส และเหล้าข้าวโพด ทำให้สามารถผลิตเพนนิซิลินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเทคนิคนี้ต่อมาได้รับ การจดทะเบียนสิทธิบัตรเมื่อปี ค.ศ. 1984

ความเห็นที่ 18.3

เห็นด้วยครับในแง่การมองถึงคุณค่าในการนำมาใช้ประโยชน์ทำนองนี้

นอกจากนั้นที่ผมว่าน่าสนใจมากก็ในประเด็นที่ว่าหน้าข่าวหนังสือพิมพ์ไม่จำเป็นต้องมีแต่พวกข่าวการเมือง ข่าวฆาตรกรรม ข่าวชู้สาวคาวกามโลกีย์ หรือข่าวจำพวกข่าวอัปมงคล อย่างเดียวก็ได้ใช่มั้ยครับ
ข่าวที่กระตุ้นจิตสำนึกให้หวงแหนธรรมชาติอย่างนี้บ้างก็ได้ หรือจะมีมากกว่านี้ก็ยังได้ และมันก็ดีกับจิตใจคน ดีต่อสังคมส่วนรวม ดีต่อตัวธรรมชาติเอง ส่งผลดีกระทบถึงกันต่อกันไปไม่จบไม่สิ้น

เป็นประเด็นทางด้านจิตใจ จรรโลงใจ การให้ตระหนักรู้ถึงการมีอยู่ของธรรมชาติ ให้เกิดความเข้าใจถึงการเชื่อมโยงกันระหว่างธรรมชาติกับเรา และผลกระทบที่มีต่อกันในมิติต่างๆ

ผมว่ามีข่าวแบบนี้เยอะๆ บ่อยๆ มันจะทำให้สุขภาพจิตของสังคมดีกว่าที่มีแต่ข่าวการเมือง ข่าวฆาตรกรรมทุกวันแน่ๆจริงรึเปล่าล่ะครับ
 

ความเห็นที่ 18.4


ขออนุญาตยืมไปใช้ใน facebook นะครับ

"ความรู้ การค้นพบ ทางวิทยาศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์ มันเรียกว่า วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เป็นการศึกษาด้วยจิตบริสุทธิ์ ปราศจากผลประโยชน์ใดๆ"


ความเห็นที่ 19

ชอบครับ      "วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์"

ความเห็นที่ 20

นาย A และคณะค้นพบตุ๊กกายชนิดใหม่ ต่อมาอีกห้าปี
นาย B ศึกษาพฤติกรรมหนีตายสลัดหางทิ้งและพบว่าหางงอกใหม่ ยาวกว่าเดิม อีกสิบปี
นาย C พบว่าตุ๊กกายชนิดนั้นผลิตสารชนิดหนึ่งกระตุ้นให้หางงอกออกมาแทนหางที่เสียไป
ต่อมา มีบริษัท D ขโมยผลงานการค้นพบไปผลิตยาซึ่งใช้ทำให้ส่วนที่ถูกตัดของท่านชายงอกออกมาใหม่...รวยเละ (ก็อาจจะเป็นไปได้ ใครจะรู้)

ความเห็นที่ 20.1

yes  (ฮา  ขอเป็นพนักงานบริษัท D )

ความเห็นที่ 21

   หลังจากนั้นผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจ และหันมาจับตุ๊กกายชนิดนั้นมาสกัดทำยามากจนประชากรในธรรมชาติลดลงอย่างน่าใจหาย
   จากนั้นจึงคิดที่จะเพาะเลี้ยงให้มีเพียงพอกับความต้องการ จึงได้ไปค้นหาจากเอกสารที่นาย A
และคณะบรรยายว่ามันอยู่อย่างไร กินอย่างไร และพบว่ามันอยู่ได้จำเพาะกับเขาหินปูนที่ตอนนี้ถูกสัมปทานโรงโม่ระเบิดเขาทำปูนซีเมนต์ เหลือแต่ต้นหญ้าขึ้นอยู่ไม่กี่หย่อม ความหวังของท่านชายหลายท่านจึงจบลง.......แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะนาย A และคณะบรรยายไว้ตั้ง "สิบชนิด"
ซึ่งยังไม่ได้ศึกษาว่าหนึ่งในนั้นอาจจะทำให้งอกใหม่แบบทวิน เหมือนที่พบในจิ้งจกหางแฉก

แล้วอยากจะรู้อีกไหมว่า "ประเทศชาติได้อะไร" เพราะมีเรื่องเหนือจินตนาการไว้โม้อีกเป็นเข่ง...

ความเห็นที่ 22

ผมเคยโดนมาเหมือนกันครับ 
ผมโดนถามว่า "เรียนไปทำไม? เรียนไปก็ไม่ได้รวยเป็นแบบพ่อค้า สู้เรียนพวกบริหารก็ไม่ได้"
ผมตอบ "ถ้าสมมติว่าคุณเป็นพ่อค้าไหม หรือพ่อค้าฝ้าย ถ้าไม่มีพวกผมไปบอกว่ามันเอามาทำได้คุณจะรู้แล้วเอามาขายได้ไหม?"

เขาย้อน "มันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาแต่แรกต่างหาก"
ผมตอบ "ถึงมันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน แต่ถ้าไม่มีการศึกษามันจะเอามาพัฒนาได้มั้ย?"

เขาเถียงอีก "เดี๋ยวพ่อค้าก็เอามาพัฒนาเองแหล่ะ"
ผมเลยกวน tenn ไปบ้าง "พ่อค้ามีความรู้ด้านนี้พอหรอครับ?"

ผมบอกอีก "ถ้าสมมติว่าพวกนักวิทยาศาสตร์ยุคก่อน ไม่ค้นพบแบคทีเรีย ชื่อเรื้อรา หรือสารกัดต่างๆ จากธรรชาติ เราจะรู้ไหมครับว่ามันสามารถนำมาก่อให้เกิดประโยชน์ได้อีกมากมายบนโลกนี้ ถ้าเราไม่รู้ว่ามันมี เราไม่ค้นพบ แล้วเราจะรู้ได้ยังไง? อีกอย่าง ถ้าเรียนพวกนี้ใจไม่รักเรียนไม่รอดหรอกครับ ให้พวกผมไปรเียนบริหารผมก็ไม่เอาเหมือนกัน ต่างคนต่างอยู่ครับ ถ้าเราไม่มีวิจัย พวกคุณก็ไม่มีทำขาย ถ้าพวกคุณไม่มีขายพวกคุณก็ต้องมาวิจัย เข้าใจนะครับ แต่จุดประสงค์ของผมคงต่างกับพวกคุณอยู่ดี"

เขาเงียบ แล้วเปลี่ยนเรื่องคุยครับ

ความเห็นที่ 23


การต่อยอดความรุ้ของทั้งสัตว์และพืชหลายชนิด บางครั้งถูกระงับไว้โดยเหตุผลบวมๆน่ะครับ ซึ่งบางคร้งมันก็ทำให้ทั้งพืชและสัตว์เหล่านั้น ยังคงมีปริมาณที่น่าตกใจขึ้นเรื่อยๆทุกวันๆ เพราะเหตุผลต่างๆนานา

เมื่อก่อนตอนที่เพื่อนชวนไปเทียวเขาลูกหนึ่ง ได้มีโอกาสเจอxxเฉพาะถิ่นเข้า ผมไม่เคยรุ้เลยว่าเจ้าหมอนี่เป็นของเฉพาะถิ่น ทั้งๆที่เมื่อก่อนไม่ได้สนอะไรเลย ตอนนี้ได้ทำการทดลองเพาะพันธุ์โดยเทคนิคต่างๆมาได้จำนวนเป็นที่น่าพอใจระดับนึงแล้ว  แต่....ตอนนี้ชักจะตันแล้ว ว่าไอ้ที่เราเพิ่มจำนวนมันได้ จะทำอะไรกับมันต่อไปนอกจากจะเป็นเพียงของติดไม้ติดมือสำหรับคนที่รุ้จักมันเท่านั้นเอง ( แต่ตอนมอบให้เพื่อน ผมรู้สึกว่าดีนะ ที่มันมีคนเอาไปเพาะพันธุ์อีกคนล่ะ ) หรือบางทีมันก็แค่อยู่ของมันอย่างนั้นรอไปเรื่อยๆ  ซึ่งในอนาคตมันอาจถูกต่อยอดให้เป็นยา เชื้อเพลิง อาหารเพิ่มพลังปึ๋งปั๋ง หรือฑูตสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศก้ได้ใครจะไปรุ้



ความเห็นที่ 24

ทำให้เรารู้ว่าระบบการศึกษาบ้านเราล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะยังมีคนมาถามแบบนี้ เพราะหากเราไม่รู้(องค์ความรู้พื้นฐานของ)เราแล้ว เราจะชนะคนอื่นได้เยี่ยงไร หากไร้ฐานแล้ว จะมียอดได้ยังไง

สาขาอื่นๆที่เรียนแล้วรวยเร็ว ก็เป็นการใช้การที่รู้(ข้อด้อยของ)เรา (เช่น ไม่รู้ รู้มาผิดๆ ไม่คิดจะรับรู้) แล้วเอามาใช้เพื่อประโยชน์ของมันเอง ก็เมื่อเราไม่รู้พื้นฐานแล้ว มันจะบอกยังไงก็จักหาข้อโต้แย้งไม่ได้ ไปๆมาๆเดันไปยอมรับซะอีก ทั้งๆที่หลายๆอย่างมีทาง/วิธีอื่นที่ได้ผลเหมือนกัน หรือดีกว่าหากเรารู้จักเอาพื้นฐานมาประยุกต์ใช้

ลป. คำตอบดีๆ คนอื่นตอบได้งดงามแล้ว

ความเห็นที่ 24.1

ประโยคนี้โดนอย่างแรงเลยพี่ท่าน yes

"ทำให้เรารู้ว่าระบบการศึกษาบ้านเราล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะยังมีคนมาถามแบบนี้ เพราะหากเราไม่รู้(องค์ความรู้พื้นฐานของ)เราแล้ว เราจะชนะคนอื่นได้เยี่ยงไร หากไร้ฐานแล้ว จะมียอดได้ยังไง"

ความเห็นที่ 25

ไม่ได้อะไรหรอกครับ แต่เราได้ให้อะไรกับประเทศนี้ต่างหากหล่ะครับ

ถ้าทุกคนมัวแต่คิดว่า ทำแล้วได้อะไร พวกคุณคือคนเสียสละ ที่ทำเพื่อคนอีกหลายๆคน

เพราะฉะนั้น คุณคือผู้ให้ครับ

แม้หลายคนจะบอกการให้ หรืออุดมการณ์กินไม่ได้ แต่หากทุกคนคิดแบบนี้

ความเสียสละจะเกิดขึ้นมั้ย

ความเห็นที่ 26

จริงๆคำถามนี้พี่ knotsanke เคยถามมาแล้วรอบนึง...และก็ยังคงให้คำตอบเดิมค่ะว่า
 ถ้าประเทศชาติไม่คอยให้การสนับสนุนสิ่งเล็กๆรอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นจิ้งจก ตุ๊กแก หรืออะไรก็ตาม ประเทศชาติจะไม่มีวันรู้ได้เลยว่าสิ่งเล็กๆน้อยๆรอบตัวเรานี้มีประโยชน์ การศึกษาเกิดจากความไม่รู้ แล้วจึงศึกษา ถ้าเราจักมันดีอยู่แล้ว เราก็จะยิ่งศึกษามันหนักเข้าไปอีก...
อย่างที่ว่า ความรู้เกิดจากการที่เราไม่รู้

ปล. ขอบคุณพี่รหัสที่อยู่ด้านบนด้วยนะค่ะ *ลากพี่รหัสมาตอบด้วย ^^

ความเห็นที่ 27

การค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ไม่ได้สำคัญที่การค้นพบ แต่สำคัญที่กระบวนการและวิธีการตรวจสอบเพื่อสนับสนุนให้มีน้ำหนักเพียงพอว่าเป็นชนิดใหม่ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่พัฒนาคนให้มีทักษะในหลายด้านทั้งเทคนิคการใช้เครื่องมือ การประยุกต์ความรู้ด้านต่างๆ รวมทั้งภาษา ซึ่งเบื้องหลังของการศึกษาเหล่านี้เป็นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพเพื่อพัฒนาชาติต่อไปครับ