แห่ชอร์ตปลาบึงบอระเพ็ด
เขียนโดย Siam me dee Authenticated user เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2554
บึง บอระเพ็ดอ่วมเรือชอร์ตปลาอาละวาดหนัก ตระเวนชอร์ตไปทั่วบึง อย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย นักท่องเที่ยวไปพบบุกร้องถึง "ข่าวสด" ด้านหน.หน่วยบริหารจัดการประมงน้ำจืด บึงบอระเพ็ด ยอมรับมีเรือประมงชาวบ้านออกชอร์ตปลาจริง มีจำนวนมากกว่า 100 ลำ ส่วนที่หาปลาถูกต้องมีกว่า 600 ลำ ป้องกันยากเพราะบึงกว้าง อีกทั้งเรือชอร์ตปลาทำงานกันเป็นเครือข่าย มีคนคอยดูต้นทาง หากเจอจนท.ก็จะโทร.บอกกันกลางลำน้ำ ทำให้หลบหนีไปได้ทุกครั้ง ชี้เป็นการทำลายวงจรสัตว์น้ำอย่างฉกาจฉกรรจ์
เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวสด ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากไป เที่ยวที่บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ว่า ได้พบชาวประมงจับปลาด้วยวิธีชอร์ตไฟฟ้าในบึง บอระเพ็ดเป็นจำนวนมาก โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ทั้งยังแจ้งด้วยว่าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไม่ได้เข้ามาดำเนินการปราบปรามแต่ อย่างใด
ผู้สื่อข่าวจึงได้ตรวจสอบไปยังหน่วยบริหารจัดการประมงน้ำจืด บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ซึ่งนายรวีร์ ฤทธิชัย หัวหน้าหน่วย ชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าว ว่า ทางหน่วยงานได้รับทราบถึงปัญหาการประมงแบบชอร์ตไฟฟ้ามาได้ระยะหนึ่งแล้ว และไม่ได้เพิกเฉย ตนได้จัดส่งกำลังเจ้าหน้าที่ออกลาดตระเวนทุกวัน แต่เพราะขนาดของบึงที่กว้างขวางมาก การปฏิบัติภารกิจจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก และเรือประมงที่ประกอบอาชีพในพื้นที่นี้มีมากถึง 600 กว่าลำ ในจำนวนนี้เป็นเรือชอร์ตปลาอยู่ราว 100 ลำ โดยชาวประมงที่ชอร์ตปลา มีการวางต้นทางซุ่มรอเจ้าหน้าที่ และแจ้งข่าวให้กับเรือที่จอดชอร์ตปลาอยู่ในบริเวณถัดออกไป ทำให้ไหวตัวทัน และรอดพ้นการจับกุมของเจ้าหน้าที่
"ตัวอย่างเหตุการณ์เช้าวันนี้เอง ผมได้รับแจ้งจากชาวบ้านในกรณีดังกล่าว จึงได้รีบรุดจัดกำลังเจ้าหน้าที่ แต่ยังไม่ทันที่จะออกเรือ ชาวบ้านโทรศัพท์กลับมาแจ้งว่าเรือลำดังกล่าวได้ใช้กล้องส่องทางไกล และรู้เห็นความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ รีบหนีออกไปแล้ว" นายรวีร์ กล่าว
หัวหน้าหน่วยบริหารจัดการประมงน้ำจืด บึงบอระเพ็ด กล่าวต่อว่า ทางหน่วยได้มีการปรับแผนรับมือ โดยในช่วงเช้าและค่ำของทุกวัน จะมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ที่เกาะกลางบึง ซึ่งส่งผลให้การประมงแบบชอร์ตไฟฟ้าไม่ปรากฏในบริเวณนี้ แต่ยอมรับว่าพื้นที่ที่ห่างออกไป ก็ยังคงเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก แม้จะมีการประชาสัมพันธ์ถึงผลเสียที่จะได้รับในการประมงแบบนี้ ทั้งจำนวนสัตว์น้ำที่จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด และการเสียสมดุลของระบบวงจรชีวิตสัตว์น้ำ เพราะการชอร์ตไฟฟ้า ไมใช่แค่ปลาที่ต้องการนำไปจำหน่ายตาย แต่ไม่ว่าจะเป็นปลาที่กำลังท้อง ปลาขนาดเล็ก สัตว์น้ำที่เป็นห่วงโซ่อาหารก็จะตายไปพร้อมๆ กัน และการใช้วิธีนี้ถือได้ว่าเป็นการละเมิดทางกฎหมาย แม้ว่าชาวประมงจะชอร์ตปลาในเขตสาธารณะของบึงก็ตาม ซึ่งมีเพียงชาวบ้านบางส่วนเท่านั้นที่ให้ความร่วมมือ
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะดำเนินการอย่างไร เพื่อยุติปัญญานี้ให้ได้ นายรวีร์กล่าวว่า ก่อนอื่นทางหน่วยงานมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มอัตราของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การจัดระบบงานเป็นไปอย่างครอบคลุม ขณะนี้ตนได้ส่งเรื่องไปยังต้นสังกัดแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณา นอกจากนี้ ทางส่วนบริหารจัดการประมงน้ำจืด สำนักบริหารจัดการด้านการประมง กรมประมงยังได้จัดสรรโครงการ "เสริมสร้างการจัดการชุมชน ประมงต้นแบบ" โดยเจ้าหน้าที่จะเข้าไปให้ความรู้ความเข้าใจการทำประมงแบบยั่งยืน เพื่อให้ชาวบ้านรู้จักรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และเข้าใจว่าทำประมงที่เอื้อประโยชน์กลับสู่สิ่งแวดล้อมในบึงบอระเพ็ดเป็น อย่างไร แต่ทั้งนี้ชาวบ้านจะเป็นกลุ่มที่ต้องลงมือปฏิบัติ และวางแผนการดูแลแหล่งทำกินนี้เอง เจ้าหน้าที่จะเป็นเพียงผู้ให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้เกิดสำนึกรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
ข้อมูล นสพ.ข่าวสด ฉบับวันที่ 23 กพ 54
เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวสด ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากไป เที่ยวที่บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ว่า ได้พบชาวประมงจับปลาด้วยวิธีชอร์ตไฟฟ้าในบึง บอระเพ็ดเป็นจำนวนมาก โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ทั้งยังแจ้งด้วยว่าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไม่ได้เข้ามาดำเนินการปราบปรามแต่ อย่างใด
ผู้สื่อข่าวจึงได้ตรวจสอบไปยังหน่วยบริหารจัดการประมงน้ำจืด บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ซึ่งนายรวีร์ ฤทธิชัย หัวหน้าหน่วย ชี้แจงถึงประเด็นดังกล่าว ว่า ทางหน่วยงานได้รับทราบถึงปัญหาการประมงแบบชอร์ตไฟฟ้ามาได้ระยะหนึ่งแล้ว และไม่ได้เพิกเฉย ตนได้จัดส่งกำลังเจ้าหน้าที่ออกลาดตระเวนทุกวัน แต่เพราะขนาดของบึงที่กว้างขวางมาก การปฏิบัติภารกิจจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก และเรือประมงที่ประกอบอาชีพในพื้นที่นี้มีมากถึง 600 กว่าลำ ในจำนวนนี้เป็นเรือชอร์ตปลาอยู่ราว 100 ลำ โดยชาวประมงที่ชอร์ตปลา มีการวางต้นทางซุ่มรอเจ้าหน้าที่ และแจ้งข่าวให้กับเรือที่จอดชอร์ตปลาอยู่ในบริเวณถัดออกไป ทำให้ไหวตัวทัน และรอดพ้นการจับกุมของเจ้าหน้าที่
"ตัวอย่างเหตุการณ์เช้าวันนี้เอง ผมได้รับแจ้งจากชาวบ้านในกรณีดังกล่าว จึงได้รีบรุดจัดกำลังเจ้าหน้าที่ แต่ยังไม่ทันที่จะออกเรือ ชาวบ้านโทรศัพท์กลับมาแจ้งว่าเรือลำดังกล่าวได้ใช้กล้องส่องทางไกล และรู้เห็นความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ รีบหนีออกไปแล้ว" นายรวีร์ กล่าว
หัวหน้าหน่วยบริหารจัดการประมงน้ำจืด บึงบอระเพ็ด กล่าวต่อว่า ทางหน่วยได้มีการปรับแผนรับมือ โดยในช่วงเช้าและค่ำของทุกวัน จะมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ที่เกาะกลางบึง ซึ่งส่งผลให้การประมงแบบชอร์ตไฟฟ้าไม่ปรากฏในบริเวณนี้ แต่ยอมรับว่าพื้นที่ที่ห่างออกไป ก็ยังคงเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก แม้จะมีการประชาสัมพันธ์ถึงผลเสียที่จะได้รับในการประมงแบบนี้ ทั้งจำนวนสัตว์น้ำที่จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด และการเสียสมดุลของระบบวงจรชีวิตสัตว์น้ำ เพราะการชอร์ตไฟฟ้า ไมใช่แค่ปลาที่ต้องการนำไปจำหน่ายตาย แต่ไม่ว่าจะเป็นปลาที่กำลังท้อง ปลาขนาดเล็ก สัตว์น้ำที่เป็นห่วงโซ่อาหารก็จะตายไปพร้อมๆ กัน และการใช้วิธีนี้ถือได้ว่าเป็นการละเมิดทางกฎหมาย แม้ว่าชาวประมงจะชอร์ตปลาในเขตสาธารณะของบึงก็ตาม ซึ่งมีเพียงชาวบ้านบางส่วนเท่านั้นที่ให้ความร่วมมือ
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะดำเนินการอย่างไร เพื่อยุติปัญญานี้ให้ได้ นายรวีร์กล่าวว่า ก่อนอื่นทางหน่วยงานมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มอัตราของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การจัดระบบงานเป็นไปอย่างครอบคลุม ขณะนี้ตนได้ส่งเรื่องไปยังต้นสังกัดแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณา นอกจากนี้ ทางส่วนบริหารจัดการประมงน้ำจืด สำนักบริหารจัดการด้านการประมง กรมประมงยังได้จัดสรรโครงการ "เสริมสร้างการจัดการชุมชน ประมงต้นแบบ" โดยเจ้าหน้าที่จะเข้าไปให้ความรู้ความเข้าใจการทำประมงแบบยั่งยืน เพื่อให้ชาวบ้านรู้จักรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และเข้าใจว่าทำประมงที่เอื้อประโยชน์กลับสู่สิ่งแวดล้อมในบึงบอระเพ็ดเป็น อย่างไร แต่ทั้งนี้ชาวบ้านจะเป็นกลุ่มที่ต้องลงมือปฏิบัติ และวางแผนการดูแลแหล่งทำกินนี้เอง เจ้าหน้าที่จะเป็นเพียงผู้ให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้เกิดสำนึกรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
ข้อมูล นสพ.ข่าวสด ฉบับวันที่ 23 กพ 54
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
จะได้ตามไปจับง่ายๆ ไม่ต้องหนีไปไหนไกล ดีไหมครับ
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ขายตั๋วทำประมง และขึ้นทะเบียนทุกคน ใบอนุญาตมีหนิ ตรวจหลักฐาน ฝ่าฝืนยึดใบอนุญาติดำเนินคดี
ความเห็นที่ 6
ส่องจากข้างล่างไม่ได้ ก้ส็องจากข้างบนสิก็ใช้แฮงค์ไกรเดอร์ หรือพารามอเตอร์ หรือจะเป็นเฮลิคอปเตอร์ถ่ายรูปแล้วจับเลยนิ (ลงทุนหน่อยโดนซักทีสองทีเดี๋ยวก็แหยงไปเอง)
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 8.1
ความเห็นที่ 8.2
ความเห็นที่ 8.3
ความเห็นที่ 9
เรื่องนี้ไม่รู้เหมือนกันว่าใครผิดใครถูก ชาวบ้านก็ต้องหากิน ตอนนี้เงินมันหายากอะไรที่ได้เงินเขาก็รีบคว้าเอาไว้ก่อน ไม่ได้คำนึงหรอกว่ามันผิดหรือถูก รู้ทั้งรู้แหละว่ามันผิดกฏหมาย ทำแล้วปลาเสียหาย แต่ว่าทำอย่างไรได้ ไม่รู้จะไปทำอะไรที่มันได้เงินเร็วกว่านี้....ผมว่าทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาก็คือ การส่งเสริมใช้เขามีอาชีพที่มีรายได้มากกว่าการทำประมงด้วยไฟฟ้า เขาก็เปลี่ยนไปเอง จะเหลือก็เพียงแค่พวกทำเล่นสนุกๆ เท่านั้น
อันนี้ไม่ได้สนับสนุุนชาวบ้านนะครับ คือได้มีโอกาสคุยกับคนที่เขารู้เรื่องช๊อตปลา ปรากฏว่า เขามีองค์ความรู้เรื่องการใช้กระแสไฟฟ้าให้เฉพาะเจาะจงกับชนิดของปลาเป้าหมายได้ดีมาก ดีกว่านักวิชาการประมงเสียอีก ...
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
โดนประเด็นที่ผมเล่า ผมก็ไม่ได้สรุปด้วยว่าใครผิดใครถูก หรือขอให้เห็นใจใคร แต่เล่าจากประสพการณ์ที่ได้พูดคุยกับชาวประมงในหลายๆ พื้นที่และสะท้อนมุมมองที่เขาคิด เพราะปกตินักวิชาการก็คิดแบบนักวิชาการ ชาวบ้านก็คิดแบบชาวบ้าน ลองคิดเล่นๆนะ ถ้าคุณเป็นชาวประมง คุณจะเลือกวิธีไหน วิธีแรกต้องออกไปลงข่ายตอนบ่ายทิ้งข้ามคืนแล้วมากู้ตอนเช้า กู้เสร็จแล้วก็ต้องมานั่นปลดปลาออกจากข่าย แถมตอนวางก็ต้องเสี่ยงด้วยว่าจะมีมีใครมาขโมย ทั้งข่ายและปลาหรือเปล่า กับอีกวิธีหนึ่งมีพลังงานที่มองไม่เห็นเป็นเครื่องมือ รู้แหล่งทำการประมงเหมือนวิธีแรก เอาพลังงานไปจี้ตรงไหนปลาก็หงายท้องมาโชว์ตัวให้จับแต่โดยดี ทำไม่กี่ชั่วโมงก็ได้ปลาตัวโตๆ ที่ราคาดีกว่าข่าย แถมปลาที่่ได้ก็สดและบางตัวไม่ตายก็เอาไปขายเป็นปลาเป็นได้อีก ราคามันผิดกันลิบลับ เสี่ยงถูกจับหน่อยแต่ก็คุ้มเพราะมีเงินไปซื้อเครื่องเรือเร็ว มีเครือข่ายที่ทำประมงแบบนี้ด้วยกัน เป็นคุณจะเลือกทำวิธีแรกหรือเปล่า (ลองสมมติว่าตัวคุณเป็นชาวประมงนะ ไม่ใช่คนที่จบปริญญาโทแล้ว)
ที่เล่าในเรื่องการใช้ไฟและยกประเด็นเืรื่องรายได้ของชาวบ้านมาให้ฟังนั้น เพราะอยากจะนำเสนอมุมมองอีกมุมหนึ่งเท่านั้น บ้านเรามีกฏหมายสารพัดสารพันบังคับใช้กันวุ่นวายไปหมด เอาแค่บึงบอระเพ็ดมีกฏหมายป่าไม้ กฏหมายประมง กฏหมายปกครองท้องถิ่น (เรียกถูกหรือเปล่าหว่า) คุ้มครองอยู่ แล้วกฏหมายทั้งหลายมันมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ได้หรือไม่ การแก้ปัญหาประเด็นนี้้ต้องทำมาจากหลายๆ มิติเรื่องรายได้มันก็เป็นแค่ประเด็นเล็กๆ ประเด็นหนึ่งในเรื่องใหญ่ หลายเรื่องแค่นั้น
สุดท้ายขอบคุณ คุณ brookloach เหมือนกันที่แสดงมุมมองทางความคิดอีกมุมหนึ่งออกมา
ความเห็นที่ 12
ความเห็นที่ 13
จากนั้นถ้ายังมีการฝ่าฝืนจึงใช้มาตรการทางกฏหมายที่เฉียบขาดต่อไป แต่ก็ต้องตามมาด้วยการส่งเสริมอาชีพประมงแบบอื่นๆให้หรือทำพร้อมๆกันไป
ความเห็นที่ 14
กระแสไฟฟ้าที่ใช้ มันมักจะแผ่ไปในรัศมีประมาณกี่เมตรครับ? แล้วการช็อตปลามันเลือกชนิดที่เป็นเป้าหมายได้จริงหรือครับ?(ที่คุณสมหมายกล่าวไว้คร่าวๆ) มันขึ้นกับลักษณะไฟฟ้าที่ใช้ หรือว่าบริเวณที่เค้าจะช๊อต
ความเห็นที่ 15
โดยหลักการแล้วเมื่อสร้างสนามไฟฟ้าขึ้นมาปลาที่ผ่านเข้าไปจะเป็นเหมือนสื่อให้ไฟฟ้าผ่านเหมือนกับเราถูกไฟฟ้าช๊อต และด้วยโครงสร้างและขนาดของปลาที่แตกต่างกันก็จะทำให้ความสามารถใจการเป็นสื่อไฟฟ้าได้ต่างกัน ดังนั้นถ้าหากปรับค่าโวลต์และวัตต์ให้เหมาะสมแล้ว ไฟฟ้าก็จะเป็นเครื่องมือที่เลือกจับชนิดของปลาเป้าหมายได้ ที่อเมริกาเขาใช้วิธีการปรับนี่ใช้ช๊อตปลาให้สลบเพื่อการเคลื่อนย้ายปลาจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่อีกแห่งหนึ่ง หรือจับมาศึกษา นับจำนวน ชั่งน้ำหนัก วัดขนาด เสร็จแล้วก็ปล่อยกลับไปยังแหล่งน้ำตามเดิม
เขามีคู่มือเลยว่าเป้าหมายคึือปลาชนิดนี้ ต้องปรับโวลต์ เท่าใด วัตต์เท่าใด ถ้าจะให้สลบต้องปรับได้อย่างไร แต่บ้านเราเรื่องนี้เป็นเรื่องผิดกฏหมาย การวิจัยเพื่อทำข้อมูลแบบนี้เป็นของกรมประมงเท่านั้น องค์ความรู้ที่เป็นวิชาการจึงไม่มากเท่าอเมริกา (ในขณะที่ชาวบ้านเขาเรียนรู้จากประสบการณ์ของเขา)
ความเห็นที่ 16
บึงบอรเพ็ด บ้านผมเอง คุณสมหมายกล่าวถูกต้อง และไม่ว่าคุณวิธีจับปลาแบบไหนก็มีข้อเสียทั้งนั้น เช่น คงเคยเห็นปลาติดข่ายเน่าเกลื่อน งูติดข่ายต้องทิ้งข่าย ข่ายที่ทิ้งปลาติดเน่าเกลื่อน ข่ายพันสวะเก็บไม่ได้ปลาติดเน่าเกลื่อน ทอดแหติดปลาตัวเล็กตายคาตาแห ปลาล้วนแล้วแต่ตายด้วยอุปกรณ์หาปลาทุกชนิดไม่มีเว้น ผลลัพธ์คือทุกอุปกรณ์ได้ปลา ไปปลายทางปลาทุกตัวต้องตายเป็นอาหารหรือเอาเลี้ยงก็ต้องตายตามวัยอันสวมควร และผมเคยโดนไฟจากเครื่องช็อตมาหลายครั้ง มันมีสวิต โดนแปบเดียวเหมือนการช็อตปลา ผมยังไม่เป็นหมัน ไม่ตาย ปลาที่โดนช็อตผมซื้อไปเลี้ยง รวมกันหลายครั้งคงเป็นพันตัว มันไม่เป็นหมันมีลูกหลานให้ผมตั้งเยอะ ยังไม่เคยมีใครทำวิจัย หรือทดลอง แล้วสรุปผล ออกมาว่า ไฟขนาดไหน โดนนานเท่าไร ปลาชนิดไหน โดนเท่าไรตายก่อน ตายหลัง เป็นหมัน ตราบใดที่คนยังกินปลา เลี้ยงปลา ย่อมมีคนหาปลา
ปัจจัยที่ทำให้ปลาในบึงสูญพันธุ์อันดับ1 คือน้ำ น้ำมันแห้ง มันแล้ง มันเน่า มีสารฆ่าแมลงเจือปน มาจากในนา ทำให้ลอยตายเน่าเกลื่อนไม่เกิดประโยชน์ ถ้าน้ำมันลึกมาก อุปกรณ์ใดๆก็จับมันได้ยาก มันหนีลงน้ำลึกได้ นก หนู งู กินมันลำบาก ไม่มีสารพิษ มันอยู่ได้แน่ ลองคิดเราจะแก้ไขอะไรก่อน
บึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ็์์์ปลา แล้วเพาะพันธุ์ปลาใส่บึงปีละกีล้านตัว เทียบกับการกินปลาของคน1คนกับอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรต่อวัน ปัจจุบันการเกิดมากกว่าการตาย กินในประเทศ แล้วยังขายให้ต่างประเทศกิน
คงเคยได้ยินไฟฟ้าทำเซลล์แข็งแรงขึ้น กระตุ้นคลื่นไฟฟ้าในร่างกาย คลื่นสมอง คลื่นหัวใจ มันมีประโยชน์ก็มี อยู่ที่การใช้ ความเหมาะสม
ความเห็นที่ 17
ดูที่ภาพคนหาปลา คงอดอยากยากจน ทั้งผอมและไม่มีเสื้อใส่ มีแต่คนจนที่หาปลา ภาพมันฟ้อง
ความเห็นที่ 18
พอดีอาจารย์สั่งให้ทำวิจิยเกี่ยวกับบึงบอเพ็ดอะคับ และผมยังขาดอยู่หน่อยหนึ่ง การบริหารจัดการของบึงบอระเพ็ด ใครพอจะมีขอมูลช่วยส่งมาให้ผลด้วยนะคับ จะเป็นพระคุณมากเลย ส่งมาทางอีเมลผมก้อได้นะคับ t.t._tung@hotmail.com เห็นแก้เด็กตาดำนะคับ
ความเห็นที่ 19
ส่วนคนช็อตปลาที่ผอมเพราะติดยา ติดการพนัน