ชักจะงงๆกับ Acanthocobitis

ทั้ง A. zonalternans และ A. botia มีรายงานในสาละวินและแม่กลองทั้งคู่ ผมเข้าใจถูกไหมครับว่าสองตัวในภาพแรกคือ A. botia (ถ่ายจากแม่กลอง) และ สองตัวในภาพหลังคือ A. zonalternans (ถ่ายจากสาละวิน)

Comments

ความเห็นที่ 1

ภาพงามนักแล ^^

ความเห็นที่ 2

ลักษณะที่ใช้จำแนกความแตกต่าง อ้างตาม Kotellat 1990 สามารถใช้ขนาดในการจำแนกได้ส่วนหนึ่ง ต้องดูแนวเส้นข้างลำตัวประกอบไปด้วย

A. botia ไม่มี suborbital flap (แผ่นหนังที่ยื่นออกมาใต้ตา) แต่ในตัวผู้จะมีร่องลึกในแนวกระดูก subortibal แทน (คล้าย ๆกับร่องที่เก็บเขี้ยวปลาหมู) เส้นข้างลำตัวยาวถึงรูก้น ความยาวมาตรฐานสูงสุด (SL) 9.0 ซม.

A. zonalteranus ตัวผู้มี subortibal flap เส้นข้างลำตัวยาวอย่างมากถึงครีบท้อง ยาวมาตรฐาน (SL)สูงสุด 4.3 ซม.

ความเห็นที่ 2.1

ขอบคุณครับ ตัวอย่างก็ไม่มีกับตัวเสียด้วย มีแต่ภาพนี้แหล่ะครับ แต่ถ้าใช้ขนาดและลวดลาย(จากที่ดูใน fishbase) เป็นเกณฑ์ก็ไม่น่าพลาดครับ 

ความเห็นที่ 3

ภาพเเรกได้วัดค่า Ph ไว้หรือเปล่าครับเห็นเปลือกหอยผุกร่อนเชียว หรือเปนเพราะน้ำไหลครับ

ความเห็นที่ 4

น้ำในลำธารที่ไหลผ่านป่าแบบนี้คงมี pH เป็นกรดนิดๆหรือกลางครับ แต่ส่วนหนึ่งที่พุกร่อนน่าจะเกิดจากการถูกทราบถูในฤดูน้ำหลากด้วยกระมังครับ 

ความเห็นที่ 5

A. zonalternans จะอยู่รวมกลุ่มเป็นฝูงหลายตัวมากกว่า A. botia ที่อยู่กันอย่างหลวมๆ ดว้ยหรือเปล่าครับ
 

ความเห็นที่ 6

Shell possibly broken by crabs rather than erosion.

ความเห็นที่ 6.1

อ.หมีน้ำ รบกวนวิจารณ์เรื่องการจำแนกชนิดปลาในภาพหน่อยสิครับ

ความเห็นที่ 7

A. botia: lateral line reaching anus or further backwards, branched dorsal fin ray 10-13

A. zonalternans: lateral line reaching above pelvic fin at most, branched dorsal fin ray 9-11

Judging from the number of branched dorsal fin rays A. botia may have wider dorsal fin base than A. zonalternans too.