เชียงใหม่เมื่อปีที่แล้ว

เอาภาพที่ถ่ายจากเชียงใหม่เมื่อเดือนตุลามาให้ดูครับ สงสัยอยู่หลายตัวเพราะงั้นช่วยIDให้ด้วยนะครับ บางภาพอาจจะเบลอๆหรือไม่ชัดแต่DSRL Likeของผมก็ทำได้แค่นี้ล่ะครับ.

Comments

ความเห็นที่ 1

ช่วยIDแมลงปอ กิ้งกือและผีเสื้อให้หน่อยครับ แมลงปอไม่มีหัวแต่ยังขยับได้นะครับ แปลกมากๆ
แมลงปอไม่มีหัว กิ้งกือมังกรสีชมพู??? ตัวนี้พบบนดอย.....

ความเห็นที่ 1.1

แมลงปอเป็นแมลงปอบ้านเสือลายเขียว Orthetrum sabina

ความเห็นที่ 2

ตั๊กแตนกิ่งไม้ที่พบที่น้ำตกแห่งหนึ่งใน อ.แม่ริม ตัวนี้รู้สึกจะเป็น siamensis ด้วยนะครับแต่จำสกุลไม่ได้ซะแล้ว crying
ตั๊กแตนกิ่งไม้ ตั๊กแตนกิ่งไม้

ความเห็นที่ 3

ตัวนี้พบบนดอยครับ
ตั๊กแตนกิ่งไม้ ตั๊กแตนกิ่งไม้

ความเห็นที่ 3.1

ทางอีสานแถบหนองบัวลำภู อุดรฯ หนองคาย เลย และอีกหลายจังหวัดเรียกตั๊กแตนกิ่งไม้ว่า "แมงหามผี" มีความเชื่อว่ามีพิษ กัดแล้วทำให้แผลเน่า ที่เคยเจอตัวใหญ่ยาวประมาณ 1 ฟุตเลยครับ

ความเห็นที่ 4

  
เค้าเรียกแม่ม่ายลองไนหรือเปล่าครับตัวนี้ ผีเสื้อพราหมณ์?? ....?

ความเห็นที่ 5

ของฝากชาวแมลงปอครับ
...? ...? ...?

ความเห็นที่ 5.1

ตัวแรกผมก้เคยเห็นครั้งเดียวที่วัดพระบาท 7 รอย ซึ่งตั้งแต่เริ่มหัดดูแมลงปอก็ ไปเชียงใหม่ครั้งเดียวกะทัวร์การกุศล  เป็นแมลงปอบ้านเสือสามเหลี่ยม Orthetrum triangulare
ตัวที่ 2 แมลงปอเข็มอะรูมิไร้ แหะๆ
ตัวที่ 3 แมลงบ้านผู้ปีกเปื้อนส้ม Brachythemis contaminata แต่ดูสีสันแปลกๆ ตาออกฟ้า อกอมเขียว หรือจะเป็นแมลงปอบ้านเสือแถบขาวคู่ Orthetrum glaucum ตัวเมียหว่า ยังไงรอผู้เชี่ยวชาญอีกที (ผมให้คะแนนมาทางตัวหลังมากกว่า)

ความเห็นที่ 5.1.1

ตัวแรกพบว่ากำลังบินไปบินมากับตัวที่สามนะครับ หรือว่ากำลังต่อสู้เพื่อป้องกันอาณาเขตครับ??

ความเห็นที่ 5.1.1.1

ถ้าเช่นนั้นอาจเป็นชนิดเดียวกับตัวบน คือตัวบนเป็นตัวผู้ ตัวล่างคือตัวเมีย  คงเป็นการเกี้ยวมากกว่าการกร่าง..ครับ (ตัวบนผมยังไม่เคยเห็นตัวเมียเลยครับ)

ความเห็นที่ 5.1.2

ผมก็ว่าตัวสุดท้ายไม่ใช่ปีกเปื้อนส้มแน่ๆครับ น่าจะเป็นตัวหลังอย่างที่ครูเล็กตอบไว้มากกว่า
ส่วนแมลงปอเข็มตัวนี้ผมไม่คุ้นเลย ^_^ แต่ถ้าให้เดาก็คงเดาเป็นแมลงปอเข็มเล็กหางตุ้ม
Argiocnemis rubescens มั้งครับ ตัวผู้

ความเห็นที่ 5.1.3

แก้ไขวัดพระยาท 7 รอย เป็นวัดพระบาทสี่รอย จ.เชียงใหม่  อำเภออะไรไม่รู้เหมือนกันนั่งสองแถววิ่งไปแล้วหลงทิศ ไม่รู้ไปทางเหนือใต้ออกตกครับ

ความเห็นที่ 5.2

ตามที่ทุกท่านว่ามาครับ

ตัวแรกและตัวสาม แมลงปอบ้านสามเหลี่ยม
ตัวสอง Argiocnemis rubescens ตัวผู้

ความเห็นที่ 6

ตัวอ่อนจั๊กจั่นครับ เห็นชาวบ้านเค้าขุดหา'ด้วงก่อ'(ด้วงแรดมองโกล) เลยขอเอามาถ่ายรูปแล้วถามเค้าว่าขุดเอาไปทำอะไร เค้าก็บอกว่าจะเอาไปกินกัน ผมว่าผมกินแต่รถด่วนดีกว่า..
ตัวอ่อนจั๊กจั่น ขุดไปโดนปีกก็จะมีสภาพเป็นแบบนี้

ความเห็นที่ 7

แมลงปอที่หัวขาดแต่ยังขยับได้ : แมลงจะมีปมประสาทที่ควบคุมแต่ละปล้องอยู่ครับ จะหนาแน่นอยู่ที่หัวกับท้อง(ไม่รู้มีกี่ปม) ส่วนหัวขาดไป แต่ตัวที่ยังมีปมประสาทที่ควบคุมส่วนอก,ท้องอีหลายปมอยู่ก็ยังขยับได้ บางทีส่วนหัวที่หายไปก็อาจจะกำลังขยับอยู่ที่ไหนสักแห่ง(ถ้ายังไม่ถูกกินนะ) กรณีนี้แมลงปอจะตายเพราะขาดอาหารครับ ผมไม่รู้ลึกนะครับ ขอคนมาช่วยเสริมหน่อยนะครับ

ความเห็นที่ 7.1

เหมือนกับตั๊กแตนตำข้าวเพศผู้ที่ถูกกินหัวขณะกำลังผสมพันธุ์ใช่มั้ยครับ.

ความเห็นที่ 7.2

เหมือนแมลงสาบครับ เคยอ่านเจอเค้าว่าแมลงสาบหัวขาดยังมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 7 วันแล้วถึงจะตายเพราะขาดอาหาร กะเรื่องตลกที่ว่าแมลงสาบมีหูอยู่ที่ขา เรื่องหลังนี่น่าจะเคยได้ยินกันมาบ้างครับ

ความเห็นที่ 8

ไอ้เรื่องแมลงมีหูอยู่ที่ขานี่เรื่องจริงครับ แมลงบางชนิดไม่มีหู แต่อาศัยการรับเสียงจากขา (ขนที่ไวต่อเสียงมากๆ) อย่างแมงมุม แลงสาบ ฯลฯ

ความเห็นที่ 9

ปกติสัตว์หรืองแมลง-แมง ส่วนมากก็ใช้อวัยวะรับรู้สัมผัสอื่น อยู่แล้วไม่ใช่หรือครับ

ความเห็นที่ 10

เรื่องแมลงสาบมีหูอยู่ที่ขามีอยู่ว่า นักวิทยาศาสตร์คนนึงตั้งสมมติฐานว่าแมลงสาบมีหูอยู่ที่ขา ก็เลยจับแมลงสาบมาทดลองโดยการเอาแมลงสาบวางไว้บนโต๊ะ แล้วตบโต๊ะแมลงสาบก็วิ่งไป เพราะมันได้ยินเสียง แล้วก็ทดลองซ้ำอีกครั้งโดยการเด็ดขาแมลงสาบออกแล้ววางไว้บนโต๊ะ แล้วก็ตบโต๊ะ ปรากฏว่าแมลงสาบไม่ยอมวิ่ง นักวิทยาศาสตร์เลยสรุปว่าแมลงสาบมีหูอยู่ที่ขา 555 เรื่องโจ๊กครับ ส่วนเรื่องจริงพวกแมลงใช้ประสาทสัมผัสจับความเคลื่อนไหวโดยใช้ขนที่ขึ้นอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ความเห็นที่ 11

แมลงมีปมประสาทกระจายอยู่ทั่วตัว ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะแตกต่างกันไป ซึ่งไม่เหมือนมนุษย์ที่สมองจะควบคุมทุกสิ่งอย่าง (ยกเว้นระบบประสาทอัตโนวัติ ANS) จึงไม่แปลกที่เวลาแมลงสาบหัวขาด ทั้งหนวดที่หัวและขานั้นจะเคลื่อนไหวได้นาน .... ระยะเวลาการเคลื่อนไหวนั้นขึ้นอยู่กับความสะอาดด้วย ถ้าเกิดการติดเชื้อเมื่อไหร่ ระยะเวลาในการเคลื่อนไหวก็สั้นลง (ไม่รวมถึงกรณีโดนสัตว์อื่นกิน) จากที่มีการทดลองพบว่า ส่วนตัวนั้นสามารถอยู่ได้นาน"หลายสัปดาห์" และส่วนหัวก็อยู่ได้นานหลายชั่วโมงครับ

ส่วนเรื่อง"หู"ของแมลงนี่ ที่ขามันก็มีอวัยวะรับแรงสั่นสะเทือนอยู่ครับ ซึ่งหลายเว็บในต่างประเทศโดยเฉพาะเว็บเด็กมักจะใช้คำว่า หู เพื่อเทียบเคียงกับอวัยวะนี้ครับ  เช่นเดียวกับกรณีของผีเสื้อใช้ "ขา" ในการชิมรส นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ผีเสื้อมี"ปาก"ที่ขาครับ

ป.ล. สมัยผมเรียน ระบบประสาทที่เรียกว่า ANS (autonomic nervous system) จะบัญญัติว่า "ระบบประสาทอัตโนวัติ" แต่เมื่อกี้หลังจากลองดูความหมายจากเว็บรบัณฑิตยสถานพบว่า ปัจจุบันได้บัญญัติว่า "ระบบประสาทอิสระ" ครับ

ความเห็นที่ 11.1

yesyes

ความเห็นที่ 12

อวัยวะรับเสียงแมลงมีหลายอย่างครับ ที่ผมจำได้ก็มี Trichoid sensilla (ลักษณะคล้ายขน) มีในพวกจิ้งหรีดบางชนิด หนอนผีเสื้อ ,Johnston’s organ อยู่ใกล้ปาก พบในพวกยุง แต่สกุลCalliphora ใช้ปรับความเร็วในการบินได้ด้วย ,Tympanum organ(ลักษณะคล้ายๆกับที่อยู่ในลำโพง) พบที่ tibia ของขาคู่หน้าของจิ้งหรีด ตั๊กแตนหนวดยาว ตักแตนหนวดสั้งอยู่ที่ข้างท้องปล้องแรก ผมรู้แค่นี้ครับ ขอคนมาเสริมอีกทีครับ