วันสบายๆ ที่พิษณุโลก กับ เขาค้อ

วันจันทร์ที่ผ่านมา มีโอกาสได้ไปตามหาตุ๊กกายชนิดหนึ่งกับพี่ๆในเวบ

และไปดูปลาค้อถ้ำชนิดหนึ่งของเมืองไทย  ที่จังหวัดพิษณุโลก เลยถือโอกาสนี้เก็บภาพมาให้ชมกันครับ


Comments

ความเห็นที่ 1

เพื่อนร่วมเดินทาง
2.jpg

ความเห็นที่ 2

รถตู้ปล่อยเราลงที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง(จำชื่อไม่ได้) บรรยากาศเงียบเหงาเอามากๆ
6.jpg

ความเห็นที่ 3

แวะเติมพลังกันซะหน่อย
3.jpg

ความเห็นที่ 4

กินกันเสร็จเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ก็มารับเข้าอุทยาน บรรยากาศเส้นทางรวมๆครับ



4.jpg 5.jpg

ความเห็นที่ 5


นี่คือสิ่งที่พวกเราตามหา




188995.jpg

ความเห็นที่ 6


ลงรถมาเจอสิ่งนี้


7.jpg

ความเห็นที่ 7


จากนั้นก็ไปอีกหมายนึง เป็นจุดที่พบจระเข้สายพันธุ์ไทยในธรรมชาติ

เดินทางกันอย่างทุลักทุเลพอสมควร


8.jpg 88.jpg

ความเห็นที่ 8


หลังจากที่นั่งรถกระบะ ผ่านเส้นทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อ บวกกับเดินเท้ามาได้ระยะนึงก็หนึงที่หมาย

9.jpg

ความเห็นที่ 9


สภาพเป็นแก่งหิน น้ำไหล และน้ำใสมาก

99.jpg 11.jpg 22.jpg

ความเห็นที่ 10


อันนี้น่าจะเป็นไลเคน พบเกาะอยู่บนหิน

1.jpg

ความเห็นที่ 11


ใครบางคนที่พยายามทำตัวเป็นไกรทอง
2.jpg

ความเห็นที่ 11.1

ที่นี่เขาเรียกว่าป่ากะซาว ช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือ สงกรานต์ ถ้ามีโอกาส เราจะพาครอบครัวไปเที่ยวที่นี่ เพราะบรรยากาศดี มีน้ำให้เล่นเย็นสบาย อยากเชิญชวน ให้ทุกคนมาเที่ยว ยินดีต้อนรับสู่บ้านชมพู 

ความเห็นที่ 12


เเนื่องจากมีเวลาไม่มาก ทำให้เรารอดูอยู่ตรงจุดนี้ได้ไม่นาน ก็ต้องรีบกลับไปให้ทันอีกทีมที่จะเข้าไปหาตุ๊กกาย
 ระหว่างทางเจอกล้วยไม้กับเฟิร์นมากมาย แต่... ถ่ายมาแค่รูปเดียว
3.jpg 4.jpg

ความเห็นที่ 13


แล้วเราก็ไปเจอกับทางทีมงานรายการบางอ้อ ที่นัดกันไว้ว่าจะพาเคาไปดูตุ๊กกายปล้องทอง

(Cyrtodactylus auribalteatus) แต่ผมดันลืมชื่อถ้ำไปแล้วว่าชื่อถ้ำอะไร


 


6.jpg

ความเห็นที่ 13.1

ชื่อถ้ำพระ หรือเรียกว่าถ้ำพระนเรศวร อยู่ที่ม.3 ต.ชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ค่ะ

ความเห็นที่ 14



เข้าไปพักใหญ่ๆ พวกเราก็เจอตัวเป้าหมาย


8.jpg

ความเห็นที่ 15


ตุ๊กกายปล้องทอง (Cyrtodactylus auribalteatus)

9.jpg

ความเห็นที่ 16


พอเสร็จจากจุดนี้ ก็เดินลึกลงไปอีกเพื่อไปดูปลาค้อถ้ำ(Schistura spiesi ) และปลาพวงถ้ำ

(Neolissochilus subterraneus) ซึ่งก็พบตามความคาดหมาย



1.jpg 2.jpg 3.jpg 4.jpg

ความเห็นที่ 17


และแล้วคืนนี้ก็จบลงไปได้ วันต่อมาก็ไปตามหาแมงกะพรุนน้ำจืดที่ลำน้ำเข็ก

จังหวัดเพชรบูรณ์ บรรยากาศเป็นอย่างไรก็รอท่านอื่นๆที่ไปด้วยกันมาเสรฺมละกันนะครับ

ขอปิดด้วยภาพ ตุ๊กกายอีกตัวหลังจากที่ทีมงาน ออกไปจากถ้ำแล้วละกันครับ




5.jpg

ความเห็นที่ 17.1

ตัวนี้แจ่ม แต่ยังโตไม่เต็มที่นะ ตัวแก่เต็มที่จะมีจุดสีน้ำตาลเรียง 3 จุด ในปล้องสีทองด้วย

ได้เช็คเพศไหมอ่ะ?

ความเห็นที่ 17.1.1

ผมไม่ได้เช็คครับ น่าจะต้องลองถามเจ้าอู๊ดดู

ความเห็นที่ 17.2

อู๊ดคงเช็คได้แหล่ะ..... 

มาไว้อาลัย...

ความเห็นที่ 17.2.1

จากภาพนี้ก็พอดูออกว่าเป็นตัวเมียครับ

ความเห็นที่ 18

น่าหนุกจัง เสียดายไม่ได้ไป cheeky

ความเห็นที่ 19

คิดถึงๆๆๆ  ขอบคุณที่นำภาพมาฝากครับ

ตกลงรายการออกอากาศวันที่เท่าไหร่?  จะได้รอชม

ความเห็นที่ 20

เจอ เณรแดง ไหมครับ

ความเห็นที่ 21

เห็นว่าออกอากาศ 23 เมษาฯ ครับ

รูปของผมยังไม่ได้ทำเล้ย คอมเข้าโรงบาล เหอๆ

ความเห็นที่ 22

งั้นเดี๋ยวคืนนี้จะมาลงกะพรุนน้ำจืดต่อละกันนะครับ

พี่ดิว โน๊ตบุคยังซ่อมไม่เสร็จอีกเหรอพี่ ๕๕๕

ความเห็นที่ 23

 
ต่อกันที่ลำน้ำเข็กจังหวัดเพชรบูรณ์ เป้าหมายคือแมงกะพรุนน้ำจืด

196505_1950404040504_1254698079_32354819_4872236_n.jpg

ความเห็นที่ 24


ข้อมูลทั่วๆไป



196505_1950404080505_1254698079_32354820_1267230_n.jpg

ความเห็นที่ 25

รอชมครับผม

ความเห็นที่ 26


ข้อมูลของแมงกะพรุน

200765_1950574844774_1254698079_32354895_2203506_n.jpg

ความเห็นที่ 26.1

ข้อมูลนี้ผมอ่านแล้วฮาไม่ออก ที่นี่เขาเรียกแมงกะพรุนน้ำจืด โดยไม่มีภาษาถิ่น ส่วนการค้นพบข้อมูลนี้ ผมค้นไม่ดีพอ และสรุปผิดพลาด ผมแก้ไขข้อมูลไว้นานแล้ว ก็ยังนำข้อมูลผิดๆมาอีก ทางกลุ่มคนรักป่า น่าจะลงข้อมูลว่าเป็นแมงกะพรุนที่ปรากฏตัวบนภูเขา มีที่เทือกเขาแอปปาเลเชี่ยน สหรัฐอเมริกา และเขาค้อ เพชรบูรณ์ เท่านั้น ยังไม่มีรายงานการค้นพบแมงกะพรุนบนภูเขาจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม(ถ้ามีจะนำมาปรับข้อมูลครับ) สายพันธุ์ Craspidacusta sowerbii (อ่านยากและลำบากมากครับ) อีกสายพันธุ์หนึ่งอยู่ที่ลุ่มน้ำโขง Craspidacusta sinensis ต้องให้ อาจารย์ Plateen กรุณามอบความรู้เพิ่มเติมด้วยครับ

ความเห็นที่ 26.1.1

เรื่องข้อมูลหรือที่มาข้อมูลผู้นำกลุ่มตอบไม่ค่อยเคลียเท่าไหร่ครับ แค่บอกว่าส่วนหนึ่งจากม.นเรศวร ส่วนหนึ่งจากอาจารย์ รร.อะไรสามๆ เนี่ยแหล่ะครับ ไม่ได้อ้างบุคคล

ถามถึงอ.ชัยวัฒน์ก็ไม่รู้จักอีกแหะ นานาจิตตังครับ

ความเห็นที่ 27


เรือที่ใช้ในการเดินทาง


196505_1950404120506_1254698079_32354821_5876179_n.jpg น่าจะเป็นปลากระแห

ความเห็นที่ 27.1

ลำซ้ายล่างใช้มะ 55

ความเห็นที่ 28


บรรยากาศ


196505_1950404160507_1254698079_32354822_4736361_n.jpg 200793_1950428761122_1254698079_32354838_6027742_n.jpg

ความเห็นที่ 29


ถึงที่หมายแล้ว


200793_1950428801123_1254698079_32354839_1953936_n.jpg

ความเห็นที่ 30


เราพบแมงกะพรุนระหว่างทางจำนวนสองตัว หน้าตามันเป็นแบบนี้ ไม่ต่างจากพวกที่อยู่ในทะเลซักเท่าไหร่ แต่ขนาดตัวนี่ถือว่าเล็กมาก ถ้าเทียบกับพวกที่อยู่ในทะเล (ขนาดมันประมาณเหรียญบาทเท่านั้นเอง) 
200793_1950428841124_1254698079_32354840_47351_n.jpg

ความเห็นที่ 31



นอกจากนี้ที่นี่ยังมีผีเสื้ออีกหลายชนิด แต่สามารถถ่ายมาได้ชัดๆแค่ไม่กี่ภาพเอง รบกวนID ด้วยนะครับ

189530_1950516283310_1254698079_32354863_1736845_n.jpg 189530_1950516323311_1254698079_32354864_2101816_n.jpg 189530_1950516363312_1254698079_32354865_4417725_n.jpg 189530_1950516403313_1254698079_32354866_3869573_n.jpg

ความเห็นที่ 31.1

#1-2 Prosotas pia marginata ? 
#3 Zeltus amasa ผีเสื้อหางพริ้ว?
#4 Polyura eudamippus ผีเสื้อมาเขียว?

*รอผู้รู้จริงมายืนยันอีกทีนะครับ.

ความเห็นที่ 31.1.1

ผีเสื้อม้าเขียว เป็นชื่อเดิม ที่ใช้เรียกผีเสื้อชนิดนี้ แต่ส่วนใหญ๋คงจะคุ้นกับชื่อผีเสื้อเหลืองหนาม (เช่นเหลืองหนามประดับเพขร เหลืองหนามโคนปีกดำ เป็นต้น)

 หากใช้หนังสือของพี่เกรียงไกร จะใช้เหลืองหนาม (พิมพ์จำหน่ายก่อน) หากใช้ข้อมูลจาหหนังสืออาจารย์พิสุทธิ์  จะใช้ม้าเขียว  เคยรู้สึกขัดใจกับชื่อ ม้าเขียว ว่าทำไมอาจารย์พิสุทธิ์ ท่านจึงใช้ชื่อนี้ แต่ตอนหลังได้ข้อมูลจากพวกอดีตจับผีเสื้อขายเป็นอาชีพ (ตอนนี้เป็นพวกผู้ช่วยวิจัยไปแล้ว) ว่าแต่เดิม ในวงการค้าผีเสื้อใช้ชื่อ "ม้าเขียว" มานานแล้ว

ความเห็นที่ 31.1.1.1

เรื่องชื่อของผีเสื้อผมก็ไม่ชัวร์หรอกครับ ปกติจะใช้ข้อมูลจากอาจารย์พิสุทธิ์ตลอดครับ เพราะไม่มีหนังสือหรือข้อมูลจากท่านอื่นๆเลยครับ และปกติจะเรียกเพราะติดปากครับ.

ความเห็นที่ 31.1.1.1.1

ครับ  ผมก็ต้องการเอาข้อมูลมาเสริม ๆ เท่านั้นครับ ชื่อสามามัญ ยังไงก็หลากหลายอยู่ดี

ความเห็นที่ 32



สุดท้ายทริปนี้ก็สำเร็จลงไปได้ด้วยดี พบสิ่งที่อยากจะเจอครบทุกอย่าง คุ้มมากๆที่ได้ร่วมเดินทางไปด้วย ลากันด้วยร้านกาแฟอร่อยๆที่เขาค้อละกันนะครับ ^^


189530_1950516443314_1254698079_32354867_201237_n.jpg

ความเห็นที่ 33

ร้านนี้ชอบมากอ่ะ ไปทีไรก็แวะทุกที

แมงกระพรุนน้ำจืด ลำบากกว่าที่คิดแหะ!!

ความเห็นที่ 34

ทริปนี้แจ่มไม่น้อยนะเนี่ย

ความเห็นที่ 35


ในมุมมองของจรเข้สยามน้ำจืด

ความเห็นที่ 36


ควายป่าสวมกระพรวน

ความเห็นที่ 37


โบกน้อยๆ

ความเห็นที่ 38

สาหร่ายหางกระรอก Hydrilla verticillata กำลังออกดอก
002.jpg

ความเห็นที่ 39

ต้นอะไรไม่รู้ แปลกดี



.
007.jpg

ความเห็นที่ 40

ดอกเล็กๆ คล้ายๆ คำหอม แต่ไม่หอมเลย


.
006.jpg

ความเห็นที่ 41

ฝาบ้านใครมิรู้


.
005.jpg

ความเห็นที่ 41.1

น่าจะเป็นชนิดที่ใช้ชื่อคนญี่ปุ่นนะเนี่ย

ความเห็นที่ 42

คางคกหัวราบ Bufo macrotis Ingerophrynus macrotis



.
008.jpg

ความเห็นที่ 43

เขียดงูเกาะเต่า ต้องขอบคุณน้องพรุเรื่องข้อมูลที่เข้าใจผิดมานาน yes




.
015.jpg

ความเห็นที่ 44

อ๊อดใครเอ่ย?



.
020.jpg

ความเห็นที่ 45

Schistura sp.



.
018.jpg

ความเห็นที่ 45.1

ได้อารมณ์ menanensis อยู่นะ

ความเห็นที่ 46

ลำน้ำเข็กและลำคลองสาขาโดนกระหน่ำด้วยปลานิล หางนกยูง และชัคเกอร์

ถ่ายมาแบบน้ำขุ่นๆ จะเห็นซิวม้ามุก Danio albolineatus



.

019.jpg

ความเห็นที่ 47

จิตวิญญาณปลากระแห



.
016.jpg

ความเห็นที่ 48

ต้นอะไรริมน้ำชอบทรงจริงๆ



.
017.jpg

ความเห็นที่ 48.1

กุ่มน้ำ ชัวร์ ทรงสวย ดอกสวย กินได้ด้วย!!! 

ความเห็นที่ 48.1.1

ดอกและใบอ่อนนำไปดองให้เปรี้ยวๆ จิ้มน้ำพริกกะปิ ปลาทูอ้วนๆทอดซักตัว ข้าวหมดจานไม่รู้ตัวเลยหละsmiley

ความเห็นที่ 49

บางอ้อ บ้างดีกว่า พี่หนุ่มจับโน่นนี่ด้วยมือเปล่าเก่งมากๆ


.
011.jpg

ความเห็นที่ 50

ปลาค้อถ้ำพระวังแดงตัวใหญ่ ตาหายไปแล้ว


.


010.jpg

ความเห็นที่ 51

ในขณะที่ตัวเล็กอายุน้อยยังเห็นจุดลูกตาอยู่



.
012.jpg

ความเห็นที่ 52

บึ้งแตงไทย



.
014.jpg

ความเห็นที่ 52.1

ตัวนี้เป็นกลุ่มแมงมุมครับพี่ Storenomorpha sp.

ความเห็นที่ 53

เป้าหมายของรายการบางอ้อ ตุ๊กกายปล้องทอง



.
013.jpg

ความเห็นที่ 54

ถ่ายทำเสร็จก็ปล่อยเค้ากลับไปยังกำแพงถ้ำเย็นๆ บ้านของเค้า

การถ่ายทำขั้นตอนและการเข้าในถ้ำทุกอย่างอยู่ในสายตาและการพิจารณาของจนท.พิทักษ์ป่าไม้ สล.5 ชาวบ้านชมพูและรองหัวหน้าอช.ทุ่งแสลงหลวง นะครับ  


cool

.

009.jpg

ความเห็นที่ 55

เอามาแจมมั่งเล็กน้อยครับ

คางคกหัวราบ Ingerophrynus macrotis
macrotis auribalteatus auri cave mahseer

ความเห็นที่ 55.1

Eye shadow สีเหลือง งามมากเลย ตัวเมียรึเปล่าเนี่ย ตาหวานเชียว

ความเห็นที่ 55.2

ขอบตามันสวยวะ ดูจิ้มลิ้ม

ความเห็นที่ 56

ภาพงามๆ ทั้งนั้นนนน   ลำน้ำน่าสำรวจน้องปอมากขอรับ
เห็นแล้วก็อยากไป ^^'

ความเห็นที่ 56.1

เห็นอยากไปมันทุกที่ละพี่ผมเนี่ยยย...555

ความเห็นที่ 57

ปลาค้อถ้ำ มีตา ไม่มีตา เป็นเรื่องแต่ละตัว ไม่เกี่ยวกับโตแล้วตาจะหายครับ

ความเห็นที่ 57.1

ถ้างั้นอะไรเป็นปัจจัยให้ตามันหายล่ะครับ? แสงหรอ?

ความเห็นที่ 57.2

เออแหะ ย้อนกลับไปดูตัวเล็กของแมนดารินก็ไม่มีตานี่นา ขอโทษในความสะเพร่าครับ

 

อารมณ์อยากตามดูปลาถ้ำในไทยมันพุ่งปรี๊ดดดดด

ความเห็นที่ 58

ภาพพี่ท่อกยังทรงพลังเช่นเคยนะพี่


ความเห็นที่ 59

การหายไปของตาปลาถ้ำคาดว่าเป็นลักษณะการวิวัฒนาการที่เรียกว่า use-disuse เป็น genetic drift ในรูปแบบหนึ่ง ที่การเปลี่ยนแปลงในลักษณะของสิ่งมีชีวิต เกิดขึ้นแล้วไม่ก่อให้เกิดผลเสียและ/หรือ อาจจะมีผลดี เช่นในกรณีไม่มีตาก็เป็นการประหยัดพลังงานส่วนหนึ่งที่จะเอามาสร้าง/ดูแลตา ก็ส่งผลให้ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ สะสมอยู่ในประชากรของสัตว์มากขึ้น มันเป็นลักษณะแบบ complex trait variation ไม่ได้ปิด/เปิด แบบสีดอกไม้ เลยไม่ได้มีปลาแบ่งเป็นสองกลุ่มชัดเจน แต่จะเกิดขึ้นเป็นแบบคละกัน และจะน้อยลงไปเรื่อยๆตามกาลเวลาและสถานะการณ์

ความเห็นที่ 59.1

ขอบคุณครับ