ทะเล-ภูเขา ที่ตรัง

เมื่อช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนา ได้ไปช่วยงานวิชาชีววิทยาภาคสนามของน้องๆป.ตรี ของภาควิชาชีว ม.อ. เลยมีภาพมาฝากกันครับ
โดยไปพักอยู่แถวน้ำตกกะช่อง จ.ตรัง พอถึงภาคสนามของพื้นที่ทางทะเล ก็ออกเดินทางไปบริเวณอช.หาดเจ้าไหม ตรงใกล้เขาแบนะ จ.ตรัง กลุ่มที่ผมไปช่วยเป็นฟิลด์หาดทราย โดยมี ormphipod เป็นตัวหลักในการเป็นที่ปรึกษาโปรเจ็ค

Comments

ความเห็นที่ 1

มาดูสิ่งมีชีวิตที่พบพบริเวณชายหาดแห่งนี้กันครับ

ในภาพนี้มีดอกไม้ทะเลจับปูเสฉวนได้ตัวหนึ่ง โดยมุมขวาล่างเป็นปูเสฉวนอีกตัว มันเข้ามาเพื่อจะมาหาเปลือกหอยเพื่อเปลี่ยนใหม่นั่นเอง โดยไปดึงเปลือกมาจากปูเสฉวนที่โดนพิษดอกไม้ทะเลตายไปแล้ว ดอกไม้ทะเล ไข่หอยเดือน หรือหอยวงจันทร์ หรือหอยนางชี หรือหอยกระต่าย (ชื่อไทยมีเยอะ) อันนี้ก็เป็นไข่หอยฝาเดียว ไม่แน่ใจว่าชนิดใด แต่แถบนั้นเห็นมีหอยปากกระจาดเดินๆ อยู่

ความเห็นที่ 1.1

ไข่หอยอันแรก เจ้าของมันใช้ชื่อว่าหอยตะกายมิใช่รึ ส่วนหอยกระต่ายจะหมายถึงอีกกลุ่มเลย

ส่วนไข่อันที่สอง นึกหน้าเจ้าของได้ แต่นึกชื่อไม่ออก

ความเห็นที่ 1.1.1

ชื่อมันก็มีหลายสำนักงี้แหละพี่ มันเลยไปพ้องกับหอยกระต่ายตัวอื่นบ้าง มันก็วงศ์เดียวกับหอยตะกาย หอยตาไก่นั่นแหละ แต่พอดีผมจำชื่อวิทย์ได้ไม่แม่น เลยไม่ใส่ไป

moon snail

ความเห็นที่ 1.1.1.1

เหมาะสมกับชื่อคะ

ความเห็นที่ 2

หนอนทะเลและแมลง

มูลดินที่พวกไส้เดือนทะเลขับทิ้งออกมานอกรู ส่วนข้างบนเป็นส่วนหาดหินที่มีสาหร่ายเห็ดหูหนูเกาะอยู่ บนหาดทรายตอนบนที่น้ำท่วมยังไม่ถึง มีแอมฟิพอดอยู่เยอะแยะไปหมด แต่กล้องผมมีปัญญาถ่ายมาแค่นี้ครับ ด้วงเสือ ก็เป็นตัวเด่นตัวหนึ่งบนหาดส่วนแห้ง บริเวณแอ่งน้ำนิ่งมีจิงโจ้น้ำเยอะไปหมด จิงโจ้น้ำที่พบบนหาด

ความเห็นที่ 2.1

จิงโจ้น้ำอย่างเท่ส์เลยครับ

ความเห็นที่ 2.2

เฮ้่ย สวย !!

ความเห็นที่ 2.3

จิงโจ้น้ำ สวยคะ 
เพิ่งรู้และเคยเห็น ขอบคุณที่นำมาภาพและชื่อมาแบ่งปัน

ความเห็นที่ 3

มาดูปูกันบ้าง

ในโซนเขตน้ำขึ้นน้ำลงมีปูทหารชนิด Dotilla mictyroides อยู่เยอะ โดยเฉพาะตรงก้นอ่าวเชิงเขา ตัวนี้กำลังสังเกตการณ์อยู่ในบังเกอร์ของมัน ปูทหารชนิดนี้จะขุดรูแบบวนไปทางด้านข้างรูลงไปเรื่อยๆ ถึงจะมีเยอะ แต่จะถ่ายให้เห็นเป็นกองทัพก็ยังทำได้ยาก โดยเฉพาะช่วงที่น้ำกำลังขึ้น ผู้ล่าชนิดหนึ่งของปูทหาร มันคือปูลม ซึ่งล่าได้เฉพาะช่วงที่น้ำยังไม่ท่วมถึง มันไม่ถนัดล่าสัตว์ในน้ำ ได้อย่างมากแค่เพียงชายน้ำเท่านั้น ปูหนุมาณจุด Matuta victor เป็นนักล่าที่เข้ามาหากินบนหาดในช่วงน้ำขึ้น เจ้าตัวนี้ก็ล่าปูทหารกินได้เหมือนกัน ผลัดกันกับปูลม โดยมันหาปูทหารที่ฝังอยู่ได้ยังไงก็ไม่ทราบเหมือนกัน

ความเห็นที่ 3.1

ปูหนุมานตัวกระจิีกเดียว สามารถกินปูทหารได้ด้วย วาวธรรมชาติช่างสร้างสรร

ความเห็นที่ 4

ลองมาแยกแยะปูทหารเล็กกับปูปั้นทรายกันดูครับ บนหาดนี้เจอทั้ง 2 กลุ่มเลย ปั้นทรายก็ก้อนกลมๆเหมือนๆกัน การแยกแยะปู 2 กลุ่มอย่างง่ายของพื้นที่นี้คือดูที่รูปทรงของกระดองก่อนเลยครับ แต่การดูด้วยตาเปล่าก็น่าจะยาก ไม่เหมือนกับดูภาพนิ่งๆ ซุมได้ด้วยกล้องแบบนี้ บางทีอาจจะต้องลองจับตัวขึ้นมาดูกันครับ

ถ้าตามหลักการจำแนกจริงๆแล้วจะใช้วิธีดูที่ระยางค์ปาก ถ้าเป็นปูทหารระยางค์ปากคู่หน้าจะมีแผ่นบนเล็กกว่าแผ่นล่าง ดังเช่นภาพนี้ ส่วนที่ผมตั้งข้อสังเกตให้เพิ่มเฉพาะตัวของพื้นที่นี้คือ ก้าม ที่ในปูทหารจะหักโค้งลง และเรียว

ในขณะที่ปูปั้นทราย กระดองออกแนวสี่เหลี่ยมกว่าเยอะ ระยางค์ปากคู่หน้าบนกับล่างจะขนาดใกล้เคียงกัน และก้ามไม่อยู่ในแนวหักลง จะหักออกในแนวระนาบ ก้ามใหญ่ ไม่เรียวแหลมมากอย่างปูทหาร


ปูทหาร Dotilla wichmani ปูทหาร Dotilla wichmani ปูปั้นทราย Scopimera sp. ยังไม่ได้ลองจำแนกดู แต่คาดว่าจะเป็น S. proxima

ความเห็นที่ 4.1

ขอบคุณ คุณนกกินเปี้ยวมากเลยครับ ที่บอกวิธีจำแนกปูทหารเล็กกับปูปั้นทราย ชัดเจนเลยครับ

ความเห็นที่ 4.2

ขอบคุณ คุณไก ที่ได้แยกแยะประเภทของปูทหาน และปูปั้นทรายให้ได้ทราบ แต่ดิฉันดูในรูปอย่างไรหาความแตกต่างยากจังคะ คงต้องจับมาดูใกล้อย่างที่แนะนำ แต่จะวิ่งทันปูหรือไม่เท่านั้น และไม่อยากจับมันด้วยคะ กลัวทำให้มันได้รับบาดเจ็บหรือตาย เฝ้าดูไกลๆดีกว่า

ความเห็นที่ 5

ไข่ปลาหมึก พวกน้องๆไปรื้อมาจากลอบปลาหมึก ที่เขาใส่ไว้ล่อปลาหมึก ให้เข้ามาวางไข่ในลอบ แล้วก็จะติดลอบออกไม่ได้ ปลาหมึกที่เข้าลอบเป็นปลาหมึกหอม แล้วก็ปลาหมึกกระดอง


ไข่ปลาหมึกหอม (ถ้าเป็นปลาหมึกกระดองจะเป็นไข่เดี่ยว)

ความเห็นที่ 6

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในควอแดรต


ควอแดรต

ความเห็นที่ 6.1

ขำ!!!

ความเห็นที่ 6.2

555

ความเห็นที่ 7

อีกมุมหนึ่งของเขาแบนะ
หาดอีกฝั่งนึงของเขาแบนะ น้ำใสกว่าอีกฝั่งที่ผ่านมา โดนกัดเซาะไปเยอะ ลักษณะเหมือนกับเป็นป่าชายเลน มีต้นไม่จมน้ำช่วงน้ำขึ้น

ความเห็นที่ 8

กลับมาที่ที่พักที่นำตกกะช่องกันบ้างครับ


ลำธารเหนือฝายปูนขึ้นมา ลำธารพื้นเป็นหินและทรายเยอะ มุมหนึ่ง ริมลำธารมีมหาสะดำขึ้นอยู่

ความเห็นที่ 8.1

น่าชมปลามากๆ

ความเห็นที่ 9

ตอนกลางคืนไปสำรวจลำธารที่ข้างถนนจุดหนึ่ง
หลังฝายทรายท่วมสูงเลย ปลาที่ออกมาให้เจอ พวกปลาซิวใบไผ่เล็ก

ความเห็นที่ 10

กลุ่ม Herpeo ได้แต่ภาพตัวบ้านๆมา เจอตุ๊กกายแต่ถ่ายรูปไม่ทัน กว่าจะเซ็ตกล้องได้พวกไหวตัวหนีไปเสียก่อน


ปาดบ้านในท่ามาตรฐาน เหลน ชนิดใดครับ จิ้งจกบ้านตัวโตๆ

ความเห็นที่ 10.1

เป็นซีรีส์บ้านๆเลยวุ้ย ชุดนี้

ปาดบ้าน Polypedates leucomystax

จิ้งเหลนบ้าน Eutropis multifasciatus

จิ้งจกบ้านหางแบน Hemidactylus platyurus

ความเห็นที่ 11

เหล่าสัตว์ขาปล้อง


กิ้งกือกระบอกที่พบที่นี่ กิ้งกือแบนที่พบ ข้างๆมีหนอนหัวขวานอยู่อีกตัว ด้วงไตรโลไบท์ (Trilobyte beetle) ช่วงนี้จักจั่นกำลังลอกคราบเลย สีเขียวสดดี พวกตั๊กแตนใบไม้ มอธตัวโตๆ จิงโจ้น้ำเพิ่งลอกคราบใหม่ๆ ยังออกมาไม่ครบตัว อันนี้อีกตัวนึง ดูจิงโจ้น้ำน้ำเค็มมาแล้ว ดูของน้ำจืดบ้าง

ความเห็นที่ 12

เหล่ากุ้งปู


กุ้งก้ามขน (Macropthalmus sp.) ยอมให้จับง่ายๆ มาถึงปูกันบ้าง พบอยู่ 2 ชนิดเป็นปูลำห้วยทั้งนั้น ตัวแรกเป็นปูลำห้วยสกุล Salangathelphusa แต่ผมไม่ชัวร์ว่าจะเป็น S. brevicarinata ที่พบทางภูเก็ตและใกล้เคียง หรือเป็น S. anophrys ที่พบทางนคร โดยผมโน้มเอียงมาทางตัวหลัง อีกชนิดเป็นปูลำห้วย Siamthelphusa improvisa ด้านหน้า สีและลวดลายก้ามใช้จำแนกชนิดได้ แต่สกุลนี้ทางใต้พบชนิดเดียว รอยเท้าปูกับนก ไม่รู้ว่าเป็นปูกลุ่มใดกันแน่ ผมพยายามหาปูน้ำตกหรือปูป่า ซึ่งมีความเป็นไปได้มากกว่าที่มันจะขึ้นมาเดินเหนือน้ำ แล้วสร้างรอยนี้ได้ แต่ก็ตัดพวกปูลำห้วยว่ามันจะไม่ขึ้นมาเดินบ้างเลย ก็ไม่ได้

ความเห็นที่ 12.1

เบลอ ใส่ชื่อกุ้งเป็นชื่อปูด้วย เหอๆ
กุ้งก้ามขน Macrobrachium sp.

ความเห็นที่ 13

หมดแล้วครับ


ความเห็นที่ 14

ตั๊กแตนใบไม้ตัวนั้นดูข้อศอกแล้วเหมือน Phyllium bioculatum เลยครับ ออกมาเกาะให้เห็นง่ายๆแบบนี้น่าอิจฉาจังครับ ผมไม่เคยเห็นตั๊กแตนใบไม้ในธรรมชาติเลยซักกะครั้ง TT'

ความเห็นที่ 15

น้ำตกกระช่อง เป็นที่ที่ผมเล็งว่าผมต้องไปเยือนที่นี่ให้ได้ 1 ที่  ตรังนี่...สวรรค์ของน้องปอสุดๆ เลยครับ  ด้วงเสือสวยมากกกกกกกกกครับ  อิจฉาภาพจิ้งโจ้น้ำลอกคราบมากเลยครับ

ความเห็นที่ 16

เจอสัตว์หลายชนิด หลายรูปแบบมากเลยครับ อยากเจอมั่งจัง smiley 

ความเห็นที่ 17

สงสัยเรื่องจิงโจ้น้ำเค็มครับ ถ้าเราทดลองจับมาปล่อยที่น้ำจืด จะมีปัญหาเรื่องแรงตึงผิวของน้ำหรือไม่ครับ

ความเห็นที่ 18

สิ่งมีชีวิตมากมายจริงๆ ภาพกิ้งกือกับหนอนหัวขวานผมเห็นอะไรอย่างอื่นมากกว่านั้น อิอิ

ความเห็นที่ 18.1

รังแมลงปั่นใยเหรอ

 

ความเห็นที่ 18.2

เห็น door อ่ะเด่ะ อิ อิ

ความเห็นที่ 18.2.1

จิ้งจกบ้านตัวโตล่ะพี่ เป็นตัวใหนอ่ะ ตัวโตๆทั้งนั้นเลย

ความเห็นที่ 18.2.2

555 ถูกพี่ แต่เล็กไปหน่อย

ความเห็นที่ 18.2.2.1

ผมเห็นแล้ว ๕๕ ท่านพี่ช่างสังเกตมากๆ

ความเห็นที่ 19

กระทู้ดูแล้วเพลินมากค่ะพี่นกกินเปี้ยว  แถมได้รับความรู้ไปเต็มๆ ขอบคุณค่ะ

ความเห็นที่ 20

เพลินเหมือนไปเดินเอง

ความเห็นที่ 21

yesมุมหนึ่ง

ความเห็นที่ 22

ขอบคุณมากคะ คุณนกกินเปี้ยว กระทู้มีประโยชน์มากๆคะ ได้รับความรู้มากมายจากกระทู้ของคุณ และจากการที่คุณสละเวลาเข้าไปตอบกระทู้ที่ได้โพสถามเรื่องของปู