ทายกันเล่นครับ "นี่เกล็ดตัวอะไร"

Comments

ความเห็นที่ 1

ปลามั้ง

ความเห็นที่ 2

สงสัยจะเป็นงูแล้วล่ะ

ความเห็นที่ 3

อารมณ์คล้ายๆเกล็ดท้องพวกจิ้งจก 

ความเห็นที่ 4

ตามดิวน้องด้วยคนขอรับ

ความเห็นที่ 5

ลองเทียบกับ จิ้งจกดินสยาม

เกล็ดท้องจิ้งจกดินสยาม

ความเห็นที่ 6

ท้องจิ้งจกบ้านหรือเปล่า

ความเห็นที่ 7

มารอฟังผู้รู้ถกเถียงกันครับ เอิ๊กๆ มักง่ายจังเรา

ความเห็นที่ 8

คนข้างบนส่งลิสนกที่เจอให้หน่อย เอาแบบจริงจังอ่ะ ทำแล้วใช่ไหม

ความเห็นที่ 8.1

เดี๋ยวส่งให้ทาง Personal Massage ละกันนะ

ความเห็นที่ 9

ท้องจิ้งเหลนครับ ตอบให้ต่างเผื่อมีโอกาส

ความเห็นที่ 10

ขอมั่วมั่ง ตุ๊กกายแล้วกัน

ความเห็นที่ 11

เดาว่าจิ้งเหลนชนิดหนึ่ง cheeky

ความเห็นที่ 12

มีคนตอบถูกด้วยวุ้ย งั้นเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ลองบอกว่าอะไรดลใจให้ตอบตามนั้น หรือว่ามีลักษณะที่บ่งบอก หรือ ฯลฯ ไม่ต้องตอบยาวครับ

ความเห็นที่ 13

แล้วใครเป็นผู้ตอบถูกล่ะครับอาจารย์น๊อต

ความเห็นที่ 13.1

พี่ตุ้มครับ

ความเห็นที่ 14

อ้าวเฮครับ งั้นขอตอบอาจารย์น๊อตนะครับ ประเด็นรองที่ตอบนะครับ คือภาพนี้ถ่ายใกล้เห็นเกล็ดชัดแต่มีขนาดเล็กไม่ค่อยมีความมันวาวเหมือนงูหรือจิ้งเหลน แต่คล้ายจิ้งจก,ตุ๊กแก,กิ้งก่า แต่จิ้งจกเกล็ดน่าจะเล็กกว่านี้ กิ้งก่าก็น่าจะหยาบกว่านี้ ประเด็นหลักคือ(สมมติฐานความน่าจะเป็น)คุณนณณ์พึ่งทำวิจัยเรื่องตุ๊กกาย ก็น่าจะเป็นเจ้าตัวนี้ แล้วก็น่าจะเป็นบริเวณท้องใกล้กับหาง (อันนี้เดาสุดๆเพื่อดูเพศใช่หรือเปล่า)ครับ

ความเห็นที่ 15

เป็นข้อสังเกตที่แจ่มแมวมากครับ โดยเฉพาะประเด็นหลัก จากประเด็นรอง..ลำพังตอบว่ากลุ่มจิ้งจก ตุ๊กแกได้ก็ถือว่าแจ่มแล้วครับ นี่เล่นระบุตุ๊กกายเลย แต่ชนิดนี้ไม่ใช่ชนิดที่เพิ่งทำวิจัยแต่อย่างใด แต่จะเป็นตัวในอนาคต อิ อิ

ลักษณะเกล็ดท้องตุ๊กกาย (หรือจิ้งจก ตุ๊กแกอื่นๆ) ถ้าจำแนกตามการซ้อนของเกล็ด จะแบ่งได้สัก 3 กลุ่ม คือ

1. เกล็ดซ้อนแบบกระเบื้อง (imbricated อย่างภาพนี้แหละ) ที่เกล็ดจะเกยกันชัดเจน และขอบเกล็ดที่ซ้อนจะไม่แนบติดแผ่นล่างเหมือนจะยกขอบเกล็ดขึ้นมาได้อย่างอิสระ เกล็ดท้องมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดเจ้าของเกล็ด

2. เกล็ดซ้อนเล็กน้อย (subimbricated) พวกนี้ก็ยังพอเห็นว่ามันซ้อนกันนิดๆ แต่ขอบเกล็ดจะแนบชิดกับแผ่นล่าง ถ้าพยายามเขี่ยขอบเกล็ดกันจริงๆก็ได้แต่ขอบเหมือนเขียนเส้นตัดขอบเท่านั้น พวกนี้เกล็ดจะค่อนข้างเล็ก  

3. เกล็ดไม่ซ้อนทับ (juxtaposed) พวกนี้เกล็ดจะเหมือนวางต่อๆกันไปเลยแบบกระเบื้องปูพื้น เกล็ดมีขนาดเล็กมาก

พอดูๆไปแล้วลักษณะการซ้อนทับของเกล็ดจะสัมพันธ์กับขนาดเกล็ดด้วย แน่นอนที่ว่ามันมีผลถึงการใช้เป็นลักษณะจำแนกชนิดได้เช่นกัน

ความเห็นที่ 16

อนาคตให้คนอื่นทำนะพี่ ผมไม่เอาแล้ววววววววว

ความเห็นที่ 16.1

5555555