เขียนโดย สมหมาย Authenticated user เมื่อ 5 เมษายน 2554
มีผู้รู้หลายท่านให้คำตอบไปแล้วว่า มันต่างกันเพราะว่าวัยมันต่างกัน จึงทำให้รูปร่างของครีบมีลักษณะที่แตกต่างกัน ทีนี้ขอแอบคิดแทนคุณ M เล็กน้อยว่า อ่าว...แล้วเราจะมั่นใจอย่างไรว่าเจ้าตัวที่เป็นคำถามกับตัวที่อยู่ในรูปลิงค์ของ species index คือชนิดเดียวกัน
Comments
ความเห็นที่ 1
มีภาพหันข้างแจ่มๆที่ไม่ติดตัวอื่นไหมครับ? ฝากเอามาใส่ SI เพิ่มเติมหน่อยครับ ตัวของผมมันขึ้นจากน้ำขุ่นๆมาก็เอามาถ่าย เลยไม่มีลายมีสีกับเค้าเลย
ความเห็นที่ 2
เพิ่มรูปอีก 1 รูป ถ่ายยากจริงๆ...
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
เอ ผมว่าปลาตัวที่เอามาถาม กับตัวที่เอามาตอบมันคนละชนิดกันนะครับ ชัดๆ ลักษณะของครีบหลังก็ต่างกันแล้ว ครับ ขอบคุณครับ
ความเห็นที่ 4.1
อันนี้ต้องเป็นคนช่างสังเกตเล็กน้อยครับว่า ปลาในกลุ่มปลาร่องไม้ตับ ปลาสร้อยนกเขา และปลาพรมหัวเหม็น มันถูกจัดอยู่ในสกุลเดียวกันคือ Osteocheilus ซึ่งมันก็มีรูปร่างสีสันที่แตกต่างกันมากมาย แต่ทั้งหมดต้องมีลักษณะร่วมกันที่บ่งบอกลักษณะสกุล ซึ่งนั่นก็คือครีบหลังมีก้านครีบจำนวน 11-14 ก้าน ตำแหน่งที่ปากเปิดจะอยู่ด้านล่างของหัวและริมฝีปากจะเป็นติ่งเนื้อคล้ายขนขนาดเล็กๆ มีหนวดสองคู่คือหนวดที่จะงอยปาก (rostral barbels) และหนวดที่ขากรรไกรบน (Maxillary barbels) จริงๆแล้วมีรายละเอียดมากกว่านี้ แต่ขอพูดแค่นี่พอครับกลัวคนอ่านงง
เอาหละ ทีนี้มาเรื่องการจำแนกชนิด ปลาในสกุลนี้ ชนิดที่พบในไทยมีสองชนิดที่มีแถบดำพาดตามด้านข้างของลำตัว หากแถบดำนี้พาดจากปลายสุดด้านหน้าของตัวไปสิ้นสุดที่โคนหาง จะเป็นร่องไม้ตับชนิด O. microcephalus หากแถบดำยาวเลยไปสิ้นสุดถึงที่ปลายหาง ก็จะเป็นชนิด O. waandersi
ทีนี้จากภาพทั้งสองปลามันดูแตกต่างกันมากตัวหนึ่งดูสัดส่วนครีบใหญ่และก้านครีบตอนแรกๆ ยืนยาว แต่ว่าทั้งสองมีก้านครีบอ่อน ประมาณ 14 ก้าน (เท่าที่นับคร่าวๆ) แล้วก็มีปากเปิดทางด้านล่าง มีแถบดำพาดไปสุดแค่โคนหาง มันก็ต้องเป็น O. microcephalus เหมือนกัน
เวลาดูปลาว่าชนิดนี้คืออะไรไม่ใช่จำที่รูปร่างหน้าตาปลาอย่างเดียว ต้องดูลักษณะอื่นประกอบด้วย เพราะว่าลักษณะของสีสันบนร่างกาย สัดส่วนของครีบ เป็นลักษณะที่แปรผันตามสิ่งแวดล้อม วัย และความพร้อมในการผสมพันธุ์ของปลาเอง ขอยกตัวอย่างง่าย ๆ เคยไปสัมภาษณ์ชาวประมงในแถบภาคอีสาน เขาเชื่อว่าปลาอีก่ำหรืออีตุ๋ กับปลาเพี้ย เป็นปลาคนละชนิดกัน (ทั้งหมดเป็นปลาชนิดเดียวกัน ภาคกลางเรียกปลาตัวนี้ว่าปลากาดำ) เพราะว่าปลาอีก่ำเป็นปลาตัวเล็กของปลาเพี้ย จะมีสีแดงแซมตามครีบ เมื่อมันโตขึ้นสีแดงมันหายไปหมดเปลี่ยนไปเป็นสีดำล้วน
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
สำหรับชื่อวิทย์ของชนิดที่อยู่ในภาพ Crossocheilus atrilimes
ส่วนเจ้าชนิดที่เล็กกว่า เป็นปลาร่องไม้ตับ (อายุยังแรกรุ่น) Osteochilus microcephalus ครับ