แมง-แมลง เลือดชิด (?)
เขียนโดย K.Dejmongkolsuriya Authenticated user เมื่อ 4 เมษายน 2554
แมง และ แมลง มีถ้ามีการผสมแบบเลือดชิดในที่เลี้ยง ถ้าลูกรุ่นแรก(F1)ผสมกันเองอีกในที่เลี้ยง จะมีโอกาสให้ลูกรุ่นต่อไป(F2)ที่สมบูรณ์กี่ตัว? ถ้ารุ่นF2ผสมกันเองอีกจะเหลือรุ่นหลาน(F3)อีกมั้ยครับ?
ผมกังวลว่าแมงป่องที่อยู่ในที่เลี้ยง ผสมกันเองแล้ว ได้ลูกออกมา กลับผสมกันเองอีกแล้วจะเกิดปัญหาเลือดชิดดังกล่าว
ถ้าหากว่าเป็นแมงป่องสายพันธุ์หายาก หรือราคาสูง หรืออาจจะหาไม่ได้ เกิดปัญหาเลือดชิดแล้ว เรามีทางจะแก้่ไข นอกจากการรับตัวใหม่เข้ามาบ้างมั้ยครับ?
เข้าใจว่าในธรรมชาติ การinbreedingมันเกิดได้ยากอยู่แล้ว แต่ในกรณีในที่เลี้ยง ซึ่งเลี้ยงรวมกัน ผมเป็นห่วงครับ...
ผมกังวลว่าแมงป่องที่อยู่ในที่เลี้ยง ผสมกันเองแล้ว ได้ลูกออกมา กลับผสมกันเองอีกแล้วจะเกิดปัญหาเลือดชิดดังกล่าว
ถ้าหากว่าเป็นแมงป่องสายพันธุ์หายาก หรือราคาสูง หรืออาจจะหาไม่ได้ เกิดปัญหาเลือดชิดแล้ว เรามีทางจะแก้่ไข นอกจากการรับตัวใหม่เข้ามาบ้างมั้ยครับ?
เข้าใจว่าในธรรมชาติ การinbreedingมันเกิดได้ยากอยู่แล้ว แต่ในกรณีในที่เลี้ยง ซึ่งเลี้ยงรวมกัน ผมเป็นห่วงครับ...
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
เรียนถามว่าด้วงที่คุณจับผสม แล้วไม่มีปัญหานั้น เป็นชนิดไหนหรือครับ?
งั้นถามต่อเลยละกัน ด้วงกว่างทั้งหลาย จะมีปัญหาเลือดชิดมั้ยครับเนี่ย?
แล้วก็ระบบเลือดชิด จะใช้กับแมง-แมลงได้มั้ยครับ?
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ในกรณีที่มีกลุ่มเลี้ยง ในประเทศไทยนั้น แมงป่องช้าง และแมงป่องหลายชนิดที่พบในประเทศไทย คงไม่มีปัญหาเรื่องการจัดหามากนัก เว้นแต่บางชนิดที่หายาก ขนาดต้องลงพื้นที่สำรวจด้วยตัวเอง ส่วนสายพันธุ์ต่างประเทศ บางสายพันธุ์ ถูกนำเ้ข้ามาเป็นระยะเวลานานแล้ว จึงมีผู้เพาะพันธุ์ในประเทศได้ และสามารถซื้อหากัน ในราคาที่ถูกกว่าได้ แต่ในอีกกรณีหนึ่ง ซึ่งเป็นแมงป่องที่ยังไม่มีผู้นำเข้ามา หรือ ไม่นิยมเลี้ยงกัน จึงไม่มีวางขายในตลาดทั่วไป หรือไม่มีเลย ทำให้จำเป็นต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ทำให้ราคาค่างวดค่าขนส่ง สูงกว่าค่าตัวแมงป่องเสียอีก และความเสี่ยงที่จะถูกหลอกก็มีสูง...
ผมพยายามจะเลี้ยงแมงป่องเหล่านี้ สายพันธุ์เดียวกันไว้รวมกัน โดยปล่อยให้จิ้งหรีดเหยื่ออยู่ในกล่องเลี้ยงนั้นๆ เมื่อหิวจึงล่ากินเอง ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการกินกันเองได้พอได้...
สรุปก็คือ เราไม่อาจสามารถเอาชนะธรรมชาติผู้สร้างสรรค์- ควบคุม ได้? ธรรมชาติกำหรดมาอย่างนี้ เหมือนมนุษย์ที่มีจารีต ไม่ให้เครือญาติสนิทใกล้ชิดกันในครอบครัว มาแต่งงานกันใช่มั้ยครับ?
แล้วเราจะสามารถผสมinbreedingไปได้กี่รุ่น แล้วจึงต้องเอาตัวใหม่มาเสริมยีนใหม่กันครับ?
อีกหน่อยนึง... ยิ่งผสมinbreeding มากรุ่น ความพิการ ไม่สมบูรณ์ สมประกอบ จะมีอัตราส่วนร้อยละสูงขึ้นใช่ไหมครับ?
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
สรุปว่า..ผมไม่ได้ตอบเลยสักคำถาม หุ หุ เอาเป็นว่าทฤษฎีเอาไว้เป็นแนวทาง ส่วนผลที่ออกมานั้นมันอาจอยู่เหนือการควบคุมครับ
ความเห็นที่ 8
แสดงว่า เราสามารถinbreedingต่อได้อยู่ แต่ต้องคัดเลือกตัวที่เหมาะสมหรือครับ?
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 10
มัน และอีกหลายๆอย่างครับ
ความเห็นที่ 11
ขอบคุณครับ
ความเห็นที่ 12
ตามความเห็นผม ผมว่าขึ้นอยู่กับกลุ่มสัตว์ที่นำมา inbreed ด้วยครับ แมงมุมบางกลุ่มผสมเลือดชิดได้ถึง F5 ยังแข็งแรง และเริ่มมีอัตราการตายสูงในรุ่น F6 แต่ในบางกลุ่ม แค่ F3 ก้ตายเกือบ 50% จากที่ฟักมาทั้งหมดแล้วครับ ข้อมูลจากการเพาะเลี้ยงของผมเอง ยังไม่ได้ตีพิมพ์
ความเห็นที่ 13
ตามควานเห็นของคุณconeman คงเป็นเพราะลักษณะด้อยของแมงมุมเริ่มแสดงออกมาทำให้มันปรับตัวให้เข้ากับแหล่งที่อยู่ของมันไม่ได้
ความเห็นที่ 14
ส่วนคำถามของคุณ K.Dejmongkolsuriya นั้น มันไม่ได้มีคำตอบที่ตายตัว ลักษณะทางชีววิทยาไม่ได้มีลักษณะเป็นสมการเส้นตรง เพราะมันมีปัจจัยแฝงต่างๆที่เราพอรู้และไม่รู้มาเกี่ยวข้องมากมาย เราอาจเอาทฤษฎีเป็นแนวทางตั้งหลัก แต่ผลนั้นไม่จำเป็นต้องออกมาตามทฤษฎีที่เต็มไปด้วยข้อกำหนด(ว่าไม่มีปัจจัยอื่นๆมากระทบ ซึ่งไม่เป็นจริงในธรรมชาติ) ดังนั้นการถามที่ลงท้ายว่าใช่/ไม่ใช่ ได้/ไม่ได้ (มีแค่สองทางเลือก) เลยไม่รู้จะตอบยังไง เอาเป็นว่ามีโอกาสได้ หรือใช่ แค่นั้น ส่วนการคัดเลือกตัวที่เหมาะสมมาต่อสายพันธุ์นั้น ก็ต้องกลับมาคิดอีกว่าอะไรคือเหมาะสม เหมาะในความคิดเรา อาจไม่เหมาะสำหรับสัตว์ก็ได้ หรือกำหนดนิยามคำว่าเหมาะสมในที่นี้ไว้อย่างไรด้วย ที่ตอบๆไปก่อนหน้านี้ ผมก็ไม่รู้ว่าผลจริงๆจะออกมาเป็นอย่างไร คงต้องรบกวนคนที่เพาะเป็นฝ่ายหาความเหมาะสมจริงๆด้วยแล้วกัน อีกอย่าง..บางทีผลที่ได้จะไม่เหมือนที่เราคาด แต่เราอาจได้สิ่งใหม่ๆที่ยังไม่เคยรับรู้มาก่อนได้เสมอครับ