นี่ ๆ หากผ่านมาปราจีน กรุณาหารถมาเอา ตัวอย่างงูดองไปด้วย ตั้งให้จะให้ภาควิชาชีววิทยา ศิลปากรนี่แหละ บอกเจ้าปิ่นไปตั้งนานแล้ว ไม่มาเอาซ่ะที
ปิ่มมันแวะไปตลกหาของกินที่ภาคนะสิครับ 555
กดด้วยคน น้องปอเฉพาะถิ่นไม่รู้จะเป็นอย่างไรบ้าง...
กดlike อีก 1เสียง...มาช้าไปเล็กๆน้อย แอบสงสัยว่าน้องเจ้าของกระทู้นี่ใครหว่า?? ใช่ไผ่รึเปล่า?ถ้ามีอะไรให้ช่วยก็บอกได้เน้อ ^^
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 2.1
หากเป็นไปได้รบกวนขอรายละเอียดมากกว่านี้หน่อยก็ดีครับ
นอกจากปลากัดตัวนี้แล้ว มีเก็บตัวไหนไปแล้ว หรือคิดว่าจะเก็บอีกมีไหมครับ
ความเห็นที่ 2.1.1
มาเผยแพร่ให้คนในท้องถิ่นได้ศึกษาและเข้าใจ อย่างถูกต้องถึงความสำคัญของสิ่งมีชีวิตนั้นๆต่อระบบ
นิเวศ โดยพวกผมจะมุ่งเน้นในเรื่องสัตว์น้ำเป็นหลักครับ ทั้งนี้รวมถึงพรรณไม้น้ำด้วยครับ ที่เริ่มทำด้านนี้ก่อนเนื่องจาก มีโปรเจคของรุ่นพี่ได้ทำไว้ คือสำรวจชนิดปลาในคลองชลประทาน จึงได้ตัวอย่างมาเยอะพอสมควรครับ อยากขอคำแนะนำเยอะๆเลยครับผม ตอนนี้กระบวนการคิดและการศึกษาพึ่งเริ่มครับผม และที่สนใจปลากัดมหาชัย เพราะว่าผมเป็นคนนึงในทีมและเป็นคนมหาชัย และคิดว่าปลาชนิดนี้น่าสนใจและน่าค้นหา และเนื่องจากตอนนี้แหล่งที่อยู่ของมันเริ่มถูกรุกรานแล้วด้วย ผมจึงสนใจปลาชนิดนี้เป็นพิเศษ แต่งานนี้คงไม่เสร็จในรุ่นพวกผมแน่นอนครับ แต่ก็อยากริเริ่มให้ชุมชนได้มีความรู้และส่วนช่วยในการดูแลและใส่ใจในท้องถิ่น ครับผม
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 3.1
นี่ ๆ หากผ่านมาปราจีน กรุณาหารถมาเอา ตัวอย่างงูดองไปด้วย ตั้งให้จะให้ภาควิชาชีววิทยา ศิลปากรนี่แหละ บอกเจ้าปิ่นไปตั้งนานแล้ว ไม่มาเอาซ่ะที
ความเห็นที่ 3.1.1
ความเห็นที่ 3.1.1.1
ความเห็นที่ 3.1.1.1.1
ความเห็นที่ 3.1.1.1.1.1
ปิ่มมันแวะไปตลกหาของกินที่ภาคนะสิครับ 555
ความเห็นที่ 3.1.1.1.1.1.1
ความเห็นที่ 4
http://www.siamensis.org/article/6602
ไปแถวมหาัชัยแล้วหาป่าจากใหญ่ๆนิดหนึ่ง ถามชาวบ้านแถวนั้นดูก็ได้ครับ
ความเห็นที่ 5
มากๆเลยครับ ป่าจากเหลือน้อยมาก แถวๆตำบลโคกขามน่าจะมีไหมครับผม
ความเห็นที่ 6
คิดว่าการเอาสิ่งมีชีวิตไปจัดแสดงเพื่อให้คนทั่วไปได้ชื่นชมนั้นเป็นสิ่งดี แต่ว่ามันเหมือนกับการไปทรมานสัตว์หรือไม่? ต้องพรากเขาจากที่แหล่งกำเนิด เอาไปไว้ในสถานที่ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมที่ผิดแผกแตกต่างกันไปจากเดิม แถมเจ้าสัตว์ที่ว่ายังสัตว์เฉพาะถิ่นที่หายาก มีถิ่นที่อยู่อาศัยแคบมาก และมีประชากรในธรรมชาติไม่ได้มากมายอะไร ดังนั้นการลงพื้นที่จับก็คงไม่ได้ง่ายอย่างที่เจ้าของกระทู้ฝันหวานมากนัก ช่วงการแสดง ปลาที่เป็นปลาป่า มักจะเครียดและตื่้นเต้น เมื่อเห็นคนพลุกพล่าน และชอบกระโดดออกจากเหลี่ยมโชว์ออกมาตาย สุดท้ายหลังจากการจัดแสดงแล้ว คุณจะจัดการกับปลานี้อย่างไร เอาไปปล่อยคืนธรรมชาติ หรือว่าเก็บเอาไว้ชื่นชม เพราะอยากจะเพาะเลี้ยงได้? อันนี้เป็นคำถามที่ต้องคิดให้ดีก่อนจะนำสัตว์ไปแสดงโชว์
(ผมไม่ีมีเจตนาห้ามนะครับ แต่อยากให้ข้อคิดเพื่อที่คุณจะได้มีแนวทางเพื่อการดำเนินการและการวางแผนเพื่อการจัดการกับปลาเฉพาะถิ่นหายากชนิดนี้)
ปัจจุบัน ปลาชนิดนี้มีจำหน่าย (ส่วนมากได้จากการเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยง มีส่วนน้อยที่จับได้จากธรรมชาติ) อาจเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งในการพิจารณาจัดหาปลามาจัดแสดง อีกทั้งปลาเลี้ยงจะเป็นปลาที่ปรับตัวเข้ากับที่กักขังได้ดีแล้ว และไ่ม่ตื่นเมื่อคนเข้ามาดูเหมือนกันปลาป่า
ความเห็นที่ 6.1
เพราะคนขายหลายๆเจ้าบอกว่า ช้อนง่ายกว่าไม่ต้องเสียเวลามาให้อาหารกว่าจะโตไม่ทันขาย
อีกทั้งคนซื้อก็เหมือนจะนิยมปลาช้อนมากกว่าซะด้วย
ก็อยากให้สนับสนุนปลาที่เพาะได้ในที่เลี้ยงอย่างที่ อ.สมหมายกล่าว
เพราะปลาช้อนบางที ก็ใช่ว่าจะแท้เสมอไป หุหุ
ความเห็นที่ 7
ความเห็นที่ 8
ต้องปรับปรุงแนวทางแล้วครับผม ขอบคุณทุกๆคนมากครับ
ความเห็นที่ 8.1
ลองติดต่อ อ.เดี่ยว ดูสิครับ คิดว่าท่านน่าจะให้คำแนะนำได้ดีอีกมาก
อีกทั้งเห็นว่าท่านกำลังสนใจปลาตัวนี้อยู่
คณะประมง ม เกษตร
แต่ช่วงนี้รู้สึกว่าท่านไม่ค่อยจะว่าง
แต่เชื่อว่าหากมีใจรักที่จะศึกษายังไงคิดว่าท่านพอเสียสละเวลาให้ได้บ้างแหละนะ
แอดเฟสบุ๊คลองไปคุยดูก็ได้
http://www.facebook.com/profile.php?id=100000219822283
ท่านใจดี
ความเห็นที่ 8.1.1
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 9.1
ความเห็นที่ 9.1.1
ความเห็นที่ 9.1.1.1
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 10.1
ส่วนเรื่องศึกษา วิจัย ตอนนี้เท่าที่รู้มีโครงการวิจัยของมหิดลซึ่งทำการวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางพันธุกรรม ซึ่งมีเอกสารที่ตีพิมพ์ยืนยันแล้วว่ามันเป็นชนิดใหม่ของโลก แต่เขายังไม่ได้ตั้งชื่อ และโครงการวิจัยของ ผศ พงศ์เชฏฐ์ คณะประมง มก. (หรือ อ เดี่ยวที่ อ้างถึงกันในคำตอบด้านบนๆ) ทำการวิจัยเกี่ยวกับแนวทางในการเพาะเลี้ยงเชิงอนุรักษ์
แต่ที่แอบตกใจเล็กน้อย ก็คือคำถามที่น้องเจ้าของกระทู้คิด อยากจะทำ จู่ก็โพล่งถามออกมาเลยว่าจะเอาพิกัดที่พบ จะเอาวิธีการการเก็บตัวอย่าง......เท่าที่อ่านและจับใจความจากที่เจ้าของกระทู้โพสต์ ดูเหมือนว่าเขาคิดอยากจะทำ แต่ดูเหมือนว่ายังไม่มีอะไรอยู่ในมือเลย ซึ่งสิ่งนี้ผมถือว่ามันค่อนข้างอันตราย หลายครั้งเราคิดว่าเราต้องการทำดี แต่ว่าผลของการกระทำมันกลับตรงข้าม เพราะขาดข้อมูลพื้นฐาน จึงได้เสนอแนวคิดเพื่อให้ตรองก่อนการลงมือทำอะไร
อันที่จริงมันก็ถูกนะครับที่ว่าเก็บตัวอย่างเพื่อการศึกษาไม่กี่ตัว มันไม่เสียหายอะไร แต่ว่าในธรรมชาิติของมันมีน้อยอยู่แล้ว แถมมีอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มากเสียด้วย ดังนั้นการจะทำอะไรก็ต้องระมัดระวัง หากจะเก็บตัวอย่างมาจากธรรมชาติ ก็ต้องเตรียมพร้อมและมั่นใจว่าใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ไม่ใช่เก็บมาแล้วไม่ได้ใช้อย่างที่ตั้งใจ มันจะเป็นการสูญเปล่า บางครั้งต้องจับตายด้วยแล้ว ปลามันก็ตายฟรี ไม่ได้ประโยชน์อะไร
สุดท้าย ถ้าคุณเจ้าของกระทู้มีข้อสงสัยอะไร หรืออยากให้ช่วยเหลืออะไรเป็นการส่วนตัว ก็ยินดีช่วยให้ข้อปรึกษาครับ เมลล์ผมคือ ffissoj@เคยู.ac.th มาช่วยกันคิดช่วยกันทำ วิทยาการมันจึงมีความเจริญมีก้าวหน้ากันนะครับ
ความเห็นที่ 10.1.1
ความเห็นที่ 10.1.2
ความเห็นที่ 11
ส่วนใหญ่มันหายจากแหล่งน้ำ มันเกิดจากไอ้มนุษย์ทุกคนที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อโทรมนี้หละ ปลาบู่ผม หลายๆ แหล่งน้ำก็หายไปดื้อๆ เพราะสภาพน้ำไม่อำนวย พูดแล้วเหนื่อยใจ
จะเพาะไปปล่อยคืน ก็ทำไม่ได้ เพราะต้องฟื้นสภาพแหล่งน้ำให้ดีก่อน (แต่ยากเหลือเกิน TT)
ความเห็นที่ 11.1
ความเห็นที่ 11.2
ความเห็นที่ 12
ความเห็นที่ 12.1
ไม้ทำลายป่า ก็ด้วยครับเหมือนดั่งเช่นภาคใต้ที่ถางป่า ถางเขามาทำสวนยาง ทำพืชไร่ ปลูกปาล์ม
ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของ น้ำท่วมและหน้าดินพังทลายอีกด้วย
ความเห็นที่ 12.1.1
ฝาย = ดักตะกอน ตะกอนเล็กๆ สะสมๆหน้าฝาย ระดับดินเปลี่ยนไป ร่องน้ำหายไป (ตื้นขึ้นตามระดับฝาย)
ตะกอนหนักมาก เต็มฝายไปหมด ฝายฝืนยันไว้ อย่างผิดธรรมชาติ (ยังไม่รวมทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่างๆ) ฝายไม่ได้มีไว้กักน้ำอีกแล้ว มีแต่ตะกอน
วันหนึ่ง ฝาย สิ่งก่อสร้างของมนุษย์อันนี้ ก็หมดถึงเวลาอายุ โดยที่ไม่เคยมีใครไปเอาตะกอนออกเลย
และวันหนึ่ง ฝนก็ตกหนัก ดินแถวนั้นอุ้มน้ำเต็มหมด ความแข็งแรงต่างๆก็เปลี่ยนไป ฝายที่หมดสภาพ ก็ถึงเวลาปลดปล่อยน้ำหนักทั้งหมดที่มันอุ้มไว้ ว่าไปก็เหมือนชนวนระเบิด พอมันลงมาแล้ว อะไรๆก็รับไม่ไหว ดินก็ถล่มต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ลงสู่สมดุลย์อย่างที่มันควรจะเป็นไปตามธรรมชาติ
ใครเรียนเทอร์โมไดนามิกมาบ้าง ก็ประมาณว่าสุดท้าย จุดสมดุลย์มันอยู่ที่กีบเอนเนอจี้ = 0 ไม่บวกไม่ลบ
ล่าสุด ผมพึ่งไปดินบนดินผืนหนึ่ง เหมือนหาดน้ำตื้นๆ ระดับน้ำสูงเท่าข้อเท้า ซึ่งจริงๆแล้วมันคือด้านหน้าฝายที่สูงนับสิบเมตร (น่าจะเรียกเขื่อน) ฝายนี้แข็งแรงและใหญ่มาก ปลาด้านล่างหมดสิทธิ์ขึ้นมาวางไข่ที่่ต้นน้ำแน่นอน
ตะกอนสะสมกันจนเสมอระดับฝาย ไกลไปจนถึงหน้าแง่งหินน้ำตก (แปลว่าเดิมทีน้ำตกคงสูงอยู่เหมือนกัน) ไกลไปจากสันฝายสักห้าสิบเมตร คิดแล้วก็น่าตกใจอยู่ว่า มันดักตะกอนไว้ขนาดนี้ เมื่อถึงวันนั้น จะเป็นอย่างไร
ความเห็นที่ 12.1.1.1
ความเห็นที่ 12.1.1.2
ความเห็นที่ 13
ความเห็นที่ 13.1
ความเห็นที่ 13.1.1
กดด้วยคน น้องปอเฉพาะถิ่นไม่รู้จะเป็นอย่างไรบ้าง...
ความเห็นที่ 13.2
กดlike อีก 1เสียง...มาช้าไปเล็กๆน้อย แอบสงสัยว่าน้องเจ้าของกระทู้นี่ใครหว่า?? ใช่ไผ่รึเปล่า?
ถ้ามีอะไรให้ช่วยก็บอกได้เน้อ ^^