ตัวอะไรอยู่ในรู

มีเวลาว่างๆ เลยออกเก็บตัวอย่างฟองน้ำน้ำจืด ใกล้ๆที่ทำงาน ก็พบกับเจ้านี่อาศัยอยู่ในฟองน้ำมากมาย พอนำมาแยกเลี้ยงในตู้ปรากฎว่าเค้านำโคลนและตะกอนพื้นตู้มาสร้างรังแทนฟองน้ำ (อิงกระแสบ้านดินในปัจจุบัน)

Comments

ความเห็นที่ 1

เนื่องจากตัวเค้ามีขนาดเล็กมาก และน้ำค่อนข้างขุ่น ขออภัยถ้าภาพไม่ชัด มาดูกันว่าเค้าคือตัวอะไร
เริ่มออกมาจากรูแล้ว หน้าตาประหลาด เริ่มเก็บตะกอนรอบๆตัวกิน มองมุมนี้คล้ายจิ้งหรีดแฮะ แต่มีก้ามเหมือนกุ้งปู ตัวเป็นปล้องๆ ลำตัวแบนข้าง เหมือนพวกที่พบในทะเลเลยหน้าตาคล้ายๆแบบนี้ อ่อ เค้าคือแอมฟิพอด (Amphipod) นี่เอง ส่งสารไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าแม่กุ้งเต้น ได้ความว่าเค้าชื่อ Grandidierella gilesi

ความเห็นที่ 2

ส่วนรายละเอียดของพวกเค้า รวมถึงวิถีความเป็นอยู่ คงจะต้องเชิญเจ้าแม่ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้มาบรรยายให้ฟังเมื่อมีโอกาสครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามชม

ความเห็นที่ 3

surprise เพิ่งเคยเห็นครับ!! ได้ยินแต่ชื่อมานาน ตัวจริงเป็นแบบนี้นี่เอง

ความเห็นที่ 4

นี่ถ้ามันสร้างฝาด้วยจะเป็น amphipod trapdoor คงแปลกดี
ในรูปมีไบโอซัวด้วยใช่ไหมค่ะ

ความเห็นที่ 4.1

ใช่แล้ว ท่อๆในรูปคือ Bryozoa น้ำจืดจ้า

ความเห็นที่ 4.1.1

ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Dr. Tim ว่าไบรโอซัวในภาพเป็นชนิด Plumatella bombayensis ครับ

ความเห็นที่ 5

น่ารักๆ

ความเห็นที่ 6

เพิ่งเคยเห็นแหล่งอาศัยมันขอรับ รอพี่ออมมาบรรยายครับ

ความเห็นที่ 7

เห็นแล้วไม่อยากให้มันอยู่ในตู้ปลาเลย กลัวมันดูดเลือดปลา ฮ่าๆๆ

ความเห็นที่ 7.1

อันนั้นน่าจะพวกไอโซพอดนะ

ความเห็นที่ 8

เจ้าตัวนี้อยู่ในน้ำจืดเหรอครับพี่?

ความเห็นที่ 9

ท่านมนุษย์กรวยจุดธูปเรียกให้มาดูกระทู้นี้ เห็นแล้วใจละลาย เพราะถ่ายมาได้ชัดเจนเหลือใจ

กุ้งเต้นสกุล Grandidierella นั้นถือเปนกุ้งเต้นสามัญแถบชายฝั่ง โดยมีรายงานตั้งแต่ที่จืดสนิทไปจนถึงทะเลสาบน้ำเค็มที่ความเค็มสูงถึง 50 psu (ความเค็มน้ำทะเลจะอยู่ที่ประมาณ 30-35) แต่ในชนิดนี้จะมีรายงานในเขตน้ำกร่อยๆ ตามแถบชะวากทะเล Grandidierella gilesi มีการตีพิมพ์ครั้งแรกที่ทะเลสาบ Chilka ประเทศอินเดียในปี 1921 และมีรายงานต่อมาที่เกาะนาตรังประเทศเวียดนาม และมีรายงานอีกครั้งที่มาดากัสการ์ (ไปไกลเหมือนกันนะ) ในบ้านเราก็มีรายงานในทะเลสาบสงขลา ตั้งแต่ทะเลหลวงมาจนถึงบริเวณชายฝั่ง
Grandidierella gilesi ตัวผู้ Grandidierella gilesi ตัวเมีย

ความเห็นที่ 10

ลักษณะเด่นของกุ้งเต้นสกุลนี้คือก้ามคู่ที่ 1 และ 2 จะมีขนยาวรุงรัง ตัวผู้จะมีก้ามแบบ carpochelate ที่ใหญ่มาก และ uropod คู่ที่ 3 จะมี  rami แฉกเดียว ส่วน rami จะยาวกว่า peduncle มากๆ
ก้ามคู่ 1 ของตัวผู้

ความเห็นที่ 11

การกินอาหาร เจ้าพวกนี้ส่วนใหญ่จะสร้างท่อ แล้วเอาท่อไปแปะกับวัสดุอื่นๆ ท่อของเจ้ากุ้งเต้นสกุลเดียวกัน Grandidierella bonnieroides นี้เรียกว่า detritus-blankket tube ท่านว่าไว้ว่ามันจะขุดลงไปใต้เศษใบไม้แลขยะ ดึงขยะเหล่านั้นขึ้นมาเหมือนผ้าห่ม ปล่อยสารออกมาจากต่อมบริเวณขาคู่ที่ 3-4 เพื่อจะยาเอาเศษใบไม้แลโคลนเข้าด้วยกันจนกลายเป็นท่อเล็กๆ รอบตัวมัน อิฉันเคยแอบฉีกท่อของมัน ก็เปนงานศิลปะชั้นเลิศ เรียบเนียนทีเดียว

ในรูปเป็นภาพท่อของ Grandidierella bonnieroides ตอนแรกตัวเมียสร้างท่อก่อน หลังจากนั้น ลุง Barnard ก็ปล่อยตัวผู้ลงไป ตัวผู้ก็ลงไปไล่ตัวเมียแล้วตัวเมียก็หนีออกมาสร้างท่อใหม่ข้างบน
grandidierella_bonnieroides.jpg

ความเห็นที่ 12

ลักษณะเวลามันอยู่ในท่อ ด้านขวางและด้านยาว มันจะใช้ขาว่ายน้ำตรงส่วนท้องโบกกระแสน้ำและใช้ขาหน้าสองคู่สานเป็นตะแกรง ดักตะกอน รูปนี้เป็นแอมฟิพอดชนิด Corophium bonnellii
corophium_bonnellii.jpg

ความเห็นที่ 13

มีเรื่องสนุกๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างท่อของกุ้งเต้นอีกหลายๆ ชนิด นักวิทยาศาสตร์ถือว่าพฤติกรรมสร้างท่อเป็นลักษณะสำคัญที่ใช้ในการจัดกลุ่มได้เป็นอย่างดี เพราะกุ้งเต้นแต่ละสกุลก็มีการสร้างท่อในแบบต่างๆ กัน บางชนิดหัวหมอไปอาศัยท่อของไส้เดือนทะเลหรือแอมฟิพอดตัวอื่นๆ ก็มี หรือบางชนิดเอาเศษท่อของเพื่อนๆ มาปะติดปะต่อสร้างเป็นบ้านใหม่ก็มี หรือในรูปนี้เป็นรูปกุ้งเต้นชนิด Cerapus murrayae สร้างท่อจากเศษใบไม้ เวลาว่ายน้ำก็พาท่อว่ายไปด้วยกันตลอด ขอผลัดไว้ยามปลอด จะมาเล่าสู่เรื่องท่อของกุ้งเต้นให้ฟังเจ้าค่ะ

เอกสารอ้างอิง
Barnard, J.L., Sanved, K., & Thomas, J.D. 1991. Tube-building behavior in Grandidierella, and two species of Cerapus. Hydrobiologia, 223, 239-254.
 
Dixon, I. M T. and P. G. Moore. 1997. A comparative study on the tubes and feeling behaviour of eight species of corophioid Amphipoda and their bearing on phylogenetic relationships within the Corophioidea. Philosophical Transactions of the Royal Society of London B 352:93112.

Lowry, J.K.; Berents, P.B., 2005. Algal-tube dwelling amphipods in the genus Cerapus from Australia and Papua New Guinea (Crustacea: Amphipoda: Ischyroceridae). Records of the Australian Museum 57(2): 153-164.
cerapus_murrayae.jpg

ความเห็นที่ 14

yes สุดยอด มิน่าถึงมาตอบช้า รวบรวมข้อมูลได้ละเอียดเลย

ความเห็นที่ 15

น่าสนใจมากเลยครับ
สุดยอดด ท่านพี่ ^^

ความเห็นที่ 16

ข้อมูลสุดยอดเลยพี่ออม

ความเห็นที่ 17

ข้อมูลสุดยอดเลยพี่ออม

ความเห็นที่ 18

ขอบคุณพี่ออมมากครับ ที่เข้ามาให้ความรู้ในครั้งนี้

ความเห็นที่ 19

ภาพชัด ยิ่งกว่า ซัมซุง แอลอีดี ซะอีก ขอบคุณมากครับ ได้เห็นจะ จะ ก็วันนี้ นี่เอง

ความเห็นที่ 20

น้ำจืดหรือครับนี่?  ไม่เคยรู้เลยว่าเรามีตัวแบบนี้ในน้ำจืดด้วย เดี๋ยวไว้แวะเข้าไปดูตัวจริงบ้างดีกว่า

ความเห็นที่ 21

ภาพชัดแจ่ม ข้อมูลประกอบเยี่ยม ขอบคุณสำหรับของฝากและความรู้ดี ๆ ครับ (^^)

ความเห็นที่ 22

ตลาดวายแล้วยังหว่า ขอบคุณน้องจูนด้วยเช่นกัน เพราะพี่ก็มีแต่รูปตัวอย่างตายๆ (ทำให้ตายง่ายกว่าเลี้ยง) ภาพเป็นๆ อย่างนี้หายาก

เอารูปวาดขาสองคู่แรกมาฝากค่ะ
grandidierella_gilesi_gnathopod.jpg

ความเห็นที่ 23

จากรูปวาดจะเห็นได้ชัดกว่ารูปถ่าย คือตัวผู้จะมีขาคู่ที่ 1 ใหญ่กว่าตัวเมียมากๆ และขาคู่ที่ 2 ของทั้งตัวผู้ัตัวเมียจะเหมือนกัน มีขนยาวยุบยั่บ ตอนที่ได้ตัวอย่างจากจูนมาก็ยังเห็นเศษอาหารที่มันกินติดอยู่ตามขนขาเต็มไปหมด กุ้งเต้นจะใช้หนวดกับรยางค์ปากส่วน mandible ที่มีลักษณะคล้ายๆ หวี ค่อยๆ สางอาหารจากขา่ก่อนจะนำเข้าปาก

ความเห็นที่ 24

ตามอ่านอยู่จ้า