สำรวจ หนึ่งย่าน ชายแดนตะวันตก

อาทิตที่ 3 เมษา   ผม ปอ ดิว นำทีมโดยครูเล็ก  ก็ได้เดินทางไปสู่หมายต่างๆตามที่ครูเล็กหมายตาไว้
ดูจากสมาชิกที่ไป ไม่ต้องบอก ผมรู้ว่า ทริปนี้ คงจะสำรวจแมลงปอกันจริงจัง

เช้าวันแรก ไล่กันตั้งแต่หลังบ้าน แวะบ่อน้ำพุร้อน ไปจนจบวันที่ อช ไกลๆ

ฝีมือ 4WD ของครูเล็กนั้น ขั้นเทพทีเดียว แถมด้วยฝีมือทำอาหารอีกต่อ เลยสุขกันถ้วนหน้า

Comments

ความเห็นที่ 1

ระหว่างเดินกลับเจอกิ้งก่าสองตัว เก็บภาพมาฝากด้วย
1 2

ความเห็นที่ 1.1

อู๊ดอยากได้ภาพหัวชัดๆ  crop ให้ได้เท่านี้แหละ 100% ละ
หัว crop 100%

ความเห็นที่ 2

ตกบ่าย ที่ อช

ปอ เรียกให้ดู Ceriagrion indochinense แมลงปอเข็มสีพื้นอินโดจีน ทีแรกแอบดีใจ แต่มันเป็น Vestalis gracilis แมลงปอเข็มน้ำตกใหญ่ธรรมดา ตัวต่อละมั้ง บินเข้าบินออกปลายท่อนไม้ผุ ฝาย ถี่มากๆๆ ROAD KILL

ความเห็นที่ 2.1

คนที่ขับเหยียบผีเสื้อนี่ก็ทำไปได้เนอะ

ความเห็นที่ 3

แล้วครูเล็กก็พาลุย 4WD ขึ้นไป
โอ๊ะๆๆ หางติ่งปารีส ชอบยิ่งนัก ไม่คอ่ยเจออะไร มีแต่ผีเสื้อกินโป่ง แถมอยู่ที่มืดๆตลอด

ความเห็นที่ 4

และแล้วก็ถึงเวลายามค่ำ หลังอิ่มเอมกับอาหารฝีมือครูเล็ก เราก็เดินย่อยกันสักหน่อย

ว่าแล้วก็ขอหยุดโพสไปนอนก่อน แล้วมาต่อพรุ่งนี้ กับวันจันทร์ที่ 4 เมษา นะขอรับ


กวิวัฏแจ้งไว้ใน FB ว่า ด้วงงวงโบราณวงศ์ Brentidae สีสวยจริงจัง จิงโจ้น้ำ wolf spider แมลงอีนูน ตั๊กแตนกิ่งไม้ อีกตัว เขียดจะนา ผีเสื้อกินซาก ด้วงดิน ฝูงแมลงวัีนตาห่าง แปดขาเหมือนกัน จิ้งหรีดถ้ำ ? ใหญ่มาก   กลางวันอยู่ในโพรงไม้

ความเห็นที่ 5

ตั๊กแตนกิ่งไม้การเวกสวยมากครับ ><

ความเห็นที่ 6

ผาแดงเหรอครับ??? 

คราวหน้าครูเล็กต้องชวนผมบ้างแล้วครับ

ปูน้อยในภาพรองสุดท้ายเจอหลายตัวหรือเจอตัวใหญ่ไหมครับ?  กำลังสงสัยว่าเป็นปูเจ้าฟ้าวัยละอ่อน

ตาเขียวถ่ายภาพงามขึ้นทุกวันนิ

ความเห็นที่ 6.1

เห็นดิวถ่ายๆอยู่นะครับ อาจมีหลายมุม
อีกมุม มีหลายตัว แต่ไม่ได้ถ่าย ตัวนี้อยู๋อีกลำธารใกล้ๆกัน น่าจะต่อกัน ตัวนี้อยู่บนบกใกล้ๆลำธาร ตัวนี้คงจะปลากั้ง

ความเห็นที่ 6.2

เอามาใส่เพิ่มเติมให้ครับ

1 2

ความเห็นที่ 6.2.1

ปูสกุล Demanietta ทั้งหมด ยกเว้นลูกปูที่ไม่แน่ใจว่าเป็นกลุ่มใหน

ความเห็นที่ 6.2.1.1

สกุลนี้จะเรียกปูหิน หรือปูห้วย หรือปูน้ำตกดีครับ หรือใช้ได้ทั้งหมด

ความเห็นที่ 6.2.1.1.1

เหมือนจะเคยได้ยินว่าปูหินครับ กว้างกว่าก็เป็นปูน้ำตก (แต่ปูหินแต่ละถิ่นก้ใช้เรียกปูหน้าตาต่างกัน)

ความเห็นที่ 7

หาคนมารีวิวกลุ่มจิ้งหรีด(หรือจิ้งโกร่ง)ถ้ำอยู่นะเนี่ย มีความหลากหลายขั้นเทพเลย ชนิดใหญ่ที่สุดที่เคยเจอก็ประมาณ 2 นิ้วได้เลย

ความเห็นที่ 8

และแล้ว ก็ถึงเช้าวันจันทร์ หลังกินอะไรกันเสร็จ ก็เริ่มออกเดินทางกันต่อ แล้วไปแวะริมเขื่อน
ปลุกกระแส ไม่ล้างภาชนะในลำธาร ตักมาล้างข้างบนกัน น้ำก็ทิ้งกันข้างบน ให้มันย่อยสลายไป อันนี้ชอบ มันชื่ออะไรครับ แมลงค่อมทอง Urothemis signata แมลงปอบ้านกลางหางแต้ม แมลงปอเสือลายประดับ น่าจะเป็น Aciagrion borneense แมลงปอเข็มเรียวปลายฟ้า Orthetrum sabina sabina   เหลือบไปเจอเจ้านี่กำลังจุ่มไข่ Potamarcha congener  แมลงปอบ้านทุ่งขนเทา

ความเห็นที่ 8.1

จอกหูหนู เป็นพืชน้ำกลุ่มเฟิร์น

ความเห็นที่ 8.1.1

โอ๋ มันเป็นเฟิร์นด้วย
ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 8.1.1.1

แต่มันคือเอเลี่ยนด้วยครับ

ความเห็นที่ 8.1.1.1.1

Salvinia cucullata เป็นเอเลี่ยนด้วยหรือครับ น่าจะหมายถึงจอกหูหนูยักษ์นะครับที่เป็นตัวปัญหา ส่วนเจ้าตัวนี้ เห็นมีคนใช้ชื่อปะกิตว่า Asian Watermoss

ความเห็นที่ 8.1.2

จอกหูหนูอยู่ใน si http://www.siamensis.org/species_index#3175--Species: Salvinia cucullata

ความเห็นที่ 8.2

ขอ O. sabina ลง SI นะครับของเดิมไม่สวย

ความเห็นที่ 8.2.1

ลงไปหลายๆภาพเลยครูนก อิอิ พวกกบเขียด ตอนไหนว่างๆ ผมเอาไปแปะเพิ่มไว้เต็มไปหมด จะได้มีหลายมุมภาพ

ความเห็นที่ 9

จากนั้นก็เดินทางไปอีกฝาย . . . . หรือเขื่อนก็ไม่ทราบ เพราะใหญ่มาก สูงหลายเมตร
ด้านหน้าฝายมีตะกอนกักไว้เต็มถึงระดับสันฝาย ผมเดินจากสันฝายเข้าไปในเรือยๆจนถึงลำธาร น่าจะเกือบร้อยเมตร (ตะกอนสูงหลายเมตร ยาวเกือบร้อยเมตร)

แน่นอนว่า เมื่อฝายแห่งนี้ ถึงเวลาหมดอายุ . . . . . เราคงจะได้เห็นข่าวแผ่นดินถล่มกันอีกครั้ง
.
ด้วยความพยายามเกือบชั่วโมง . . .Paragomphus capricornis แมลงปอเสือผู้หางขอ Onychothemis testacea แมลงปอบ้านป่าวงลาย Libellago lineata แมลงปอเข็มธาราลายเส้น Heliocypha biforata แมลงปอเข็มน้ำตกสั้นผู้วงม่วง กำลังชิงดินแดนกันอยู่ (โดยมีผมแอบดูอยู่หลังก้อนหิน) เดินเลาะลำธารไปในป่า เจอกับ Tetrathemis platyptera แมลงปอบ้านสี่แต้มเหลือง ตาสวยมากๆ Neurothemis fulvia เจอกี่ทีก็ต้องถ่ายทุกครั้ง Orthetrum glaucum แมลงปอบ้านเสือฟ้าหน้าดำ ครั้งแรกที่ได้ภาพด่ีๆของเจ้าตัวนี้

ความเห็นที่ 9.1

บ้านสี่แต้มเหลืองตาโต สีฟ้าสดดีจริงๆ ตัวนี้น่ารักสุดๆ มองไม่ดีอาจคิดว่าเป็นแมลงปอเสือได้เลย

ความเห็นที่ 10

ระหว่างเดินเข้าไป ผมเจอรอยกีบ กับรอยอุ้งเท้าข้างลำธาร แอบกลัวนิดๆ ว่าแถวนี้อาจมีอะไรมาจู่โจมเราได้นะเนี่ย (ถ้าไปใกล้บ้านมัน)

เดินไปอีกไม่กี่เมตร เจอกระดูกกรามสัตว์ เล่นเอาสะดุ้ง กลัวจะเอากระดูกผมมาทิ้งไว้คู่กัน

กรามใครเอ่ย?
.
กระดูกกราม ข้างลำธาร

ความเห็นที่ 10.1

น่าจะกรามหมูป่านะ

ความเห็นที่ 11

แถมผึ้งหนึ่งตัว เผื่อมีใครสนใจ
.
ผึ้ง?

ความเห็นที่ 11.1

พี่ว่าเหมือนต่อมากกว่านา

ความเห็นที่ 11.2

น่าจะเป็นตัวนี้ แตนใหญ่ปลายจาง Rhynchium brunneum brunneum (Fabricius, 1793) Pale solitaire wasp

ความเห็นที่ 12

และแล้วก็มืดลงอีกครั้ง พร้อมความเมื่อย (หลังๆเริ่มไม่พกกระเป๋ากล้องละ เอาเลนส์เทเลไปตัวเดียวพอ หมดแรง)

ค่ำนี้ก็ได้กินอาหารฝีมือครูนกกันอีกครั้ง อิอิ น้ำจิ้มฝีมือครูนก อร่อยขั้นเทพ !!

ระหว่างพักผ่อนกัน ฝนก็เริ่มปรอยลงมา หลังจากที่มีเสียงขู่คำรามมาตั้งแต่บ่ายๆ

โชคดีที่ อช นี้ เรากางเต้นกันในศาลา . . . วันนี้ดูเหมือนกว่า ทั้งป่า มีเราอยู๋กลุ่มเดียว เงียบดีจริง

.
ตั๊กแตนตำข้าวหน้าตาประหลาด บินมาเกาะที่ศาลา ดิว โจ อู๊ด ว่าน่าจะเป็น Paratoxodera cornicollis ที่อยู่ทางมาเลย์ แมลงกิ่งไม้อีกที ฝากไอดีด้วยนะ แมงป่องตัวเล็กๆ อยู่ตามซอกแนวไม้รอบศาลา อู๊ดแจ้งว่ามันคือ Lychas mucronatus กิ้งกือขาวๆ ออกมาเดินประปราย

ความเห็นที่ 12.1

#3 ตั๊กแตนกิ่งไม้การเวก(Asceles artabotrys)ครับ

ความเห็นที่ 12.1.1

ขอบคุณครับผม

ความเห็นที่ 13

ฝนเริ่มซา ก็เริ่มออกเดินกันนิดหน่อย พอย่อยอาหาร
สักพัก ท่านปอก็เหลือบไปเจอตั๊กแตนตำข้าวอีกตัว -- Ambivia undata ท่าพรางตัว อึ่งอ่าง อยู่บนรอยผุของไม้ สูงจากพื้นสองเมตร กิ้งกือมีแถบเหลืองกลางหลัง หลังจากเปิด Beetles of Thailand 2nd ก็คิดว่าน่าจะเป็น Olenecamptus dominus ปาดบ้านมั้ง ผีเสื้อกลางคืน พึ่งออกจากคราบเลย ฝากไอดีด้วยครับ เพลี๊ยกระโดด ?

ความเห็นที่ 14

เช้าวันที่ 5 เมษา มือเช้าฝีมือครูเล็กอีกแล้ว

จากนั้นเราก็เดินข้ามลำธาร ไปเลาะฝั่งตรงข้าม สำรวจแมลงปออีกรอบ ทำสำคัญลำธารนี้ ไม่มีฝายใหญ่ๆ !!! (แต่เหมือนจะมีหินมากองๆขวางลำน้ำอยู่บ้าง) ระบบนิเวศจึงไม่เสียหายนัก ลำธารสมบูรณ์สวยมากๆ

ไม่ได้เห็นอาทิตย์ขึ้นมานานมาก แมลงปอเสือแอ๊บบอท Megalogomphus icterops แมลงปอเสืออกเขี่ยวคาดแดง  รายงานครั้งที่สามของประเทศ (ใช่ไหม) แมลงปอเสือครูเจอร์ Gomphidia kruegeri โชคดีมาเกาะข้างๆ เลยถ่ายลายปีกมาฝากได้ชัดๆ แมลงปอเข็มธาราลายเส้น ตีกัน คู่นี้ก็ตีกันเป็นพักๆ

ความเห็นที่ 14.1

เจ้าแมลงปอเสือยักษ์เขียวคาดแดงเป็นรายงานครั้งที่ 3 ครับ แต่พวกเราเป็นคนพบคนที่ 3-6 เอิ๊กกก

ความเห็นที่ 15

ระหว่างเดินกลับ ผมมองแต่ริมลำธารมาตลอด จนถึงช่วงหนึ่งที่หันไปมองทาง ก็เจอกับฝูงนกยูงที่มีตัวเมียหลายตัว กับตัวผู้หนึ่งตัวกำลังอวดแพนหางอยู่

ตอนนั้นตกใจเลย เพราะไม่นึกว่าจะดวงดีขนาดนี้


.
. . นกยูงพวกนี้ค่อนข้างเชื่อง ไม่กลัวคน น่าจะเพราะทาง อช คอยให้อาหารอยู่ครับ จริงๆเมื่อเช้า ก็มีฝูงหนึ่งมาเดินๆรอบศาลาทีแล้ว แต่ไม่ได้ถ่ายเพราะสนามหญ้าแบบสนามกอร์ฟ เห็นแล้วหมดอารมณ์ว่าอยู่ อช นะเว้ยเฮ้ย .จุดที่ถ่ายนี่อยู่ริมลำธาร เป็นลานกว้างพอสมควร ซึ่งก็เหมือนกับที่เคยอ่านมาว่า นกยูงตัวผู้จะเลือกพื้นที่ริมลำน้ำที่เป็ฯหาดทรายโล่งๆ แผ่หางสั่นหาง อวดสาว . ทีแตกผมซุ่มถ่ายสุดฤทธิ์ แต่พอขยับเข้าไปเรือ่ยๆๆๆๆ ปรากฏว่า จนมันเห็นผมแล้วมันก็ไม่กลัว เลยไม่ต้องซุ่มมาก เดินไปช้าๆ นั่งถ่ายเลย ห่างไปไม่กี่เมตร

ความเห็นที่ 15.1

ถ่ายกันสนุกมือเลย ภาพสวยๆเพียบ

ความเห็นที่ 15.2

ภาพนกยูง นี่จัดจ้าน คมกริบ บาดอารมณ์ให้คล้อยตามจริง ๆ ครับ

ความเห็นที่ 15.3

สวยมากกกก ถึงมากที่สุดครับ laughyes

ความเห็นที่ 15.4

นกยูงอินเดีย...นกเลี้ยงครับ

ความเห็นที่ 16

และแล้วก็เดินทางกลับแวะหมายข้างทางอีกนิดหน่อย
ซึ่งก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะแมลงปอเยอะ เป็นลำธารรกๆ
มีปลาด้วย ข้างตัวมีลายสีดำคาดตามยาว

ทริปนี้ผมสังเกตุเห็นอีกสิ่งก็คือ แมลงปอที่เคยเจอมาตั้งแต่เริ่มท่องธรรมชาติตั้งแต่หลายปีก่อน มักเจอเป็นพวกๆ เช่นถ้าเจอตัวนี้ ก็มักจะตัวนั้นตัวนู้นด้วย

แมลงปอบ้านเสือหน้าขาว Orthetrum luzonicum ตัวผู้ Trithemis festiva ปกติผมจะตามลำธาร น้่ำไหล มีแก่งหิน หรือกรวด แมลงปอบ้านเสือสามเหลี่ยม Orthetrum triangulare แมลงปอบ้านเสือสีเลือดนก Orthetrum chrysis

ความเห็นที่ 16.1

พวกปลาค้ออ่ะครับ ค้อตาหนามมั้ง ไม่แน่ใจ เพราะหลังลายๆ กลางตัวมีแถบตามยาว
พอดีติดหล่มโคลนไปก่อน เลยไม่ได้ถ่ายรูป

ความเห็นที่ 16.1.1

ปลาค้อตาหนามไม่น่าโผล่ทางนั้นครับ ตัวที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดคือ ค้อโรเบิร์ท

http://www.siamensis.org/species_index#6087--Species:%20Schistura%20robe...

ความเห็นที่ 16.1.1.1

น่าจะเป็น Nemacheilus นะครับ พี่นณณ์

ความเห็นที่ 16.1.1.1.1

ที่พบบ่อยๆในไทย SI มีภาพครบแล้วครับสกุลนั้น ต้องลองไปดูเองแล้วหล่ะ แต่ค้อโรเบิร์ทจริงๆก็มีความใกล้เคียงกับกลุ่ม Nemacheilus เพราะหนวดค่อนข้างยาวครับ

ความเห็นที่ 17

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณครูเล็กเป็นอย่างสูงครับ
ทั้งขับรถตลุยเข้าไป ทั้งทำกับข้าว ทั้งขนเต้นมาให้อีก
แถมด้วยนำสู่หมายงามๆหลายแห่ง

ถ้าไม่มีครูเล็ก ทริปนี้ไม่มีทางเกิดครับ
และขอบคุณท่านดิวและปอ สำหรับความรู้ด้านแมลงปอศาสตร์ด้วยครับ



ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามชม
.
.

ความเห็นที่ 18

เต็มอิ่มพะยะค่ะ!  ภาพสวยมากเลย ท่านพี่ 
ชอบภาพนกยูงและภาพอื่นๆ มากเลยขอรับ (โลภไหมเนี่ย 555)

ความเห็นที่ 19

อิ่มแทบไม่ต้องกินข้าวเที่ยงเลย ทริปนี้เจอเยอะสะใจจริงๆ

ความเห็นที่ 20

นกยูงไม่ค่อยเหมือนนกยูงไทยเลยครับ..มันเป็นพันธุ์ไทยหรือพันธุ์อินเดีย

ความเห็นที่ 20.1

พันธุ์อินเดียครับ

ความเห็นที่ 20.2

อินเดียกระจุกขนบนหัวบานออกเป็นพัด ไทยเป็นแบบมุมแหลมไปทางปลายกระจุก

ความเห็นที่ 20.3

คุณสุเมธบอกใน FB ว่า
"เป็นนกยูง Hybrid ระหว่างนกยูงอินเดียกับนกยูงบ้านเรา"

ความเห็นที่ 21

นกยูงสวยมากครับ

ดีใจที่ยังมีอยู่ในธรรมชาติ

ความเห็นที่ 21.1

ระวังเป็น Invasive Alien ล่ะ

ความเห็นที่ 22

โห งามขนาด เต็มอิ่ม จุใจ เบื้องหลังภาพนี่ไม่ใช่ง่ายๆเลยกลุ่มแมลงปอเนี่ย นับถือ

ความเห็นที่ 23

สุดยอดๆๆ ทุกภาพครับ ขอบคุณครูเล็กและพี่ๆทั้ง 2 ครับ ที่ได้ไปเดินทางด้วยกัน
และได้อิ่มท้องกับอาหารอร่อยด้วยกัน ^^

ความเห็นที่ 24

แมลงปอสวยมาก....
....ไม่เจอhoya เลยนะค่ะ

ความเห็นที่ 24.1

เหมือนครูเล็กจะเจอนะครับ แต่ไม่รู้ได้ถ่ายไว้ไหม

ความเห็นที่ 24.2

เป็น Hoya ใบหัวใจเป็นส่วนมากเพิ่งเริ่มแตกตาดอก ยังไม่บาน ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ครับ

ความเห็นที่ 25

ถ่ายภาพสวยมากครับบ ได้ความรู้แมลงปออีกตรึม
สุดยอดจริงๆครับ

ความเห็นที่ 26

งามมากท่านพี่ โดยเฉพาะนกยูง ^_____^

ความเห็นที่ 27

ดูกันเพลินไปเลย ทริปนี้หนุกหนานยิ่งนัก

ความเห็นที่ 28

รูปสวยมากครับ ใช้กล้องอะไรเหรอครับ
รูปสุดท้าย คล้องคอด้วย pentaxรุ่นไหนครับ แล้วเลนส์ macro 100 ไหมครับ

ความเห็นที่ 28.1

canon 450D
กลางวัน 70-300 APO DG iso 400-800
กลางคืน 100macro กับแฟลชแยก iso 200

ทริปนี้เป็นรูปชุดสุดท้ายที่ถ่ายด้วยกล้องตัวนี้ละครับ


ส่วนน้องแป้นของครูเล็กต้องรอให้ครูเล็กแถลงไขครับ

ความเห็นที่ 28.1.1

อ้าวท่าน แล้วจะเปลี่ยนเป็นตัวไหนล่ะเนี่ย

ความเห็นที่ 28.1.1.1

ตัวที่เราคุยกันไงพี่ อิอิ

ความเห็นที่ 28.2

ของครูเล็กที่เห็นคล้องคอคือ Pentax K10D เลนส์ FAJ 75-300
ส่วนเลนส์ macro ของ Pentax ก็มีเป็น macro 100 นั่นแหละ ไม่มีปัญญาเอามาใช้เพราะค่อนข้างแพง มีแต่ของSigma macro 105 แต่ไม่ได้เอามาใช้ในทริปนี้เลย

ความเห็นที่ 29

ดูเพลิน อ่านเพลิน หมดตอนไหนไม่รู้ตัว

ความเห็นที่ 30

ดูแรกๆนึกว่าทริปแมลงปอ พอเห็นรูปนกยูงรำแพนหางแล้วซี๊ด!!! งามจับใจจริงๆค่ะ ^^