Domestication?(จาก NationalGeoฯ เล่มล่าสุด)
เขียนโดย Snakeeater Authenticated user เมื่อ 13 เมษายน 2554
มีใครได้อ่านแล้วบ้างครับ? เนื้อหาก็ประมาณว่า ในสมัยก่อน สัตว์บางตัวมีความแปรผันในกลุ่ม ทำให้มันกลัวมนุษย์น้อยลง เริ่มเข้ามาหากินกับมนุษย์มากขึ้น ต่อมามนุษย์เล็งเห็นผลประโยชน์ของสัตว์พวกนี้(บางชนิด)เลยเอามาเลี้ยงไว้ใช้สอย แต่ปัจจุบันสามารถคัดพันธุ์แบบตรงๆ ทำให้มันสามารถเร่งระยะเวลาทางพันธุกรรม กลายเป็นสัตว์เชื่องได้เร็วขึ้น
ข้อสงสัยคือ
1) สัตว์บางชนิดอย่างควายบ้านของไทย ช้างบ้านของไทย มีความแปรผันกับประชากรที่เป็นสัตว์ป่ามากขนาดนั้นหรือเปล่า? เพราะจากตำนานหรือประวัติศาสตร์ในอดีต ก็ดูเหมือนจะมีการจับสัตว์ป่ามาใช้สอยอยู่เนืองๆในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้เอง เช่น ราชสำนักไทยคล้องช้างป่ามาใช้เป็นพาหนะ (ส่วนควายป่านี่ ผมไม่แน่ใจว่าในตำนานขุนแผน พระพันวษาแกต้องการให้ขุนไกรต้อนมาเพื่อจับมาใช้งานหรือเพื่อยิงเล่นกันแน่) มันก็ไม่ได้ผ่านกระบวนการ Domestication เชิงพันธุกรรม อย่างยืดยาวนัก
2) สุนัขจิ้งจอกสีเงิน ที่เอามาคัดพันธุ์จนเชื่อง นอกจากบางตัวจะเกิดมามีขนด่างแล้ว ยังมีบางตัวที่เกิดมามีขนแดง ราวกับญาติของมันอีกชนิด คือจิ้งจอกแดง(ทั้งที่ไม่ได้ผสมข้ามกันเลย)
หรืออีกกรณี(อันนี้หนังสือไม่ได้กล่าวไว้) > ไก่ป่าแดง(ซึ่งเป็นต้นตอของไก่บ้านส่วนใหญ่) พอกลายมาเป็นไก่บ้าน บางตัวเกิดความแปรผันของสีจนคล้ายญาติของมันในป่าอีก 3 สปีชีส์ คือ ไก่ชนนกแดงหางแดง(คล้ายไก่ป่าลังกา) ไก่เขียวพาลี(คล้ายไก่ป่าชวา) ไก่ลายบาร์พลีมัทร็อค(คล้ายไก่ป่าอินเดียสีเทา)...แสดงว่า? ไก่ป่าแดงเอง ก็อาจมียีนส์ควบคุมสีบางอย่างที่คล้ายไก่ป่าอีก 3 ชนิดที่กล่าวมา เพียงแต่ระยะเวลาวิวัฒนาการ ทำให้ยีนส์พวกนั้นไม่แสดงออกมา ใช่หรือเปล่าครับ?
ข้อสงสัยคือ
1) สัตว์บางชนิดอย่างควายบ้านของไทย ช้างบ้านของไทย มีความแปรผันกับประชากรที่เป็นสัตว์ป่ามากขนาดนั้นหรือเปล่า? เพราะจากตำนานหรือประวัติศาสตร์ในอดีต ก็ดูเหมือนจะมีการจับสัตว์ป่ามาใช้สอยอยู่เนืองๆในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้เอง เช่น ราชสำนักไทยคล้องช้างป่ามาใช้เป็นพาหนะ (ส่วนควายป่านี่ ผมไม่แน่ใจว่าในตำนานขุนแผน พระพันวษาแกต้องการให้ขุนไกรต้อนมาเพื่อจับมาใช้งานหรือเพื่อยิงเล่นกันแน่) มันก็ไม่ได้ผ่านกระบวนการ Domestication เชิงพันธุกรรม อย่างยืดยาวนัก
2) สุนัขจิ้งจอกสีเงิน ที่เอามาคัดพันธุ์จนเชื่อง นอกจากบางตัวจะเกิดมามีขนด่างแล้ว ยังมีบางตัวที่เกิดมามีขนแดง ราวกับญาติของมันอีกชนิด คือจิ้งจอกแดง(ทั้งที่ไม่ได้ผสมข้ามกันเลย)
หรืออีกกรณี(อันนี้หนังสือไม่ได้กล่าวไว้) > ไก่ป่าแดง(ซึ่งเป็นต้นตอของไก่บ้านส่วนใหญ่) พอกลายมาเป็นไก่บ้าน บางตัวเกิดความแปรผันของสีจนคล้ายญาติของมันในป่าอีก 3 สปีชีส์ คือ ไก่ชนนกแดงหางแดง(คล้ายไก่ป่าลังกา) ไก่เขียวพาลี(คล้ายไก่ป่าชวา) ไก่ลายบาร์พลีมัทร็อค(คล้ายไก่ป่าอินเดียสีเทา)...แสดงว่า? ไก่ป่าแดงเอง ก็อาจมียีนส์ควบคุมสีบางอย่างที่คล้ายไก่ป่าอีก 3 ชนิดที่กล่าวมา เพียงแต่ระยะเวลาวิวัฒนาการ ทำให้ยีนส์พวกนั้นไม่แสดงออกมา ใช่หรือเปล่าครับ?
Comments
ความเห็นที่ 1
2. ไก่ไม่ทราบแหะ
ความเห็นที่ 2
http://en.wikipedia.org/wiki/Domesticated_silver_fox
อันนี้ภาพจากหนังสือเล่มนั้นครับ เขาว่าตัวที่อยู่ตรงกลาง ผ่าเหล่าออกมามีสีแดง ทั้งๆที่เหล่ากอของมันไม่เคยมีสีแดงมาก่อน
ความเห็นที่ 3
http://www.ao.com.br/ao130.htm
อันนี้ไก่ป่าลังกาครับ มีสร้อยแดงตรงอกและท้อง ต่างกับไก่ป่าธรรมดา(Gallus gallus)
http://wn.com/Gilbert_du_Motier,_marquis_de_La_Fayette
ไก่ชนสีโนรี ที่มีสร้อยสีแดงตรงส่วนอกและท้อง คล้ายไก่ป่าลังกา
http://www.changrob.com/webboard/data/00003-7-1.html
ความเห็นที่ 4
อันนี้ Gallus varius ตัวจริงครับ(ภาพเปรียบเทียบ)
http://www.markuskappeler.ch/fot/fots/ja_gabelschwanzhuhn.html
ความเห็นที่ 5
แต่เอาเท่าที่ความรู้พอจะมี ผมคิดว่าสัตว์ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน น่าจะมียีนที่ควบคุมชุดสีใกล้เคียงกัน
แต่หากเจาะลึกลงมาในระดับสปีชีส์แล้ว น่าจะมียีนชุดที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ความเป็น
สปีชีส์นั้นๆ (เช่น ไก่ป่า) แต่พอเกิดกสมผสมโดยขั้นตอนของมนุษย์แล้วทำให้ยีนส์ชุดอื่นๆ มีการแสดงผลออกมา เหมือนอย่างไก่ชน หรือไก่พื้นเมืองต่างๆ
ความเห็นที่ 6
Genetic, Gene pool & heterozygosity & Polymorphism & monotypic
คนมีพันธุกรรมต่างจาก Bonabo & Chimpanzee เพียงไม่เกินร้อยละสอง
แม้ว่าจะอยู่คนละสกุลกัน
สิ่งมีชีวิต แม้จำนวนไม่มาก จริงๆ แล้ว ก็ มี Heterozygosity สูงพออยู่แล้ว ในการที่จะเกิด Speciation or Domestication ลองอ่าน Punctuated equilibrium อีกที
สิ่งมีชีวิต ที่ ดูว่า monotypic เพราะวัดจากตาคน แต่หากศึกษาโดยละเอียดจริงๆ ตั้งแต่สีขน ขนาดตัว ขนาดกระโหลก ชีวเคมี มันแสดงลักษณะ clinal distribution อยู่ครับ
แต่ ในประชากรที่มีการถ่ายทอด gene pool อย่างสม่ำเสมอ และ Phonotype ส่วนใหญ่ถูกกำหนดด้วย Multigenes ย่อมแสดง phenotype เฉพาะ Dominant gene ในธรรมชาติ
ส่วนสัตว์เลี้ยง เกิดจากการคัดเลือก เอามาจำนวนไม่มาก ทำให้เกิด genetic drift
ลักษณะ phenotype จึงแตกต่างจาก wild type
สัตว์ ในสกุล เดียวกัน ย่อมมียีนส่วนใหญ่ ที่ควบคลุมหรือทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน และอาจจะมีพันธุกรรมเหล่านั้น ที่ซ้อนเหลื่อมกัน อย่างน้อยก็มากกว่าร้อยละเก้าสิบห้า
Species มันสำคัญที่ Isolation Mechanism ไม่ได้สำคัญที่ Phenotype
เก้ง เกือบทุกชนิดหน้าตาและสีคล้ายกัน แต่ไม่สามารถผสมพันธุ์ข้ามชนิดได้ หลายชนิดก็ยังเพิ่งค้นพบและยังมีความรู้ความเข้าใจน้อยอยู่ครับ
ความเห็นที่ 6.1