ปาฐกถาหัวข้อ "คนกับธรรมชาติ ต้องอยู่ร่วมจึงอยู่รอด" โดย อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
เขียนโดย ยายอ้วน Authenticated user เมื่อ 8 กันยายน 2553
เอามาฝาก สำหรับท่านที่พลาดนะคะ
เป็นปาฐกถาพิเศษโดย อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ในวันที่ 1 กันยายน 2553
ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ
ตามลิ้งค์นี้ค่ะ
Comments
ความเห็นที่ 1
คนกับธรรมชาติ ต้องอยู่ร่วมจึงอยู่รอด
ปาฐกถาเนื่องในวาระครบรอบ20ปีการจากไปของสืบ นาคะเสถียร โดย ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล จัดโดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียร วันที่ 1 กันยายน 2553 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ท่านประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียรและท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
วันนี้เรามาพบกันเพื่อแสดงความคารวะต่อมิตรผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง ซึ่งจากไปเมื่อ20ปีก่อน ท่านเป็นบุคคลสำคัญที่อุทิศชีวิตให้กับการพิทักษ์สัตว์ป่าและผืนป่าในประเทศไทย ตลอดจนเป็นผู้จุดประกายที่เรืองโรจน์โชติช่วงที่สุดให้กับขบวนอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศของเรา
ปัจจุบันชื่อของท่านยังคงสถิตสถาพรอยู่ในนามของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
หลายท่านคงจำได้ว่าในปี 2533 ความตายของคุณสืบเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่ง ซึ่งบดขยี้
หัวใจของคนทั้งประเทศ มันเป็นโศกนาฏกรรมที่ทำให้หลายคนต้องหันมาสนใจเรื่องป่าและสัตว์ป่าเป็นครั้งแรกในชีวิต และจำนวนไม่น้อยต้องหันมาถามตัวเองว่าได้ทำอะไรบ้างแล้วหรือยัง ในการช่วยรักษามรดกธรรมชาติไว้ให้ลูกหลาน
ภาพของสืบ นาคะเสถียร เป็นภาพของข้าราชการกรมป่าไม้ตัวเล็ก ๆ ที่ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับ
การพิทักษ์ผืนป่า แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรครอบด้าน ตั้งแต่ความไม่จริงใจของนักการเมืองที่เรืองอำนาจ ระบบราชการอันเย็นชา งบประมาณทำงานอันน้อยนิด การคุกคามของกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่นที่ลักลอบล่าสัตว์ตัดไม้ ไปจนถึงชาวบ้านผู้ยากไร้ที่ต้อง’บุกรุก’ป่าอย่างไม่มีทางเลือก
ทั้งหมดนี้นับเป็นภารกิจอันหนักหนาสาหัส เกินกว่าที่คนๆเดียวจะแบกรับไว้ได้ ในที่สุด ความคับแค้นที่สั่งสมก็ทำให้คุณสืบตัดสินใจส่งข่าวสารต่อสังคมไทย ด้วยวิธีการเฉียบขาดที่สุด และมีราคาแพงที่สุด
วันที่ 1 กันยายน 2533 เป็นวันที่ฟ้าหลั่งฝน คนหลั่งน้ำตา...
แน่ละ ความตายของคนเรานั้น อาจพิจารณาได้จากหลายมิติ และอาจค้นหาความหมายได้ในหลายระดับ เพราะฉะนั้นในกรณีของสืบ นาคะเสถียร จึงพูดได้ในบางมุมมองว่าแท้จริงแล้วคุณสืบไม่ได้จากไป หากเพียง
เปลี่ยนรูปแบบในการดำรงอยู่ หรือ’จากไปเพื่อจะได้อยู่ร่วมชั่วนิรันดร์’
ใช่หรือไม่ว่าทุกวันนี้ สืบ นาคะเสถียรยังคงอยู่กับพวกเรา ทั้งในฐานะจิตวิญญาณที่เชื่อมร้อยกับทุกอณูของสรรพชีวิตในผืนป่า อีกทั้งในฐานะแรงบันดาลใจของผู้รักธรรมชาติทุกคน
ใช่หรือไม่ว่าสืบ นาคะเสถียรไม่ได้หายไปไหน หากในรูปของมูลนิธิ คุณสืบยังคงเฝ้าดูแลผืนป่าตะวันตก ตลอดจนดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติในอีกหลายๆด้าน
อย่างไรก็ตาม...
ทั้งหมดนี้มิได้หมายความว่า20ปีที่ผ่านมา การสานต่อเจตนารมณ์ของสืบ นาคะเสถียรได้กลายเป็นกระแสหลักในสังคมไทยแล้ว และยิ่งมิได้หมายความว่าสถานการณ์อนุรักษ์ธรรมชาติทั้งในระดับโลกและในประเทศไทยกำลังประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
เมื่อ20ปีก่อน แม้ว่า ’เสียงตะโกนจากพงไพร’ ของคุณสืบจะดังกึกก้องไปทั่วทั้งประเทศ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่พร้อมจะขานรับคำขอร้องของเขา ยังไม่ใช่คนส่วนใหญ่ที่ยึดถือการอยู่ร่วมกับธรรมชาติเป็นแนวทางแห่งชีวิต............
บทปาฐกถายาวมากค่ะ โพสต์ text ทั้งหมดคงไม่ไหว
ติดตามอ่านได้ตามลิ้งค์ที่แปะไว้ข้างบนนะคะ