News : พบ5แหล่งขุดค้นกระดูกไดโนเสาร์ใหม่ของไทย
กรมทรัพยากรธรณีแถลงค้นพบ5แหล่งขุดค้นซากไดโนเสาร์ใหม่ในพื้นที่ ภูหลวง-ภูกระดึง จังหวัดเลย พร้อมพบชิ้นส่วนไดโนเสาร์กินพืชสมบูรณ์มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
07 กันยายน 2553 เวลา 18:00 น.
นายวราวุธ สุธีธร ผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์ กรมทรัพยากรธรณี(ทธ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดเผยว่า ได้มีการค้นพบ 5 แหล่งใหม่ที่มีซากไดโนเสาร์อยู่ในชั้นหินน้ำพอง ประกอบด้วย 1.ภูน้อย 2.ภูผาหินแท่น 3.ภูขวาง 4.ท่าสองคอน 5. ผาโคก โดยทั้ง 5 แหล่งครอบคลุมพื้นที่ อ.ภูหลวง และภูกระดึง จ.เลย โดยสิ่งที่ค้นพบและถือเป็นเรื่องใหม่ที่น่าตื่นเต้นในวงการไดโนเสาร์คือมี การพบชิ้นส่วนไดโนเสาร์โปรซอโรพอด ครบทุกชิ้น จำนวน 30 ชิ้นในบริเวณภูขวาง โดยก่อนหน้านี้มีรายงานการค้นพบเพียงแค่ส่วนปลายของกระดูกสะโพกส่วนหน้าที่ อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ เมื่อปี 2535
"การค้นพบครั้งนี้ เป็นการค้นพบที่สมบูรณ์มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเกือบครบทุกชิ้นส่วนในแหล่งดังกล่าว คือพบกระจัดกระจาย โดยเฉพาะขาท่อนบน กระดูกโครงสันหลัง ที่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูขวาง เบื้องต้นสันนิฐานว่า เป็นไดโนเสาร์ เก่าที่สุดในประเทศไทยและอาจเป็นช่วงไทรแอสซิกตอนปลายถึงยุคจูแรสซิกตอนต้น อายุในช่วงราว 209 ล้านปี"นายวราวุธกล่าว
นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์ ซึ่งมีความต่างจากรอยเท้าไดโนเสาร์ที่เคยค้นพบมาแล้ว เพราะมี 4 นิ้ว โดยนิ้วที่เพิ่มมามีลักษณะเหมือนเดือยของไก่ ขณะนี้ได้มีการเข้าไปขุดซากชิ้นส่วนที่เจอนำมากลับมาวิจัยรายละเอียดเปรียบ เทียบกับไดโนเสาร์จากต่างประเทศในระดับโลกเพื่อดูว่าโปรซอโรพอดที่เจอล่าสุด จะอยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์ประเภทใดหรืออาจจะเป็นไดโนเสาร์ชนิดที่ยังยังไม่เคย ค้นพบ ทั้งนี้ จะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ปีจึงจะทราบ
ซากไดโนเสาร์กินพืชที่ค้นพบในไทย
"ความน่าสนใจตั้งแต่มีการศึกษาไดโนเสาร์ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ในไทยเคยค้นพบไดโนเสาร์ที่อยู่ในช่วงที่มีอายุของจูแรสซิกมาแล้ว 16 ชนิด โดย 6 ชนิดคือชนิดใหม่ของโลกและอีก 5 ชนิดอยู่ในกลุ่มสกุลใหม่ของโลก โดยตัวที่เก่าที่สุดคืออีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ ที่ภูกุ้มข้าว จ.ชัยภูมิ แต่หลังจากนี้การค้นพบไดโนเสาร์ในกลุ่มโปรซอโรพอด ที่มีอายุเก่ายิ่งขึ้นจะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อการค้นพบและเส้นทางของ ไดโนเสาร์ที่มีในประไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น"นายวราวุธกล่าว
ทั้งนี้ ได้มีการรวมกลุ่มของทธ.อาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ นักศึกษาปริญญาโท เพื่อมาจัดทำรายละเอียดเชิงลึกในกลุ่มชั้นหินน้ำพองและบริเวณภูกระดึง
ขณะที่ในช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกท่อนหัวไหล่ไดโนเสาร์ซอโรพอด หรือไดโนเสาร์กินพืช ขนาด 1.65 เซนติเมตร ที่ ภูน้อย อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ โดยถือเป็นการค้นพบชิ้นส่วนซอโรพอด ชิ้นใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้บริเวณที่พบยังเจอซากฟอสซิลอื่นๆ เช่น จระเข้ เต่า ปลาโบราณ ซึ่งสันนิฐานว่า การที่มีสัตว์หลากชนิดรวมทั้งไดโนเสาร์มานอนตายอยู่ในแอ่งเดียวกัน
Comments
ความเห็นที่ 1
ตะลึง!!พบแอ่งไดโนเสาร์ชนิดกินพืชที่ภูกระดึง
คมชัดลึก :ตะลึง พบแอ่ง ไดโนเสาร์ “ โปรซอโรพอด ” ชนิดกินพืชที่ภูกระดึง เจอชิ้นส่วนสมบูรณ์กว่า 30 ชิ้นครั้งแรกในไทย คาดเป็นชนิดใหม่ของโลกรอการยืนยันอีก 2 ปี ทีมวิจัยเตรียมลุยต่อจิ๊กซอร์ 5 แหล่งค้นพบแถบอีสานเหนือ หลังพบทั้งรอยเท้า และชิ้นส่วนไดโนเสาร์กระจายเป็นวงกว้าง
(7ก.ย.) ดร.วราวุธ สุธีธร ผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) กล่าวว่า หลังจากมีการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกท่อนหัวไหล่ไดโนเสาร์ซอ โรพอด ขนาด 1.65 ซม. ที่ภูน้อย จ.กาฬสินธุ์ ในช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ถือเป็นการค้นพบชิ้นส่วนซอโรพอดชิ้นใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากบริเวณดังกล่าวยังเจอซากฟอสซิลอื่นๆ เช่น จระเข้ เต่า ปลาโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่า การที่มีสัตว์หลากชนิดรวมทั้งไดโนเสาร์มา นอนตายอยู่ในแอ่งเดียวกัน ในสมัยโบราณพื้นที่นี้อาจเป็นร่องแม่น้ำขนาดใหญ่ เมื่อเกิดน้ำไหลหลาก ทำให้ชิ้นส่วนดังกล่าวถูกไหลตามน้ำแล้วมากองรวมกันในสถานทีเดียวกัน ซึ่งน่าสนใจที่จะต้องมีการไขปริศนาต่อไป
หลังจากการค้นพบดังกล่าว นักวิจัยได้ตีวงสำรวจซากดึกดำบรรพ์ครอบคลุมหมวดหินชั้นน้ำพอง ครอบคลุม อ.ภูกระดึง จ.เลย คำม่วง กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ขอนแก่น สกลนคร มุกดาหาร เพื่อต่อจิ๊กซอว์ และแผนที่แอ่งไดโนเสาร์ในพื้นที่ภาคอีสาน จนกระทั่งได้มีการค้นพบท่อนชิ้นส่วนกระดูกท่อนขาบนของไดโนเสาร์โปรซอโรพอด ( Prosauropod ) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ชนิดกินพืช ฟันมีรอยหยักแบบเลื่อย คอยาว เท้าหน้ามีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าเท้าหลังและล่าสุดได้มีการค้นพบ 5 แหล่งใหม่ที่มีซากไดโนเสาร์อยู่ในชั้นหินน้ำพอง ประกอบด้วย 1.ภูน้อย 2.ภูผาเทิบ 3.ภูขวาง 4.ภูท่าสองคอน 5. ผากก ทั้ง 5 แหล่งอยู่ใน อ.ภูกระดึง จ.เลย
ดร.วราวุธ กล่าวว่า สิ่งที่ค้นพบและถือเป็นเรื่องใหม่ที่น่าตื่นเต้นก็คือพบชิ้นส่วนไดโนเสาร์โป รซอโรพอด เกือบครบทุกชิ้นส่วนราว 30 กว่าชิ้นในบริเวณนี้กระจัดกระจายกันอยู่ โดยก่อนหน้านี้เคยมีรายงานการค้นพบเพียงแค่ส่วนปล่ายนของกระดูกสะโพกส่วน หน้าของไดโนเสาร์ชนิด นี้ที่ อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ เมื่อปี 2535 มาแล้ว แต่การค้นพบครั้งนี้ เป็นการค้นพบที่สมบูรณ์มากที่สุดและเกือบครบทุกชิ้นส่วนในแหล่งดังกล่าว กระจัดกระจาย โดยเฉพาะขาท่อนบน กระดูกโครงสันหลัง ที่บริเวณภูขวาง
เบื้องต้นสันนิฐานว่า เป็นไดโนเสาร์ เก่าที่สุดในประเทศไทย อยู่ในเป็นช่วงไทรแอสซิกตอนปลายถึงยุคจูแรสซิกตอนต้น อายุในช่วงราว 209 ล้านปี นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์ ซึ่งมีความต่างจากรอยตีนไดโนเสาร์ที่ เคยค้นพบมาแล้ว เพราะมี 4 นิ้ว โดยนิ้วที่เพิ่มมามีลักษณะเหมือนเดือยของไก่ อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้นักวิจัยได้เข้าไปขุดซากชิ้นส่วนที่เจอ นำมากลับมาวิจัยที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร เพื่อศึกษารายละเอียดเปรียบเทียบกับไดโนเสาร์จากต่างประเทศในระดับโลกอยู่ดูว่าโพไซโรพอดที่เจอล่าสุดจะอยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์ประเภทใดหรืออาจจะเป็นไดโนเสาร์ชนิดที่ยังยังไม่เคยค้นพบ ทั้งนี้ จะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ปีจึงจะทราบผลที่แน่ชัด
“ความน่าสนใจ ตั้งแต่มีการศึกษาไดโนเสาร์ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ในประเทศไทยเคยค้นพบไดโนเสาร์ที่ อยู่ในช่วงที่มีอายุของจูแรสซิกมาแล้ว 16 ชนิด โดย 6 ชนิดคือชนิดใหม่ของโลกและอีก 5 ชนิดอยู่ในกลุ่มสกุลใหม่ของโลก โดยตัวที่เก่าที่สุดคืออิสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ ที่ภูกุ้มข้าว จ.ชัยภูมิ แต่หลังจากนี้การค้นพบไดโนเสาร์ใน กลุ่มโปรซอโรพอด ที่มีอายุเก่ายิ่งขึ้นจะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อการค้นพบและเส้นทางของไดโน เสาร์ที่มีในประเทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ได้มีการรวมกลุ่มของกรมทรัพยากรธรณี อาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ นักศึกษาปริญญาโท เพื่อมาจัดทำรายละเอียดเชิงลึกในหมวด หินชั้นน้ำพองและบริเวณภูกระดึง ” ดร.วราวุธ ระบุ
วันเดียวกัน ใน งานประชุมวิชาการธรณีวิทยาและแหล่งแร่ไทย - ลาว นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า กรมทรัพยากรธรณีและกรมธรณีศาสตร์ สปป . ลาว ได้ร่วมมือด้านวิชาการทางธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีมาต้งแต่ปี 2545 โดยมีการร่วมกันสำรวจธรณีวิทยาและแหล่งแร่ในพื้นที่สปป . ลาว รวม 3 พื้นที่ ประกอบด้วยแขวงไชยะบุรี หลวงพระบาง และบ่อแก้ว ซึ่งเป็นรอยต่อใกล้กับ จ . เลย อุตรดิตถ์ และน่านของประเทศไทย และร่วมสำรวจแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาในเส้นทางแขวงอัตปรือ จำปาศักดิ์ สะหวันนะเขต คำม่วง และบอลิคำไซ ใกล้กับจ . หนองคาย และอุบลราชธานี นอกจากนี้ได้ร่วมกันพัฒนาพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาที่กรุงเวียงจันทร์ สปป . ลาว เพื่อจัดแสดงแร่และซากดึกดำบรรพ์จากการค้นพบในการสำรวจธรณีวิทยาและแหล่งแร่
นอกจากนี้ยังร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น ล่าสุดกรมทรัพยากรธรณีและกรมธรณีศาสตร์ สปป . ลาว ได้ร่วมประชุมก่อนจะมีมติว่าจะทำแผนพัฒนาร่วมกันตั้งแต่ปี 2554-2558 โดยจะมีการจัดทำแผนธรณีวิทยาในสัดส่วน 1 ต่อ 5 แสน ที่สำคัญจะทำแผนท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่มีความโดดเด่นสวยงามเพื่อที่จะยก ระดับเป็นอุทยานธรณีวิทยาระดับโลก โดยในปี 2554 จะทำในเส้นทางมุกดาหาร – สะหวันนะเขต - คำม่วง ปี 2555-2556 จะทำเส้นทางหนองคาย - เวียงจันทร์ และปี 2557-2558 จะทำเส้นทางสายเลย - วังเวียง
อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ภายใต้แผนพัฒนา 5 ปี ประเทศไทยและประเทศลาว ถือ เป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างไทยลาวครบ 60 ปี โดยจะชูสโลแกนร่วมกันว่าธรณีวิทยาไม่มีพรมแดน โดยในการรับมอบครั้งนี้หวังว่าจะเกิดความร่วมมือในด้านของอุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว เพื่อที่จะสร้างรายได้ให้กับทั้ง 2 ประเทศด้วย โดยเฉพาะการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ทางธรณีวิทยา และการยกระบบอุทยานธรณีวิทยาให้ขึ้นสู่ระดับโลก ตลอดจนเส้นทางท่องเที่ยว 3 เส้นทาง
ที่มา: http://www.komchadluek.net/detail/20100907/72434/ตะลึง!!พบแอ่งไดโนเสาร์ชนิดกินพืชที่ภูกระดึง .html
ความเห็นที่ 2
2 ข่าวนี้ไปเจอใน fb ของนายไดโนป้องมา (จากคอมเม้นนายสะตอซอรัส 1 ข่าว)
ความเห็นที่ 3
โอ้ววว เยี่ยมครับ ^^
อยากเห็นรูปของจริงจังเลย
ความเห็นที่ 4
สุดยอดเลยครับบ้านเรานี่
ความเห็นที่ 5
*ส่งสายตาปริบๆ กับทริปภูกระดึงที่กำลังจะมาถึง