เป็นไปได้ไหม ที่จะจัดทำ Alien species Index In Thailand ควบคู่ไปด้วย

พอดีว่า อ่าน กระทู้ด้านล่างเรื่อง Bull frog แล้วนึกได้ว่า วันก่อนผมก็เพิ่งโพสเรื่อง ปลาเปคู หน้าวัดไป
ที่นี้ มานั่งคิดว่า เราได้มีการเก็บรายละเอียด เกี่ยวกับ สัตย์ต่างถิ่นไว้มั่งไหม ( อาจจะมีแต่ผมไม่รู้ ) ลักษณะการแพร่กระจาย และหรือ การผสมข้ามพันธ์ กับสัตว์พื้นถิ่น   ประมาณนี้นะครับ   ถ้ายังน่าจะจัดทำให้เป็นสารบบ แบบ Species Index ก็จะดีมากครับ    จะได้เหมือนเป็นการติดตามและเฝ้าระวังไปในตัว

เลยลองนำเสนอดู ไม่แน่ใจว่า เคยมีใคร ทำหรือ ยัง  ถ้าทำแล้วจะค้นหาได้อย่างไรครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

เป็นข้อมูลที่น่าสนใจในสถานะการณ์ปัจจุบันครับ

ความเห็นที่ 2

ลองเลือกชนิดที่สำคัญ ๆ ดีกว่านะครับ

ความเห็นที่ 3

กำลังคิดว่าสามารถรวมไปกับตัว SI ได้เลย แต่ต้องระบุในรายละเอียดให้ชัดเจนว่าเป็น ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นครับ

ความเห็นที่ 3.1

ตามนั้นเลยพี่ แค่ตอนลงท้ายใส่หมายเหตุตัวสีแดงว่า สัตว์พรือพืชต่างถิ่น ^^

ความเห็นที่ 4

อันนี้คัดมาจาก chm-thai.onep.go.th มีบางอย่างที่ผมก็เพิ่งรู้ว่าเป็นผู้มาเยือน ไม่ใช่เจ้าบ้าน

พืชต่างถิ่น
ชนิดพันธุ์พืช 36 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ คือ ไม้ยืนต้น 9 ชนิด ได้แก่
ไม้ยืนต้น 9 ชนิด ได้แก่

  • กระถินดำ (Acacia mearnii)
  • พิลังกาสา (Ardisa elliptica)
  • ซีโครเปีย (Cecropia peltata)
  • ควินิน (Cinchona pubescens)
  • กระถิน (Leucaena leucocephala)
  • เสม็ด (Melaleuca quinquenervia)
  • มิโคเนีย (Miconia calvescens)
  • แคแสด (Spathodea campanulata)
  • ทามาริกซ์ (Tamarix ramosissima)

ไม้พุ่ม 9 ชนิด ได้แก่

  • สาบเสือ (Chromolaena odorata)
  • ไคลดีเมีย (Clidemia hirta)
  • ผกากรอง (Lantana camara)
  • ข้าวตอกพระร่วง (Ligustrum robustum)
  • เมสคีท (Prosopis glandulosa)
  • ฝรั่งสตอเบอรี่ (Psidium cattleianum)
  • หนามไข่ปู (Rubus ellipticus)
  • สชินัส (Schinus terebinthifolius)
  • ยูเล็ก (Ulex europaeus)

ไม้ล้มลุก 8 ชนิด ได้แก่

  • ผักตบชวา (Eichhornia crassipes)
  • น้ำนมราชสีห์ (Euphorbia esula)
  • มหาหงส์ (Hedychium gardnerianum)
  • ลิทรัม (Lythrum salicaria)
  • ไมยราบยักษ์ (Mimosa pigra)
  • พุ่มไฟ (Myrica faya)
  • ผักไผ่ญี่ปุ่น (Polygonum cuspidatum)
  • กระดุมทองเลื้อย (Wedelia trilobata)

ไม้เถา 3 ชนิด ได้แก่

  • โนรา (Hiptage benghalensis) นำเข้ามาเป็นไม้ประดับในบ้านเรา ไม่มีปัญหาเรื่องการรุกราน แต่ระบาดในเกาะแถบมหาสมุทรอินเดีย
  • ขี้ไก่ย่าน (Mikania micrantha) สามารถขึ้นคลุมพื้นที่ได้เร็วมาก
  • ถั่วคุดซู (Pueraria Montana) มีการนำเข้ามาปลูกเป็นพืชอาหารสัตว์แล้วในประเทศไทย

หญ้า 3 ชนิด ได้แก่

  • อ้อใหญ่ (Arundo donax) นำเข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับ แต่แพร่กระจายไปในธรรมชาติแล้ว ขึ้นคลุมพื้นที่ได้เร็วมาก และสามารถเปลี่ยนระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ ให้กลายเป็นระบบนิเวศอื่นได้
  • หญ้าคา (Imperata cylindrical) ปัจจุบันนำมาใช้เป็นสมุนไพร
  • หญ้้าเจ้าชู้ทะเล (Spartina anglica) คล้ายหญ้าเจ้าชู้ แต่ต้นใหญ่ ระบาดแถบทวีปอเมริกา

กระบองเพชร 1 ชนิด ได้แก่

  • ใบเสมา (Opuntia stricta)

สน 1 ชนิด ได้แก่

  • สนกลุ่ม (Pinus pinaster)

สาหร่าย 2 ชนิด ได้แก่

  • สาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa taxifolia) เป็นสาหร่ายสีเขียว
  • สาหร่ายสีน้ำตาล (Undaria pinnatifida)

        เมื่อสาหร่ายเข้าไปอยู่ต่างถิ่น และสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะขึ้นคลุมแนวหญ้าทะเล ปะการัง และสิ่งมีชีวิตอื่น ทำให้สภาพแวดล้อมบริเวณนั้นเปลี่ยนไป การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณนั้นเสียไป และทำให้พืชและสัตว์ท้องถิ่นเดิมอยู่ไม่ได้


สัตว์ต่างถิ่น
ชนิดพันธุ์สัตว์ 56 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ดังนี้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 14 ชนิด ได้แก่

  • แพะ (Capra hircus) เป็นสัตว์ที่อดทนมาก กินพืชอาหารได้กว้างขวาง และกินแบบถอนรากพืช ทำให้พืชพันธุ์ต่างๆ ไม่สามารถงอกใหม่ได้ทัน
  • กวางวาปิติ (Cervus elaphus) ระบาดในทวีปอเมริกาเหนือ กินพืชอาหารได้กว้างขวาง เมื่อมีเป็นจำนวนมากพืชพรรณต่างๆ จึงเจริญเติบโตไม่ทัน ทำให้สภาพแวดล้อมบริเวณนั้นเสื่อมโทรม
  • แมวบ้าน (Felis catus) ที่มีการนำเข้าไปอยู่บนเกาะ และเมื่อมีการเพิ่มจำนวนจนมาก ก็จะกินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กบนเกาะจำนวนมากเช่นกัน ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพหมดไปมาก
  • พังพอนเล็ก (Herpestes javanicus) นำเข้าประเทศ เพื่อปราบหนูตามเกาะ โดยเฉพาะประเทศที่มีการปลูกอ้อย แต่กลายเป็นกินสัตว์พื้นเมืองแทน
  • ลิงแสม (Macaca fascicularis) กินได้ทั้งพืชและสัตว์ และกินเป็นจำนวนมาก ทำให้สภาพแวดล้อมบริเวณนั้นเสื่อม
  • หนูจี๊ด (Mus musculus) ระบาดไปที่อื่นๆ ได้โดยติดไปกับเรือ
  • สโตทท์ (Mustela eminea) หรือเพียงพอนนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ต่อมาระบาดบนเกาะ และจับสัตว์บนเกาะกินเป็นจำนวนมาก ประเทศไทยยังไม่มีรายงานการระบาด
  • นากหญ้า (Myocastor coypus) เคยระบาดในประเทศไทยอยู่พักหนึ่ง คาดว่าน่าจะหมดจากบ้านเราแล้ว
  • กระต่าย (Oryctolagus cuniculus) ระบาดรุนแรงในประเทศออสเตรเลีย เพราะสืบพันธุ์ได้รวดเร็ว และไม่มีศัตรูธรรมชาติรบกวน ทำให้พืชพันธุ์ต่างๆ เจริญเติบโตไม่ทัน และสูญเสียความหลากหลาย
  • หนูท้องขาว (Rattus rattus) เป็นหนูที่อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน
  • กระรอกสีเทา (Sciurus carolinensis) เติมอยู่ในแถบอเมริกาแล้วระบาดไปแถบยุโรป เป็นสัตว์ที่แย่งพื้นที่เก่ง สัตว์พื้นเมืองสู้ไม่ได้
  • หมูเลี้ยง (Sus scrofa) ถ้าหลุดไปอยู่ในธรรมชาติ จะทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิดได้รับความกระทบกระเทือน เพราะเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้กว้างมาก ทั้งพืชและสัตว์ เช่นไข่นก ลูกนก หัวมัน หลายเกาะแถบฮาวายต้องมีมาตรการในการปราบหมู
  • พอสซัมหางพู่ (Trichusurus vulpecula) เป็นสัตว์มีถุงหน้าท้อง ระบาดบนเกาะของประเทศออสเตรเลีย
  • สุนัขจิ้งจอก (Vulpes vulpes) สามารถปรับตัวได้ดีมาก แม้แต่ในเมืองก็สามารถอาศัยอยู่ได้

นก  3  ชนิด ได้แก่

  • นกเอี้ยงสาริกา (Acridotheres tristis) มีถิ่นเดิม คือ อินเดีย
  • นกปรอดก้นแดง (Pycnonotus cafer) ยังไม่มีรายงานการพบในประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แล้วระบาดในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และเกาะในประเทศออสเตรเลีย และหมู่เกาะในทะเลใต้หลายแห่งแย่งอาหารสัตว์พื้นเมืองเก่งมาก และก้าวร้าว ทำให้นำพื้นเมืองอดอยาก และไม่ออกไข่
  • นกกิ้งโครงพันธุ์ยุโรป (Sturnus vulgaris) เป็นนกที่ก้าวร้าวนกชนิดอื่นมาก ทั้งด้านการหาอาหารและรังที่อยู่ ระบาดแถบอเมริกา ทำให้นกพื้นเมืองจำนวนมากได้รับผลกระทบ

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 3 ชนิด ได้แก่

  • คางคกยักษ์ (Bufo marinus) นำเข้าไปกินแมลงที่ทำลายอ้อยในประเทศออสเตรเลีย แต่กลับกินสัตว์พื้นเมืองแทน เพราะคางคก หรือกบไม่ได้กินแต่แมลงเพียงอย่างเดียว แต่กินงู ตะขาบ และสัตว์อื่นๆ ด้วย
  • ปาดแคริบเบียน (Eleutherodactylus coqui) อยู่ในหมู่เกาะอินดิสตะวันตก มีประชากรสูงมาก เคยมีการศึกษาประชากรของปาดชนิดนี้ โดยนับจำนวนได้ 20,000 ตัวต่อตารางกิโลเมตร จึงแย่งกินแมลงและสัตว์อื่นในธรรมชาติจำนวนมาก ทำให้สัตว์ชนิดอื่นได้รับผลกระทบ
  • กบบูลฟร็อก (Rana catesbeiana) หรือเรียกว่ากบวัว ยังไม่ระบาดในประเทศไทย

สัตว์เลื้อยคลาน 2 ชนิด ได้แก่

  • งูแส้หางม้าสีน้ำตาล (Boiga irregularis) กินนก และไข่นกเป็นอาหาร ชอบเข้าไปนอนในที่เก็บสินค้าในสนามบิน จึงติดไปกับเครื่องบินที่ไปตามเกาะต่างๆ จึงแพร่กระจายไปตามเกาะ และระบาดในเกาะ เพราะไม่มีศัตรูธรรมชาติและกินสัตว์พื้นเมืองในเกาะ
  • เต่าญี่ปุ่น (Trachemys scripta) ระบาดในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และชานเมือง เพราะเมื่อเต่าพวกนี้โตแล้วก็ไม่น่ารัก ผู้เลี้ยงจึงปล่อยตามแหล่งน้ำต่างๆ เต่าพวกนี้มีความอดทนสูงมาก สามารถอยู่ได้แม้ในน้ำเน่า มีนิสัยชอบชุดไข่เต่าอื่นกิน

ปลา 8 ชนิด ได้แก่

  • ปลาดุกด้าน (Clarias batrachus) ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ แต่หลุดไปในธรรมชาติ จึงระบาดตามแหล่งน้ำธรรมชาติ กินปลาพื้นเมืองขณะนี้กำลังปราบอยู่
  • ปลาใน (Cyprinus carpio) เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงทั่วไป มีนิสัยชอบน้ำเย็น และชอบกวนน้ำให้ขุ่นเพราะถอนรากพืชน้ำกิน เมื่อหลุดไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ จึงได้รับความกระทบกระเทือน
  • ปลากินลูกน้ำยุง (Gambusia affinis) กินลูกน้ำยุง และแมลงอื่นๆ เป็นอาหาร ประเทศไทยเคยนำเข้ามา แต่ไม่ระบาด
  • ปลากระพงแม่น้ำไนล์ (Lates niloticus) คล้ายปลากระพงขาว เป็นสัตว์กินเนื้อ และดุ เป็นปัญหาในทะเลสาปแอฟริกา เนื่องจากกินสัตว์น้ำท้องถิ่นเป็นอาหาร
  • ปลากกระพงปากกว้าง (Micropterus salmoides) คล้ายประกระพงขาว เป็นสัตว์กินเนื้อ และดุ
  • ปลาเทราท์สายรุ้ง (Oncorhynchus mykiss) ประเทศไทยมีการนำเข้ามาเลี้ยง แต่ยังไม่หลุดออกไปในธรรมชาติ
  • ปลาหมอเทศ (Oreochromis mossambicus) อยู่ได้ทั้งน้ำจืด และน้ำกร่อย จึงแย่งอาหารของสัตว์น้ำพื้นเมือง
  • ปลาเทราท์สีน้ำตาล (Salmo trutta) หรือปลากรดเกาะ,ปลาเทศ เดิมนำเข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยง แล้วปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ในปัจจุบันพบไดทุกแม่น้ำ เป็นปลาที่กินเก่งขูดอาหารตามตลิ่ง รวมทั้งไข่ปลาด้วย ทำให้สัตว์น้ำพื้นเมืองได้รับผลกระทบ

หอย 6 ชนิด ได้แก่

  • หอยทากยักษ์ (Achatina fulica) มาจากแอฟริกา แอฟริกา แล้วเข้ามาประเทศไทยทางภาคใต้ เคยระบาดรุนแรงอยู่พักหนึ่ง แต่ถูกกำจัดโดยนำมาทำหอยกระป๋องส่งไปแถบยุโรป
  • หอยกะพงม้าลาย (Dreissena ploymorpha) คล้ายหอยกะพง แต่ตัวเล็กกว่า อยู่รวมกันเป็นกระจุกจำนวนมาก ทำให้เบียดเบียนที่อยู่ของหอยอื่น และอุดตันท่อระบายน้ำของเขื่อน ซึ่งต้องเสียงงบประมาณจำนวนมากในการกำจัดหอยพวกนี้ออกจากท่อ
  • หอยกะพงเมดิเตอร์เรเนียน (Mytilus galloprovincialis) ชอบน้ำเย็น มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบยุโรป แต่หลุดไประบาดเบียดเบียนหอยพื้นเมืองแถบอเมริกาเหนือและแอฟริกาใต้
  • หอยเชอรี่ (Pomacea canaliculata) ปัจจุบันยังมีการระบาดของหอยชนิดนี้อยู่ แต่หอยชนิดนี้ส่งผลดีที่ทำให้นกปากห่างไม่บินกลับไปประเทศบังคลาเทศเมื่อหมดฤดูทำนา เพราะหอยโข่ง หอยขมฯ มุดลงดินหมดเนื่องจากมีหอยเชอรี่ให้กินได้ตลอดทั้งปี
  • หอยขวานจีน (Potamocorbula amurensis) เป็นหอย 2 ฝา ระบาดแย่งอาหารหอยพื้นเมืองในยุโรป

ปู 2 ชนิด ได้แก่

  • ปูเขียวยุโรป (Carcinus maenas) อยู่ในยุโรปไม่มีปัญหา แต่เมื่อนำไปอเมริกา กลับมีปัญหา เพราะกินหอยกาบ หอยเสียบ และหอยอื่นๆ จนลดจำนวนลงไปมาก
  • ปูขนจีน (Eriocheir sinensis) มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีน เมื่อมีผู้นำไปเลี้ยงในแถบยุโรป จึงระบาดทำให้สภาพแวดล้อมได้รับผลกระทบ

มด 5 ชนิด ได้แก่

  • มดขายาว (Anoplolepis gracilipes)
  • มดอาร์เจนตินา (Linepithema humile) มีนิสัยบุกไปตีรังมดอื่น และจับมากินเป็นอาหาร จึงเป็นการรุกรานมดพื้นเมืองรวมทั้งแมลงชนิดอื่นด้วย
  • มดหัวโต (Pheidole megacephaia)
  • เสี้ยนดิน (Solenopsis invicta)
  • มดต้นโกโก้ (Wasmannia auropunctata)

แมลงปีกแข็ง 2 ชนิด ได้แก่

  • ตัวหนวดยาว (Anoplophora glabripennis) มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี (แถบเอเชีย) ไประบาดในสวนสาธารณะ ในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาทำให้ต้นไม้ในสวนตายจำนวนมาก เพราะหนอนของด้วงชนิดนี้เป็นหนอนชอนใต้เปลือก
  • ด้วงเนื้อมะพร้าว (Trogodema granarium) ทำลายทรัพยากรมากกว่าที่ต้องการใช้ในการกิน เพื่อดำรงชีวิต เป็นศัตรูต่อผลประโยชน์มนุษย์โดยตรง

ยุง 2 ชนิด ได้แก่

  • ยุงลาย (Aedes albopictus) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชีย ระบาดในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยติดไปกับยางเก่าที่ส่งออกไป
  • ยุงก้นปล่อง (Anopheles quadrimaculatus)

ผีเสื้อ 1 ขนิด

  • บุ้งขนยิปซี  (Lymantria dispar) กินพืชอาหารกว้างขวางมาก และกินใบไม้จนหมดทั้งต้น ทำให้ต้นไม้ตาย

แมลงอื่นๆ 4 ชนิด

  • แมลงหวี่ขาวยาสูบ (Bemisia tabaci) เป็นพืชอาหารกว้างขวางมาก
  • เพลี้ยอ่อนสนไซเปรส (Cinara cupressi) จะช่วยกันรุมกินพืชต้นนั้นๆ จนตาย
  • ปลวกฟอร์โมซา (Coptotemes fomosanus) ทำลายบ้านเรือน
  • ต่อยุโรป (Vespula vulgaris)

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ 4 ชนิด ได้แก่

  • ดาวทะเลแปซิฟิกเหนือ (Asterial amurensis)
  • ไรน้ำหนาม (Cercopagis pengoi) เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วจนแย่งอาหารจำพวกแพลงค์ตอนของสัตว์พื้นเมืองชนิดอื่นๆ
  • หวีวุ้น (Mnemiopsis leidyi)
  • พยาธิตัวแบน (Platydemus manokwari) นำเข้ามาเพื่อปราบหอยทากยักษ์ แต่กลับไปมีผลกระทบกับหอยชนิดอื่นแทน

จุลินทรีย์ต่างถิ่น

  • ชนิดพันธุ์จุลินทรีย์ 8 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ดังนี้

เชื้อรา 5 เชื้อ ได้แก่

  • โรคราของกุ้ง (Aphanomyces astaci) เกิดกับกุ้งทางยุโรป
  • โรคราของกบ (Batrachochytrium dendrobatidis) เป็นราในน้ำจืด เกิดกับพวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทุกชนิด ตั้งแต่ระยะวางไข่ ไปจนถึงตัวเต็มวัย ระบาดง่าย เพราะสปอร์ราสามารถติดไปกับพาหะที่เดินทางจากแหล่งน้ำหนึ่งไปยังอีกแหล่งน้ำหนึ่งได้ พบครั้งแรกที่ประเทศปานามา
  • โรคแคงเคอร์ของเกาลัด (Cryphonectria parasitica) ระบาดในแถบอเมริกา โดยเข้าไปตามรอยแผลของต้นไม้ เข้าไปถึงท่อน้ำเลี้ยง และท่ออาหารของต้นเกาลัดทำให้เกาลัดยืนตายทั้งต้น มีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรค
  • โรค Dutch eim disease (Ophiostamaulmi) ทำให้เกิดอาการใบร่วงของต้นเอล์ม ระบาดในแถบยุโรป
  • โรครากเน่า (Phytophthora

ความเห็นที่ 4.1

มีบุลฟรอก แต่ ไม่มีซักเกอร์

ความเห็นที่ 4.1.1

หรือเขาจะเห็นเป็นเจ้าบ้านแล้วก็ได้นะครับ

ความเห็นที่ 4.2

ไม่รู้หนังสือ 100 ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานอยู่ไหน เป้นรายชื่อเดียวกันใช่ไหมครับ

ความเห็นที่ 4.2.1

เห็นแว็บๆเหมือนกันครับ แต่พอจะหากลับหาไม่เจอ น่าจะใช่ว่ามีที่มาจากที่เดียวกันครับ

ความเห็นที่ 5

หมอบัตเตอร์ มีใครเอาบ้าง  อาทิตย์ หน้าผมไป ท่ากระดาน เมืองกาญ

ความเห็นที่ 5.1

เอาด้วยนะ นะนะ ขอบคุณครับ

ความเห็นที่ 6

แล้วจะเริ่มกันยังไงดีครับ

ความเห็นที่ 7

ก็ต้องเริ่มจากตัวเราแหละครับ เมื่อได้ข้อมูลที่เราไม่รู้แล้วนำมาบอกเล่าเก้าสิบ ให้ผู้รู้ช่วยกันแนะนำครับ ถูกมั่งผิดมั่งผมว่าไม่ใช่ประเด็นปัญหา แต่อยู่ที่ว่าไม่กล้าบอกมากกว่า(อาจจะกลัวโดนหาว่าเชย , ว่าโง่ , ไรวะแค่นี้ยังไม่รู้อีก) บอกกันเถอะครับ ผมเชื่อว่าไม่ว่าใครก็ไม่สามารถรู้ไปได้ในทุกเรื่องหรอกครับ ถ้าแต่ละคนไม่กล้าบอกข้อมููลดีๆก็จะไม่มีครับ อย่ากลัวครับผมเชื่อว่าแต่ละคน มีคำถามที่บางครั้งคาใจแต่ไม่กล้าเผย เมื่อก่อนผมก็เป็นครับ"กลัวโง่" แต่เดี๋ยวนี้ผมยอมโง่ดีกว่าผมไม่รู้ ส่วนข้อเสนอที่ให้มีข้อมูลของผู้มาจากต่างถิ่นผมชูจั๊กแร้เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยครับ มีหลายอย่างที่คนรุ่นใหม่ ไม่ใส่ใจคิดว่าเป็นเรื่องปกติก็มีให้เห็นเยอะนะครับ คนรุ่นใหม่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอะไรคือผู้รุกรานต่างถิ่น

ความเห็นที่ 8

บางตัวมันเป็นสัตว์ท้องถิ่นของไทย ที่มีรายชื่อไปรุกรานประเทศอื่นนะครับ พวกลิงแสม พังพอน นกเอี้ยงสาริกา เป็นต้น

ความเห็นที่ 9

บรรดาแมลงสาบด้วยอ่ะ บรึ๋ย!

ความเห็นที่ 10

คือ ต้องเริ่มทำยังไงครับ
ผมหมายถึงว่า สำหรับ บอร์ดเรานะครับ  
ให้ถ่ายรูป+รายละเอียดที่พบเห็น มาโพสไว้ แล้วให้แอดมิน นำไปใส่ใน Alien Index ให้ 
หรือ ว่า ต้องเปิดกระทู้ใหม่  นะครับ
แบบว่า ผมถนัด แอบมาอ่านอย่างเดียวครับ ไม่ค่อยได้ร่วมทำกิจกรรมอะไรกับ บอร์ด  เลยไม่รู้แนวทางในนี้นะครับ   พลาดพลั้ง เดี๋ยวจะยาวเหมือนกระทู้ หลามปากเป็ดอีก

ความเห็นที่ 11


มีไอเดียเล็กๆมาเสนอครับ น่าจะเริ่มแบบใกล้ๆตัวก่อน อาจจะแยกได้ 2 แบบคือ เอเลี่ยนสปีชี่ในไทย และสปีย์ชี่จากไทยไปเป็นเอเลี่ยนต่างแดน

เอเลี่ยนสปีชี่ในไทยก้เช่น หอยเชอรี่ ปลาหมอบัตเต้อร์  ผักตบ มะละกอ อย่างที่เจอๆกันตามชีวิตประจำวัน
ส่วนสปีชี่ไทยไปเป็นเอเลี่ยนต่า่งแดนหรือโกอินเตอ ก้เช่นปลาชะโดที่ไปอยู่ในทะเลสาปอย่างที่เป้นข่าวเมื่อหลายปีก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าของไทยโกอินเตอไปถึงไหนบ้าง