Reptiles and Amphibians Census in Kasetsart University เก็บข้อมูลครั้งที่ 1

เพิ่งจะเปิดโครงการ 'Reptiles and Amphibians Census in Kasetsart University' อย่างจริงจังไปอย่างสดๆร้อนๆ โดยหลักๆ จะเป็นการสำรวจชนิดพันธุ์และจำนวนของสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกภายในรั้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการเก็บข้อมูลครั้งที่1 ได้ทำการสำรวจบริเวณ 'คณะประมง' เป็นสถานีแรก

 

Comments

ความเห็นที่ 1

เก็บข้อมูลครั้งต่อไปยังไม่ได้ระบุวันครับ เพราะกำลังจะเข้า 'เทศกาลสอบ'

ถ้าท่านใดสนใจก็เชิญมาช่วยกันได้ครับ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน

ความเห็นที่ 2

ครั้งแรกกเจอตัวเด่นๆ น่าสนใจแล้วเนี่ย

ว่าแต่ว่ากบ เขียด อึ่ง ดูน้อยๆจัง (ตัวเดียว)
 

ความเห็นที่ 3

(^^)

ความเห็นที่ 4

พวกอึ่งเล็ก ๆ ไม่เจอหรอ

ความเห็นที่ 5

ป๊าดด!!   มีกบด้วยหรอนี่

ความเห็นที่ 6

หูย เจองูเหลือมด้วยหรอ เจอตรงไหนหรอค่ะ เจ้หวีจะไปดูหน่อย

มาเเถวหลังบ้านเจ้หวีจิ เคยเจองูดำๆตัวใหญ่ๆ น่าจะเป็นงูเห่านะ

ตัวเงินตัวทองก็มี อยุ่ใต้โรงเรือน ส่วนตุ๊กเเกเลี้ยงไว้หลังตู้เย็น คางคกก็เพียบเลยอยู่ในบ่อหน้าบ้าน จิงเหลนนานาชนิดที่เเนวสวนครัวหลังบ้าน รวมถึงกะปอมด้วย

มาลองหาดูซิ

ความเห็นที่ 7

หวัดดีครับผม สมาชิกใหม่ครับพี่ สดๆ ร้อนๆ ซิงๆ วันนี้เลย 

อยากทราบว่าพี่ จะไปกันอีกวันไหนครับ ม. อยู่แถวบ้านเลยครับ

ความเห็นที่ 8

Census แปลว่าสัมโนประชากร เห็นว่ามีการจับสัตว์ มาวัดมาทำอะไรด้วย ผมอยากทราบว่า

*วัตถุประสงค์

*การดำเนินงาน + วิธีการ

*ความต่อเนื่อง

*สรุป
 

เป็นอย่างไรบ้าง?

และ.. เห็นงูในถุงซิบล๊อค ทำไมมันอยู่อย่างนั้น ถามเผื่อคนที่ไม่เข้าใจว่าทำไปทำไม ทำไปเพื่ออะไร

ความเห็นที่ 8.1

อือน่าคิด

ความเห็นที่ 9

เอาคร่าวๆก่อนนะครับ ยังไม่ได้ร่างเป็นแผน

วัตถุประสงค์คือ การสำรวจชนิดพันธุ์ และจำนวน ภายในรั้วมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การดำเนินการ เป็นการเก็บข้อมูลในเบื้องต้น TL , SVL , Habitat (เช่นครั้งนี้ งูเขียวปากจิ้งจกทั้งสองตัวเจอ นอนอยู่ใกล้แหล่งน้ำ) ส่วนที่ต้องจับงูมาอยู่ในถุงก่อนเพราะ คืนนั้นฝนลงหนักมากจนไม่สามารถ ทำตอนเจอได้

ความต่อเนื่อง ทำทุกอาทิตย์ครับเวลาที่เหมาะสม 20.00 เป็นต้นไป  แต่หากวันไหนฝนตกจะออกมาทำเป็นกรณีๆไป

หากการเก็บข้อมูลเป็นที่น่าพอใจ และเนื้องานมีความเหมาะสมเพียงพอ จะนำส่งงานสัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทยในรูปของโปรเตอร์ ช่วงเดือน ธันวาคส ครับ

ความเห็นที่ 10

เจ้หวีครับ สำหรับงูเหลือม ที่จะเจอประจำและแต่ละตัวก็มีเอกลักษณะเฉพาะตัว จนสามารถจำได้ว่าตัวไหนเป็นตัวไหน ดึกๆลองไปเดินดูแถวหอพักนิสิตหญิงครับ ส่องไฟตรงคูน้ำจะเจอได้ไม่ยากครับ

เช่นเดียวกับการนับประชากรครับ สำหรับงู จะนับเป็นรายตัวได้ แต่สำหรับ กบ จิ้งจก ตุ๊กแก จะวัดเป็น มาก ปานกลาง น้อย เพราะคงทำ Marking หรือ taging ไม่ไหว ไม่อยากให้สัตว์บาดเจ็บด้วยครับ

ความเห็นที่ 10.1

สงสัยเคยเจองูเหลือมตัวนี้บ่อยมาก  อ่อ..งั้นที่สาวๆในหอบอกว่าดึกๆมีใครมาตะคุ่มๆที่ห้องน้ำก็...รู้ตัวแล้ว

ความเห็นที่ 11

สำหรับกลุ่ม herp นี่ใช้ census ไม่น่าจะได้ ได้แค่ survey ก็หรูแล้ว ดังนั้นชื่อที่จำใช้ในการนำเสนอก็น่าปรับลง ยิ่งมาดูวิธีการแล้วยิ่งห่างความเป็น census อย่างไรก็ตามการสำรวจสัตว์ที่ไม่ได้ถูกกักขังแทบไม่มีโอกาสเป็น census ที่แท้จริงเลย แต่กระบวนการวางแผนเก็บข้อมูลสามารถทำให้มีความใกล้เคียงได้

ลป. แม้แต่งูเขียวปากแหนบก็สามารถจดจำลักษณะเฉพาะตัวได้ครับ ลองสังเกตดีๆสิ ส่วนจิ้งจก ตุ๊กแกนั้นอาจใช้เกณฑ์เดียวกับที่ใช้นับปลาในแนวปะการังก็ได้ครับ ทั้งนี้เพื่อให้มีค่าเปรียบเทียบ จะดีกว่าบอกว่ามาก มากกว่า เพราะไม่รู้ว่าไอ่มากนี่มันมากยังไง มากวันนี้เท่ากับมากเมื่อวานหรือเปล่า

ความเห็นที่ 12

นณณ์ไม่มีอะไรแนะนำบ้างรึ?

ความเห็นที่ 13

ค่า หรือพารามิเตอร์ต่างๆที่เก็บไปนั้น คิดว่าครอบคลุมวัตถุประสงค์ในใจหรือเปล่า หรือคาดว่ามันบ่งบอกอะไรได้บ้าง แล้วคำว่า habitat นั้นมีการจำแนกโดยใช้อะไรเป็นเกณฑ์ เป็นสิ่งที่ต้องอธิบายในการนำเสนอ พร้อมเหตุผล

ที่เหลือก็ให้ว่าที่ Ecologist มาบรรยายต่อดีกว่า
 

ความเห็นที่ 14

ขอบคุณท่านพี่ ที่ช่วยแนะแนวทาง จะนำไปปรับปรุงต่อไปครับ.

ความเห็นที่ 15

คงเรียกว่า censusไม่ได้อย่างที่คุณไอ้ลูกทุ่ง และคุณknotsnake ได้กล่าวไว้ และมีข้อสงสัยค่ะว่าข้อมูลที่ได้จะสามารถนำไปเสนอได้หรือค่ะ นอกลิสต์จากรายชื่อชนิดแค่นั้น จะบอกว่าการวัดขนาดนำใช้ในการจำแนกชนิด สัวต์ที่พบก็ชนิดที่พบทั่วไปอยู่แล้ว งูที่วัดขนาดก็ไม่เต็มวัย จะวัดขนาดเก็บข้อมูลเพื่อติดตามก็บอกว่าไม่ได้ทำติดแทค ไม่งั้นก็ต้องมั่นใจมากๆว่าการสำรวจรอบต่อไปจะพบสัตว์ตัวเดิม สามารถติดตามได้ทุกด้านของสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นการขยายพันธ์ อาณาเขตอาศัย ซึ่งบอกตามตรงว่าดิฉันไม่คิดว่าสัตว์ตัวเดิมจะได้อาศัยในเกษตรเหมือนเดิมเลย เห็นจากที่มันได้ลงไปอยู่ในถุงแล้ว

ฝนตกถ่ายรูปได้ แต่ไม่สามารถวัดขนาดได้?   

ความเห็นที่ 16

ขอน้อมรับในข้อติติงครับ ผมยังขาดประสบการณ์อยู่มากและพร้อมจะรับฟังผู้รู้เสมอ

ปากแหนบที่ถ่ายใช้การจัดฉากครับ ส่วนงานไม่ว่าจะเสนอได้หรือไม่นั้น สำหรับผมเป็นเรื่องรอง ที่ทำก็เพราะ 'อยากทำและมีความสุขที่ได้ทำ' อย่างน้อยๆ น้องๆที่สนใจมาเดินด้วยวันนั้น ก็แยกจิ้งจกบ้านออกว่าเป็นยังไง น้องที่กลัวตุ๊กแก สามารถมาดูใกล้ๆได้ ไม่ได้หวังงานในระดับวิชาการตั้งแต่แรกแล้วครับ เพียงแค่นำมาเป็นแนวทางครับ อยากที่บอกที่ต้นกระทู้ครับ ว่าอยากให้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ้งกันและกัน  

ความเห็นที่ 17

ถ้าทำทุกอาทิตย์ เอาสีทาเล็บดีๆหน่อย ป้ายพวกเกล็ดสัตว์เลื้อยคลานอยู่ได้นานเหมือนกันนะครับ (ถ้ามันไม่ลอกคราบไปเสียก่อน) ตุ๊กกายที่ทำอยู่ ก็อย่างน้อยๆ 20 วันอยู่สบาย รวมทั้งกระดองปูด้วย ลองแล้วอยู่ได้อย่างน้อย 20 วันเช่นกัน
 

ความเห็นที่ 18

อันนี้อนุญาตชี้แจงแทนน้องหน่อยแล้วกัน

งูแม้ว่าอยู่ในถุงก็สามารถกลับที่เดิมได้ครับ ซึ่งการสำรวจปกติของ จนท. ก็ทำเช่นนี้ เพราะบางครั้งการเก็บข้อมูลบางอย่างไม่สามารถทำได้ในจุดที่พบ ซึ่งอาจเกิดจากข้อจำกัดขออุปกรณ์บันทึกข้อมูล ซึ่งการถ่ายรูปได้นั้นมันก็ต่างประเด็นไป เพราะกล้องที่ใช้มันก็อาจทนไม้ทนมือและสภาพแวดล้อมได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าหนักจริงๆ กล้องก็ต้องซุกไว้เงียบๆเช่นกัน

วัตถุประสงค์หลักของน้องเขาอยู่ที่การดึงคนให้มารู้จัก ไม่กลัว และอาจถึงรักต่อสัตว์ที่คนส่วนใหญ่รังเกียจทั้งๆที่มันมีความน่ารักน่าสนใจอยู่ในตัวหากได้รู้จักแล้ว หากจะเอาแค่เช็คลิสต์นั้น ผมส่งเมลให้แป๊บเดียวก็ได้แล้ว (ผมมีของ มก. นี่ด้วย เคยสะสมข้อมูลไว้โดยใช้การเจอตัวหรือซาก หรือคนอื่นเจอแล้วให้ข้อมูลเพียงพอต่อการเชื่อถือ) ซึ่งต่างวัตถุประสงค์กับน้องเขาในครั้งนี้ขอรับ

ความเห็นที่ 19

ไหนๆ ก็เริ่มกันแล้ว ก็อยากให้ต่อเนื่องไปเลยนะครับ ใว้ว่างๆ หากทราบหมายเวลาที่แน่นอนครั้งหน้าจะไปช่วยสนับสนุนน้องๆ สำรวจบ้านเก่าด้วยอีกคน

สิ่งสำคัญอยากให้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการศึกษาที่แน่นอน เพื่อกำหนดขอบเขตการศึกษา และวิธีการศึกษาที่ครอบคลุมและรัดกุม

โดยทั่วไปแล้ว การศึกษาสัตว์ในกลุ่มนี้ในเบื้องต้นน่าจะมีแค่ การจำแนกและจัดทำบัญชีรายชื่อ การประเมินความถี่ในการพบเห็นในรูปของร้อยละของความชุกชุม และการกระจายตัวของประชากรในพื้นที่ศึกษา ส่วนเบื้องปลายถึงจะเป็นขนาดการศึกษาจำนวนประชากร ชีววิทยา-นิเวศวิทยารายชนิด หากมาถึงขั้นนี้แล้วคงต้องคำนึงถึงปัจจัยจำพวก งบประมาณ เวลา เทคนิค และบุคคลากร เป็นสำคัญแล้วล่ะครับ