ถามเรื่อง เงื่อนไขด้านเวลา ในการถูกกำหนดให้เป็น Alien Species

อยากทราบว่า  การเป็นชนิดพันธ์ ต่างถิ่น นี่ต้องอพยพหรือถูกนำเข้ามา  ตั้งแต่เมื่อใดครับ 
หมายความว่า มีการใช้เกณฑ์ ทางด้านเวลาเป็นตัวกำหนดไหมครับ   ยกตัวอย่างเช่นถ้าเข้ามาเกิน 100 ปีแล้วถือว่า ไม่ใช่
แล้วถ้ามี จะเริ่มนับย้อนหลังจากเมื่อใด

Comments

ความเห็นที่ 1

รู้สึกว่าจะพิจารณาที่มา ที่พบ และผลกระทบเป็นสำคัญ อย่างปลาไนเข้ามาจนกลายเป็นปลาไทยในหลายๆตำราแล้ว แต่มันก็ยังคงเป็นชนิดต่างถิ่นที่พบในแหล่งน้ำมากมายอยู่ดีครับ  บางชนิดไม่สามารถแพร่พันธุ์เองในธรรมชาติได้ แต่ก็มีคนเพาะปล่อย ก็ยังถือว่าต่างถิ่นด้วยเช่นกัน

ความเห็นที่ 2

ที่ถามเพราะว่า มันน่าจะมีเวลากำหนดบ้างครับ ว่าอยู่มา นานจนเป็น ชนิดพันธ์พื้นถิ่นได้
คือ มันอาจจะอพยพ มาโดยวิธีใดก็แล้วแต่ หรือ แพร่พันธ์ ข้าม เส้นแบ่งที่คนสร้างขึ้นมาเอง ( ชายแดนประเทศ ) มานาน  เท่านี้ XXX ปี  ก็จัดเป็น ชนิดพันธ์ พื้นถิ่น ได้นะครับ
อย่าง ดิงโก้ ในออสเตเรีย (ถ้าไม่ใช่โปรดอภัย)  

ความเห็นที่ 3

การเป็นสัตว์ต่างถิ่นนั้น ผมมั่นใจว่าเขาไม่ได้เอาเขตแดนประเทศเป็นตัวกำหนดครับ แต่เอาเขตสัตว์ภูมิศาสตร์มาเป็นตัวหลัก นอกจากนี้ยังดูว่าสัตว์ชนิดนั้นๆมีเขตและลักษณะการกระจายพันธุ์อย่างไรมาด้วย ถ้าเป็นสัตว์ทะเลก็ต้องมาดูกระแสน้ำด้วย ฯลฯ แล้วต่างถิ่นนั้นอาจเกิดภายในประเทศเดียวกันก็ได้ เช่น เอาปลากัดทุ่งภาคกลาง (Betta splendens) ไปปล่อยที่นครศรีธรรมราช ก็ถือว่าต่างถิ่นแล้ว เพราะถิ่นเดิมไม่มีปลากัดชนิดนี้ แต่มีปลากัดทุ่งชนิด Betta imbelis อยู่ ซึ่งต่างถิ่นระดับนี้ส่วนใหญ่บ้านเรายังละเลยอยู่มาก แต่ถ้าข้ามทวีปมาแล้วก่อผลกระทบทางลบชัดเจนถึงมาให้ความสำคัญ  ไอ่ที่มาอยู่นานมากนั้นก็ไม่นับเป็นสัตว์ท้องถิ่นอยู่ดีครับ แค่คนที่ไม่รู้อาจคิดว่าเป็นสัตว์ท้องถิ่นเท่านั้น  ส่วนการอพยพมาเองนั้นก็คงต้องพิจารณาหลายๆอย่างประกอบด้วย เช่น เป็นเส้นทางอพยพปกติ หรือเป็นแนวที่เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยก็คงไม่เป็นอะไร แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงมาก เขาก็คงไม่ว่านก แต่น่าจะมาคิดถึงสาเหตุการเปลี่ยนเส้นทาง แน่นอนว่ามันสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรุนแรงแน่ๆ สำหรับนกที่ปกติไม่ค่อยอพยพไปไหน มันมักมีปัจจัยจำกัดอยู่แล้วที่มาเป็นตัวกั้น หากมันข้ามออกมาก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรหนักๆอีกนั่นแหละ ซึ่งเป็นกลไกทางธรรมชาติร่วมด้วยเสมอ(แม้บางทีเกิดจากคนเหนี่ยวนำ เช่น เปลี่ยยนพื้นที่ป่าเป็นทุ่ง) การที่จะให้เป็นสัตว์ต่างถิ่นก็คงพิจารณาการนำพาสิ่งมีชีวิตนั้นๆโดยตรงจากคน ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ผมก็มั่นใจว่ามีเกณฑ์พิจารณาว่ามันมาเองหรือบังเอิญติดคนหรือของที่คนส่งมาครับ ซึ่งส่วนใหญ่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

ความเห็นที่ 4

อย่างไรก็ตามหากวันหนึ่งพิสูจน์ได้ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นๆมีถิ่นฐานเดิมในที่นั้นๆ เขาก็ปลดออกจากบัญชีได้ครับ

ความเห็นที่ 5

เดี๋ยวนี้พบว่า เหยี่ยวเพเรกรินชนิดอพยพบางตัวเริ่มปักหลักหากินในเมืองไทย(แต่ยังไม่มีรายงานสืบพันธุ์) เพราะมีแหล่งเหยื่อและทำเลที่เหมาะแก่การไล่ล่า กรณีนี้ไม่แน่ใจว่าจะจัดด้วยหรือเปล่า

ส่วนกรณีดิงโก้ ถ้าจะสรุปว่าเป็นต่างถิ่น ก็อาจจะไม่ผิดในแง่วิชาการ แต่ถ้าจะเอานโยบายจับออกหรือล่าทำลาย (แบบเดียวกับที่จัดการ Invassive Alien ทั่วไป) น่าจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะมันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบแล้ว หลังจากที่นักล่าชนิดเดิมสูญพันธุ์ไป

ความเห็นที่ 5.1

นกปากห่าง ก็ด้วยไหมครับ เพราะเห็นได้ตลอดปี

ความเห็นที่ 5.2

*เพิ่มเติมอีกหน่อย เกี่ยวกับดิงโก
แม้แต่ทางการของออสเตรเลีย ยังยอมรับว่าหมาป่าดิงโกเป็นสัตว์ควรอนุรักษ์ไว้ และใช้นโยบายการจัดการต่างกับพวกเฟอเรตอย่างชัดเจน *อาจเป็นเพราะเจ้าของตำแหน่งนักล่าขนาดเล็กดั้งเดิมของออสเตรเลีย(Dasyurus)มันยังไม่ได้สูญพันธุ์ไป แต่เหลือจำนวนน้อยลงเพราะคู่แข่งจากต่างถิ่น

ความเห็นที่ 5.2.1

เขาคิดได้และคิดเป็นครับ ใช้เอเลี่ยนกำจัดเอเลี่ยน อิอิ

ความเห็นที่ 5.2.2

ข้อมูลจากหนังสือ Science illustrated ฉบับพฤศจิกายน ครับ



 
p1050937.jpg

ความเห็นที่ 5.3

เพเรกริน ทำรังที่ดอยอินทนนท์ แล้วล่ะครับ แต่ยังไม่เห็นตัวลูกมันเท่านั้น

ความเห็นที่ 6

อย่างนั้นเจ้าปากห่างก็คงได้สัญชาติไทยแล้วซิ..แทบจะกินนอนในบ้านแล้ว..จากทำรังบนต้นไม้เริ่มขยับมาตามหลังคาแล้ว

ความเห็นที่ 7

กรณีปากห่างนั้น เป็นการเปลี่ยนจากนกอพยพมาเป็นประจำถิ่น(ส่วนหนึ่ง)เท่านั้นครับ

ความเห็นที่ 8

ปากห่างแต่เดิมพบแต่ที่ราบลุ่มภาคกลาง ปัจจุบันกระจายเหนือใต้มากขึ้น และมีพบหากินในเขตชายเลนแล้วด้วยซ้ำ

ความเห็นที่ 8.1

ผมเคยเจอ 2 ตัวที่สุรินทร์ด้วยครับ เมื่อราวๆกลางปีที่แล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นแค่การพลัดหลงหรือเปล่า?

ความเห็นที่ 9

แล้วอย่าง (ยกตัวอย่างดีกว่าครับ) เช่นเอาเสือตอเขมรหรือ เทพาน้ำโขงมาปล่อยเจ้าพระยา แบบนี้ผมเคยอ่านผ่านตาคร่าวๆมานานแล้วว่ามีผลกระทบกับประชากรเดิมมากๆเหมือนกัน(รายงานท่านกล่าวถึงปลาดุก) แบบนี้เขาเรียกว่าอะไรมีชื่อเรียกเฉพาะเลยไหมครับ

ความเห็นที่ 10

ถ้าอย่างกรณีข้างบน ส่วนตัวผมเองถือว่าเป็นเอเลี่ยนระดับสายพันธุ์ (ปนเปื้อนทางพันธุกรรม) ครับ  แต่การระบุเอเลี่ยนตอนนี้เห็นใช้แค่ระดับชนิดเท่านั้นเอง  ส่วนผลกระทบมันก็มีทั้งเชิงบวก และลบ แล้วแต่กรณี (ส่วนใหญ่จะลบ ยกเว้นชนิดเดียวกันในแหล่งที่ปล่อยมันไม่เหลือแล้วซึ่งอาจจะดี???)