ว่าที่นกใหม่ของประเทศไทย NO.1001

เจอที่บางปูวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 นกไม่ค่อยเข้าใกล้ครับเลยถ่ายมาได้ไม่ดีนักแต่ก็พอจะใช้ระบุชนิดได้

Sooty gull ชื่อวิทย์ยังไม่ได้หาครับ 555

Comments

ความเห็นที่ 1

มีถิ่นอาศัยอยู่ที่แถบ เอเชียใต้-ตะวันออกกลางและทะเลแดง รวมถึงบางส่วนของแอฟริกา เป็นนกอพยพสาย อินเดีย-แอฟริกา ซึ่งนกสายนี้ไม่ค่อยหลงมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากนัก ยกตัวอย่างเช่น นกกรีดน้ำ เหยี่ยวนิ้วสั้น เหยี่ยวตีนแดง เป็นต้น เป็นรายงานแรกของประเทศไทยครับ ไม่รู้ว่าจะมาเยี่ยมอีกเมื่อไหร่

ปล.ครั้งแรกที่พบคิดว่าเป็นนางนวลหางดำ
ปล2.พยายามเอากากหมูล่อก็ไม่เข้าสงสัยไม่คุ้นกลิ่นหมู 555
sooty1.jpg

ความเห็นที่ 2

สุดยอดครับพี่  พบเห็นกี่ตัวครับผม

ความเห็นที่ 3

สุดยอดครับน้อง สำหรับนกนี่ new record ก็แสนหรูแล้ว

ความเห็นที่ 4

หลังไมด์เห็นด้วยว่า New record 

ความเห็นที่ 5

ยินดีด้วยคร้าบบ

ขอถามแบบคนไม่รู้นะขอรับ  sooty gull กับ black-tailed gull มันชนิดเดียวกันไหมครับ?

ว่าแต่นกไทยชนิดที่ 1000 นี่คือนกอะไรครับ?

ความเห็นที่ 5.1

คนละชนิดครับ จะเห็นว่า Sooty จะมีคอควั้นขาว และท้องก็ขาว (ภาพที่เห็นเป็นนกวัยเด็กครับ)
แต่ Black-tailed ตัววัยเด็ก จะเป็นสีน้ำตาลแกมขาวตั้งแต่คอถึงท้อง  จำแนกแบบคร่าวๆอะนะครับ

ความเห็นที่ 5.2

ข้อแตกต่างตามนั้นครับ ไว้จะหารูปมาเปรียบเทียบให้ดู นกลำดับที่ 999 คือเป็ดเทาพันธุ์จีน ถูกแยกออกมาจากเป็ดเทา (นกใหม่แบบนี้ไม่มันเลย) นกลำดับที่ 1000 ประกาศในเวลาไล่เลี่ยกับ 999 คือหัวขวานแคระซุนดา(มลายู) นกประจำถิ่นกำลังขยายอณาเขตขึ้นมาจากมาเลเซีย ส่วนเจ้า sooty gull หรือชื่อไม่เป็นทางการว่า นางนวลสีดำ ว่าที่ 1001 ถ้าไม่โดนแทรกจากการแยกชนิดย่อยออกมาซะก่อน น่าจะจัดกลุ่มเป็นนกพลัดหลงครับ

ความเห็นที่ 5.2.1

พอดีมาสะดุดกับประโยคนี้ "หัวขวานแคระซุนดา(มลายู) นกประจำถิ่นกำลังขยายอณาเขตขึ้นมาจากมาเลเซีย" เนื่องจากผมเองก็ไม่ได้ตามข้อมูลนก ก็เลยอยากทราบว่ามันเป็นเช่นนี้จริงหรือ อะไรคือเหตุผลของข้อสรุปนี้ครับ  หรือเป็นเพียงเราเพิ่งเห็นในเขตประเทศไทยทั้งๆที่เป็นเขตกระจายพันธุ์ปกติอยู่แล้ว(ประมาณชายขอบ)

ความเห็นที่ 5.2.1.1

พี่น็อตครับ ผมว่า เจ้าหัวขวานตัวนี้ มันมีมานานแล้วครับ เพียงแต่ว่า ตัวเล็ก สีไม่สวย เลยไม่ใครสนใจ มันมีคู่แฟด ที่เป็นนกที่เจอง่ายมาก ๆ แบบอ่องใหญ่ อ่องเล็กครับ

ความเห็นที่ 5.2.1.1.1

กระผมก็เดาว่าประมาณนี้ขอรับ ก็แค่อยากสื่อให้เห็นการสื่อความ ยิ่งมีการยกระดับเป็นกึ่งวิชาการขึ้นไป มันมีผลอย่างมากครับ  หากเป็นภาษานักข่าวผมจะไม่ค่อยถือสา แต่ก็ไม่ชอบเพราะทำให้เข้าใจผิดได้ในวงกว้าง แม้ระดับความน่าเชื่อถือจะต่ำก็ตาม

ความเห็นที่ 5.3

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความกระจ่างมากครับ ^^

ความเห็นที่ 6

Sunda pygmy woodpecker ที่สตูลกระมัง ชนิดที่ 1000

ความเห็นที่ 7

ยินดีด้วยครับ
เป็นความภูมิใจสูงสุดจริง ๆ ของคนดูนก yes

ลำดับที่ 999 นกเป็ดเทาพันธุ์จีน Chinese Spot-billed Duck Anas zonorhyncha
ลำดับที่ 1,000 นกหัวขวานด่างแคระปักษ์ใต้ Sunda Pygmy Woodpecker Dendrocopos moluccensis
http://bit.ly/ThaiBird-999-1000th

ลำดับที่ 1,001 นกนางนวลสีเขม่า Sooty Gull Ichthyaetus hemprichii

Bird of Thailand: 999th-1000th

ความเห็นที่ 8

แจ๋วอ่ะ 1001 แล้วเหรอเนี่ย

ความเห็นที่ 9

เอ๋ เอ๋ ตัวแบบนี้ เหมือนพึ่งเห็นแถวปางช้างในภูเก็ต ตอนแรก คิดว่าเป็นเจ้าด่างอกลายจุด หรือเจ้าจิ๋วทั่วไป ก็เลยไม่ได้สนใจ เจอเมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี่เอง