อยู่ใต้..ล่องใต้ดีกว่า
เขียนโดย knotsnake Authenticated user เมื่อ 23 พฤษภาคม 2554
ช่วงหยุดยาวแห่งเดือนพฤษภาคม หลายๆคนต่างลั่นล้าออกต่างจังหวัด ส่วนกระผมนั้นอยู่ต่างจังหวัดอยู่แล้ว และเป็นพื้นที่เป้าหมายของผู้มาเยือนถึงขนาดมีคนต้องตัดสินใจภายใน ๕ ชั่วโมงก่อนรถออกยอมสละแล้วทุกสิ่ง(ที่คิดไว้ก่อนนั้น) มาเยือนระนองอีกครั้ง
สำหรับคืนแรก..ผู้มาเยือนชุดแรกมาถึงระนองค่ำๆ ดึกๆคืนนั้นก็เริ่มออกทำงานกันเลย เนื่องจากเวลามีน้อย ต้องใช้สอยอย่างประหยัด เป้าหมายแรกก็เป็นห้วยส่วนตัว ซึ่งคืนนั้นค่อนข้างเงียบเหงาเพราะฝนตกมาเยอะแล้ว สัตว์ที่มักอิงแหล่งน้ำในยามหน้าแล้งต่างกระจายตัวสู่ป่าที่ห่างไกลสายน้ำไปอิงกับความชื้นป่าได้อย่างสบายใจ สัตว์กลุ่มหลักได้แก่กลุ่มสัตว์สะเทินฯ ชุดรับแขก ได้แก่ กบท่าสาน (Ingerana tasanae) กบลายหินตะนาวศรี (Amolops panhai) คางคกห้วยระนอง (Ansonia kraensis) กบป่าไผ่ (Limnonectes hascheanus) นอกจากนี้ยังมีเจ้าบ้านที่หลังๆไม่ค่อยเจอตัวเต็มวัยออกมาต้องรับ แต่ระยะลูกอ๊อดนั้นไม่เคยขาดเลย ก็มี อึ่งกรายขายาว (Xenophrys longipes) อึ่งกรายท้องลย (Leptolalax melanoleucus) และอึ่งกรายตะนาวศรี (Leptobrachium sp.) ส่วนชนิดที่พบทั่วๆไปก็มีปาดบ้าน (Polypedates leucomystax)
สำหรับคืนแรก..ผู้มาเยือนชุดแรกมาถึงระนองค่ำๆ ดึกๆคืนนั้นก็เริ่มออกทำงานกันเลย เนื่องจากเวลามีน้อย ต้องใช้สอยอย่างประหยัด เป้าหมายแรกก็เป็นห้วยส่วนตัว ซึ่งคืนนั้นค่อนข้างเงียบเหงาเพราะฝนตกมาเยอะแล้ว สัตว์ที่มักอิงแหล่งน้ำในยามหน้าแล้งต่างกระจายตัวสู่ป่าที่ห่างไกลสายน้ำไปอิงกับความชื้นป่าได้อย่างสบายใจ สัตว์กลุ่มหลักได้แก่กลุ่มสัตว์สะเทินฯ ชุดรับแขก ได้แก่ กบท่าสาน (Ingerana tasanae) กบลายหินตะนาวศรี (Amolops panhai) คางคกห้วยระนอง (Ansonia kraensis) กบป่าไผ่ (Limnonectes hascheanus) นอกจากนี้ยังมีเจ้าบ้านที่หลังๆไม่ค่อยเจอตัวเต็มวัยออกมาต้องรับ แต่ระยะลูกอ๊อดนั้นไม่เคยขาดเลย ก็มี อึ่งกรายขายาว (Xenophrys longipes) อึ่งกรายท้องลย (Leptolalax melanoleucus) และอึ่งกรายตะนาวศรี (Leptobrachium sp.) ส่วนชนิดที่พบทั่วๆไปก็มีปาดบ้าน (Polypedates leucomystax)
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 1.1
หอย 2 Pupina
ความเห็นที่ 2
ชุดสวยสังหาร..
งูเห่าไทย (Naja kaouthia)
งูทับสมิงคลา (Bungarus cadidus)
ลป.
การถ่ายภาพงูพิษนั้นอันตรายนัก
หากใครรักชีวิตไซร้ให้ถอยห่าง
ผู้ปกครองควรแนะนำตามแนวทาง
อย่าเลียนอย่างเป็นแบบตัวหัวสิ้นเงา
การถ่ายภาพครั้งนี้ทีมงานพร้อม
คอยตะล่อมแลงูให้ใช่ทำเขลา
เรียนรู้จักแลคุ้นเคยใช่คาดเดา
ถึงได้เอาตัวรอดมาโพสเอย
ความเห็นที่ 2.1
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ลักษณะสำคัญของตุ๊กกายชนิดนี้คือมีตุ่มหนามขนาดใหญ่ที่ส่วนหลัง และมีตุ่มหนามที่เตี้ยกว่าแต่เห็นชัดเจนที่ส่วนใต้ลำตัว โดยเฉพาะใต้คางจะเห็นชัดที่สุด ตุ๊กกายชนิดนี้จัดอยู่ใน Cyrtodactylus pulchellus-group โดยมีลักษณัร่วมที่โดดเด่นคือ ลายที่พาดขวางลำตัวสีน้ำตาลเข้มสลับกับสีน้ำตาลที่อ่อนกว่า มีร่องตามยาวบริเวณก่อนถึงทวารร่วม (longitudinal precloacal groove) และมีเกล็ดใต้ขาหลังขนาดใหญ่ ยาวต่อเนื่องจนเกือบถึงเข่า
ความเห็นที่ 4.1
ความเห็นที่ 5
ทริปนี้เราได้พบงูที่ทำให้คนแต๋วแตกได้คณะใหญ่ ส่วนผมนั้นผ่านจุดนั้นมาแล้วเพราะเคยเจอในธรรมชาติมาก่อนแล้ว
งูเขียวตุ๊กแก (Tropidolaemus wagleri) ตัวน่อย ที่หลายๆคนหมายมั่นที่จะเจอ ตัวนี้ยังเด็กนัก พยายามเพ่งแล้วก็คาดว่าเป็นตัวเมียวัยเด็ก
งูเขียวตุ๊กแกเป็นงูกลุ่มงูเขียวหางไหม้ที่มีพิษไม่รุนแรงนัก ผู้ที่เคยถูกกัดให้ข้อมูลว่าแค่ปวดๆบวมๆพอรู้สึก กินยาแก้ปวดก็บรรเทาความปวดได้ (แต่ไม่ได้บรรเทาอาการบวม) ซึ่งการแสดงอาการนี้คงยกเว้นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต และความดันนะขอรับ อ้อ..และสำหรับผู้ที่จะได้เป็นรายใหม่ของโลกด้วย หากโดนมันกัด แล้วดันตาย ซึ่งยังไม่มีรายงานสำหรับกรณีดังกล่าว
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
งูสายม่านหลังทอง (Dendrelaphis formosus) เป็นงูสายม่านที่สวยงามมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยมันทำตาแอ๊บแบ๊ว(ตาโต)ที่สุดในงูสกุลเดียวกัน ลำตัวสีโทนเหลืองพร้อมเส้นตามยาวสีน้ำตาลเข้มคู่ขนานที่ข้างลำตัว ส่วนท้องออกสีเขียวๆ
งูสายม่านพระอินทร์ใต้ (Dendrelaphis haasi) งูชนิดนี้ถูกแยกออกจากงูสายม่านพระอินทร์ (D. pictus) เมื่อปี ค.ศ.๒๐๐๗ โดยชุดตัวอย่างต้นแบบมาจากประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ก่อนหน้านี้ผมเคยพบและตั้งข้อสังเกตไว้ แต่งูดังกล่าวเป็นงูวัยเด็ก กับวัยรุ่น ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พบงูตัวเต็มวัย ซึ่งสามารถใช้ยืนยันชนิดได้ชัดเจน ลักษณะที่ต่างจากงูสายม่านพระอินทร์คือ ไม่มีเส้นสีดำหรือน้ำตาลเข้มที่ขอบข้างตัวด้านล่าง ขีดดำหลังตาแคบ ปลายหัวสอบเข้าก่อนเป็นปลายตัดตรง ตามีขนาดเล็ก
งูกลุ่มนี้เป็นงูไม่มีพิษ และชอบไล่ล่าอาหารเป็นๆ ถ้าไม่จับก็ไม่กัด
ความเห็นที่ 8
งูชนิดนี้ผมเชื่อว่ามีหลายๆคนที่เดินป่าแล้วโดนมันต้ม ไปเข้าใจว่าเป็นงูจงอาง (Ophiophagus hannah) ด้วยขนาดลำตัว ลักษณะลายท่อนกลางลำตัวและหาง เสียงเมื่อมันเลื้อยตลอดจนเสียงขู่ที่เลียนแบบงูจงอางมาทั้งนั้น ยังไม่พอ..มันยังชอบกินงูเช่นเดียวกันด้วย แต่..มันไม่มีพิษ
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 10
คางคกแคระมลายู (Ingerophrynus divergens) คู่แฝดนรกกับคางคกแคระ (I. parvus) ลักษณะต่างที่พอเห็นง่ายๆคือต่อมพิษที่ดูออกจะกลมๆ และข้างๆตัวมีต่อมพิษขนาดกลางๆเท่าๆกัน ไม่มีตุ่มเล็กๆแทรก
ปาดบ้าน (Polypedates leucomystax) ปาดสามัญประจำบ้าน พบทุกภาคทั่วไทย
ความเห็นที่ 11
ลป. ภาพคนนั้น น้องเอื้อเป็นคนถ่ายภาพนะขอรับ
ความเห็นที่ 11.1
ความเห็นที่ 11.1.1
^
^
กด Like 555+
ความเห็นที่ 12
จิ้งจกนิ้วยาวภูเก็ต (Cnemaspis phuketensis)
จิ้งจกแคระมลายู (Hemiphyllodactylus typus)
ความเห็นที่ 13
ความเห็นที่ 14
ความเห็นที่ 15
อยากพบเจองูเยอะๆแบบนี้มั่งจังครับ + ภาพสวยเห็นชัด ได้รู้จัก herp เพิ่มขึ้นด้วยครับ
ความเห็นที่ 16
ความเห็นที่ 17
ความเห็นที่ 18
ความเห็นที่ 18.1
ความเห็นที่ 19
ความเห็นที่ 20
ความเห็นที่ 20.1
ความเห็นที่ 21
ความเห็นที่ 22
ความเห็นที่ 23
ความเห็นที่ 24
ความเห็นที่ 24.1
ความเห็นที่ 24.1.1