ปลาหลดงวงช้าง
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดการประชุมวิชาการเนื่องในปีสากลแห่งป่าไม้และวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปลาน้ำจืด สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา เปิดเผยว่า จากการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของของสายพันธุ์ปลาที่พบในประเทศไทยมีมากถึง 500 ชนิด เป็นจากปลาที่อาศัยในแหล่งต้นน้ำมากถึง 300 สายพันธุ์ ซึ่งมี 80 ชนิดอยู่ในสถานภาพน่าเป็นห่วง
ทั้งนี้ ดร.ชวลิต ยังกล่าวต่อว่า ปลาที่อาศัยในป่าพรุของไทย มีปลาอย่างน้อย 10 ชนิด ถูกคุกคามอย่างมาก อาทิ ปลาก้างพระร่วง ปลากัดช้าง ปลากริมแรด ปลากะแม๊ะ ปลาปักเป้าท้องตาข่าย เป็นต้น เนื่องจากระบบนิเวศน์เกิดการเปลี่ยนแปลง และมีการจับปลาจากป่าพรุไปขายปีละหลายแสนตัว
ดร.ชวลิต เปิดเผยอีกว่า แต่ก็มีข่าวดีจากการสำรวจปลาในแม่น้ำโขง พบปลาหลดชนิดใหม่ของโลก ซึ่งตั้งชื่อว่า ปลาหลดงวงช้าง เพราะมีลักษณะของจมูก และจงอยปากยาวเหมือนงวงช้าง มีดวงเป็นลายจุดตามลำตัว 4 จุด และมีความยาวลำตัว 20 ซม. ทั้งนี้จะพบได้เฉพาะบริเวณแก่งหินของแม่น้ำโขงตั้งแต่ปากเซของลาว จนมาถึงปากมูน ในเขต จ.อุบลราชธานี
http://news.mthai.com/general-news/115195.html
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 7
๑. จะงอยปากยาวกว่า ดูจากภาพเปรียบเทียบ
๒. คอดหางสั้นมาก บางตัวเกือบไม่พบ ครีบหางไม่ยาวล้ำปลายครีบหลังและครีบก้นเช่นปลาหลดจุด
แหล่งอาศัยที่พบ ซอกหิน หรือ หาดทรายใกล้ แก่งหินหรือวังน้ำลึก ในแม่น้ำโขงสายหลัก
ความเห็นที่ 8
ความเห็นที่ 9
ปล. อ่านความเห็นในเอ็มไทยแล้วฮ่า เหอๆๆ
ความเห็นที่ 10
นาย ก. นั่นตัวอะไร?
นาย ข. กินได้หรือเปล่า?
นาย ก. นี่ลูกอะไร?
นาย ข. กินได้หรือเปล่าเนี๊ยะ?
ส่วนเรื่องของปลาเจ๋งครับ ยังอยากเห็นค้อหมูหมี(ไม่รู้จะเรียกอะไรดี)ปริศนาแห่งลำน้ำโขงออกมามีชื่อเป็นตัวเป็นตนสักทีครับ
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 12
เจ๋ง เป็นบ้าเลยน้อง "ค้อหมูหมี"