Butterfly seminar
เขียนโดย Anonymous Anonymous user เมื่อ 26 พฤษภาคม 2554 (IP: 125.25.133.213)
การเสวนาวิชาการเรื่อง
“แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมกิจกรรมชมผีเสื้อในประเทศไทย”
และ
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
...............
หลักการและเหตุผล
ผีเสื้อเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการมายาวนานกว่า 140 ล้านปี และมีความหลากหลายชนิดพันธุ์นับแสนชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผีเสื้อกลางวัน (Butterflies) จัดเป็นสัตว์ป่าที่มีสีสันและลวดลายที่สวยงามมากที่สุดชนิดหนึ่ง ที่ให้ความสุขความอภิรมย์แก่ผู้พบเห็น เป็นแมลงที่ได้รับความนิยมในการชมมากกว่าแมลงอื่นๆทั้งหมด เนื่องจากหาชมได้ง่ายทั้งในเมืองและในป่าและมีสีสันสวยงามโดดเด่นเป็นพิเศษ จนได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งแมลง” และเป็นแรงบันดาลใจในการรังสรรค์งานด้านวรรณกรรมและศิลปกรรมจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นผีเสื้อกลางคืน (Moths) ที่มีรูปทรงและหนวด (Antenna) ที่สลับซับซ้อนใช้ในการสื่อสารระยะไกลได้อย่างน่าพิศวง จัดเป็นสัตว์ป่าที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่สนใจในพัฒนาการของอุตสาหกรรมการบินได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ผีเสื้อจัดได้ว่าเป็นแมลงที่เป็นเครื่องชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศธรรมชาติที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง โดยผีเสื้อช่วยในการผสมเกสรของดอกไม้นานาพันธุ์ และเป็นอาหารของนกและสัตว์อื่นๆ ที่ใดมีผีเสื้อมากแสดงถึงคุณภาพที่ดีของสภาพแวดล้อมและความสมบูรณ์ของป่าไม้ ต้นไม้และไม้ดอกที่เป็นแหล่งอาหารของผีเสื้อ ดังนั้น ผีเสื้อจึงมีบทบาทเด่นในระบบห่วงโซ่อาหารและการสร้างสมดุลในระบบนิเวศ รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในป่าเขาลำเนาไพร
ปัจจุบัน แม้ว่าในประเทศไทย จะยังสามารถพบเห็นผีเสื้อได้ในในสวนไม้ดอกไม้ประดับในเขตเมือง ตามท้องทุ่งใกล้บ้าน ในสวนผีเสื้อ ตามผืนป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติต่างๆ กระนั้น ผีเสื้อเริ่มมีแนวโน้มลดลงในพื้นที่ป่าหลายแห่ง และมีผีเสื้อหลายชนิดที่จัดเป็น “สัตว์ป่าคุ้มครอง” โดยห้ามซื้อขายและห้ามมีไว้ในครอบครอง เนื่องจากอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ ดังนั้น เพื่อเป็นการแสวงหาแนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์ผีเสื้อ การศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผีเสื้อ และการส่งเสริมการจัดกิจกรรมดูผีเสื้อในฐานะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้แพร่หลายมาขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จึงได้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จัดการเสวนาวิชาการเรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมกิจกรรมชมผีเสื้อในประเทศไทย” โดยผู้ร่วมประชุมประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญผีเสื้อ นักวิจัยดูผีเสื้อ และผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และส่งเสริมผีเสื้อโดยตรง เช่น สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช อุทยานผีเสื้อและแมลง กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมรักษ์ปางสีดา กลุ่มรักษ์ผีเสื้อ –ชมรมนักนิยมธรรมชาติ เป็นต้น
วัตถุประสงค์
1) เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ผีเสื้อ และการขยายพันธุ์ผีเสื้อหายากในประเทศไทย
2) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผีเสื้อสู่ประชาชนและผู้สนใจมากยิ่งขึ้น
3) เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมดูผีเสื้อในฐานะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้แพร่หลายมากขึ้น
4) เพื่อแสวงหาลู่ทางสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ผีเสื้อและการชมผีเสื้อ ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการสงวนรักษาถิ่นที่อยู่อาศัย (Habitats) ตลอดจนแหล่งพืชอาหารตามธรรมชาติของผีเสื้อในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตลอดจนพื้นที่สวนสาธารณะต่างๆ ให้ยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป
กลุ่มเป้าหมาย
อาจารย์ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆประมาณ 50 ท่าน
1) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
5) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
6) กลุ่มรักษ์ผีเสื้อ - ชมรมนักนิยมธรรมชาติ
7) สมาคมรักษ์ปางสีดา
8) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
9) นักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิด้านผีเสื้อ
10) ผู้ประกอบการสิ่งประดิษฐ์และของชำร่วยผีเสื้อ
ระยะเวลา
วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2554
การตอบรับเข้าร่วมเสวนา
ผู้สนใจสามารถตอบรับการเข้าร่วมเสวนาโดยแฟกซ์แบบตอบรับตามสิ่งที่ส่งมาด้วย มายังกองการตลาดและบริการผู้เข้าชม อพวช. โทรสารหมายเลข 02 5779991 ภายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลข 02 577 9999 ต่อ 1501 (คุณวรวลัย)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
กำหนดการ
การเสวนาวิชาการเรื่อง
“แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมกิจกรรมชมผีเสื้อในประเทศไทย”
วันที่ 28 พฤษภาคม 2554
ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
เทคโนธานี คลองห้า คลองหลวง ปทุมธานี
8.30-9.00 น. ลงทะเบียน
9.00 –9.15 น. พิธีเปิด
9.15-10.30 น. สถานการณ์ผีเสื้อในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต
10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 –12.00 น. แนวทางการสร้างเครือข่ายการศึกษาวิจัยและการอนุรักษ์ผีเสื้อ
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
14.45 –16.00 น. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการอนุรักษ์
และการส่งเสริมกิจกรรมชมผีเสื้อในประเทศไทย
(นำเสวนาโดยคุณพิชา พิทยขจรวุฒิ ที่ปรึกษาสมาคมอุทยานแห่งชาติ
สรุปผลและปิดการประชุม
“แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมกิจกรรมชมผีเสื้อในประเทศไทย”
จัดโดย
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชและ
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
...............
หลักการและเหตุผล
ผีเสื้อเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการมายาวนานกว่า 140 ล้านปี และมีความหลากหลายชนิดพันธุ์นับแสนชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผีเสื้อกลางวัน (Butterflies) จัดเป็นสัตว์ป่าที่มีสีสันและลวดลายที่สวยงามมากที่สุดชนิดหนึ่ง ที่ให้ความสุขความอภิรมย์แก่ผู้พบเห็น เป็นแมลงที่ได้รับความนิยมในการชมมากกว่าแมลงอื่นๆทั้งหมด เนื่องจากหาชมได้ง่ายทั้งในเมืองและในป่าและมีสีสันสวยงามโดดเด่นเป็นพิเศษ จนได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งแมลง” และเป็นแรงบันดาลใจในการรังสรรค์งานด้านวรรณกรรมและศิลปกรรมจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นผีเสื้อกลางคืน (Moths) ที่มีรูปทรงและหนวด (Antenna) ที่สลับซับซ้อนใช้ในการสื่อสารระยะไกลได้อย่างน่าพิศวง จัดเป็นสัตว์ป่าที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่สนใจในพัฒนาการของอุตสาหกรรมการบินได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ผีเสื้อจัดได้ว่าเป็นแมลงที่เป็นเครื่องชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศธรรมชาติที่ดีที่สุดชนิดหนึ่ง โดยผีเสื้อช่วยในการผสมเกสรของดอกไม้นานาพันธุ์ และเป็นอาหารของนกและสัตว์อื่นๆ ที่ใดมีผีเสื้อมากแสดงถึงคุณภาพที่ดีของสภาพแวดล้อมและความสมบูรณ์ของป่าไม้ ต้นไม้และไม้ดอกที่เป็นแหล่งอาหารของผีเสื้อ ดังนั้น ผีเสื้อจึงมีบทบาทเด่นในระบบห่วงโซ่อาหารและการสร้างสมดุลในระบบนิเวศ รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในป่าเขาลำเนาไพร
ปัจจุบัน แม้ว่าในประเทศไทย จะยังสามารถพบเห็นผีเสื้อได้ในในสวนไม้ดอกไม้ประดับในเขตเมือง ตามท้องทุ่งใกล้บ้าน ในสวนผีเสื้อ ตามผืนป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติต่างๆ กระนั้น ผีเสื้อเริ่มมีแนวโน้มลดลงในพื้นที่ป่าหลายแห่ง และมีผีเสื้อหลายชนิดที่จัดเป็น “สัตว์ป่าคุ้มครอง” โดยห้ามซื้อขายและห้ามมีไว้ในครอบครอง เนื่องจากอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ ดังนั้น เพื่อเป็นการแสวงหาแนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์ผีเสื้อ การศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผีเสื้อ และการส่งเสริมการจัดกิจกรรมดูผีเสื้อในฐานะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้แพร่หลายมาขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จึงได้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จัดการเสวนาวิชาการเรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมกิจกรรมชมผีเสื้อในประเทศไทย” โดยผู้ร่วมประชุมประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญผีเสื้อ นักวิจัยดูผีเสื้อ และผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และส่งเสริมผีเสื้อโดยตรง เช่น สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช อุทยานผีเสื้อและแมลง กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมรักษ์ปางสีดา กลุ่มรักษ์ผีเสื้อ –ชมรมนักนิยมธรรมชาติ เป็นต้น
วัตถุประสงค์
1) เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ผีเสื้อ และการขยายพันธุ์ผีเสื้อหายากในประเทศไทย
2) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผีเสื้อสู่ประชาชนและผู้สนใจมากยิ่งขึ้น
3) เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมดูผีเสื้อในฐานะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้แพร่หลายมากขึ้น
4) เพื่อแสวงหาลู่ทางสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ผีเสื้อและการชมผีเสื้อ ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการสงวนรักษาถิ่นที่อยู่อาศัย (Habitats) ตลอดจนแหล่งพืชอาหารตามธรรมชาติของผีเสื้อในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตลอดจนพื้นที่สวนสาธารณะต่างๆ ให้ยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป
กลุ่มเป้าหมาย
อาจารย์ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆประมาณ 50 ท่าน
1) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
- พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาต่าง ๆ ทั่วประเทศ
- อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
5) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
6) กลุ่มรักษ์ผีเสื้อ - ชมรมนักนิยมธรรมชาติ
7) สมาคมรักษ์ปางสีดา
8) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
9) นักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิด้านผีเสื้อ
10) ผู้ประกอบการสิ่งประดิษฐ์และของชำร่วยผีเสื้อ
ระยะเวลา
วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2554
สถานที่ :
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คลองห้า คลองหลวง ปทุมธานี
การตอบรับเข้าร่วมเสวนา
ผู้สนใจสามารถตอบรับการเข้าร่วมเสวนาโดยแฟกซ์แบบตอบรับตามสิ่งที่ส่งมาด้วย มายังกองการตลาดและบริการผู้เข้าชม อพวช. โทรสารหมายเลข 02 5779991 ภายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลข 02 577 9999 ต่อ 1501 (คุณวรวลัย)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เกิดความสนใจ และเครือข่ายความร่วมมือในการอนุรักษ์พันธุ์ผีเสื้อในประเทศไทย
- เกิดกิจกรรมที่ให้ความรู้เกี่ยวกับผีเสื้ออย่างแพร่หลายยิ่งขึ้นโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำไปสู่การสร้างความตระหนักด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
กำหนดการ
การเสวนาวิชาการเรื่อง
“แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมกิจกรรมชมผีเสื้อในประเทศไทย”
วันที่ 28 พฤษภาคม 2554
ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
เทคโนธานี คลองห้า คลองหลวง ปทุมธานี
8.30-9.00 น. ลงทะเบียน
9.00 –9.15 น. พิธีเปิด
9.15-10.30 น. สถานการณ์ผีเสื้อในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต
- ภาพรวมสถานการณ์ผีเสื้อในปัจจุบันและแนวโน้มในประเทศไทยและต่างประเทศ ( นำเสวนาโดยคุณสุธี ศุภรัฐวิกร ผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรเรื่องผีเสื้อ)
- สถานการณ์และแนวทางการอนุรักษ์ผีเสื้อในเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าของไทย (นำเสวนาโดยผู้แทนกรมอุทยานฯ หน. อช. แก่ง
10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.45 –12.00 น. แนวทางการสร้างเครือข่ายการศึกษาวิจัยและการอนุรักษ์ผีเสื้อ
- สวนสาธารณะ กทม. และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา : ประตูสู่การอนุรักษ์ ชมผีเสื้อและการส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติ (นำเสวนาโดย อ. พัลลภ กฤตยานวัช ที่ปรึกษาสมาคมอุทยานแห่งชาติ)
- บทบาทการอนุรักษ์และส่งเสริมการชมผีเสื้อของ ”อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร” (หน. อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร)
- บทบาทด้านการศีกษาวิจัย การเผยแพร่ความรู้และการส่งเสริมการชมผีเสื้อของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช. (คุณทัศนัย จีนทอง)
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
- - 14.30 น. แนวทางการสร้างความสนใจและส่งเสริมการชมผีเสื้อสู่ประชาชน
- การส่งเสริมการชมและการประกวดภาพถ่ายผีเสื้อของอุทยานแห่งชาติ (นำเสวนาโดยคุณสินธุยศ จันทรสาขา และ หน. อุทยานแห่งชาติปางสีดา)
- บทบาทของกลุ่มรักษ์ผีเสื้อ - ชมรมนักนิยมธรรมชาติ (นำเสวนาโดยประธานกลุ่มรักษ์ผีเสื้อ)
- การจัดพิมพ์หนังสือและช่องทางใหม่ๆในการเผยแพร่ความรู้เรื่องผีเสื้อของประเทศไทยในปัจจุบันและในอนาคต (นำเสวนาโดยคุณเกรียงไกร สุวรรณภักดิ์ ผู้เขียนหนังสือคู่มือดูผีเสื้อในประเทศไทย และคุณสุรชัย ชลดำรงค์กุล ผู้เรียบเรียงหนังสือ “บันทึกผีเสื้อ” กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช)
14.45 –16.00 น. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการอนุรักษ์
และการส่งเสริมกิจกรรมชมผีเสื้อในประเทศไทย
(นำเสวนาโดยคุณพิชา พิทยขจรวุฒิ ที่ปรึกษาสมาคมอุทยานแห่งชาติ
สรุปผลและปิดการประชุม
Comments
ความเห็นที่ 1