ข่าว: เรือบรรทุกน้ำตาลล่ม ปลาซวย
เขียนโดย GreenEyes Authenticated user เมื่อ 2 มิถุนายน 2554
http://www.thairath.co.th/content/region/175840
ขออธิบายเพิ่มเิติม
น้ำตาลละลายลงน้ำ > แบคทีเรียกินน้ำตาล > แบคทีเรียขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วเพราะอาหาร(น้ำตาล)เยอะ > และแบคทีเรียกลุ่มนี้เป็นพวกใช้ออกซิเจนเป็น e- accepter (หายใจด้วยออกซิเจน) > เป็นผลให้ ระดับออกซิเจนในน้ำลดลงอย่างมาก
ขออธิบายเพิ่มเิติม
น้ำตาลละลายลงน้ำ > แบคทีเรียกินน้ำตาล > แบคทีเรียขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วเพราะอาหาร(น้ำตาล)เยอะ > และแบคทีเรียกลุ่มนี้เป็นพวกใช้ออกซิเจนเป็น e- accepter (หายใจด้วยออกซิเจน) > เป็นผลให้ ระดับออกซิเจนในน้ำลดลงอย่างมาก
- ณ จุดที่เรือล่ม น้ำไม่เน่า เพราะแบคยังไม่โตพอ ให้คิดภาพว่า น้ำวิ่งไปเป็นก้อน
- น้ำสะอาดก้อนที่ไหลมา เจอน้ำตาล น้ำตาลก็ละลายลงน้ำไป ให้จุดนี้เป็นระยะทางที่ 0 กิโลเมตร
- น้ำก้อนนี้มีน้ำตาลแล้ว แบคทีเีรียที่มีอยู่แล้วก็กินน้ำตาลไป ค่อยๆเพิ่มปริมาณ อยู่ในน้ำก้อนนี้ ออกซิเจนเริ่มลดลง ตอนนี้น้ำก้อนนี้ไหลผ่านเรือไปแล้ว 4 กิโลเมตร (ระยะทางสมมติ)
- น้ำก้อนนี้ก็ไหลไปเรื่อยๆ น้ำตาลก็ค่อยๆลดลง แต่ยังไม่หมด แบคทีเีรียก็กินไปเรือ่ย แบ่งตัวเพิ่มปริมาณไปเรื่อย และใช้ออกซิเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้น้ำก้อนนี้ไหลผ่านเรือไปแล้ว 8 กิโลเมตร (ระยะทางสมมติ)
- น้ำก้อนนี้ก็ยังไหลต่อไป แบคทีเีรียก็ยังโตต่อไปตราบที่ยังมีน้ำตาลกิน และใช้ออกซิเจนหายใจมากขึ้นเรื่อยๆต่อไป ณ จุดนี้ ออกซิเจนในน้ำลดลง จนพวกปลาหายใจไ่ม่ออกซะแล้ว (ตอนนี้มวลน้ำ้ก้อนนี้ไหลไปอยู่ตำแหน่งไหน ปลาที่นั่นก็จะซวยไปครับ หายใจไม่ออก)
- ตามตำราจะเรียกเหตุการณ์ลักษณะนี้ว่า Dissolved Oxygen Sag Curve
Comments
ความเห็นที่ 1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
โจทย์คือ น้ำมีน้ำตาลเยอะมาก ซึ่งมันย่อยสลายง่าย ทำให้แบคกินไวโตไว กินออกซิเจนหมด
1. เพิ่มออกซิเจน โดยการผันน้ำสะอาดมาผสม หรือ ติด aerator กลางแม่น้ำสักช่วงไหวปะ เป็นการแก้ปัญหาโดยตรง เร่งกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติและทำให้มีออกซิเจนเพิ่มด้วยปลาจะได้ไม่ตาย
2. ไม่น่าจะเวิร์ค ใส่แบคทีเรียไม่ใช้อากาศเข้าไป ผมปรึกษา ดร.คนอื่นอีกสองคน อาจได้อยู่บ้างแต่ข้อจำกัดคือ ถ้าในน้ำมีออกซิเจนเยอะ มันจะตาย แต่กรณีที่น้ำมีออกซิเจนมีน้อยอยู่แล้วมันก็ทำงานได้ แต่แบคทีเีรียพวกนี้ทำงานช้า ไม่เหมาะกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
3. ใส่สาร Oxidizer แต่มันก็ต้องคำนวณและควบคุมนะ แนะนำตัว ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ H2O2
H2O2 จะเข้าไปสลายสารอินทรีย์ในน้ำโดยตรง และตัวมันเองสลายตัวเป็นน้ำกับออกซิเจนด้วย
ข้อจำกัดคือ ตัวมันเองก็อันตราย เข้มข้นไปปลาก็ตายเหมือนกัน (ต้องเชคว่าปลาทนได้แค่ไหน) และมันก็ไม่ได้่ย่อยสลายกับน้ำตาลอย่างเดียว มันทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์แทบทุกอย่างในน้ำทำให้ต้องใช้ปริมาณมากกว่าที่จะคำนวณกับน้ำตาลอย่างเดียว (อาจต้องทำการทดลองก่อน)
ถ้าจะใช้ อาจใส่ลงไปตรงกลาง plume ให้ความเข้มข้นตรงนั้นมันลดลง มันจะได้เจือจางลงไปได้ง่ายขึ้น
4. ไม่น่าจะเวิร์ค ใส่พวกตัวดูดซับลงไป ประมาณว่า น้ำตาลทำให้น้ำเน่า แต่ท่อนไม้ทิ้งลงไปมันเน่ายากเพราะสลายตัวช้ากว่า ถ้าตัวดูดซับมันดูดน้ำตาลลงไปจะได้ถ่วงเวลาการใช้ออกซิเจน เพราะออกซิเจนจากอากาศจะได้มีเวลาละลายลงไปแทน
แต่เท่าที่ผมถามๆเพื่อนดู เขาว่าพวก activated carbon มันไม่น่าจะดูดซับน้ำตาลได้ เพราะโมเลกุลมันเล็ก ผมนึกตัวอื่นๆไม่ออก
ความเห็นที่ 4
เมื่อเย็นฟังข่าวน้ำก้อนนั้นไหลมาถึงปทุมแล้ว ทางจังหวัดเร่งระดมเครื่องสูบน้ำ และเครื่องตีน้ำ เพื่อเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ และกำลังดูผลกระทบในการทำน้ำประปาด้วย
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ใหญ่ ด้านบนทำช่องดักลม ถ้าไม่ดูดลมก็ลดขนาดท่อเข้ารีดเล็กลงอีกก็ดูดอากาศได้แล้ว
ความเห็นที่ 7
http://thairecent.com/Local/2011/876087/
ความเห็นที่ 8
ปกติความเข้มข้นของน้ำตาลน่าจะลดลงเมื่อมวลน้ำเพิ่มขึ้น นั่นคือจะเจือจางลงเมื่อไหลออกไปไกลขึ้น แต่ไม่รู้ว่ามันเริ่มต้นมันจะเข้มข้นขนาดไหน ดูข่าวปลาที่ขึ้นมาส่วนมากเป็นปลาหน้าดิน ที่ผมคิดว่าโดนแจ๊คพอตสองเด้ง ดูจากน้ำเชื่อมที่ตอนเราเทใส่น้ำจืดมันจะจมลงด้านล่าง แถมอาจจะโดนพวก anerobic bacteria ผลิตมีเธนเพิ่มให้อีก อย่าคิดแก้แค่ผิวหน้าน้ำนะครับ คิดถึงน้ำด้านล่างด้วยครับ
ความเห็นที่ 9
ความเห็นที่ 10
ปล. ไม่ใช่เรือผมน้ำตาลผมนะ เีดี๋ยวจะเข้าใจผิดกัน
ความเห็นที่ 11
ความเห็นที่ 12
ความเห็นที่ 12.1
ความเห็นที่ 13
เท่าที่รู้คร่าวๆ ระบบผลิตน้ำประปามันไม่มีการกำจัดสารอินทรีย์ละลายน้ำพวกนี้โดยตรง เหมือนพวกบำบัดน้ำเสีย
แต่อาจเป็นการบำบัดโดยอ้อมก็ได้?
ความเห็นที่ 14
สังเกตุจากปริมาณ ปลาที่ขึ้นฮุบน้ำ ตูมใหญ่่ มีถี่มากๆ
บางตัวขึ้นน้ำที เรียกเสียง ฮือ จากพวกจอดรถดู ได้เลยครับ
ความเห็นที่ 15
ความเห็นที่ 15.1
ความเห็นที่ 15.1.1
http://www.siamensis.org/species_index#5441--Species:%20Labeo%20chrysoph...
ความเห็นที่ 16
ความเห็นที่ 17
ความเห็นที่ 18
ความเห็นที่ 19
ความเห็นที่ 20
ถ้าเปรียบเทียบผลกระทบเรือน้ำตาลล่มกับแม่น้ำแล้วนี่ผมนึกถึงว่าคล้ายกับกรณีโรงานไฟฟ้านิวเคลียร์แตกที่ญี่ปุ่นเลยนะครับ
เห็นน้ำตาลเป็นของหวานแบบนี้ก็จริงแต่พอเจอกับของที่มันไม่ถูกกันเข้าแล้วจากน้ำตาลหวานๆมันก็กลายเป็นหายนะได้เหมือนกัน
อย่างนี้อาจจะมองได้ว่าที่จริงแล้วเรือน้ำตาลนี่ก็เหมือนวัตถุอันตรายในแม่น้ำเลยทีเดียว
ซึ่งการจะขนส่งควรจะยกระดับการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยที่มากกว่าระดับปกติเช่นมีมาตรการป้องกันความหายนะในกรณีอุบัติเหตุอีกชั้นหรือสองชั้นเป็นแผนหนึ่ง สอง รองรับเผื่อไว้
อย่างในกรณีเรือน้ำตาลนี้ผมลองนึกสร้างสรรค์ฟุ้งๆไปก่อน(ในทางปฏิบัติทำได้หรือไม่ก็เป็นเรื่องของการประยุกต์ใช้)
ว่าถ้านำตาลที่ขนไปบนเรือมันมีถุงพลาสติกเหนียวๆครอบไว้ถึงเรือจะล่มยังไงน้ำตาลก็คงไม่ไหลออกมาละลายลงสู่แม่น้ำได้แน่
อีกทั้งการเก็บกู้ก็ทำได้ง่ายแค่หยิบถุงน้ำตาลขึ้นมาทีเดียวเสร็จความเสียหายต่อสินค้าน้ำตาลและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมก็น้อยมากเพราะแทบจะไม่มีน้ำตาลหลุดออกไปเลย
อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ใครๆก็ไม่อยากให้เกิดจริงๆครับ แต่ถ้าเราระวังป้องกันกับมันมากขึ้นเหตุร้ายความรุนแรงก็ลดไปได้มากขึ้นเช่นกัน :)
เสียดายปู่ปลาทวดปลาจริงๆครับ ใหญ่เบิ้มมาก
ความเห็นที่ 21
ปลาจีนครับคุณต้ล ความจริงปลาเล็กๆน่าสนใจมากแต่ผมไม่ทันได้ไปดูไปช้อนกับเขา อาจเจอหางไหม้สักตัว แหะ แหะ จังหวะนั้นชาวบ้านไม่สนตัวเล็กๆแล้ว เช้าวันนี้ปลาในแม่นำเริ่มกินอาหารที่ให้ไปบ้างแล้วถึงแม้จำนวนจะลดลง(ฝูงสังกะวาด+ปลาเกล็ดน้อยใหญ่หายเรียบ)หวังว่าคงแค่อพยพหนีภัยไปเท่านั้นนะครับ
ความเห็นที่ 22
ความเห็นที่ 23
ความเห็นที่ 24
ความเห็นที่ 24.1
ความเห็นที่ 25
ความเห็นที่ 26
ว่าแต่ว่าเจอพวกตะเพียนสั้นเยอะไหมครับ
ความเห็นที่ 27
งั้นก็แปลว่า จุดที่ออกซิเจนลดลงจนปลาหายใจไม่ออก เป็นจุดที่น้ำตาลถูกย่อยสลายไปจนแทบไม่เหลือแล้ว ใช่ไหมครับ?
(นึกว่าจะได้กินปลาหวาน โฮ่ะๆๆ)
ความเห็นที่ 27.1
น้ำตาลอาจจะยังเหลือหรือไม่ ไม่สามารถบอกได้ครับ ต้องนำน้ำไปตรวจวัดพารามิเตอร์อื่นครับ
ความเห็นที่ 28
ความเห็นที่ 29
เห็นในข่าวน้ำตาลตั้ง ๒,๔๐๐ ตัน ทีแรกนึกว่าดูผิดดูใหม่ตั้งหลายรอบ
น้ำตาล ๒,๔๐๐,๐๐๐ กิโลกรัม นึกภาพมันมหาศาลจริงๆ เขาขนกันทีละเยอะขนาดนี้เลย
พอเรือล่มลำนึงมันก็ลากลำอื่นตามลงน้ำไปด้วยงั้นรึเปล่าครับ
ความเห็นที่ 30