นักวิชาการรัสเซีย เตรียมเก็บไข่นกชายเลนปากช้อนมาเพาะเลี้ยงในสวนสัตว์

เห็นด้วยหรือไม่ครับ?  มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
http://www.bbc.co.uk/nature/13627796

Comments

ความเห็นที่ 1

If do that, and make more survival rate than naturally left (based on scientific investigation, research and management), it will be better. But the chick have to trained to be wildbird, and can fill up its population later!!!!

ความเห็นที่ 2

ตามความคิดเห็นของผมนะครับ ข้อดีคือ สถานะภาพของนกปากช้อนในปัจจุบันถือว่าอยู่ในขั้นน่าเป็นห่วงอย่างมาก แล้วถิ่นกำเนิดของเขาก็มาจากแถวไซบีเรีย ซึ่งก็อยู่ในพื้นที่ของรัสเซียอยู่แล้ว การที่นักวิชาการของรัสเซียจะนำมาเพาะเลี้ยงไม่ว่าจะเพาะที่ไหน ถ้าประสบผลสำเร็จก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี ดูอย่างสัตว์หลายชนิดในบ้านเราก็ได้ (อย่างนกกระเรียน) ก็มีการเพาะอยู่ในที่เฉพาะเหมือนกันเมื่อได้จำนวนมากพอก็ปล่อยออกสู่ธรรมชาติ ส่วนข้อเสียก็คงมีแหละครับ ลูกนกที่ถูกเพาะเลี้ยงจะหากินได้เองในธรรมชาติหรือเปล่า หรือการที่ไปเก็บไข่มาแล้วฟักไม่ติดจะด้วยอะไรก็แล้วแต่ แม่นกจะไม่ยอมมาไข่ในพื้นที่เดิมเหมือนนกบากชนิดไหม การที่มีมนุษย์เข้าไปในพื้นที่ของเขาเขาอาจจะไม่วางไข่ก็ได้ สรุปนะครับ มันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ผมเห็นด้วยครับ ดีกว่าที่จะปล่อยให้เขาหายไปโดยที่ไม่ทำอะไรเลย 

ความเห็นที่ 3

พูดถึงนกกระเรียน

มีท่านใดได้ผ่านไปดูโครงการปล่อยนกกระเรียนที่เพาะพันธุ์ได้กลับสูธรรมชาติบ้างไหมครับ
(จากกระทู้เก่าในนี้แหละ)
อยากทราบความคืบหน้า

ความเห็นที่ 4

ล่าสุดปล่อยเพิ่มอีก 7 ตัว ทราบแค่นั้นครับ

ความเห็นที่ 5

สำหรับนกชายเลนปากช้อน ไม่แน่ใจว่ามันจะเหมือนนกชนิดอื่นๆหรือเปล่า คือถ้าไข่ชุดแรก ถูกเก็บไป หรือเสียหาย มักจะสามารถไข่ชุดที่ 2 ของฤดูกาลได้ วิธีการแบบนี้ใช้กันเยอะในกลุ่มของนกหายาก เพื่อเพิ่มอัตราการขยายพันธุ์ในแต่ละปี

ความเห็นที่ 6

นกบางชนิด ถ้าถูกเก็บไข่ไปแม้เพียงบางส่วน ก็ไข่ทดแทนได้ เช่น ปกติวางไข่ 6 ฟอง ถูกเก็บไป 2 ฟอง ก็จะไข่เพิ่มจนครบ 6 เช่น นกกระทา ไก่ป่า นกเป็ดน้ำ 
แต่บางชนิด ต้องเก็บให้หมดรังมันจึงจะไข่เพิ่ม ถ้าเก็บไม่หมด มันก็จะฟักเท่าที่เหลือ เช่น นกหัวโตหลังจุดสีทอง เป็นต้น