งู 2 ตัว

Comments

ความเห็นที่ 1

อ๊ากกกกกกก แด่วๆๆๆๆๆๆๆๆ แหง็กๆๆๆๆๆๆๆๆ

ตัวแรกลูกเจี๊ยบของงูพริกท้องแดง (Caliophis bivirgata flaviceps) เป็นงูพิษแรง แต่ไม่ดุ ตอนเล็กๆดูตัวสั้นๆยังไงไม่รู้
 

ตัวหลังจี๊ดมากๆ งูดอกหมากแดง (Chrysopelea pelias) ฟอร์มนี้ยังดูไม่ต่างกับทางมาเลย์ ไม่อันตราย
 

ความเห็นที่ 2

สวยมาก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ  หากเจออีก ผูกหางไว้รอก่อนนะครับ จะรีบไปดู

ความเห็นที่ 2.1

เป็นภาพที่เจ้าหน้าที่ถ่ายไว้ให้ครับ เวลาเค้าออกพื้นที่ถ้าเจอ....จะถ่ายมาให้ทุกครั้ง

ความเห็นที่ 2.1.1

ผมจะทำลิสต์สัตว์เลื้อยคลานให้นะครับ (อาจรวมน้องแอมฟิด้วย) ลองไปดูบัญชีเดิมที่ อช. มีอยู่ กับภาพเจ้าพวกนี้มาไล่ดูกันอีกทีนะครับ ภาพก่อนหน้านี้ผมก็ไม่ได้เก็บไว้เลยแต่พอจะนึกออกบางส่วนก็จะทำที่นึกออกก่อนนะครับ

ความเห็นที่ 2.1.1.1

ขอบคุณมากครับ

ความเห็นที่ 2.1.1.1.1

อ้าวงั้นผมสบายแล้ว ฝากทำ amp ด้วยเลยนะพี่!!  ส่วนภาพชุดที่ผมถ่ายไว้ เดี๋ยวส่ง dvd ให้เน้อ

ความเห็นที่ 2.1.1.1.1.1

แหะๆๆๆ เอาเท่าที่ได้ล่ะกัน

ความเห็นที่ 3

สวยจริงๆเด็กๆเจอสงสัยหิ้วกลับบ้านแน่เลย

ความเห็นที่ 4

ไร้ว๊า ตอนเราไป ไม่เห็นผูกหางไว้รอเลย!!!!

ความเห็นที่ 5

กรี๊ดทั้งสองตัวเลยครับ TT

ความเห็นที่ 6

อย่างงามเลย  ^___^

ความเห็นที่ 7

#1/1  It Muellerian mimic to สามเหลี่ยมหัวหางแดง!!!!
#1/2  Batesian to other Maticora spp.

ความเห็นที่ 7.1

ไม่ใช่ พริกท้องแดงหรอกเหรอครับ

ความเห็นที่ 7.1.1

Muellerian mimic อารมณ์ว่าเลียนแบบกันหน่ะครับ
แต่ต่างกันที่ทั้งสองฝ่ายอันตรายทั้งคู่

ความเห็นที่ 8

ผมว่าตามที่พี่knotsnakeบอกครับน่าจะพริกไม่ใช่สามเหลี่ยมครับ สามเหลี่ยมเท่าที่ดูไม่มีขอบขาวๆครั

ความเห็นที่ 8.1

ดร.หมีน้ำบอกว่ามันเลียนแบบงูสามเหลี่ยมหัวแดงครับ(จริงๆแล้วใครเลียนแบบใครกันแน่หว่า) เลยกลายเป็นแฝดนรกสุดๆ เพราะทั้งคู่พิษแรง ไม่รู้มันจะเลียนแบบกันทำไม นอกจากนี้ยังมีงูพิษอ่อนพอท้วมๆกับงูไม่มีพิษมาเลียนแบบแฝดคู่นี้อีกหลายชนิดครับ

ความเห็นที่ 8.1.1

มันเลียนแบบเพื่อตอกย้ำความแรงไงคะ

ความเห็นที่ 8.1.1.1

yes

ความเห็นที่ 8.1.2

แท้จริงแล้วก็ศิษฐ์สำนักเดียวกัน ชุดเหมือนกัน อุดมการณ์เดียวกัน

ความเห็นที่ 8.1.2.1

ถูกต้องที่สุดครับ

ความเห็นที่ 8.1.3

เป็นการเลียนเพื่อให้เข้าใจถูก ว่าข้าก็มีพิษเหมือนกันนะเฟ้ยยย
ส่วน Batesian เป็นการเลียนเพื่อให้เข้าใจผิดว่า ถ้าจะมีพิษว่ะ ทั้งที่จริงไม่มี

ความเห็นที่ 8.1.3.1

จริงๆแล้ว มันเป็น การคัดเลือกตามธรรมชาติ ใช่ไหมครับ    ไม่ใช่ จงใจเลียนแบบ

ความเห็นที่ 8.1.3.1.1

นอกเสียจากดร.เอิร์ทจะเชื่อเรื่อง Intelligence design สีลายเหมือนกันมันก็เป็นแค่ความบังเอิญ!! 

ความเห็นที่ 8.1.3.1.1.1

โดยตรรกจริงๆแล้ว มันก็เป็นเช่นที่ ดร.ตาเขียวว่าไว้นั่นแหละ เพราะผมเองก็ไม่ได้เชื่อว่างูชนิดหนึ่งมองเห็นงูที่น่าเกรงขามมีลักษณะหนึ่งเลยพยายามทำตัวเองให้เหมือนได้ เพียงแต่กาลครั้งหนึ่งมีงูเกิดขึ้นมากมาย แต่ที่มีลักษณะไปคล้ายตัวทีอันตรายก็เกิดมาปะปนด้วย นักล่าอื่นๆที่เคยเลียนรู้ว่าไอ่ลักษณะนี้เคยมีบรรพบุรุษของมันเดี้ยงมาแล้วเลยไม่ขอไปยุ่งกับหน้าตาแบบนี้ดีกว่า ลักษณะนี้เลยรอดมาสืบเผ่าพันธุ์มาได้ แต่..ในทางกลับกัน นักล่าที่เรียนรู้การล่าตัวอันตรายก็อาจมองว่าไอ่ตัวที่ไม่ใช่เป้าหมายกลายเป็นเป้าหมายของมันได้เช่นกันวุ้ย  ความเหมาะสมของที่หนึ่งก็อาจเป็นภัยร้ายแรงกับตัวมันเองในอีกที่หนึ่งก็ได้ครับ

เราเคยคิดกันไหมว่าความผันแปรที่เราเห็นๆนั้น จะมีลักษณะที่เด่นอยู่(ในพื้นที่นั้น)แล้วมีลักษณะต่างๆปะปน ไอ่ที่เห็นเพียงเล็กน้อยอาจเป็นลักษณะที่เคยยิ่งใหญ่ของชนิดนั้นๆในอดีตก็เป็นได้ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมตรงนั้น แล้วลายเดิมๆไม่เหมาะ หรือเกิดมีนักล่าที่ผันตัวเองให้ล่าตัวที่เคยล่ายาก(ด้วยสาเหตุต่างๆ)ในครั้งกระนั้นได้ เลยมีการเปลี่ยนโครงสร้างความผันแปรที่รอดไป หรืออาจเป็นจุดเริ่มต้นของชนิดใหม่ก็ยังได้อีก

ความเห็นที่ 8.1.3.1.1.2

Intelligence design ก้เชื่ออยู่เหมือนกันนะพี่ เช่นว่าตั๊กแตนใบไม้ อะไรมันจะเหมือนได้ขนาดนั้น จะว่าบังเอิญก็เชื่อได้ไม่เต็มที่

ความเห็นที่ 8.1.3.1.1.2.1

เย้ย!

ความเห็นที่ 8.1.3.1.1.2.1.1

อะ หรือผมเข้าใจคำนี้ผิด คือผมเชื่ออยู่ส่วนหนึ่งว่า สัตว์ชนิดนั้นๆจงใจสร้างตัวเองให้เป็นแบบนั้น โดยที่มันมองเห็น และเข้าใจ ในสิ่งที่มันเลียนแบบ เช่น ตั๊กแตนใบไม้

ความเห็นที่ 8.1.3.1.1.2.1.1.1

Intelligence design  คือความเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตทุกอย่างมันมีความสลับซับซ้อนเกินกว่าที่จะเกิดจากความบังเอิญตามธรรมชาติ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ต้องถูกสร้างและออกแบบขึ้นด้วยความชาญฉลาดของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น

ความเห็นที่ 8.1.3.1.1.2.2

Intelligence design เป็นบทสรุปโดยไม่ต้องหาคำอธิบายครับ ทุกอย่างเกิดมาย่อมมีเหตุผล แล้วมีเหตุผลที่จะคงอยู่และดับสูญไป

นอกจากตัวเหมือนแล้ว มันยังต้องเรียนรู้การอยู่ให้ถูกที่ด้วย ไม่เช่นนั้นสิ่งที่อุตส่าห์สร้างโดยอัจฉริยะก็จะไม่มีความหมายต่อการอยู่รอดของมันเลย

เพื่อนเคยเล่าให้ฟังว่ามีฝาหรั่งจับกิ้งก่าที่มีแขนขายาวๆจากเกาะที่มีต้นไม้ใหญ่มากมายไปปล่อยบนเกาะที่ไม่เคยพบกิ้งก่าชนิดนี้ สภาพเกาะเป็นหินกับไม้พุ่มเล็กๆ เวลาผ่านไป ๑๗ ปี ปรากฎว่ากิ้งก่าหน้าตาเหมือนเดิม แต่แขนขากลับสั้นลงอย่างชัดเจน

ส่วนความเหมือน ก็คือบังเอิญเหมือนที่มาเหมือน โดยมีสาเหตุหลักๆสักสองแนวทางคือ
๑. สภาพแวดล้อมที่คล้ายๆกัน ที่จริงมันตั้งใจแค่อยู่ที่นี่ให้รอด ที่ลักษณะต่างจากนี้มันไม่รอด (สัตว์เองก็ไม่รู้ว่าตัวเองจะเกิดมาแบบไหน แต่ที่เหลือถ่ายทอดพันธุ์กรรมส่วนใหญ่หน้าตาแบบนี้ มันเลยออกมาแบบนี้ ถ้าไม่ผ่าเหล่าเองซะก่อน) เช่น งูปลิง กับปลิงควาย

๒. ได้อานิสงค์จากเพื่อนร่วมโลกที่ดูคล้ายๆกัน ที่ทำให้ผู้ล่าละเว้นที่จะจัดการกับสัตว์ลักษณะนี้ ยึดหลักปลอดภัยไว้ก่อน เช่น งูปล้องฉนวน กับทับสมิงคลา (บางคนในนี้ก็มีประสบการณ์มาแล้ว)
แต่นั่นแหละก่อนที่จะเหลือลักษณะที่รอดได้ถึงวันนี้ มันก็ต้องมีลักษณะที่หลากหลายมากต่างกรรม ต่างวาระ