ข่าว: แมงกระพรุนไฟ ภูเก็ต
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNd09EZ3lNVGt5TXc9...
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000075587
ชี้แมงกะพรุนหาดภูเก็ต หนวดมีพิษ75%ของงูเห่า
จากกรณีมีข่าวพบแมงกะพรุนพิษเกลื่อนชายหาดภูเก็ต ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. นายอุกกฤต สตภูมินทร์ นักวิชาการชำนาญการพิเศษ รักษาการผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน จ.ภูเก็ต เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. เจ้าหน้าที่สถาบันฯได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำหาดในหาน ว่ามีแมงกะพรุนเกยตื้นบริเวณหาดในหานและหาดในทอน จ.ภูเก็ต โดยมีการเก็บตัวอย่างแมงกะพรุนที่ยังมีชีวิตไว้ 6 ตัว หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ของสถาบันของสถาบันฯ ได้เดินสำรวจตามแนวหาดพบตัวอย่างแมงกะพรุนเกยตื้นและรวบรวมได้จำนวน 9 ตัว ก่อนหน้านั้นหาดในทอน พบ 2 ตัว เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำหาดในทอนแจ้งว่าเคยพบแมงกะพรุนชนิดนี้ใน ช่วงเดือนมิ.ย.-ก.ค. ทั้งนี้ผลการจำแนกชนิดตัวอย่างแมงกะพรุนเบื้องต้น พบว่าเป็นแมงกะพรุนกลุ่ม Hydrozoa วงศ์ Physalidae ชนิด Physalia sp. ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของแมงกะพรุนไฟ
“โดยระดับความเป็นพิษของแมงกะพรุนชนิดนี้พบมากได้ทั่วไปในเขตน้ำอุ่น โดยมีรายงานพบบ่อยในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งฝั่งทะเลอันดามันมีรายงานการพบแมงกะพรุนชนิดนี้เป็นครั้งแรก หากมีการสัมผัสทำให้เกิดการบาดเจ็บในหลายระดับขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ตั้งแต่อาการแสบคันจนถึงปวดแสบปวดร้อน รวมถึงมีอาการไข้ ช็อค และเกิดความผิดปกติกับหัวใจและปอด ในกรณีที่รุนแรงที่สุดทำให้เสียชีวิตได้ สารพิษที่พบในสายหนวดของแมงกะพรุนชนิดนี้มีความรุนแรงประมาณร้อยละ 75 ของพิษงูเห่า”
นายอุกกฤต กล่าวย้ำว่า จำนวนแมงกะพรุนที่พบทั้งสองหาดภูเก็ตมีไม่ถึง 10 ตัว มีพิษในระดับหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่แมงกะพรุนชนิดที่ร้ายแรงขนาดสัมผัสร่างกาย มนุษย์แล้วถึงกับเสียชีวิต อย่างไรก็ตามสำหรับข้อควรระวัง ตามหลักวิชาการแล้วแมงกะพรุนชนิดนี้มักมีการเกยตื้นบริเวณชายหาด มีสีฟ้าสด เป็นที่สะดุดตาของผู้ที่พบเห็น ผู้ที่ไม่ทราบแล้วไปสัมผัสกับแมงกะพรุนชนิดนี้อาจจะได้รับพิษได้ ส่วนที่อยู่ในน้ำนักท่องเที่ยวที่ลงเล่นน้ำอาจจะสัมผัสแมงกะพรุนและได้รับ บาดเจ็บ จึงเห็นควรให้แจ้งเตือนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำหาดและนักท่อง เที่ยว ให้สวมเสื้อแขนยาว กางเกงยาวคลุมเข่า เพื่อลดโอกาสได้รับบาดเจ็บ
ที่มา http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNd09EZ3lNVGt5TXc9...
Comments
ความเห็นที่ 1
IMMEDIATE FIRST AID ADVICE:
1. Rinse the area liberally with seawater or fresh water to remove any tentacles stuck to the skin. This can be from a spray bottle or in a beach shower. Do not apply vinegar. A study shows that vinegar in these stings sometimes makes the sting worse. (Portuguese man-of-wars belong to a different family than box jellyfish [Carybdea alata] and therefore must be treated separately.)
2. For severe pain, try applying heat or cold, whichever feels better to the victim.
3. Few Portuguese man-of-war stings in Hawai`i cause life-threatening reactions, but this is always a possibility. Some people are extremely sensitive to the venom; a few have allergic reactions. Consider even the slightest breathing difficulty, or altered level of consciousness, a medical emergency. Call for help and use automatic epinephrine injector if available.
ที่มา: http://www.aloha.com/~lifeguards/portugue.html
ความเห็นที่ 2
http://phuketandamannews.com/24-06-54/news04.html
ความเห็นที่ 2.1
ความเห็นที่ 3
ความเห็นที่ 4
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 5.1
ถ้าว่ากันตามการกระจายก็เป็น P. utriculus หมด แถมลักษณะยังไม่มีใบเรือเหมือนกัน
ความเห็นที่ 5.1.1
ความเห็นที่ 6
มายืนยันด้วยคนครัยว่าที่ตรังก็เจอนานเเล้ว ผมเคยเจอตอนเก็บตัวอย่างเมื่อประมานปี 2549ได้
ความเห็นที่ 7
ได้คลิปนี้ช่วยไขข้อข้องใจได้เยอะเลยค่ะ ^^