[#NewSpecies] ปลาค้อทองผาภูมิ • Schistura aurantiaca • Mae Khlong basin, central Thailand

 
ปลาค้อชนิดใหม่ จากแม่น้ำแควน้อย (ลุ่มน้ำแม่กลอง) ในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

Schistura aurantiaca nov. sp.

Schistura aurantiaca, new species, is described from the Mae Khlong basin in western Thailand. It is distinguished from all other species of Schistura by a unique color pattern of 3-9 orange bars on the side of the body, with the 1st bar immediately behind the head and the 2nd bar near the dorsal-fin origin and widely separated so that most of the nape and the anterior side of the body are uniformly brown. The species reaches only 41 mm SL and inhabits shallow gravel and rubble riffles in small streams.

Plongsesthee, R., Page, L.M. & Beamish, W. 2011. Schistura aurantiaca, a new species from the Mae Khlong basin, Thailand (Teleostei: Nemacheilidae). Ichthyological Exploration of Freshwaters, 22 (2): 169-178. : http://www.pfeil-verlag.de/04biol/pdf/ief22_2_04.pdf

Comments

ความเห็นที่ 1

ขอบคุณคร้าบบบบบ ปีนี้ต้องมีมาฝากสักเปเปอร์สิน่า (เป็นอย่างน้อย)

ความเห็นที่ 2

เจ้า "ไทยประจัน" ในตำนานครับ น่าสนใจลักษณะที่แตกต่างจาก S. robertsi ว่ามากน้อยแค่ไหนครับ

ความเห็นที่ 2.1

ความเห็นที่ 3

ยังไงฮะพี่หมี ตามความเข้าใจเดิมคิดว่าไทปะจัน = ค้อเข็มขัด สงสัยผมจะมาไม่ทันตอนเริ่มเป็นตำนาน

ความเห็นที่ 3.1

ถ้า ค้อเข็มขัดของท่านหมายถึง S. balteata ก็บ่แม่นครับ ไทยประจัน มันคือตัวในภาพนี้แหล่ะ ฟอร์มของมันเจอตั้งแต่ (ที่เจอด้วยตัวเอง) จ.กำแพงเพชร ไปจนถึง ภูเก็ต เราตีมันเป็น S. robertsi กันมาตลอด

ความเห็นที่ 4

ขอบคุณสำหรับเปเปอร์ดีๆ ครับท่านขุน

ความเห็นที่ 5

ทีมนี้ผู้กล้าจริงๆครับ แยกตัวนี้ออกมา กลุ่มนี้ทั้งกลุ่มที่ผมเห็นตั้งแต่ กำแพงเพชร ยันภูเก็ต โคตรขลุกขลิกเลย อยู่ลำธารเดียวกันยังไม่เหมือนกันสักตัว

ความเห็นที่ 6

ถ้าเช่นนั้นใครจะนำเสนอผลงานอะไรที่เกี่ยวข้องกับสัตว์หรือพืชในประเทศไทย ต้องขออนุญาต และได้รับความเห็นชอบจากพวกคุณก่อนหรือเปล่า??????????

ความเห็นที่ 6.1

ถ้าความคิดเห็นของผมหรือของใครทำให้คิดเป็นเช่นนั้นก็ขออภัยครับ งานดังกล่าวก็เป็นสาธารณะ ซึ่งผมเชื่อว่าสามารถวิจารณ์ได้ตามหลักวิชาการครับ
schistura_aurantiaca.jpg

ความเห็นที่ 7

ขออภัยนะครับ เพียงอยากถามว่าทำไมคิดแบบนั้นหรือครับ การพบเจอสิ่งใหม่ หรือเปลี่ยนไปอยู่กลุ่มใหม่ มันก็น่าที่จะมีการสืบค้นข้อเท็จจริงได็ ว่าเป็นของใหม่ หรือมีอยู่อยู่แล้ว แต่ถูกแยกกลุ่มออกมา เนื่องจาก ..................... นี่แหละครับ คือประเด็น กลุ่มสยามเอ็นสิส ไม่ได้มีส่วนชี้เป็นชี้ตาย ว่าสัตว์ตัวนั้นคืออะไร สปีร์ชี่ไหน สกุลอะไร แต่พอมีนักวิชาการมาบอกว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็มาพูดคุยกันว่ามันใช่หรือเปล่า ไม่ได้มีเหตุผลอื่นใดแอบแฝงเลยครับ เรามาหาเหตูผลครับ ว่าทำไมไอ้นั่น ต้องเป็นอย่างนี้ แล้วไอ้นี่ ต้องเป็นอย่างนั้น ที่ทำทัังหมดก็เพื่อให้ความรู้กับคนไม่รู้ เพื่อให้มีข้อสรุป กับผู้ที่รู้และผู้ที่ไม่รู้ เถียงกันด้วยเหตุผล แล้วได้ข้อสรุป เพื่อให้ใครก็ได้ที่อยากรู้ ได้รู้จริงครับ (แล้วจะขออนุญาตทำไมครับ ในเมื่อครอบครัวนี้ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทรัยพยากรของประเทศชาติไม่ได้อยู่ที่กลุ่มสยามเอนสิสกลุ่มเดียวครับ แต่มันอยู่ที่คนไทยทุกคน) หรือจะให้แค่รู้ว่าเป็นคนไทย เรามีส่วนแค่ให้คนในประเทศนี้รู้ว่าเขามีส่วนในประเทศนี้อย่างไร นี่ก็คือการเถียงกันแบบมีเหตุผลครับ อย่างกระทู้นี้ ผมว่ามันดีครับที่ ที่มีความคิดที่แตกต่าง แล้วทุกคนก็จะได้ข้อมูลที่หลากหลายส่วนใครจะคิดอย่างไรก็เป้นเรื่องชองแต่ละบุคคลครับ ขอบคุณครับ
ขอแสดงความนับถืออ
นพดล สุขเกษม

ความเห็นที่ 8

http://www.fishbase.org/summary/Schistura-robertsi.html
http://www.loaches.com/species-index/schistura-robertsi


รายละเอียดและภาพบางส่วนของ Schistura robertsi ครับ

ความเห็นที่ 9

      ตัวผมเองเข้ามาดูเกือบทุกวันและส่วนตัวก็ไม่รู้จักผู้เขียนงานชิ้นนี้มาก่อนถ้าเราเรียกสิ่งนี้ว่าการวิจารณ์คุณก็ต้องให้เกียรติหรือให้เครดิตท่านนั้นๆเหมือนอย่างที่คุณ knotsnake หรือคุณaqueous andaman ทำซิครับ ไอ้เรื่องที่วิจารณ์ในตัวชิ้นงานนั้นๆมันเรื่องหนึ่ง แต่ที่ไม่เข้าใจกับประโยค "ทีมนี้ผู้กล้าจริง กับการแยกตัวนี้ออกมา" ไม่รู้ว่าตอนที่คุณจะกระแทกแป้นพิมพ์คุณกำลังคิดอะไรอยู่ในใจ คุณอาจจะคิดว่ามันกล้าจริงที่เขียน หรือในใจคุณว่ามึงมั่วหรือเปล่า หรือในใจคุณอาจคิดว่าเดี๋ยวก็รู้ว่าใครเจ๋งกว่า หรือถ้าคุณไม่ได้คิดอะไรเลย ณ ตอนนั้นผมว่ายิ่งแย่กว่าซะอีกเพราะคุณไม่ให้เกียรติผู้เขียนและงานฃิ้นนั้นเลย มันก็เหมือนกับที่ผมแสดงความคิดเห็นออกไปนั้นแหละ มันไม่ใช่งานวิจารณ์ตามหลักวิชาการหรอกครับมันเป็นเพียง "ข้ออ้าง" ในตัวพวกคุณมากกว่าว่าคุณกำลังดูถูกและไม่ให้เกียรติในงานนั้นๆมากกว่า 
      ส่วนตัวผมว่าถ้ามีงานเขียนใหม่ๆแล้วเรานำมาวิจารณ์ตามความหมายอย่างที่คุณนพดลเขียนมานั้น แล้วทำไมคุณไม่ติดต่อหรือเมลล์ไปแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือข้อที่เราสงสัยกับผู้ที่เขียนนั้นหละครับเท่าที่ผมทราบผู้เขียนงานนี้ก็มีทั้งคนไทยและนักวิชาการต่างชาติและงานชิ้นนี้ก็ไม่ได้ทำแบบนั่งเทียนเขียนข่าว เขาค้นคว้าตรวจสอบเก็บตัวอย่างต่างๆและทำกระบวนการตามหลักวิชาการจนได้ข้อสรุปมาตีพิมพ์ออกสู่สาธารณะ (ถ้าจำไม่ผิดตีพิมพ์ในสำนักพิมพ์ของ P.KOTTEAT) แล้วคุณก็นำมันมาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจหรือไม่ก็ให้ผู้เขียนอีกฝ่ายได้นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนในบอร์ดนี้ซิครับมันถึงมีประโยชน์และถูกต้องอย่างแท้จริง ไม่ใช่พวกคุณเอาเขามาชกข้างเดียวแลว้ไม่ให้โอกาสเขาตอบโต้อย่างนี้หรือครับที่เรียกการวิจารณ์สู่สาธารณะ ผมว่าครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งเดียวแต่มันมีหลายๆครั้งเท่าที่ผมเข้ามาดู พวกคุณหยิบงานคนโน้นคนนี้มาวิจารณ์กันแล้วก็ทำกันอย่างนี้มันถูกเหรอครับ และผมเชื่อว่ามีอีกหลายๆคนก็คิดเหมือนผม
      ตัวผมเองด้วยวัยห้าสิบ ก็ไม่เข้าใจจริงๆ การที่คุณจะให้ความรู้และให้มีการเข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูล เหตุและผล รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็นกัน คุณก็ต้องทำอย่างแฟร์ๆ อย่าไปดูถูกและไม่ให้เกียรติเขา หรือคิดเพียงแค่เอามันส์ การที่ผมแสดงความคิดเห็นแบบตรงไปตรงมาแล้วมันไปสะดุดต่อมใครเข้า ถ้ามันผิดผมก็กล้ารับ แต่ถ้ามันถูกพวกคุณก็ต้องกล้ายอมรับมัน เพราะถ้าสิ่งทีเราทำมันมีประโยชน์ต่อคนอื่นๆ ถึงแม้ไม่มีคนเห็นและยิ้มให้ แต่ในใจคุณก็ยิ้มให้กับตัวเองได้จริงมั๊ย

ความเห็นที่ 10

โอเคครับ ถ้ามันทำให้อ่านแล้วรู้สึกว่ามันไม่ให้เกียรติ์ทีมงานผมก็ขออภัย ทั้งคุณสายชลและทีมงานมา ณ ทีนี้เลย แต่คำว่า "ผู้กล้า" มันเป็นคำชมนะครับ ผมเองเห็นปลาชนิดนี้มา 22 ปีแล้วก็ยังไม่กล้าที่จะทำอะไรกับมัน ยิ่งเจอหลายๆแหล่ง ตั้งแต่กำแพงเพชร ยันภูเก็ต ยิ่งไม่กล้าแตะมันใหญ่ ทีมที่กล้าลุกขึ้นมาทำมันก็สมควรแล้วกับคำว่า "ผู้กล้า" สำหรับปลายากกลุ่มนี้

สำหรับเอกสารการจำแนกชนิดคราวนี้พวกผมมองว่ามีจุดที่ยังถกกันได้อีกหลายจุด เช่นการใช้ลายเป็นลักษณะเด่นและจุดจำแนก (ทั้งๆที่มันเป็นชนิดที่ลายหลากหลายมาก) ตัวเลขการนับวัดที่คร่อมกับชนิดใกล้เคียง ซึ่งเราก็ได้ชี้แจงให้เห็นบ้างแล้วในกระทู้ (แม้จะไม่ใช่โดยผม แต่ก็ได้คุยกันหลังไมค์อยู่) ซึ่งกระผมคงหาโอกาสจะเสวนากับท่านผู้บรรยายต่อไปครับ

ปล. บอร์ดเราเป็นบอร์ดสาธารณะครับ ไม่ต้องล๊อคอิน ไม่ต้องสมัครสมาชิก ไม่ต้องผ่านระบบสกรีนข้อความใดๆก่อนแปะ ก็แปะข้อความได้

ปล1. จงอย่าเชื่อเอกสารวิชาการเพราะมันถูกตีพิมพ์ในวารสารที่ได้รับความเชื่อถือครับ

ความเห็นที่ 11

ครับมันเป็นคำตอบที่ทำให้ผมเข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่มันก็กลับไปสู่คำถามเริ่มต้นที่ใครๆต้องขออนุญาติและได้ความเห็นชอบก่อนหรือเปล่า และที่สำคัญเราจะเชื่อใครดีล่ะครับ

ปล.ถ้าเมื่อ 22 ปีที่แล้วคุณนณณ์รู้ว่าปลาตัวนี้คือชนิดอะไรขนาดที่ว่า
     ยังไม่กล้ายุ่งกับมัน ผมเลยสงสัยว่าตอนนั้นคุณนณณ์เรียนอยู่มัธยม
     หรือเข้ามหาวิทยาลัยหรือทำงานแล้วครับ

ความเห็นที่ 12

ขออภัยอีกรอบครับ ที่เข้ามาขัดจังหวะ ผมบอกแล้วว่านี่คือการเถียงกันอย่างมีเหตุผล อะไรที่เราไม่รู้ ก็จะได้รู้ อะไรที่ไม่เข้าใจ ถ้าใจเปิดกว้าง ก็จะรู้และเข้าใจ ทุกสิ่งทุกอย่างมีทางแก้ไข ถ้าเปิดใจยอมรับซึ่งกันและกัน ปล.ไม่เกี่ยวกับการเมืองนะ เว็บนี้มีแต่เพื่อน ไม่มีศัตรู (แล้วก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองด้วย) นะจะบอกให้

ความเห็นที่ 13

ประเด็นเรื่องการควรแยกออกเป็นชนิดใหม่หรือการควรจะรวมชนิดสองหรือสามชนิดเข้าด้วยกันนั้น เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมานานหลายร้อยปีมาแล้ว และยังคงมีอยู่ต่อไปตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีความแตกต่างด้านความคิดและความอยากได้อยากมี (ประเด็นนี้ไม่ได้ด่าหรือประชดประชันใครนะครับ เท่าที่อยู่ในวงการเกี่ยวกับปลามานานพอสมควร ก็พอจะรู้จะเห็นอะไรมากพอที่จะสรุปได้อย่างนี้)

เท่าที่ผมรู้ การจะแยกปลาชนิดใดชนิดหนึ่งออกมาเป็นชนิดใหม่ ส่วนมากคนที่จะทำได้จะต้องมีประสบการณ์ในการศึกษาปลามามากพอ และมีตัวอย่างอยู่ในมือที่มากพอเพื่่อทำการเปรียบเทียบว่าเป็นปลาชนิดที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์จากชนิดใกล้เคียงอย่างแท้จริง จริงอยู่การจะอ้างว่าปลาชนิดนี้เป็นชนิดใหม่ ไม่มีใครพบ ใครๆ ก็อ้างได้ แต่จะได้รับการยอมรับจากคนในวงการมากน้อยเพียงใดนั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในสมัยก่อน ปีคศ 19 ต้นๆ ที่ระบบอะไรยังไม่เจริญ ขอเป็นเพียงผู้มีชื่อเสียง มีตัวอย่างเพียงตัวอย่างเดียวที่คิดว่าเป็นชนิดใหม่ก็สามารถบรรยายลักษณะเป็นปลาชนิดใหม่ได้สบายๆ บางรายยิ่งแล้วใหญ่ไม่มีคำบรรยายมีแต่เพียงสิสต์รายชื่อ ก็ได้รับการยอมรับแล้ว ผิดกับปัจจุบันที่มีกฏ เกณฑ์ ระเบียบออกมากันมากมายเพื้่อป้องกันความผิดพลาด แต่ก็ยังมีนักวิจัยหลายท่านที่ตีพิมพ์คำบรรยายลักษณะของปลาชนิดใหม่ออกมาผลงานออกมาในวารสารชื่อดังแต่ปลาตัวนั้นไม่ valid มีผู้ตรวจสอบภายหลังแล้วพบว่าเป็นชื่อพ้องกับชื่อที่มีผู้ตั้งไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว

สำหรับเปเปอร์นี้ผมเองก็ยังแคลงใจอยู่เหมือนกันแต่ผมไม่ได้อ่าน เพราะว่าโหลดเปเปอร์นี่้อ่านไม่ไ้ด้ มหาวิทยาลัยของผมไม่ได้บอกรับวารสารเล่มนี้  โดยสาเหตุแห่งความแคลงใจ เนื่องจากมหาวิทยาลัยบูรพาเป็นมหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญด้านปลาทะเล คนที่เป็น first author ผมก็ไม่เคยรู้จักมาก่อน แถมระบบเก็บรักษาตัวอย่าง type specimens ต่างๆ ของบูรพานั้นเป็นอย่างไร การเปรียบเทียบตัวอย่างทำมากน้อยแค่ไหน ผมว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการวิพากษ์ในที่นี่ค่อนข้างมาก ประการสุดท้าย ผมมีโอกาสได้โหลดเปเปอร์สำรวจสำรวจทองผาภูมิของหน่วยงานเดียวกันนี้มาอ่าน พบว่ามีข้อผิดพลาดมากมาย

ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้ผู้ใดเสียชื่อเสียง เพียงแต่ต้องการจะบอกว่านี่คือพื้นที่สาธารณะคนทุกคนต่างมีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็นได้ และทุกคนก็มีสิทธิ์ที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อในความคิดเห็นตามประสบการณ์ที่แต่ละคนเคยพบประสบมา ข้อเขียนที่แสดงความคิดเห็นของผู้ใดผู้นั้นก็ย่อมต้องรับผิดชอบในคำพูดหรือข้อเขียนของตนเอง โดยเฉพาะสมาชิกที่มี log in ที่สุดท้ายแล้วเราสามารถตรวจสอบที่มาของเขาเหล่านั้นได้ สุดท้ายจริง ผมว่าสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมแท้จริงหรือสังคมโลกเสมือนดังเช่นในเวปบอร์ดแห่งนี้ จะสงบได้ด้วยการเคารพในการแสดงความเห็นของผู้อื่น

ความเห็นที่ 14

สวัสดีค่ะ

         ขอแนะนำตัวสำหรับ First author ค่ะ ดิฉันเป็นนิสิตปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีอาจารย์ Prof.Dr. F.W.H. Beamish (Third author และสังกัดสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

         ในงานตีพิมพ์เรื่องปลาค้อ Schistura aurantiaca ฉบับนี้ ได้ชี้แจงรายละเอียดความแตกต่างระหว่างปลาค้อ Schistura aurantiaca และปลาค้อ Schistura robertsi ที่จำแนกและตีพิมพ์โดย Dr. Kottelat, 1990 ไว้ชัดเจนแล้วในรูปเล่ม Paper และ Dr.Kottelat เองก็ได้เดินทางมาที่มหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อทำการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องในการจำแนกชนิดของปลา S. auratiaca แล้ว อีกทั้งคณะวิจัย โดยเฉพาะ Prof.Dr. L.M. Page (Curator of Ichthyology and Department of Ichthyological Exploration of Freshwaters) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอนุกรมวิธานปลา ก็ได้ทำการเปรียบเทียบและดำเนินการฝากตัวอย่างเพื่อเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ปลาที่น่าเชื่อถือทั้งในและต่างประเทศหลายแห่ง รวมทั้งห้องสมุดสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ-NIFI (รายละเอียดใน paper)

         ดิฉันจึงมีความมั่นใจว่างานวิจัยชิ้นนี้มีความน่าเชื่อถือพอ และหากจะมีความผิดพลาดก็คงจะเป็นความผิดพลาดในการใส่ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาที่ไม่ครบถ้วน ซึ่งดิฉันยอมรับและรู้สึกผิดจนถึงเดี๋ยวนี้ แต่ยังโชคดีที่อาจารย์ไม่ได้ใส่ใจในเรื่องนี้เลยนอกจากจะบอกว่า "เรียนผิดไว้เป็นครู ดีกว่ารู้แล้วไม่แก้ไข" 

       สุดท้ายนี้ ดิฉันขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจและร่วมชี้แนะค่ะ หวังว่างานวิจัยนี้จะเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศของเราในแง่ความหลากหลายทางชีวภาพ นิเวศวิทยาและเป็นข้อมูลสำคัญต่อการอนุรักษ์พันธุ์ปลาน้ำจืด รวมทั้งแหล่งต้นน้ำลำธารของประเทศไทยต่อไป

       และหากท่านที่สนใจในงานวิจัยแต่โหลด Full paper ไม่ได้กรุณาทิ้ง e-mail ไว้ ดิฉันจะส่ง file ไปให้ทาง e-mail ค่ะ

รุ่งทิพย์  โพล้งเศรษฐี
* ถ้าต้องการ Full paper  แต่โหลดไม่ได้ กรุณาทิ้ง E-mail ไว้จะจัดส่งให้ภายหลังค่ะ
** งานวิจัยที่ทองผาภูมิเป็นเพียงรายงานผลการศึกษาเท่านั้นไม่สามารถนำมาอ้างอิงทางวิชาการได้
   http://www.pfeil-verlag.de/04biol/pdf/ief22_2_04

ความเห็นที่ 14.1

เพื่อนเก๋  จำเราได้มั้ย ไก่นะ  ที่เรียนนครขอนแก่นน่ะ ตอนนี้อ้อย กุ้ง เอก ปู รออยู่นะ ขอเมล์หน่อยน่ะ  หรือเบอร์โทรก็ได้นะ

ความเห็นที่ 14.2

บทความมีเนื้อหาที่ดีมากคะ พออ่านจบ ตกใจมาก เพราะเป็นเพื่อนตัวเองที่ไม่เจอกันมาตั้งแต่ ม.ปลาย ถ้าเก๋มาเจอ ช่วยติดต่อเรากลับหน่อยนะ jenong(แอด)live.com โทรมาก็ได้ ศูนย์แปดเก้าห้าแปดสี่ศูนย์นย์สี่เจ็ดศูนย์ จาก โหน่งเพื่อนร่วมห้องเรียน ม.ปลายคะ

ความเห็นที่ 15

ขอบคุณมากครับ ดีใจที่เจ้าตัวมาเอง หวังว่าคงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้และร่วมงานกันในโอกาสต่อไปครับ

ความเห็นที่ 16

จริง ๆ ไม่อยากมากเรื่อง แต่คุณพูดว่า ** งานวิจัยที่ทองผาภูมิเป็นเพียงรายงานผลการศึกษาเท่านั้นไม่สามารถนำมาอ้างอิงทางวิชาการได้ คุณกำลังบอกว่าเรื่องนี้
Beamish, F.W.H., P. Sa-ardrit and S. Tongnunui. 2006. Habitat characteristics of the cyprinidae in small rivers in Central Thailand. Environ. Biol. Fish (2006) 76:237-253 นั้นเป็นแบบเดียวกัน?????

ปล ยีนยันอีกทีนะครับผมไม่ได้จับผิดคำพูดของใคร ที่ผมสงสัยเพราะว่าผมจำเป็นต้องใช้เอกสารพวกนี้มาใช้อ้างอิงในวิทยานิพนธ์ของผมเหมือนกัน

ความเห็นที่ 17

เท่าที่ทราบ งานวิจัยมี 2 ส่วน
1) งานวิจัยที่เป็นรายงานผลงานวิจัย ซึ่งจะจัดส่งให้กับโครงการที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย
2) ผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่ได้รับการยอมรับทางวิชาการ

ไม่ทราบว่าคุณสมหมายหมายถึงอันไหนคะ

F. William H. Beamish, Phannee Sa-ardrit, & Sampan Tongnunui. Habitat characteristics of the cyprinidae in small rivers in Central Thailand. Environ. Biol Fish (2006). 76:237-253. เป็น Paper ที่เป็นผลงานการตีพิมพ์ในวารสาร ที่มีคณะกรรมการในการตรวจสอบและพิจารณาให้ตีพิมพ์ในวารสารนั้น ๆ แล้ว จึงสามารถนำไปอ้างอิงทางวิชาการได้ค่ะ
 
แต่รายงานการวิจัยในโครงการสำรวจทองผาภูมิที่ดิฉันบอกว่านำไปอ้างอิงไม่ได้เนื่องจากเป็นรายงานที่อยู่ในขอบเขตของข้อ 1) ค่ะ

หากคุณสมหมายมีข้อสงสัยหรือพบความผิดพลาดและต้องการแจ้งให้ทราบ สามารถติดต่อตามที่อยู่ e-mail ได้นะคะ ดิฉันคิดว่าท่านคงจะได้รับคำตอบที่ถูกต้องและเหมาะสมมากกว่านี้แน่นอนค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

ความเห็นที่ 18

ที่ถามนี่ ก็เพราะว่า งานที่ตีพิมพ์ที่คุณว่ามีคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว เอางานผลที่ได้จากโครงการทองผาภูมิมาวิเคราะห์ต่อนี่ครับ ตามหลักการผมก็ต้องอ้างอิงเอกสารส่วนที่ตีพิมพ์แล้ว แล้วซึ่งเอกสารนี้แหละที่ผมพบว่า มันมีข้อผิดพลาดหลายอย่างจนแทบไม่น่าเชื่อว่าจะมี peer reviewers ที่อ่านจริง ๆ ส่วนเรื่องการเมลล์ไปบอกแจ้งข้อผิดพลาดตอนนี้ยังไม่มีเวลาครับ ตอนนี้ผมกำลังเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกอยู่ แต่อย่างไรเสียก็คงจะต้องแจ้ง

ขอบคุณคุณเหมือนกันที่กรุณาสละเวลามาตอบ และทำให้ผมมีดวงตาเห็นธรรม

ปล. ผมได้รับความอนุเคราะห์ original description ปลาชนิดนี้จากเพื่อนสมาชิกในบอร์ด ผมว่ามันเป็นงานที่ดี และผมมีขอเสนอแนะว่า
1. ในเอกสารคุณเขียนว่าคุณได้ทำการศึกษาปลา Schistura หลายชนิดที่อยู่ใน USNM แต่ในส่วนผลคุณกลับไม่แสดงข้อมูลเปรียบเทียบที่มากพอแต่กลับเปรียบเทียบกับชนิดไม่กี่ชนิดในตาราง
2. ประการต่อมา ในการ description ปลาชนิดใหม่สิ่งที่สำคัญทีุ่สุดคือ key เ่พื่อที่จะแยกปลาชนิดนี้ออกจากปลาชนิดอื่นหรือใกล้เคียง ซึ่งคุณแสดงไว้ในตารางไม่ได้เขียนออกมาเป็น key สิ่งนี้จะทำให้คนอ่านยากในการแกะว่าปลาชนิดนี้จะแยกออกมาจากชนิดข้างเคียงอย่างไร อันนี้ก็เลยเกิดประเด็นถกเถียงกันในที่นี้
3.ประเด็นต่อมาคุณบอกว่าปลาชนิดนี้พบเฉพาะแต่ลุ่มน้ำห้วยแขย่ง แต่มีสมาชิกหลายท่านในบอร์ดกล่าวว่ามันมีการกระจายตัวมากกว่านั้น อันนี้เป็นสิ่งหนึ่งทึี่คุณควรจะต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแพร่กระจายของปลาชนิดนี้ เำพื่อความสมบูรณ์ของคุณ
4. เพิ่่มอีกนิดหนึ่งครับ มีตัวอย่างของสกุล schistura เป็นจำนวนมากถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาิติวิทยาคณะประมง ม.เกษตร และพิพิธภัณฑ์ของสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ รอให้คุณมาใช้บริการศึกษาเปรียบเทียบ  ตัวอย่างเหล่านี้เป็นตัวอย่างเก่าแก่และเป็นสมบัติของชาติที่เปิดโอกาสให้ทุกคนที่ต้องการศึกษาได้นำไปใช้ประโยชน์ นอกเหนือไปจากตัวอย่างทีเก็บรักษาไว้โดยพิพิธภัณฑ์ที่อเมริกา และถ้าเป็นไปได้คุณควรจะฝากส่วนหนึ่งของ type specimens ไว้ในพิพิธภัณฑ์ของไทยด้วยนะครับ อย่างเช่นของ ม บูรพาเองก็มีระบบพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาที่ถือว่าอยู่ในมาตรฐานสากล ผมคิดว่าตัวอย่างไทป์ เป็นสมบัติของชาติเราครับ

ความเห็นที่ 19

ต้องขออภัยน่ะครับ คือ ผมสงสัยว่าปลาในกลุ่มนี้ทุกท่านคงพอจะทราบว่ามีข้อแตกต่างหลักๆกันตรงไหนบ้าง ผมหมายถึงข้อแตกต่างหลักๆน่ะครับ ในส่วนของเปเปอร์ฉบับดังกล่าวของคุณเก๋ ก็พอมีภาพที่โพสท์และภาพที่วาดไว้ เป็นไปได้มั๊ยครับทางกลุ่มจะนำภาพที่พบปลาบางตัวที่คิดว่าน่าจะใช่ชนิดเดียวกัน หรือ ต่างชนิดมาเปรียบเทียบประกอบการพิจารณาด้วย รวมถึงการนำเสนอข้อมูลที่ทางกลุ่มมีมากกว่าเอาออกมาเสริม ผมว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมากทีเดียวน่ะครับ หรือหากว่าทางกลุ่มคิดว่าปลาตัวนี้เป็นชนิดใหม่จริงๆ และมีการกระจายที่มากกว่าพื้นที่ๆบรรยายในเปเปอร์ ก็ทำไมไม่ลองเขียนเปเปอร์ออกมาเสริมว่าชนิดใหม่นี้สามารถพบเห็นการกระจายในต่างพื้นที่ด้วย มันจะสร้างสรรค์กว่าหรือเปล่าครับ.  

ในส่วนของเปเปอร์ที่บรรยายเกี่ยวกับชนิดใหม่ เท่าที่ผมพอมีอยู่บ้าง บางฉบับก็เขียนวิธีการจำแนกว่าแตกต่างจากชนิดอื่นๆด้วย แต่อย่างไรก็ตามมีไม่น้อยทีเดียวในบางฉบับก็ไม่มี หากจะบอกว่า ถ้ามีก็ถือว่าเป็นอ๊อพชั่นให้กับผู้อ่าน ไม่มีก็ไม่เป็นไร แต่ผมคงไม่กล้าไปห้ามความคิดใครว่า หากไม่มีนั่นคือข้อบกพร่อง ถ้ามีสิถือว่าเพอร์เฟค เพราะหากมองงานเหล่านี้ ส่วนตัวผมมองว่ายังไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบเลยน่ะครับ.

สำหรับType specimens นั้นผมไม่ทราบว่าท่านอื่นจะคิดเห็นเป็นประการใด แต่ส่วนตัวหากทางคุณเก๋ระบุว่ามีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านทั้งตรวจสอบตัวอย่าง และ ร่วมงานกัน ผมขอออกความเห็นในฐานะ คนทั่วไปที่ชื่นชอบงานทางด้านนี้น่ะครับ. ผมคิดว่าทางคุณเก๋ย่อมต้องเห็นตัวอย่างดังกล่าว เป็นเอาว่าหากสิ่งที่ผมพูดไปนั้นละเมิดความเห็นบางท่าน ต้องขออภัยด้วยน่ะครับ. ส่วนเรื่องตัวอย่างจะให้ หรือไม่ให้อันนี้ต้องเจรจากันเองน่ะครับผมไม่เกี่ยว มีแล้วชูความยิ่งใหญ่ กับไม่มีแล้วจะวินาศ หรือไม่ถึงขนาดนั้น อันนั้นก็ว่ากันไปครับ. เรื่องของตัวอย่างปลา ผมเคยได้ยินคนเขาเล่ามา ประเภทผีจับยัดยังมีเลยครับ อย่างนี้เข้าข่าย กาลามสูตร 10 เลยครับ แต่การที่ใครจะยึดหลักนี้ได้ ผู้พิจารณาควรจะมี สัมมาทิฐิเป็นเบื้องต้น ด้วยหรือเปล่า?

สุดท้ายต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ทนฟัง และ ฟังทนด้วยน่ะครับ อันนี้ไม่ได้กระแหนะกระแหนใครน่ะครับพูดจริงๆ ผมทราบดีว่าตัวเอง แค่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ ไม่เจียมตัวหาญกล้ามาออกความเห็น ครอบครัวเราไม่ได้มั่งคั่ง หรือ เป็นครอบครัวต้นแบบ ไม่ได้เป็นพระเอกตลอดเรื่อง หรือ ไม่ได้เป็นผู้ร้ายตลอดไป แต่สิ่งที่ถูกสอนมาเสมอว่า ควรจะร่วมยินดีกับคนอื่น เวลาที่เห็นเขามีความสุข หรือ ประสบความสำเร็จครับ มันเป็นมรรยาทพื้นฐาน และยกระดับจิตใจเราให้สูงขึ้น.   
 

 

ความเห็นที่ 20

ฟังแลเครียดจังเลยค่ะ แต่ก็แสดงว่ามีหลายคนให้ความสนใจในปลาตัวนี้ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมากค่ะ ดิฉันก็เป็นเด็กใหม่หัดเรียนรู้เหมือนกัน มีอะไรก็แนะนำได้นะคะ ส่วนตัวอย่างปลาที่มอบูรพายังมีตัวอย่างอีกเยอะค่ะ กำลังดำเนินการเรื่องหาที่จัดเก็บถาวร เพราะไม่ต้องการให้ตัวอย่างสูญหายเลยกำลังพิจารณาอยู่ค่ะ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างเก็บอยู่ที่ห้องสมุดสถาบันกรมประมงน้ำจืดแห่งชาติ (ห้องสมุดกรมประมง หรือ NIFI) บางเขน กรุงเทพฯ ค่ะ แต่ยังไงดิฉันก็คิดว่าปลาส่วนใหญ่น่าจะอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นบ้านของพวกเค้า ในประเทศของพวกเราดีกว่าค่ะ เพราะถ้าเค้ายังอยู่ในแหล่งน้ำที่ยังคงความสมบูรณ์อยู่ เราก็จะไม่ต้องสูญเสียสมบัติของชาติเหล่านี้ไปเลยจริงมั้ยคะ

ส่วนเรื่องการแพร่กระจายต้องรอก่อนนะคะเพราะกำลังดำเนินการอยู่น่ะค่ะ ส่วนเรื่องความหลากหลายของปลากลุ่มนี้ก็ยังไม่จบสิ้นหรอกค่ะ ยังมีเรื่องให้เราศึกษาอีกมากมาย โดยส่วนตัวแล้วดิฉันคิดว่าการศึกษาและวิทยาศาสตร์น่าจะมองเป็นเรื่องของความสนุกค่ะ เพราะวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ สนุกที่จะคิดสนุกที่จะทำ เรียนถูกและเรียนผิดได้ ความรู้ใหม่ ๆ อาจเกิดจากความสงสัยและสังเกตเห็นความแตกต่างหรือความเป็นไปได้ แล้วนำไปสู่การดำเนินการศึกษา (อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ) ส่วนเรื่องถูกผิดมันอยู่ที่ประสบการณ์ซึ่งดิฉันทราบดีและเห็นด้วยค่ะ แต่ยังไงเราก็สะสมกันได้นี่คะจริงมั้ย เพราะไม่ว่าใครก็ย่อมมีผิดพลาดกันได้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามดิฉันก็ขอน้อมรับทั้งคำติและคำชมเอาไว้แก้ไขในคราวต่อไปละกันนะคะ ขอบคุณทุกกำลังใจและหวังว่าจะได้รับข้อมูลแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอีกนะคะ   

ความเห็นที่ 20.1

ขอบคูณ คุณเก๋ ที่ทำการวิจัยในเรื่องนี้ (หรือจะเรื่องไหนๆก็แล้วแต่) ผมคิดว่ามันเป็นประโยชน์ทั้งนั้นครับ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของบ้านเรา(ประเทศไทย)การติชม พูดคุย โต้เถียง วิพากษ์วิจาร หรือจะอะไรก็แล้วแต่ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์ครับ ถ้าเราทำอะไรเขียนอะไรแล้วไม่มีสิ่งเหล่านี้ นั่นคืองานชิ้นนั้นไม่ได้รับความสนใจ ตรงกันงานชิ้นนั้นมีทั้งติชม วิพากษ์วิจาร ทั้งในทางบวกและลบ แน่นอน มนุษย์โดยทั่วไปไม่ชอบคำติ แต่ชอบคำชม แล้วจะได้ข้อมูลที่แท้จริงหรือครับ ผมก็กำลังทำวิทยานิพนธ์ ป.โทอยู่เหมือนกันครับ แรกๆคิดว่าทำดีที่สุดแล้ว โดนที่มหาลัยวิากษ์วิจารแบบนี้แหละครับ รื้อใหม่เป็นรอบที่ 3 แล้วครับ แต่มานั่งคิดดูเขาติเขาชมเขาด่าเพื่อ ให้เราพัฒนาครับ ขอเป็นกำลังใจให้ครับ ในฐานะหัวอกเดียวกัน (ผมสรุปกระทู้นี้ให้นะครับ "ที่ทำ ที่เถียง ที่ติ ที่ชม ทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อสร้างประโยชน์ต่อสังคมครับ)
ขอบคุณครับ
ขอแสดงความนับถือ
นพดล สุขเกษม

ความเห็นที่ 21

ไม่เครียดๆ เราพรรคพวกกัน รักสิ่งเดียวกันทั้งนั้น

ความเห็นที่ 22

ความเห็นที่ 22

เขียนโดย Kae (ไม่ได้ล๊อคอิน) Anonymous user เมื่อ 16 กรกฎาคม 2554 11:59 (IP: 202.28.78.12)
แหล่งเก็บ type มีหลายที่ ที่ควรเอาไปเก็บ เช่น อพวช. NIFI, KUMF และ CUMZ ถ้ามีหลายตัวควรแบ่งๆกันไปเพื่อกระจายความเสี่ยง

ความเห็นที่ 23

Type specimen ที่ผมบรรยายทั้งหมดเก็บที่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลอง 5 ครับ

ความเห็นที่ 24

เนื่องจากหายไปหลายวันจนมันตกหน้า เพิ่งกลับมาดูนี่แหละ

ก่อนอื่นผมขอชื่นชมคุณเก๋และคนอื่นๆที่ได้แสดงความกระจ่างในประเด็นที่มีข้อสงสัย แน่นอน..สัตว์ที่มีชนิดใกล้เคียงกันมากๆ เมื่อมีการแยกออมาก็มักมีการตรวจสอบ ผมเองก็ชินกับการตรวจสอบแบบนี้ ก็ยิ่งทำให้ผมรู้สึกดีที่มีคนสนใจ และยิ่งมั่นใจเมื่อผมตอบข้อสงสัยได้ (ผู้เชี่ยวชาญปลาของโลกก็ไม่พ้นการตรวจสอบครับ บางเปเปอร์มีวางยาด้วย) เพราะหลักของผมคือ ถ้ามีชนิดที่ผมว่าน่าจะต่างแต่มันใกล้เคียงกันมากๆ ผมจะใช้วิธีใส่รวมกันนานๆ แล้วกลับมาดูว่าผมยังแยกประชากรเหล่านั้นออกจากกันได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็อาจหยุดหรือหาวิธีตรวจสอบเทคนิคอื่น (กรณีหลังนี่ต้องมีปัจจัยอื่นเข้ามาด้วยที่ทำให้ผมมีความมั่นใจ แม้สุดท้ายจะไม่เป็นตามที่คิด)

ผมมั่นใจว่าคำว่า "ผู้กล้า" ของคุณนณณ์เป็นคำชื่นชมจริงๆ ผมเองก็มีความลังเลในบางครั้ง ด้วยข้อจำกัดด้านตัวอย่างเปรียบเทียบ โดยเฉพาะชนิดที่ type locality ไม่ชัดเจน หรือชัดเจนแต่ไม่มีงบฯไปเปรียบเทียบตัวอย่าง หรือ type ไม่เหลือ แล้วมีการระบุตัวจากที่อื่นที่ห่างไกลเป็นชนิดนั้นๆ เป็นต้น อย่างตุ๊กกายบางกลุ่มผมก็รอผู้กล้ามาช่วยทำ หรือทำโดยไม่ต้องมีผมก็ไม่ขัดข้อง และพร้อมสนับสนุนข้อมูลด้วย แต่บ่อยครั้งผมก็กล้าที่จะฟันธงทั้งๆที่คนอื่นยืนยันว่าไม่ต่าง แล้วเวลาก็ช่วยพิสูจน์มาแล้ว ผมรู้สึกยินดีจริงๆที่เรามี "ผู้กล้า" ที่จะตัดสินใจในวงการสิ่งมีชีวิตมากขึ้น นับเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยครับ ปลาหลายๆชนิดที่เรามั่นใจว่าใหม่ แต่ต้องเสียโอกาสเพราะความลังเลมีมามากพอแล้ว วันนี้เรามาช่วยกันสร้างสรรค์วงการของเราดีกว่า ส่วนตัวผมเองถ้าพบสัตว์แล้วทราบว่ามีคนกำลังทำ(จริงๆ) ผมจะไม่ทำแข่ง แต่ถ้าเขาเก็บแล้วเฉยๆ ผมก็พร้อมที่จะทำ หรือชวนมาทำด้วยกัน เราก็จะมีเครือข่ายกว้างขึ้น ยิ่งทำยิ่งสนุก(เพราะไม่ใช่งานประจำ) ขอให้คุณเก๋และทีมงาน รวมถึงทุกๆคนมีความสุขกับการทำงานดีๆตลอดไปครับ

มนตรี สุมณฑา