ข่าว: จ.ชุมพร เร่งกำจัด ริ้นทะเล กระทบการท่องเที่ยว

จังหวัดชุมพรประชุมหาแนวทางแก้ไขปัญหา ริ้นทะเล กระทบการท่องเที่ยววันนี้(6 ก.ค.54)ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดชุมพร นายชราวุธ จันทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้เป็นประธานในการประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา ริ้นทะเล ที่มีผลการทบต่อการท่องเที่ยว สืบเนื่องมาจาก ทางสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ เสนอให้ทางจังหวัดชุมพร พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหา ริ้นทะเล เนื่องจาก ได้รับการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวว่า แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลของจังหวัดชุมพร หลายแห่ง มี ริ้นทะเล กัดรบกวนนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวบางรายที่มีอาการแพ้ถึงต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล จังหวัดชุมพรจึงมีคำสั่งที่ 1466/2554 แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว และในวันนี้(6 ก.ค.54) คณะทำงานซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ติดชายทะเล ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่ 11.4 ตัวแทนจากสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยกรทางทะเลและชายฝั่ง มาร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น นายสมบูรณ์ หนูนวล หัวหน้าศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่ 11.4 เปิดเผยว่า ริ้นที่พบเป็น ริ้นน้ำเค็ม และริ้นดำ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า เปิง เป็นแมลงกินเลือด ขนาดเล็กขนาดเท่าแมลงหวี่ มีปากสำหรับเจาะดูด ตัวเมียเท่านั้นที่ดูดเลือด มักอาศัยและวางไข่ตามเศษไม้ก้อนหินบริเวณน้ำทะเลท่วมถึง มีอายุประมาณ 1 เดือน มักจะพบตามหาดทรายทะเลทั่วไป สำหรับจังหวัดชุมพรมีพบมากในฤดูที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ หรือลมเชิง พัดผ่าน ขณะกัดจะมีการปล่อยน้ำลายที่มีเชื้อสู่ผิวหนังก่อนดูดเลือด ผู้ถูกกัดจะมีอาการคันทันที บางรายที่แพ้จะคันอยู่นานนับเดือน หากมีการติดเชื้อร่วมด้วยก็จะทำให้เกิดแผลและหายอยากขึ้น นักท่องเที่ยวสามารถป้องกันไปให้ ริ้นทะเลกัดได้ด้วยการทาโรชั่นป้องกันยุงหรือ น้ำหอม ก็จะช่วยได้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่ 11.4 ไปศึกษาการใช้สารเคมีในช่วงที่มีการระบาด โดยประสานงานกับ เทศบาลหรือ องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ เพื่อควบคุม ริ้นทะเลต่อไป
 
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : ชุมพร(สวท.)   Rewriter : อาทิตยา เจียรวัฒนวงศ์
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th



m_news.gif วันที่ข่าว : 06 กรกฎาคม 2554


ที่มา: http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255407060261_decode_entities...

เจอมาจากเว็บ Save Our Sea อีกทีนึงครับ

Comments

ความเห็นที่ 1

ที่ภูเก็ตเคยเกิดกรณีนี่ทำความเสียหายให้ธุรกิจการท่องเที่ยวมาแล้วด้วยครับ เคยอ่านเจอจากข่าวเก่าๆ มาก่อน นักท่องเที่ยวจะไม่ลงไปชายหาดเลย พวกที่จองโรงแรมแถวทะเลก็ยกเลิกการจองไปเลยก็มี

ความเห็นที่ 2

มีกระทุ้เก่ามาเสริมด้วยครับ
http://www.siamensis.org/exsiam/7851.html

ความเห็นที่ 3

ไม่อยากคิดเลย..ผมแพ้มันเอามากๆ รอยกัดจะบวมปูดเป็นผื่นแดงๆ ถ้ากัดหน้าก็ปากบวมเลย..เข็ด

ความเห็นที่ 3.1

ผมก็แพ้ริ้นตามสวนตามป่าเหมือนกันครับ ริ้นน้ำเค็มก็ไม่น่าพลาดเหมือนกัน
แล้วนักท่องเที่ยวต่างชาติจะไปเหลืออะไร

ความเห็นที่ 4

แต่การกำจัดริ้น เป็นวิธีที่ถูกหรือเปล่าหว่า ปกติมันมีบทบาทอะไรในระบบนิเวศครับ

ความเห็นที่ 4.1

ผมอยู่ฝ่ายริ้น ไร เหลือบ ยุง เห็บ หมัด ครับ.... เพราะท่าจะเป็นฝ่ายชนะเสมอมา ว่าเข้าไปนั่น

อิ อิ แต่จะมีผู้ใดเหมาว่ากระผมเป็นพวก parasite แกะกินสังคมหรือเปล่าหว่า...

ความเห็นที่ 5

มันระบาดเพราะสาเหตุใดครับ

ความเห็นที่ 6

ผู้ล่าน่าจะลดลง อาหารก็ดันมากขึ้น เพราะได้นักท่องเที่ยวเป็นอาหารกระมัง

ความเห็นที่ 6.1

ผู้ล่ามีอะไรบ้างครับ

ความเห็นที่ 7

ถิ่นอาศัย ทำรังวางไข่ เพิ่มขึ้นไหม?  แล้วที่เค้าว่าจะกำจัด นี่จะทำด้วยวิธีใด?

ความเห็นที่ 8

ใช้สารเคมีกำจัดครับ

ความเห็นที่ 9

จะมีผลกระทบต่อสัตว์อื่นไหมอ่ะ?

ความเห็นที่ 10

เคยโดนเหมือนกันครับ ตอนโดนนี่ไม่รู้สึกเลย ขึ้นมาจากน้ำ หน้าบวมฉึ่งเลย เหอ ๆๆๆๆ

ความเห็นที่ 11

การป้องกันกำจัด โดยวิธีการใช้สารเคมี จะทำลายระบบนิเวศ และริ้นจะดื้อยา และไม่มีตัวห้ำ ทำลายริ้นระยะตัวอ่อน หรือแมลงที่มีประโยชน์อื่นๆ ก็จะถูกทำลายไปด้วย เพราะริ้นชนิดนี้ คิดว่าน่าเป็นจีนัส Leptoconops ที่เป็นปัญหาทางภูเก็ต เช่นกัน การป้องกันกำจัดด้วยชีววิธี ควรทราบให้แน่ชัดว่าเป็นริ้นชนิดใด การจัดแต่งภูมิทัศน์ อาจช่วยได้ เพราะริ้นชนิดอาศัยตามดินทรายตื้น เพียง 2-3 มิลลิเมตร หรือบางครั้งพบตามวัชพืชชายทะเล ถ้าให้คาดการณ์ คงมีริ้นมากกว่า ถ้าไม่กำจัดอย่างถูกวิธี เนื่องจากภาวะโลกร้อน วงจรชีวิตแมลงๆ จะมีหลายรุ่นมากขึ้น และระบาดยิ่งขึ้น

จาก

คนเล่น (ริ้)น
Khomkam@yahoo.com

ความเห็นที่ 11.1

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับ

ความเห็นที่ 12

เรื่องแค่ริ้น ตัวเล็กๆ มีผลกระทบ ขั้นถึงเป็นปัญหาระดับประเทศเลยทีเดียว แสดงว่าประโยคนี้ยังเป็นอมตะนิรันดร์กาล "เด็ดดอกไม้ไม้สะเทือนถึงดวงดาว" ยังมีนัยสำคัญอยู่เช่นเดิม