น้ำในบ่อหลังฝนตก มีออกซิเจนมากหรือน้อยกว่าปกติ?
เขียนโดย Snakeeater Authenticated user เมื่อ 10 กรกฎาคม 2554
ถ้ามองในมุมมองผม น่าจะมีออกซิเจน"มากขึ้น"นะครับ...
เพราะน้ำได้รับแรงสะเทือนจนกระเพื่อม ยิ่งน้ำมีการกระเพื่อมมากเท่าไหร่ ออกซิเจนน่าจะมีโอกาสละลายลงไปในน้ำได้มากขึ้น ยกตัวอย่างง่ายๆก็เช่น น้ำในแหล่งน้ำตกมี O2 มากกว่าน้ำในแม่น้ำ หรือน้ำในแม่น้ำก็จะมี O2 มากกว่าหนองบึง...รวมทั้งการปั๊มน้ำพุเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แหล่งน้ำที่มีแนวโน้มจะเน่าเสียด้วย
แต่ทำไมพอหลังฝนตกหนักๆ พวกปลาจะชอบขึ้นมาลอยคอบนผิวน้ำบ่อยๆ? มันทำเพื่อหายใจ หรือว่าเพราะสภาพบางอย่างของน้ำเปลี่ยนไปชั่วขณะครับ? แต่สมมติฐานที่ว่าน้ำฝนชะเอาคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศลงมา ทำให้ O2 ในน้ำต่ำลง จนปลาต้องขึ้นมาสูดหายใจนั้น ผมไม่ค่อยเชื่อครับ เพราะสัดส่วนอากาศปกติย่อมมี O2 สูงกว่า CO2 อยู่แล้ว
เพราะน้ำได้รับแรงสะเทือนจนกระเพื่อม ยิ่งน้ำมีการกระเพื่อมมากเท่าไหร่ ออกซิเจนน่าจะมีโอกาสละลายลงไปในน้ำได้มากขึ้น ยกตัวอย่างง่ายๆก็เช่น น้ำในแหล่งน้ำตกมี O2 มากกว่าน้ำในแม่น้ำ หรือน้ำในแม่น้ำก็จะมี O2 มากกว่าหนองบึง...รวมทั้งการปั๊มน้ำพุเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แหล่งน้ำที่มีแนวโน้มจะเน่าเสียด้วย
แต่ทำไมพอหลังฝนตกหนักๆ พวกปลาจะชอบขึ้นมาลอยคอบนผิวน้ำบ่อยๆ? มันทำเพื่อหายใจ หรือว่าเพราะสภาพบางอย่างของน้ำเปลี่ยนไปชั่วขณะครับ? แต่สมมติฐานที่ว่าน้ำฝนชะเอาคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศลงมา ทำให้ O2 ในน้ำต่ำลง จนปลาต้องขึ้นมาสูดหายใจนั้น ผมไม่ค่อยเชื่อครับ เพราะสัดส่วนอากาศปกติย่อมมี O2 สูงกว่า CO2 อยู่แล้ว
Comments
ความเห็นที่ 1
ความจริงที่2 - น้ำฝนมักจะมีความเย็นกว่าน้ำในบ่อ (โดยเฉพาะในเขตร้อนอย่างประเทศไทย)
ความจริงที่3 - น้ำในบ่อ(น้ำนิ่ง)ที่อยู่ก้นบ่อมี ออกซิเจนน้อยกว่าน้ำในบ่อที่อยู่บนผิวน้ำ
ทีนี้เวลาฝนตก น้ำฝนที่เย็นกว่าจะจมลงด้านล่างที่ก้นบ่อ ดันเอาน้ำจากก้นบ่อที่มีออกซิเจนน้อยขึ้นมาด้านบน ทำให้ปลาที่อยู่ด้านบนหายใจไม่ออกครับผม
ต่ออีกหน่อย ตามสภาพปกติ น้ำในบ่อที่นิ่งเลย ก็จะมีการหมุนเวียนอยู่บ้าง จากการระเหยของน้ำเนื่องจากแสงแดดแผดเผา การระเหยของน้ำที่บริเวณผิวน้ำจะทำให้น้ำที่ผิวน้ำเย็นลงและจมลงก้นบ่อ เกิดการหมุนเวียนดันน้ำก้นบ่อขึ้นมาบ้าง แต่ในหน้าฝนถ้าหากอากาศคลึ้มฟ้าคลึ้มฝนมาหลายๆวัน น้ำเกิดการหมุนเวียนน้อย น้ำบริเวณก้นบ่อซึ่งมักจะมีการหมักหมมของของเสียและมีแบคทีเรียใช้ออกซิเจนเป็นจำนวนมากจะยิ่งมีออกซิเจนน้อยลง ถ้าฝนตกลงมาห่าใหญ่ๆ ก็มีโอกาสที่ปลาจะขาดออกซิเจนมากกว่าปกติครับ
ความเห็นที่ 1.1
แต่ด้วยสัญชาติญาณของปลาบางชนิด พอรู้สึกว่าขาดอากาศ ก็จะโผล่ขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำไว้ก่อน ทั้งๆที่ถ้ามันดำลึกลงไป มันน่าจะเจอน้ำที่มีออกซิเจนละลายอยู่มากกว่าที่กลางน้ำหรือผิวน้ำเสียอีก...ใช่ไหมครับ?
ความเห็นที่ 1.1.1
ความเห็นที่ 2
ความเห็นที่ 3
หลายๆ พารามิเตอร์รวมๆ กันเข้า ก็ทำให้ปลาแพ้น้ำใหม่แล้วครับ
ทั้งอุณหภูมิ ความเป็นกรดด่าง อาคาไลด์นิตี้ ต่างๆ นาๆ ก็ส่งผลต่อการมีออกซิเจนในน้ำทั้งนั้นครับ
ความเห็นที่ 4
พอฝนหยุดไม่นาน ปลาจะขึ้นลอย (ปลาอืด) หาอากาศ
ความเห็นที่ 5
ความเห็นที่ 6
ความเห็นที่ 6.1
ฝนตกน้ำฝนเย็น..แต่มันอยู่ด้านบนไง ปลาถึงลอยขึ้นมาหาอากาศด้านบน ด้านใต้จะอุ่นกว่าแต่ออกซิเจนน้อยกว่าไงครับ ถ้าคิดถึงปริมาณออกซิเจน
แต่..ฝนตกมัันได้มาแค่น้ำนะครับ และตกลงมาแล้วใช่จะลงน้ำหมด ส่วนใหญ่ลงดินและชะล้างตะกอนปนเปื้อนต่างๆตามลงไปด้วย ซึ่งคิดว่าน้ำพวกนี้มีปริมาณออกซิเจนต่ำเอามากๆ ปลาเลยมีโอกาศตายครับ
ความเห็นที่ 7
สรุปว่าใครมี DO meter ลองจิ้มเลยดีกว่า หุหุ อยากรู้เหมือนกัน
ความเห็นที่ 8
ในความคิดของผม เอาแค่เรื่อง DO อย่างเดียวนะครับ
แหล่งของDO ส่วนใหญ่มาจากการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืชในน้ำ
บางส่วนจะละลายจากอากาศบริเวณที่ผิวน้ำ
ตอนฝนตกมีแสงน้อยไม่เพียงพอต่อการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืช
ขณะที่การหายใจ(ใช้ออกซิเจน) ยังคงดำเนินอยู่
ออกซิเจนในน้ำไม่พอ ปลาจึงต้องขึ้นฮุบน้ำซึ่งมีออกซิเจนมากกว่าบริเวณอื่นๆ ของบ่อครับ
ความเห็นที่ 8.1
ความเห็นที่ 8.1.1
ปกติแล้วเรื่องออกซิเจนลดลงหลังฝนตกมันเป็นเรื่องที่เกิดจากปัจจัยหลายประการเหมือนความเห็นบนๆ บอก มันเกิดความผันแปรขึ้นอยู่กับ สถานที่ตั้งของบ่อ เวลา และฤดูกาล
ความเห็นที่ 9
พอดีไป search แล้วเจออันนี้มา เลยยกมาทั้งกระบิ เลยครับ
เพื่อนพี่น้อง คิดว่ายังงัยครับ ผมแก้ปัญหาถูกไหมครับ หรือถ้ามีวีธี อื่น ช่วยแนะนำผมด้วยนะครับ
เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน เกษตรกรมักจะประสบปัญหามากมายเกี่ยวกับการเลี้ยงปลา ทำให้ได้รับผลกระทบไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. อากาศร้อนมาก ๆ ก่อนฝนจะตก ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง และความขุ่นของน้ำอย่างรวดเร็วหลังฝนตก จึงมีผลต่อลูกปลาและปลาที่ปล่อยใหม่ ตลอดจนปลาที่เลี้ยงกันแบบหนาแน่นมาก จะมีผลให้ปลาน๊อคหรือปลาตาย เนื่องจากปลาปรับตัวไม่ทัน
2. เมื่อฝนตกหนัก จะพัดพาพวกปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ขี้เถ้าแกลบจากการเผาป่า ล้วนเป็นพิษต่อปลา ซึ่งอาจได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงที่ฝนตกใหม่ ๆ
3. ตะกอนแขวนลอยซึ่งเกิดจากการชะดินของน้ำฝนในช่วงหน้าฝน ตะกอนจะฟุ้งกระจาย ซึ่งสร้างปัญหาเกี่ยวกับเหงือกสัตว์น้ำในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน สัตว์น้ำจะกินอาหารลดลง เครียด และตาย
4. ถ้าหากฝนตกทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันหลายวัน จนเกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อ อาจทำให้คันดินพังหรือน้ำท่วมมิดคันบ่อ ทำให้เกิดความเสียหายได้
5. น้ำฝนจะชะล้างความเป็นกรดจากอากาศและดินลงสู่บ่อ ทำให้ pH ของน้ำในบ่อต่ำลง ความเป็นพิษของก๊าซไข่เน่า และแอมโมเนียจะมากขึ้น ทำให้ปลาลอยหัวขึ้นมาหาอากาศหายใจ ซึ่งอาจทำให้ปลาเครียด ป่วย และตายได้
6. สภาพอากาศมืดครึ้ม ฝนไม่ตก หรือสภาพอากาศอบอ้าวเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งมีผลต่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจนระหว่างชั้นบรรยากาศกับผิวน้ำได้ลำบาก ทำให้ปลาเกิดสภาพขาดออกซิเจน ปลาจะขึ้นมาลอยหัวหาอากาศบนผิวน้ำจำนวนมาก
7. เมื่อฝนหยุดตก ควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อเพิ่มออกซิเจน และคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อให้เข้ากัน เพื่อป้องกันการแบ่งชั้นน้ำ และลดปัญหาปลาตาย
8. เมื่อฝนตกหนัก ทำให้อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลง ปลาจะลดการกินอาหาร ดังนั้น การให้อาหารปลา ควรลดปริมาณอาหารให้น้อยลง หรืองดอาหารในวันที่ฝนตกหนัก
ความเห็นที่ 9.1
ผิดนิดนึง
เมื่อพีเอชต่ำกว่า 7
ก๊าซไข่เน่าจะอยู่ในรูป H2S (pKa = 6.99) เป็นอันตรายมากกว่ารูปอื่น
แอมโมเนียอยู่ในรูป NH4+ (pKa = 9.25) เป็นอันตรายน้อยลง รูป NH3 อันตรายกว่ามาก
หมายเหตุรูป H2S กับ NH3 เป็นพิษกว่ารูปที่เป็นไอออน เพราะเป็นรูปที่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังสัตว์และพืชได้ทันที
ความเห็นที่ 10
ความเห็นที่ 11
กลุ่มตะเพียนนี่ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่...
แต่ปลาช่อน ปลาดุก หรือแม้แต่ปลาหมอ ไม่ค่อยพบพฤติกรรมแบบนี้ครับ
จากที่ผมเคยสังเกต ขนาดบ่อที่อยู่ในที่ดอน ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะถูกน้ำฝนชะเอาสารจากพื้นดินรอบข้างมาลงบ่อ เวลาหลังฝนตกปลานิลมันยังลอยคอเลย(แต่ยังไม่มีตัวไหนตายจากฝนตกครับ)
ความเห็นที่ 12
why did my fish die after it rained?
ความเห็นที่ 12.1
ความเห็นที่ 12.1.1
ความเห็นที่ 12.1.1.1
น้ำฝนนั้นไม่เหมาะกับการนำไปเลี้ยงปลานะครับ เพราะเจ้า alkalinity ที่ต่ำ ทำให้ระบบ buffering system ในตู้เลี้ยงไม่ดีนัก ตู้จะมีการเปลี่ยนแแปลงระดับพีเอชที่รวดเร็วกว่าในตู้ที่ใช้น้ำปะปา
ส่วนเรื่องดีโอน้ำฝน ตอนนี้ยังนึกไ่ม่ออกว่าทำไมมันถึงต่ำ จำได้ว่าตอนเข้าปีหนึ่งประมง อาจารย์ก็สอนเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ว่า นั่นมันมากกว่า ๒๐ ปีแล้ว......ถวายความรู้คืนอาจารย์ไปนานแล้วครับ
ความเห็นที่ 13
ความเห็นที่ 13.1
ความเห็นที่ 13.2
การที่ปลาชอบน้ำใหม่เนื่องจากสัญชาตญานหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการหาแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ การมีโอกาสได้พบกับปลาเพศตรงข้ามเืพื่อการผสมพันธุ์ และการหาแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าแหล่งเดิม เป็นต้น
ความเห็นที่ 14
กระทู้นี้.....ความรู้ดีนักแล ^^