ปลากัด ณ ระนอง

ต้นสัปดาห์ หลังกลับมาจากหนองบัวลำภู ผมก็ต้องเดินทางไปเก้บข้อมูลงานหลักของผม เลยมีโอกาสสอยปลากัดทุ่งแห่งเมืองระนอง ก็รู้สึกคุ้นหน้าและใจชื้นขึ้นว่ายังเหลือแหล่งที่ยังเหลือลักษณะระนองแท้อยู่ หลังจากหมายอื่นๆที่ได้มาอีกสองหมายกลายเป็นปลาสาดโดยสมบูรณ์แล้ว

Comments

ความเห็นที่ 1

แถมด้วยลูกทุ่งเมืองขแมร์ ที่ก่อนหน้านี้ผมเคยกังขาว่ามันเป็นชนิดที่แตกต่างจากลูกทุ่งอีสานจริงหรือ มาบัดนี้ผมเชื่ออย่างสนิทใจแล้ว หลังจากได้เห็นตัวเป็นๆของมัน

Betta stiktos
Betta stiktos

ความเห็นที่ 1.1

อยู่ในกลุ่มเดียวกับปลากัดทุ่งอีสานนะครับ ตอนแรกที่เห็นในภาพของเปเปอร์คิดว่ากลุ่มเดียวกับทุ่งกลาง-ทุ่งใต้เสียอีก

ความเห็นที่ 1.1.1

ถ้ามองตามสีก็คงเป็นกลุ่มอีสาน แต่ถ้าเอาเรื่องสีมีพิจารณาท้ายๆ จะใกล้เคียง splendens มากกว่าครับ เช่นเดียวกับมหาชัยที่เราใช้ cf. smaragdina แต่ผลทาง DNA ยืนยันว่าใกล้เคียงลูกทุ่งภาคกลางมากกว่าเยอะเลยครับ

ความเห็นที่ 2

ท่าทางเอาเรื่อง สวยด้วย รูปร่างสันทัด

ความเห็นที่ 3

สมบูรณ์ทั้งสีและรูปทรงเลยครับ แจ่มมาก

ความเห็นที่ 4

ขออนุญาตแจมด้วยคนครับผม

ตัวนี้จาก สุราษฎร์ธานี
จากคุณ khun TBN
suraasdrthaanii.jpg

ความเห็นที่ 4.1

เอาหล่ะสิ รูปร่างหน้าตาไม่เลวเสียด้วย ลงไปถึงสุราษ...

ความเห็นที่ 4.2

เห็นฟอร์มอย่างนี้จากสุราษฯ ก็คงต้องเช็ค imbellis จากชุมพรซะแล้วครับ

ความเห็นที่ 5

ระนองงามจริงๆครับ ส่วน stigtos กี่ตัวกี่ตัวก็ยังไม่มี key character หนึ่งที่ย้ำอยู่ในเปเปอร์ คือลายที่แผ่นกระโดงเป็นจุด แทนที่จะเป็นขีด

ความเห็นที่ 5.1

ความเห็นที่ 5.1.1

เกล็ดข้างตัวปลากัดนี่นับยังไงครับ?

ความเห็นที่ 5.1.1.1

ผมนับแถวที่ 5 ครับ (ทางสายกลาง ปกติมี 9 แถว) แต่นับถึงไหนคงต้องระบุในวิธีการอย่างละเอียดเลยนะเนี่ย ไม่งั้นจะได้ต่างกันถึง 2-3 เกล็ด

ความเห็นที่ 5.1.1.1.1

ปกติน่าจะนับโดยสุดที่ hypural plate (ถ้าจำไม่ผิดน่าจะตามวิธีนับ brownorum) แล้วตัวในรูปนับได้เท่าไหร่ครับ

จาก od stiktos น่าจะได้ 33-34 นะครับ

ความเห็นที่ 5.2

ตอนนี้ก็ยังสงสัยตรงจุดนี้นั่นแหละ เพราะเป็นที่มาของชื่อมันเลย  แต่อย่างน้อยตัวที่ตอนนี้คิดเอาเองว่าเป็น stiktos ต่างจาก smaragdina แน่ๆ แต่จะงานเข้าเพิ่มหรือเปล่าค่อยว่ากันอีกที

ความเห็นที่ 6

B.stiktos  

male
1_------_.jpg

ความเห็นที่ 7

B.stiktos
male
ตอนถอดสี
7_------------------------_.jpg

ความเห็นที่ 8

Betta smaragdina versus B. stiktos

จากพี่เย็น & พี่ศา

smaragdina_versus_stiktos1_.jpg

ความเห็นที่ 9

กระทู้นี้ถ้าจะมัน เหอๆๆ  ^^

ความเห็นที่ 10

B.stiktos    โดย: คุณจิรชัย

http://www.pantown.com/board.php?id=52308&area=4&name=board1&topic=53&action=view

ความเห็นที่ 11

ลูกทุ่ง sp จะไม่มีเกล็ดเรียงนะครับ เกล็ดเคลือบก็ไม่มี 

ความเห็นที่ 12

Smarag อุบล 2543
smaragubol1bl.jpg smaragubol2bl_.jpg smaragubol3bl.jpg

ความเห็นที่ 12.1

ถ้าเครื่องไม่กาง ก็มึนตึ๊บ!!

ความเห็นที่ 12.1.1

รูปที่ 2 กางครับ  แล้วถ้ากางแล้วต่างจาก stiktos ในรูปบนๆอย่างไรบ้างครับ

ความเห็นที่ 12.1.1.1

- stiktos
รูปร่าง จะกลมและอวบกว่า,
 ครีบดูไม่ยาว,
 ชายน้ำไม่ยาวมากเหมือนอีสาน,
 stiktos จะออกฟ้า ตามรูป#8,
 ถ้าตัดเรื่องสีออก stiktos จะมีรูปร่างใกล้เคียงกับ splendens มากกว่าครับ
 

ความเห็นที่ 12.1.1.1.1

ตัวจากอุบลฯที่ผมโพสน่าจะสีฟ้าพอๆกับ stiktos ที่โพสในกระทู้นี้นะครับยกเว้นตัวใน คห 8
 
ใน original description ของ stiktos (ถามจากคุณ Plateen เพราะผมไม่มีเปเปอร์) ไม่ได้
กล่าวถึงสีตอนมีชีวิตเลยแต่ว่าใน key ที่อยู่ก่อนหน้า description กลับจัด stiktos อยู่ในกลุ่ม
splendensที่มีสีสะท้อนแสงบน opercleทำให้เป็นปัญหาว่าทำไมผู้เขียน description ไม่
บรรยายลักษณะสีตอนมีชีวิตหรือตอนยังสดของ stiktos ใน description   ส่วนเรื่อง lateral
scales (ซึ่งน่าจะนับตามWitte &Schmidt 1992) ใน od จะได้ 33-34 (mode
= 33) แต่ใน key จะได้ 31-34 (mode = 33) ซึ่งถ้าผู้เขียนมีตัวอย่างที่มีเกล็ดนับได้
31-32ก็แปลกที่ไม่กล่าวถึงใน od   อย่างไรก็ตามใน od ก็ใช้จำนวนเกล็ดเป็นจุดสำคัญในการแยก
stiktos ออกจากปลากัดในกลุ่ม splendens ชนิดอื่นๆที่มีจำนวนเกล็ดที่อ้างใน key ว่าได้ 28-31
(mode = 30-31)   ดังนั้นถ้าใช้วิธีนับแบบเดียวกันก็ควรที่จะมี stiktosที่มีlateral scales
มากกว่า smaragdina และ splendensอย่างชัดเจน   แต่ว่าจากที่ดูคร่าวๆในรูปในกระทู้ก็ไม่เห็นว่า
มีปลาตัวไหนที่มี lateral scalesมากกว่าตัวอื่นๆอย่างชัดเจนครับ   นอกจากนี้ลักษณะลายครีบหลังที่
ใน odกล่าวว่ามีแต้มกลม (ที่คุณนณณ์ ถามในความเห็นที่ 5)แทนที่จะเป็นขีดหรือบั้งก็ยังไม่เห็นในรูปใน
กระทู้นี้ครับ  ดังนั้นก็อาจเป็นไปได้ที่ปลาที่กล่าวถึงในกระทู้นี้จะไม่ไช่ stiktosครับถ้าเทียบกับ od นอก
เสียจากว่า od จะมี errorครับ

ความเห็นที่ 12.1.1.1.2

เท่าที่เคยเห็นและที่คุยกับคุณ Plateen เจ้า smarag นี่ก็มีความผันแปรของรูปร่างและความยาวครีบ
พอควรครับ   โดยเฉพาะปลาที่อาศัยในแอ่งในที่ๆน้ำไหลเอี่อยๆมักจะมีสีเข้มกว่าและรูปร่างและเครื่อง
ใหญ่กว่าปลาในแหล่งอื่นๆครับ

ความเห็นที่ 12.1.1.1.2.1

เรื่องความต่างจาก smaragdina นั้นผมไม่สงสัยครับ เพราะมีลักษณะพิจารณาหลายส่วนจนข้ามความผันแปรไปแล้ว แต่สงสัยประเด็น OD มีปัญหา หรือว่ามันไม่ใช่ตัวตาม OD ต่างหาก

ความเห็นที่ 12.1.1.1.2.1.1

เป็นไปได้ไหมครับที่จะเป็น variation ของ stiktos 

..งั้นก็คงต้องหาตัวที่เหมือนเปเปอร์ให้ได้ก่อน  ซึ่งกระผมก็ยังไม่มี

ความเห็นที่ 13

ฝากด้วยตัวหนึ่ง
คนขายบอกว่าช้อนแถวๆ ชานกรุงเทพ เข้าใจว่าเป็นฝั่งตะวันตกของกรุงเทพ
dsc00224.jpg

ความเห็นที่ 13.1

เข้าท่าครับตัวนี้

ความเห็นที่ 14

อยากได้ Betta stiktos สักคู่จัง :)
888.jpg

ความเห็นที่ 15

จากสกล...
ji-100.jpg

ความเห็นที่ 16

สองตัวสองสี...
lc3_pl-001.jpg

ความเห็นที่ 17

ขอเพาะก่อนครับ มีตัวผู้ตัวเดียวเหมือนกัน

ขอเบอร์โทรคุณบ๊อบบี้อีกสักรอบครับ โทรศัพท์ผมหาย ติดต่อที่เบอร์เดิมโลด

ความเห็นที่ 17.1

089-1548560 เด้อครับ

ความเห็นที่ 18

เห็นกระทู้นี้แล้วเหมือนย้อนยุคชาว siamensis เลยเน๊าะ

ยุคนั้น ปลากัดป่า เต็มไปหม๊ดดดดดดดดด smiley

ความเห็นที่ 18.1

เห็นด้วยเลยค่ะ เหมือนย้อนกลับไปยังยุคที่รู้จักกับ siamensis ใหม่ ๆ เลยทีเดียว

ขอบคุณสำหรับภาพสวย ๆ นะค่ะ

smiley

ความเห็นที่ 19

- อีแฮ้ง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร มีลักษณะ ตัวยาว สีใบตองแห้งออกจืด กัดได้สองแบบบางตัวตั้งบนน้ำแทง-บางตัวหลอกให้ไล่ลงใต้น้ำแล้วตบ ลักษณะเด่นมีความเหนียวเป็นเลิศในตระกูลปลากัดลูกทุ่งอีสาน

- เจ้าเสือโคร่ง อ.ท่าลี่ จ.เลย สีม่วง เชิงโยกตบ

- เสือม่วงลำตัวยาวสีคล้ายกันกับอีแห้งส่องดาวมีชายล่างสีม่วงมือแดงออกดอกขาว เวลายังไม่พองตัวจะมีสีชีดขาวเชิงกัดบนน้ำแทงและตวัดม้วนตบ มีความเหนียวเหนือกว่าปลากัดทั่วไปหลายขุม  เวลาชนะส่วนใหญ่จะลอยขู่เหนือน้ำ ตั้งดิ่ง 90 องศาไม่ให้คู่ต่อสู้ขึ้นกินน้ำแล้วคู้ต่อสู้จะวิ่งไปเฉย ๆ

- ดาวตกมีลำตัวสั้น สีน้ำตาลปนดำ โหนกใหญ่มากเห็นได้ชัดเจน มีมือสีแดงสดแต่สั้นนิดเดียว เป็นปลาที่แข็งแรงที่สุดที่เล่นมาเชิงบนเหลี่ยมดี เวลากัดชอบขึ้นกินน้ำก่อนคู่ต่อสู้รอว่าคู้ต่อสู้ตามขึ้นมาจะรีบตวัดม้วนตัว ตบอย่างรุนแรงมากคล้ายลักษณะดาวตก ชื่อเสียงดังลั่นทั่วอิสาน

ปลากัดอีสานที่เป็นแชมป์เก่ง ๆ นั้น ล้วนแล้วแต่วนเวียนอยู่กับสุดยอดของปลาต้นตระกูล มีอีแห้ง/เสือโคร่ง เป็นหนึ่งต้นตระกูลสายพันธ์และทางอิสานใต้ไม่หนีจากจังหวัดอุบลราชธานีต้นตระกูลปลากัดเชิงบน/เขี้ยวยาว คม แต่ผมไม่เคยได้ยินครูบาอาจารย์ท่านพูดถึง สายกัดทางหนองคายเลย ผมเคยกัดกับปลาสายพันธ์หางลายมาก็หลายครั้งมีแพ้และชนะกัน และผมกัดกับหางลายทุกตัวเชิงดีเขี้ยวคม แต่ไว้ใจไม่ได้บทจะวิ่งก็วิ่งแบบไม่ปี่มีขลุ่ยครับ

คัดลอกมาจาก ตำนานปลากัดอีสาน โดยดอกไม้สด

ความเห็นที่ 20

ปลาตัวในภาพนี้ เป็นลูกหลานของ อีแฮ้ง อ.ส่องดาว สกลนคร
bj-01-vert.jpg

ความเห็นที่ 20.1

อืม..เป็นปลากลุ่มเดียวกับนครพนม ก็ไม่น่ากังขาสิ่งใดด้วยพื้นที่มันต่อเนื่องกันอยู่แล้ว

ความเห็นที่ 21

smiley
cc3lc3_4.jpg

ความเห็นที่ 22

นี่ก็สายอีแฮ้งส่องดาวเด้อ...
a9.jpg

ความเห็นที่ 22.1

อันนี้ก็งามหลาย

ความเห็นที่ 23

แจ่มเลยพี่บ๊อบ... คิดถึงงงงงง

ความเห็นที่ 24

cheeky
dng-05.jpg

ความเห็นที่ 24.1

สองตัวนี้สายแท้หรือเปล่าพี่?

ความเห็นที่ 24.1.1

ถ้าตัวออกแดง ๆ สวย ๆ น่ะ แท้ครับ
แต่นอกนั้น ไม่มั่นใจครับผม

ความเห็นที่ 25

ลายครีบหลังครีบหางหลากหลายดีครับ

ความเห็นที่ 26

เอาภาพปลากัดมาแจมกันด่วนนนนนนนนนนน

ความเห็นที่ 27

smiley
v-03.jpg

ความเห็นที่ 28

ได้ปลากัดจากบึงกาฬมาแล้ว อีกสองอาทิตย์จะไปหาปลามุกดาหาร กับนครพนม และลาวมาเทียบต่อไป

ตอนนี้รอปลาคุ้นที่ก่อนแล้วค่อยเอารูปมาแปะ

ความเห็นที่ 29

คุณน๊อทครับ ผมได้ปลากัดเขมรแล้วเด้อ คุณศาโรจน์มอบให้ผ่านน้องอู๋ครับ
ตัวเล็ก ๆ เองเน๊าะ ไอ้ stiktos เนี่ย

ความเห็นที่ 29.1

ตอนนี้ผมยังมีประเด็นสงสัยปลากัดเขมรชุดนี้นิดๆครับ แม้เจ้าตัวยืนยันว่ามาจาก type loc. ก็ตาม

ความเห็นที่ 29.1.1

รอฟังประเด็นที่สงสัยครับผม...

ความเห็นที่ 29.1.1.1

รอเปเปอร์อยู่ครับ เหมือนว่าเคยได้แล้ว แต่หาไม่เจอเลยต้องขอใหม่

ความเห็นที่ 29.1.1.2

มีภาพปลาจากโคราชบ้างไหมครับ

ความเห็นที่ 30

ขอบใจน้องอู๋มาก ๆ ครับ ที่นำปลากัดเขมรมาให้ ณ เจเจ

ปลากัดอีสานที่ให้ไปเป็นลูกตัวนี้เด้อครับ
obm-05.jpg

ความเห็นที่ 30.1

งามหลายครับท่านพี่
ขอบคุณสำหรับของฝากครับผม

ความเห็นที่ 31

สวัสดีครับ แวะมาทักทายสมาชิกรุ่นเก่าครับผม smiley