ของฝากจากห้วยหมาปา

เก็บมาฝากจากห้วยหมาปา  ตอนนี้กลายเป็นห้วย  อ่าง  ฝาย  หมอปลาไปแล้ว

Comments

ความเห็นที่ 1

จังหวัดอะไรครับ?

ความเห็นที่ 1.1

ตำบลป่าซาง  อำเภอเวียงเชียงรุ้ง  จังหวัดเชียงรายครับน

ความเห็นที่ 2

ตัวแก้มแดง ๆ "มาได้ไงเนี่ย"
ละพี่ทำยังไงกับมันต่อเนี่ย

ความเห็นที่ 2.1

ประธานป่าชุมชนขอเอากลับไปไว้ที่วัดครับ

ความเห็นที่ 3

ไอ้ที่แช่น้ำอยู่ ภาพใบที่18 มันคือเครื่องมืออะไรหรือครับ??

ความเห็นที่ 3.1

คนแถวนี้  ฮ้องตุ้มเอี่ยน    แปลว่า ตุ้มปลาไหล

ความเห็นที่ 3.1.1

แถวบ้านผมจะเป็นกระบอกยาวๆ เป็นไม้ไผ่หรือท่อพีวีซียาวๆ ใส่ปู หรือปลาเน่าไว้ข้างใน เขาเรียกว่ารันครับ

ความเห็นที่ 4

วันพุธ ที่ ๓ สิงหาคม นี้จะเข้าไปสำรวจอย่างละเอียด  ตั้งแต่ฝายล่าง  ไปสู่อ่างห้วยหมอปลา   ลำห้วยสาขา  เขตป่าชุมชนใกล้ห้วยหมาปา  นำตกห้วยหมาปา   จนถึงขุนน้ำห้วยหมาปา รวมระยะทางประมาณ  ๑๕ กิโลเมตร ครับ  หากใครว่างและสนใจมาเดินห้วยกันนะครับ

ความเห็นที่ 5

ข้องใจเจ้าปลาซิวลายแถบดำที่หางสีแดงมากครับ (ตัวที่อยู่ใต้ปลาหมอช้างเหยียบ) ถ้าเจอตัวสภาพดีกว่านี้รบกวนถ่ายภาพหน่อยครับ

ความเห็นที่ 5.1

ครับคุณนนท์  จะพยายามครับ

ความเห็นที่ 5.2

มันคือ mad fish ครับ

ความเห็นที่ 5.2.1

ฮ่า ฮ่า ปลาบ้าเหรอครับ? เห็นแว่บแรกก็นึกอย่างนั้น แต่มีความรู้สึกว่ามันบางและตาโตเกินไป

ความเห็นที่ 5.2.1.1

ตัวเล็กๆอย่างนี้เคยถูกตั้งชื่อว่า Filirasbora มาแล้ว

ความเห็นที่ 5.2.1.2

ผมนึกว่าคุณนนท์ อยากให้ถ่ายรูปตัวที่ยังว่ายน้ำไปว่ายน้ำมาซะอีก

ความเห็นที่ 6

ดูแล้วน่าจะยังสมบูรณ์อยู่นะครับ ไม่ทราบว่าพอมีแมลงปออยู่บ้างไหมครับ?

ความเห็นที่ 6.1

แมลงปอมีเยอะมากครับ  แต่บังเอิญวันั้นไม่ได้ถ่ายรูปแมลงปอเลยครับ

ความเห็นที่ 7

ไม่ใช่ดอกเข้าพรรษาของสระบุรีครับ
ตัวอื่นพอรู้ หรือบางตัวไม่รู้แต่ก็ไม่สนใจจะรู้ 555 ทั้งนี้เข้าใจมุขไอ้เต่าแก้มแดงครับ
แต่ตัวที่สนใจ และขออนุญาตเรียนถาม
ในกระทู้นี้ไอ้ตัวที่เอ่ยในนาม "เจ้าถิ่น" นี่ชื่อสามัญว่าปลาอะไรครับ คาดว่าหลายสมาชิกจะรู้ เลยไม่ต้องให้ชื่อไว้ แต่ผมไม่รู้ T-T

ในฐานะคนนอกวงการ อยากขอไว้กับสมาชิกเว็บ
ลงรูปตัวอะไร ต้นอะไร แม้ดูเหมือนสมาชิกส่วนใหญ่จะรู้จักและเข้าใจตรงกัน
แต่คนที่มาแวะเว็บนี้ หรือแม้กระทั่งสมาชิกบางคนก็ยังไม่รู้จักบางตัวบางต้น
ยกตัวอย่างเต่าแก้มแดงที่เป็นสัตว์ต่างถิ่น ผมคิดว่าหลายคนที่มาแวะชมก็ยังไม่รู้

จึงขอเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ปล. สำหรับที่ดักปลาไหลไม้ไผ่  มีงาให้ปลาเข้าได้แต่ออกไม่ได้นี่ น่าจะสะกดและเรียกว่า "ลัน" นะครับ

ความเห็นที่ 7.1

เจ้าถิ่น เป็นปลาค้อ (ทางเหนือมักจะเรียกว่าปลาบู่) น่าจะเป็นชนิด Schistura poculi ครับ เป็นชนิดที่พบมากทางภาคเหนือ 

http://www.siamensis.org/species_index#6221--Species:%20Schistura%20poculi

ความเห็นที่ 7.2

พิมพ์ไม่ครบครับ - อยากขอไว้กับสมาชิกเว็บ ช่วยบอกชื่อมันด้วย อย่างน้อยชื่อสามัญก็ยังดี

ความเห็นที่ 7.2.1

ที่จริงก็เป็นมุกด้วยขอรับ ถ้าบอกหมดตอนแรก เราก็เช็คเรตติ้งไม่ได้ พอมีคนมาถามเราก็รู้ว่ามีคนสนใจอีกเพียบเลย...

ลป. เป็นความเห็นแบบหยอกๆกันนะขอรับ

ความเห็นที่ 7.3

น่ารักมากครับ smiley

ความเห็นที่ 7.4

ขอบคุณครับสำหรับ คำแนะนำ

และต้องขออภัยในบางลีลา ๕๕๕
  จริง  ๆ ส่วนหนึ่งก็เป็นมุก ตามที่คุณ knotsnake บอก  และอีกข้อแก้ตัวหนึ่ง คือ  บางตัวไม่แน่ใจเลย ปล่อยวางไว้ให้ผู้รู้มาต่อเติม  และบังเอิญ ด้วยความไม่โพสต์ในบอร์ดมานานมาก เลยทำให้ภาพมันออกมาต่อกันแบบนั้น
   ต้องขออภัยใรความผิดพลาดทุกประการมาณ  โอกาสนี้ครับ

ปล.เครื่องมือประมง  เจ้าของเค้ายืนยันว่าเป็นตุ้ม ครับ  เค้าบอกว่า ลันมันอีกรูปแบบหนึ่งครับ  ผมก็ไม่แน่ใจ  เลยสรุปว่าเป็นตุ้ม ตามที่เจ้าของตุ้มบอกครับ

ความเห็นที่ 8

ปลาตัวบนสุด Esomus metallicus ปลาซิวหนวดยาว พบบ่อยทั่วไป
ตัวสอง Rasbora cf. pavie กลุ่มปลาซิวควายจำแนกยากครับ
ตัวสาม Puntius stolizcanus มุมหมาย พบทั่วไปตามแหล่งต้นน้ำ

ใต้ปลาสลิด เป็นปลาหมอช้างเหยียบ Pristolepis fasciatus พบบ่อย
ใต้ปลาหมอช้างเหยียบ เป็นลูกปลาบ้า ตามที่ได้คุยกันไปแล้ว
ตัวล่างสุดเหนือกิ้งก่าไม่มั่นใจครับ 

ความเห็นที่ 8.1

ตัวที่เหนือกิ่งก่า
ตามความเห็นของผม เขา น่าจะเป็น  ปลาสร้อยหัวกลม Henicohynchus siamensis